ข้อมูล ประเทศนิวซีแลนด์newzealand - ประเทศนิวซีแลนด์

ประวัติศาสตร์ของประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ นั้นเดิมถูกปกครองโดยชาวเมารี แต่มีนักล่องเรือชาวดัตช์ ชื่อ อเบล แอนชุน ทัสแมน ได้ล่องเรือเลียบมาทางออสเตรเลียและได้พบเกาะนิวซีแลนด์เข้า และได้พบกับชาวเมารีที่ส่วนใหญ่นั้นเป็นมิตรจึงได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า Nieuw Zeeland หรือ New Zealand จากนั้นชื่อเสียงของนิวซีแลนด์ก็เป็นที่รู้จักกันในยุโรป เพราะมีธรรมชาติที่สวยงามเหมาะกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์มาก ต่อมากัปตันเจมส์ คุก ได้ล่องเรือมาบ้าง แต่โชคดีที่มีคนบนเรือสามารถพูดภาษาไวทิงกิได้บ้าง จึงเจรจากับชาวเมารีได้ และพบว่าชาวเมารีเป็นชนเผ่าสายเลือดนับรบ จึงได้ตกลงแลกพืชพันธุ์กับอาวุธจากทางยุโรป และต่อมาเมื่อชาวเมารีมีอาวุธมากจึงสู้รบกันจนชนเผ่าเมารีลดลง ทางอังกฤษจึงได้ส่งคนมาทำสัญญา ที่มีชื่อว่า สนธิสัญญาไวทังกิ ขึ้น และส่งคนมาสำเร็จราชการแทนชื่อ วิลเลียม ฮอบสัน

maori ชนพื้นเมือง ประเทศนิวซีแลนด์
อเบล แอนชุน ทัสแมน

การแบ่งเขตการปกครอง

ตอนที่เริ่มตั้งถิ่นฐาน นิวซีแลนด์ได้แบ่งเป็นจังหวัดต่าง ๆ (provinces) ซึ่งได้ยกเลิกไปใน พ.ศ. 2419 เพื่อให้จัดการปกครองแบบศูนย์กลาง เนื่องด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ทำให้นิวซีแลนด์ไม่มีการแบ่งการปกครองเป็นระดับรัฐ จังหวัด หรือเขต นอกจากรัฐบาลท้องถิ่น อย่างไรก็ดี ความภูมิใจในระดับจังหวัด ยังคงมีอยู่ และมีการแข่งขันอย่างรุนแรงในทั้งด้านกีฬาและวัฒนธรรม
แผนที่ ประเทศนิวซีแลนด์

ตั้งแต่ พ.ศ. 2419 รัฐบาลท้องถิ่นได้ปกครองภูมิภาคต่าง ๆ ของนิวซีแลนด์ เนื่องจากแต่เดิมเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัฐบาลท้องถิ่นของนิวซีแลนด์จึงได้ออกแบบตามโครงสร้างรัฐบาลท้องถิ่นของอังกฤษ โดยมีสภาท้องถิ่นระดับเมือง โบโร (borough) และเคาน์ตี (county) ตามเวลาที่เปลี่ยนไป บางสภาได้รวมกัน หรือเปลี่ยนอาณาเขตตามข้อตกลงร่วมกัน และมีการสร้างสภาแห่งใหม่บางแห่ง ใน พ.ศ. 2532 รัฐบาลได้จัดรัฐบาลท้องถิ่นใหม่ทั้งหมด เป็นแบบ 2 ระดับ ในปัจจุบัน คือ สภาภูมิภาค (regional councils) และ สภาดินแดน (territorial authorities)

ปัจจุบัน นิวซีแลนด์มีสภาภูมิภาค 12 แห่ง สำหรับการปกครองเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการขนส่ง และสภาดินแดน 74 แห่ง ที่ดูแลด้านสาธารณูปโภค การสร้างถนน การระบายน้ำเสีย การอนุญาตการก่อสร้าง และเรื่องอื่น ๆ ภายในท้องถิ่น สภาดินแดนมี 74 แห่ง แบ่งออกเป็นสภานคร (city council) 16 แห่ง สภาเขต (district council) 57 แห่ง และสภาหมู่เกาะแชแทม (Chatham Islands Council) สภาดินแดน 4 แห่ง (1 นครและ 3 เขต) และสภาหมู่เกาะแชแทมทำหน้าที่เช่นเดียวกับสภาภูมิภาค จึงเรียกว่า unitary authorities เขตของดินแดนไม่จัดเป็นเขตย่อยของเขตของสภาภูมิภาค และบางดินแดนมีการคร่อมเขตของสภาภูมิภาค

เศรษฐกิจ

นิวซีแลนด์ เป็นประเทศหนึ่งในเขตแปซิฟิกที่มีการทำอุตสาหกรรม เช่น การต่อเรือ โรงงานเบียร์ไวท์ โรงงานปลากระป๋อง แต่ส่วนใหญ่การอุตสาหกรรมในนิวซีแลนด์มีน้อยมาก และ มีการทำอุตสาหกรรมการเกษตร เช่นการทำผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมการขุดแร่ เช่น ถ่านหิน เหล็ก อุตสาหกรรมป่าไม้ และ ยังมีการเพาะปลูกที่ทำให้นิวซีแลนด์มีรายได้มากส่วนหนึ่ง เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และ ผลไม้เช่น สตรอเบอรี่ และแอปเปิล เป็นต้น

เศรษฐกิจที่นิวซีแลนด์การปลูกพืชไร่ที่นิวซีแลนด์

ประชากร

นิวซีแลนด์ส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ ส่วนชนเผ่าพื้นเมืองเรียกว่า ชาวเมารี (Maori) ซึ่งมีผิวสีเหลืองมีอยู่ประมาณ 151,100 คน ซึ่งมีสิทธิทางสังคมเทียบเท่ากับชาวผิวขาวทุกอย่าง โดยรัฐบาลกลางอังกฤษให้ความคุมครองทั่วถึงทุกคน ชาวนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนส์

เมืองและภูมิภาค

นิวซีแลนด์มีหลายภูมิภาค โดยในแต่ละภูมิภาคจะมีความเป็นเอกลักษณ์ สภาพภูมิประเทศ และ “กลิ่นอาย” ที่แตกต่างกัน ทั้งเมืองใหญ่ เมืองเล็ก ชุมชนต่างๆ มีแพร่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

เมืองใหญ่ของนิวซีแลนด์ ได้แก่ Auckland (ใหญ่ที่สุด) Hamilton (Waikato region), Palmerston North (Manawatu region), เมืองหลวง Wellington, Christchurch (Canterbury region) และ Dunedin (Otago region)

Photo by Rob Suisted, Nature's Pic Images, Wellington, NEW ZEALAND. Photo copyright to Rob Suisted - All rights reserved. Fees payable for all uses. Please contact us for licencing at: Email: robsuisted@naturespic.com

ลักษณะทางกายภาพ

นิวซีแลนด์ มีลักษณะพื้นที่ที่หลากหลาย ตั้งแต่ พื้นที่เพาะปลูกเขียวขจี ไปถึงภูเขาไฟและทะเลทรายที่แห้งแล้ง หรือจากบริเวณหาดทรายสีทองตัดกับน้ำทะเลสีฟ้าสดใส ไปจนถึงภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลนสุดตา
ประเทศนิวซีแลนด์ ภูมิศาสตร์

ประเทศนิวซีแลนด์มีขนาดใกล้เคียงกับอังกฤษหรือญี่ปุ่น แต่มีประชากรเพียง 4 ล้านคน และส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแถบชานเมือง ดังนั้นในเมืองจึงมีประชากรไม่หนาแน่นมากนัก ลักษณะภูมิทัศน์ของนิวซีแลนด์มีความเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากที่อื่น คนที่นี่ได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นมิตร แข็งแรง สร้างสรรค์และรักอิสระ

ประเทศนิวซีแลนด์จะแบ่งเป็นเกาะเหนือและเกาะใต้ และมี Stewart Island เกาะเล็กๆที่อยู่ทางใต้ของประเทศ จากเหนือสุดลงมาใต้สุดจะมีสภาพอากาศที่ค่อนข้างแตกต่างกัน เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกและทำเกษตรกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ

ประเทศที่อยู่ใกล้เคียงคือ ออสเตรเลีย ซึ่งใช้เวลาเดินทางโดยเครื่องบินเพียง 3 ชั่วโมง ด้วยสภาพพื้นที่ที่ไม่เหมือนที่อื่น ทำให้พบพืชหรือนกบางชนิดที่มีเฉพาะในนิวซีแลนด์เท่านั้น ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ นกกีวี นั่นเอง

ภัยธรรมชาติ

สภาพอากาศที่แปรปรวนเป็นภัยธรรมชาติ ที่พบมากที่สุดในนิวซีแลนด์ แม้นิวซีแลนด์จะไม่ใช่เขตที่จะเกิดพายุไซโคลนได้โดยตรง แต่พายุทั้งจากเขตร้อนและขั้วโลกก็สามารถเข้ามาถึงนิวซีแลนด์ได้หลายครั้งต่อปี ทำให้เกิดฝนตกประมาณ 7 – 10 วันในช่วงที่มีพายุเข้ามา

ประเทศนิวซีแลนด์ เต็มไปด้วยทิวทัศน์ที่งดงาม

คำพูดที่ว่า 4 ฤดู ใน 1 วัน เป็นคำอธิบายนิวซีแลนด์ได้เป็นอย่างดี สภาพอากาศที่นี่สามารถเปลี่ยนได้รวดเร็วและไม่สามารถคาดการณ์ได้ พยากรณ์อากาศบอกเพียงแนวโน้มโดยรวม จะมีการเตือนล่วงหน้าหากมีอากาศที่แปรปรวน อย่างไรก็ตามควรดูสภาพอากาศจากบริเวณที่นักเรียนอาศัยอยู่ โดยมองออกไปนอกหน้าต่างและคาดการณ์สภาพอากาศได้อย่างน้อย 15 นาที ตามพื้นที่แล้ว ทางเหนือจะอบอุ่น ทางใต้จะเย็น ทางตะวันตกจะฝนตกและตะวันออกจะชื้น ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ นักเรียนสามารถคาดการณ์ได้ด้วยตัวเอง

ภัยธรรมชาติอื่นๆที่คุณอาจจะต้องเผชิญ แต่ก็พบได้น้อย ได้แก่
◆ แผ่นดินไหวรุนแรง – ที่นิวซีแลนด์เผชิญกับแผ่นดินไหวที่ไม่รุนแรงประมาณ 14000 ครั้ง/ปี มีประมาณ 200 ครั้ง/ปีที่มีการสั่นไหวจนรู้สึกได้ และก่อให้เกิดความเสียหายและบางครั้งมีผู้เสียชีวิตด้วย ซึ่ง ครั้งที่รุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นที่ Napier และ Hastings ในปี 1931 ตามรายงานของ GeoNet

◆ ภูเขาไฟระเบิด – นิวซีแลนด์ มีภูเขาไฟทั้งที่ดับแล้วและยังคุกรุ่นอยู่จำนวนมาก ซึ่งมีเพียงแค่ Mount Ruapehu และ White Island ที่ยังคุกรุ่นอยู่ในช่วงนี้ ซึ่ง GeoNet จะเป็นหน่วยงานที่คอยเตือนเกี่ยวกับภูเขาไฟระเบิด
ในนิวซีแลนด์ไม่มีสัตว์ที่เป็นพิษหรือเป็นอันตราย ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลาน มีเพียงแค่ Weta บางชนิดที่อาจจะทำให้เจ็บได้หากโดนมันกัด และก็มีแมงมุมบางชนิดที่อยู่ตามชายฝั่ง นอกนั้นก็ไม่มีอันตรายอะไร

 

Welcome to New Zealand

 

กลับหน้าหลัก เรียนต่อนิวซีแลนด์