คำศัพท์ยอดนิยมในนิวซีแลนด์

โดยทั่วไปแล้ว ภาษาอังกฤษที่ใช้ในนิวซีแลนด์จะเหมือนกับที่ภาษาอังกฤษที่ใช้ในประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ดีก็มีบางคำที่เป็นคำยืมมาจากภาษาเมารีและวลีอื่นๆ อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ใช้เหมือนกับที่อื่นๆ หรือก็อาจจะทำให้นักท่องเที่ยวสับสนได้

คำที่ใช้กันทั่วไป
คำศัพท์
ความหมายในภาษาไทย
Bach (pron. “batch”)
บ้านพัก (มักจะอยู่ตามชายหาด และเป็นบ้านธรรมดาๆ) ทางเกาะใต้จะเรียกว่า crib (คำแสลง แปลว่า บ้าน)
Bring a plate หมายถึง แขกแต่ละคนควรจะนำอาหารของตนมาแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆด้วย
BYO — Bring Your Own เป็นชื่อเพิ่มเติม ของร้านอาหารที่ไม่มีลิขสิทธิ์เครื่องดื่ม ซึ่งก็หมายความว่าคุณสามารถนำไวน์ของคุณมาดื่มพร้อมกับการรับประมานอาหารได้ แต่ทางร้านก็มักจะคิดค่าธรรมเนียมเปิดขวด
Bugger เป็นคำสบถ ที่ใช้โดย นักการเมือง หรือติดไว้ที่หลังรถ หรือหลายๆคนก็ใช้ “Oh brother” ค่อนข้างไม่สุภาพและอาจจะเป็นการยั่วโมโหคนบางคนได้ แต่ก็มักจะได้ยินมากในการสนทนา
Dairy ร้านค้าสะดวกซื้อ ร้านค้าหัวมุม คนที่มาจากที่อื่นน้อยคนที่จะเข้าใจคนท้องถิ่นที่ใช้คำนี้อย่างแพร่หลาย และมักจะพบปัญหาเมื่อเดินทางไปท่องเที่ยวและจะแปลกใจที่มีคนถามว่า dairy อยู่ที่ไหน
Entry by gold (or silver) coin (donation เข้าโดยหยอดเหรียญ ทอง (เงิน) เหรียญ – เป็นการจ่ายสำหรับ การจัดงาน นิทรรศการ ภาพเขียนหรือพิพิธภัณฑ์ โดยจ่ายเป็นเงินเหรียญตามราคาที่เหมาะสม ลงในกล่องรับบริจาคที่ประตู เหรียญทองมีมูลค่า 1 และ 2 ดอลล่าร์ ขณะที่เหรียญเงิน 20 และ 50 เซ็นต์ และเหรียญทองแดง 10 เซ็นต์
Kiwi คำแสลงที่ใช้เรียก ชาวนิวซีแลนด์ หรือเงินดอลล่าร์ และยังเป็นชื่อของนกที่ไม่มีอันตราย บินไม่ได้ และออกไข่ที่มีขนาดใหญ่พอๆกับตัว
Ladies a plate คำนี้ไม่เกี่ยวกับ ผู้หญิง เป็นคำที่ใช้ในกิจกรรมสังคม เช่นในการประชุม ผู้ที่เข้าร่วมควรจะนำอาหารที่พร้อมรับประทานมาด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอาหารตามบ้านที่คนในครอบครัวทำให้
Clayton’s หากอธิบายว่า บางสิ่งเหมือน Clayton’s หมายถึงสิ่งนั้นไม่สมบูรณ์ หรือเป็นของเลียนแบบคุณภาพต่ำ มาจากชื่อของเครื่องดื่มไม่มีแอลกฮอล์ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการวางขายระหว่างปลายปี 1970/ต้นปี 1980 ภายใต้ประโยคติดหูที่ว่า คุณดื่มเหมือนคุณไม่ได้ดื่ม
Glidetime ชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น (เวลาที่ยืดหยุ่น) มักใช้โดยลูกจ้างสาธารณะ ตามระบบนี้ คนงานสามารถเลือกเวลาเริ่มและเลิกงานได้ ตั้งแต่ 7 โมงเช้า – 6โมงเย็น แม้ว่าชั่วโมงการทำงานหลักๆ จะเป็น 9 โมงครึ่ง – เที่ยง และบ่ายสอง – บ่ายสามครึ่ง และเฉลี่ย 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ นอกจากนี้ยังเป็นชื่อของตัวตลก ที่เป็นการแสดงเกี่ยวกับคนงาน
Public servants ลูกจ้างสาธารณะ คือคนที่ถูกจ้างโดยองค์กรรัฐบาล หรือธุรกิจที่เป็นของรัฐบาล
Social welfare องค์กรที่มีหน้าที่ช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก ช่วยเหลือด้านรายได้และหางานให้กับผู้ว่างงาน
Beneficiary เงินสงเคราะห์– คนวัยทำงานที่ได้รับการจ่ายเงินช่วยเหลือ ที่เรียกว่า เงินสนับสนุนรายได้ หรือเงินสงเคราะห์
Pensioner คนที่เกษียน หรือทหารผ่านศึกที่ได้รับเงินบำนาญ
Superannuitants คนเกษียนอายุที่ได้รับเงินบำนาญ เรียกว่า New Zealand Superannuation บางทีก็เรียกย่อๆว่า “Super” รัฐบาลจะให้เงินบำนาญชาวนิวซีแลนด์ทุกคนเมื่ออายุเกิน 65 ปี

 

Maori words and expressions คำที่เป็นภาษาเมารี

คำที่ใช้กันทั่วไป
คำศัพท์ 
ความหมายในภาษาไทย
Hui การประชุมหรือการรวมตัวกัน เพื่ออภิปราย โต้แย้ง เกี่ยวกับแฟชั่นประเพณีของเมารี
Iwi ชนเผ่าหรือชาวเมารี บางครั้งรู้จักในชื่อ Waka แปลว่า เรือแคนู ที่บรรพบุรุษของพวกเค้าใช้ล่องมาที่นิวซีแลนด์
Koha ใช้สำหรับของขวัญหรือการบริจาค มักจะใช้ในกรณีการแลกเปลี่ยนโดยของขวัญ (บางครั้ง จะเห็นตรงทางเข้า “Entry Koha” หมายถึง เหรียญทอง หรือสิ่งที่คุณจะบริจาค)
Kai อาหาร พบโดยทั่วไปทั้งเมารีและยุโรป
Marae สถานที่สำหรับประชุมหรือรวมกลุ่มกัน รวมไปถึงศูนย์กลางชุมชนด้วย
Pakeha ภาษาเมารีสำหรับเรียก ชาวนิวซีแลนด์ที่มาจากยุโรป ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามการบันทึกของชาวเมารี เกี่ยวกับคนผิวขาวที่เรียกว่า ‘pakepakeha’ แต่ชาวนิวซีแลนด์ที่เป็นยุโรปบางคนจะไม่เรียกตัวเองว่า Pakeha ขณะที่คนอื่นมองว่าคำนี้ช่วยจำแนกความแตกต่างของคนผิวขาว แต่มีคนผิวขาวอิสระจำนวนมากที่เรียกตัวเองว่า Pakeha เพื่อแยกตัวเองจากชาวยุโรป ขณะที่คนผิวขาวในนิวซีแลนด์ จะหมายถึง ชาวยุโรป แต่ก็มักใช้กับชาวนิวซีแลนด์ใน เจเนอเรชั่นที่ 4 หรือ 5
Powhiri พิธีต้อนรับของเมารี โดยเฉพาะตามที่นัดพบกัน แต่ในปัจจุบันก็ใช้ในการเริ่มการประชุมหรือการพบปะกันในนิวซีแลนด์
Whanau ญาติมิตร
Wharenui บ้านสำหรับพบปะกัน (บ้านขนาดใหญ่) มักจะใช้กับคำว่า เพื่อนและญาติมิตร
Wharekai ห้องอาหารหรือห้องครัว (โรงอาหาร) ตามที่นัดพบกัน