บำนาญเอกชน

ก่อนที่จะพูดถึงเงิน บำนาญเอกชน ขอเอ่ยถึงสถิติการเกษียณอายุของ พนักงานเอกชนทั่ว ๆ ไป โดยอายุเกษียณของภาคเอกชน มีทั้งตามอายุเกษียณมาตรฐาน (55 ปี) การเกษียณก่อนกำหนด (Early Retire) และการต่ออายุสัญญาจ้างงานหลังวัยเกษียณ นอกจากนี้ ปัจจุบัน สังคมไทยเริ่มมีการผลักดันในการ ปลดล็อควัยเกษียณ 55-60 ปี ด้วย ตามข่าวที่นำเสนอช่วงกลางปี 2558

บำนาญเอกชน

ซึ่งคนที่ทำงานมาโดยตลอด ก็ต้องการความมั่นคงเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งใคร ๆ ก็คงคาดหวังที่จะมีเงินบำนาญไว้ใช้ตอนเกษียณ

กล่าวถึง บำนาญ คืออะไร บำนาญ อาจสรุปง่าย ๆ ได้ว่า เป็นเงินตอบแทนที่ได้ทำงานมาเป็นเวลานาน ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนจนตลอดชีวิต เมื่อออกจากงานด้วยการเกษียณแล้ว ซึ่งเงินบำนาญ คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงบุคคลที่อยู่ในระบบราชการมากกว่าเอกชน บทความนี้จะรวมข้อมูล บำนาญเอกชน ว่าจะมาจากแหล่งใดได้บ้าง

บำนาญเอกชน ตัวแรกที่จะกล่าวถึง คือ บำนาญเอกชนที่ควรจะได้ตามสิทธิตามกฎหมาย หรือเรียกแบบง่าย ๆ คือ บำนาญประกันสังคม หากท่านเป็นพนักงานบริษัท ตามกฎหมายจะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน ประกันสังคม ซึ่งเมื่อครบกำหนด ก็จะมีสิทธิได้รับบำนาญ หรือได้รับเป็นบำเหน็จ หากจ่ายเงินสมบทครบตามเงื่อนไขที่กำหนด

โดยผู้ที่จะได้รับสิทธิกรณีบำนาญประกันสังคม ต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้

– จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
– มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
– ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

ข้อมูล บำนาญประกันสังคม ดูเพิ่มเติมได้ที่ : www.educatepark.com/บำนาญประกันสังคม/

 

ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม

บำนาญพนักงานเอกชน

บำนาญเอกชน ที่เป็นทางเลือกอื่น นอกเหนือจาก เงินบำนาญ (หรือ บำเหน็จ) จากประกันสังคม ผู้ที่ต้องการเงินบำนาญเพิ่มเติม มักจะต้องใช้วิธีการลงทุนด้วยทุนทรัพย์ของตนเอง ดังต่อไปนี้

  1. ซื้อกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ เช่น RMF/LTF
  2. ซื้อประกันแบบบำนาญ
  3. ซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์

นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนแบบอื่นที่อาจจะมีผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าการฝากเงินในธนาคาร ที่บางคนฝากไว้สำหรับใช้เป็นเงินสะสมหลังเกษียณ ซึ่งแน่นอนว่า การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง บล็อคของคุณ แจ้ห่ม47  ได้ให้แนวคิดในการลงทุนและความเสี่ยงไว้ดังนี้

1. การซื้อพันธบัตร (ออกโดยรัฐบาล) หุ้นกู้ (ออกโดยบริษัท) เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท) (ซึ่งคนทั่วไปแทบจะจับต้องไม่ได้ เพราะหมดใน 5 นาที) ปูนซีเมนต์ไทย บริษัทใหญ่ที่ดูมั่นคง อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 5-6 ต่อปี ข้อสำคัญต้องดูอันดับความน่าเชื่อถือด้วย

2. กองทุนรวม พูดง่าย คือการเอาเงินไปซื้อหน่วยลงทุนที่ออกโดยธนาคาร ผู้จัดการกองทุนก็จะนำเงินที่ได้ ไปลงทุนต่อ กำไรก็เอามาแบ่งให้ผู้ลงทุน โดยคิดค่าดำเนินการ ขาดทุนก็ผู้ถือหน่วยลงทุนรับไป โดยมูลค่าหน่วยลงทุนมูลค่าจะลดลง กองทุนรวมที่ควรจะซื้อ ควรเป็นลักษณะแบบปันผลทุกปี (ถ้ามีกำไร )

3.ซื้อ LTF แบบมีปันผล ซึ่งมีข้อดีคือ

3.1 ได้ลดภาษีตามฐานภาษีที่เสีย
3.2 ได้ส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้น (ลดลงก็มีครับ)
3.3 ได้ปันผลของผลดำเนินงาน (ส่วนใหญ่ลงทุนในหุ้น)

สำหรับ RMF ไม่แนะนำเพราะมีภาระผูกพันธ์ต้องซื้อต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยุ่กับสภาพการณ์ของกองทุนที่ต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน

เคล็ดลับในการซื้อกองทุนรวมและ LTF (ที่ลงทุนในหุ้น) ต้องซื้อช่วงดัชนีหุ้นตกลง ราคา NAV มันจะย่อให้เราซื้อ และซื้อเฉลี่ยทุก ๆ เดือนตามกำลังเงินของเราจะได้ราคาเฉลี่ยที่ไม่แพงเกินไป และให้หลีกเลี่ยงซื้อปลายปีและช่วงหุ้นปรับตัวขึ้น เพราะ มีความต้องการซื้อสูงกองทุนก็จะเอาเงินไปซื้อหุ้น ดัชนีก็สูงทำเราได้ราคาต่อหน่วยแพง ซื้อได้น้อยโดยใช้เงินเท่าเดิม ตามข้อสังเกตและประสบการณ์ ควรจะซื้อช่วงดัชนีหุ้นตกมันก็ช่วงปลาย Q2-ต้น Q3 (ราว ๆ กลางปี) หรือหลังปันผล NAV มันจะลดลง

คำนวณบำนานเอกชน

4.ลงทุนในตลาดหุ้น (ขั้น ADVANCE ในการลงทุน) ต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนลงสนาม ถ้าไม่พร้อมโอกาสขาดทุนสูงถ้าเล่นผิด

การเล่นหุ้นมีสองแนวทางหลักๆ

1. เล่นเก็งกำไร
เหมือนการเล่นไพ่เก้าเก มีเจ้ามือคอยกินอยู่ ซื้อโดยหวังว่าหลังซื้อแล้วราคาจะวิ่ง แล้วกินส่วนต่าง คนที่เข้าตลาดหุ้นหวัง รวยเร็ว รวยโดยไม่มีเหตุผล จะถูกเจ้ามือทำราคาเรียกให้มือใหม่ที่ขาดความรู้และประสบการณ์ไปซื้อแล้วทิ้งไว้ดอย สังเกตง่ายราคาหุ้นวิ่งขึ้นลงแบบไม่มีเหตุผลด้านประกอบการมารองรับ ทุกคนที่มาลงทุนในหุ้นตั้งสมมติฐานว่าจะรวย ไม่มีใครคิดว่าตัวเองเสียครับ เลยตกเป็นเครื่องมือถ้าเล่นเก็งกำไร ไม่มีทางชนะเจ้ามือที่มีข้อมูล มีกำลังเงิน มีทีมงานหรอกครับ บาดเจ็บไปทุกราย แล้วบอกว่าตลาดหุ้นเป็นการพนัน

2. เล่นแบบลงทุน

เราหวังอะไรในการเล่นแบบนี้ ที่หวังคือ เงินปันผล ส่วนต่างราคาในอนาคต โดยมีหลักการง่ายๆในการเลือกคือ

  •  บริษัทที่ซื้อต้องมีกำไรต่อเนื่องทุกปี
  • มีปันผลสม่ำเสมอ 5-10% ต่อปี
  • มีกำไรสะสม,เป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต
  • เป็นที่รู้จัก การบริหารต้องมีธรรมมาภิบาล
  • ราคาต้องไม่สูงเกินไป หุ้นดีๆบางตัวราคาสูงมาก กำลังเงินของเราไม่สามารถซื้อได้ในจำนวนที่เหมาะสม เช่นมีเงิน 30,000 บาท ถ้าซื้อหุ้นที่ดีมาก ราคา 300 บาท/หุ้น จะได้แค่ 100 หุ้น แต่ถ้าซื้อราคา 10 บาท/หุ้น จะได้ 3,000 หุ้น (แต่หุ้นมีโอกาสเติบโตและม๊ปันผลนะครับ ถึงจะน่าซื้อ) ดูจากงบการเงินที่ส่งตลาดหลักทรัพย์
  • บางทีก็ต้องใช้ประสบการณ์ในการอยู่ฝ่ายขาย มาคัดเลือกหุ้น และเดาผลประกอบการจากสภาวะแวดล้อมต่างที่เราพอหาได้

หุ้นในตลาดมี 500 ตัว ไม่ยากที่จะหาหุ้นดีๆ ตามสเปก สัก 5-10 ตัว
ถ้าไม่ดีก็ขายเปลี่ยนตัวใหม่ ต้องตัดสินใจเร็วและตามข้อมูล ไม่ควรเล่นเก็งกำไร

การลงทุน 4 ข้อแรก ท่านสามารถลงทุนเดือนละ 5,000-10,000 บาทได้ ไม่ต้องลงมาก 20-30%ของรายได้ ถ้าลงถูกตัวพลังมันจะมหาศาล เงินมันจะงอกเร็วขึ้นในปีที่ 3 ขึ้นไป ช่วงแรกต้องอดทน เวลามันสั้น ผู้เขียนบล็อคมาลงทุนจริงๆจังๆ ไม่เกิน 5 ปี รู้สึกว่าช้าไป เลยเอามานำเสนอเป็นทางเลือกให้

ออมเงินบำนาญ

ซึ่งเงินเก็บสะสมต่าง ๆ เงินลงทุนของเรา จะงอกเงยในอนาคต สำหรับไว้เป็นตัวเลือกในการเป็น บำนาญของผู้ที่ทำงานเอกชน หรือหากทำงานราชการและสนใจลงทุนก็สามารถทำได้ สำหรับเป็นเงินเก็บสะสมในอนาคต

 

*** บทความต่าง ๆ ในเนื้อหา (Content) หมวดหมู่นี้ จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้เกษียณอายุ ไม่ได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ในผลงานเขียนของผู้เขียนที่ได้สละเวลาให้ความรู้ หากบทความใดติดลิขสิทธิ์ รบกวนอีเมลแจ้งมาทาง Admin ของทางเว็บไซด์ ทางเราจะดำเนินการเอาบทความออกตามที่ร้องขอโดยเร็วที่สุด