นิวซีแลนด์จะมีกฎหมายเข้มงวดในการป้องกันอุตสาหกรรมการเกษตรจากการนำเข้าสัตว์ หรือโรคต่างๆ ถ้านักเรียนนำอาหารและพืชเข้าประเทศ ต้องแสดงที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ค่าปรับสำหรับผู้ที่ลักลอบนำพืช เนื้อสัตว์ต่างๆ มากถึง 5 แสนเหรียญ และ/หรือ จำคุก 12 เดือน

รายการสิ่งที่ต้องแสดง  ได้แก่

อาหาร และผลิตภัณฑ์ และส่วนประกอบในการทำอาหาร
พืชและส่วนต่างๆ ของพืช (ทั้งมีชีวิตและไม่มี) ประกอบด้วย ลำต้น ราก
สัตว์ (มีชีวิตและไม่มี) หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์
สิ่งที่ทำจากสัตว์
อุปกรณ์ตั้งแคมป์ กอล์ฟ รองเท้าปีนเขา รองเท้า และอุปกรณ์ขี่ม้า รวมถึงจักรยานมือสอง
ผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ

ถ้าไม่แน่ใจเกี่ยวกับสิ่งของบางชนิด ควรแสดงต่อเจ้าหน้าที่ จะไม่มีการปรับโทษสำหรับการแสดงสิ่งของที่ห้ามนำเข้ามาในประเทศ นอกจากนี้นิวซีแลนด์มีการคุมเข้มเกี่ยวกับยาเสพย์ติด อาวุธปืนและสินค้าอันตราย เหมือนกับประเทศอื่นๆด้วย

สนามบินและเมือง

ธนาคารในนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่จะมีสาขาตั้งอยู่ที่สนามบินนานาชาติ เพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา

โบร์ชัวร์ที่พัก แผนที่ และข้อมูลนำเที่ยว มีให้ฟรีที่บริเวณบริการข้อมูลข่าวสาร และยังสามารถใช้โทรศัพท์ฟรีที่สนามบินจองโรงแรม ห้องพักอีกด้วย

นักเรียนสามารถเดินทางจากสนามบินเข้าไปในเมืองได้โดย แท็กซี่ แอร์พอร์ตบัส หรือเหมารถตู้ไปส่งถึงจุดหมายปลายทางของเรา แท็กซี่จะคิดเงินตามมิเตอร์ จะไม่มีการต่อรองได้รวมถึงการให้ทิปด้วย คนขับแท็กซี่สามารถประมาณค่าใช้จ่ายของนักเรียนได้ แต่แอร์พอร์ตบัสกับรถตู้จะมีราคาที่ถูกและแน่นอนกว่า ทุกเมืองจะมีรถบัสและแท็กซี่บริการ และที่เวลลิงตันจะมีรถไฟฟ้าให้บริการด้วย

ผลไม้มีให้เลือกหลากหลายตามซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารราคาปานกลางก็มีให้เลือกทั่วไป ตามโมเตลจะมีอุปกรณ์สำหรับทำอาหารให้ด้วย ส่วนน้ำประปาในนิวซีแลนด์ มีความปลอดภัยสามารถดื่มได้

ร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต จะมีลักษณะคล้ายกับประเทศตะวันตกอื่นๆ ชาวนิวซีแลนด์จะเรียกร้านสะดวกซื้อว่า “diary” ซึ่งขาย ไอศกรีม ขนม หนังสือพิมพ์ แม็กกาซีน และสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ร้านค้าจะเปิดถึงดึกในวันพฤหัสและศุกร์ รวมถึงเปิดช่วงเช้าวันเสาร์ และห้างก็เปิดในช่วงสุดสัปดาห์ด้วย ซุปเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งเปิดถึงดึก และบางแห่งเปิด 24 ชม. และ 7 วัน รวมไปถึงร้านอาหารแบบซื้อกลับบ้านกับปั๊มน้ำมันก็จะปิดช้าด้วย

โทรศัพท์

โทรศัพท์สาธารณะจะมีอยู่ทั้งในเมืองและชานเมือง มีส่วนน้อยที่เป็นแบบใช้เหรียญ ส่วนใหญ่เป็นแบบใช้การ์ดโทรศัพท์ ที่เหลือเป็นแบบใช้บัตรเครดิต การ์ดโทรศัพท์จะมีมูลค่าตั้งแต่ 5 – 100 เหรียญ และสามารถหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายหนังสือพิมพ์, dairies และร้านค้าอื่นๆ ถ้าไม่ทราบหมายเลขสามารถสอบถามจาก 018 ได้

เวลา

ทุกเขตของนิวซีแลนด์จะเป็นเวลาเดียวกัน

การเปิดบัญชีธนาคาร

การเปิดบัญชีทำได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องเป็นประชากรของนิวซีแลนด์ หรือต้องมีหลักฐานอ้างอิง ธนาคารส่วนใหญ่จะจัดการให้ไม่เกินภายใน 10 วัน แต่นักเรียนจำเป็นต้องให้ที่อยู่แน่นอนกับธนาคาร ซึ่งธนาคารจะไม่รับตู้รับไปรษณีย์ส่วนบุคคลหรือที่อยู่ตามโรงแรม

ถ้าต้องการเปิดเป็นเช็คธนาคาร ธนาคารต้องการหลักฐานส่วนตัวของนักเรียน เช่น พาสปอร์ต ใบขับขี่ และค่ามัดจำประมาณ 200 เหรียญ และหากจ่ายด้วยเช็ค ก็ต้องแสดงใบขับขี่ บัตรเครดิตหรือพาสปอร์ต

ธนาคารในนิวซีแลนด์มีบริการหลากหลายทั้ง การกู้เงิน การกู้เพื่อซื้อบ้าน การลงทุน บัตรเครดิต และสินทรัพย์ และธุรกิจการเงิน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนเงินตราด้วย

ถ้านักเรียนมีรายได้ ต้องให้หมายเลขภาษีแก่ธนาคาร ซึ่งสามารถขอหมายเลขภาษีได้จาก Inland Revenue Department (IRD)

ค่าธรรมเนียมธนาคาร

ธนาคารส่วนใหญ่จะมีค่าธรรมเนียมสำหรับการทำธุรกรรมต่างๆ รวมไปถึงทำผ่านตู้เอทีเอ็ม เช็ค ฝากเงินและถอนเงิน

เวลาทำการของธนาคาร

ธนาคารส่วนใหญ่เปิด 9.00 – 16.30 น. วันจันทร์ – ศุกร์ ส่วนตู้เอทีเอ็มจะให้บริการ 24 ชั่วโมง

บริการสำหรับผู้ที่มาตั้งถิ่นฐาน

บางธนาคาร จะมีบริการให้กับผู้ที่อพยพมาอยู่ใหม่ และมีเจ้าหน้าที่หลากหลายชาติที่ช่วยให้คำแนะนำข้อมูล

การบริการตู้เซฟ

มีบริการตู้เซฟ รักษาทรัพย์สินส่วนบุคคลเช่น เครื่องประดับ หลักฐานการเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ โดยมีการเก็บค่าธรรมเนียมในราคาปานกลาง