ข้อมูลบริสเบน

» ลักษณะโดยทั่วไปของบริสเบน «

» บริสเบน (Brisbane) เป็นเมืองหลวงของรัฐควีนสแลนด์ มีประชากร 1.6 ล้านคน เป็นรัฐที่ใหญ่อันดับสองรองมาจากรัฐเวสเสเทอร์นออสเตรเลีย (Western Australia)ได้รับขนานนามว่า Sunshine State เป็นรัฐที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อหลายแห่งเช่น Gold Coast และมีแนวปะการัง (Great Barrier Reef) ที่ยาวที่สุดในโลกอีกด้วย

» ภูมิประเทศ «

» บริสเบนเป็นเมืองที่น่าอยู่ ตั้งอยู่ในเขตกึ่งร้อนชื้น หรือ Sub-tropical ของรัฐควีนส์แลนด์ และรายล้อมไปด้วยทิวเขา Great Dividing Range ป่าธรรมชาติ น้ำตก และ ชายฝั่งทะเล บริสเบน ยังอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดของรัฐควีนส์แลนด์ อันได้แก่ Gold Coast และ Sunshine Coast รวมถึง The Great Barrier Reef ซึ่งเป็นระบบนิเวศน์ปะการังที่ใหญ่ และซับซ้อนที่สุดในโลก อยู่ติดชายฝั่งทะเลห่างตัวเมืองบริสเบนไปทางเหนือเพียงเล็กน้อย ปะการังแถบนี้ มีขนาดกว้างใหญ่มากจนสามารถมองเห็นได้จากดวงจันทร์

» สภาพภูมิอากาศ «

» บริสเบน มีท้องฟ้าที่แจ่มใส กลางวันที่อบอุ่น ส่วนกลางคืนมีความเย็นสบาย จึงทำให้บรรยากาศแบบเมืองร้อนของที่นี่ มีความเหมาะสมต่อการใช้ชีวิตนอกอาคารเป็นอย่างยิ่ง ภูมิอากาศของเมืองบริสเบนจัดเป็นเขตกึ่งร้อนชื้น ด้วยอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีที่ 16 ถึง 25 องศาเซลเซียส บริสเบนได้รับแสงแดดเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อวันทั้งปี จึงทำให้เป็นเมืองที่มีอากาศอบอุ่นตลอดปี

ฤดูกาลที่บริสเบน อุณหภูมิที่บริสเบน
ฤดูกาล
อุณหภูมิ
ฤดูร้อน : ธ.ค. – ก.พ.
20 – 29 °C
ฤดูใบไม้ร่วง : มี.ค. – พ.ค.
13 – 29 °C
ฤดูหนาว : มิ.ย. – ส.ค.
10 – 22 °C
ฤดูใบไม้ผลิ : ก.ย. – พ.ย.
13 – 28 °C

» การคมนาคมขนส่ง «

» บริสเบนมีเครือข่ายระบบการขนส่งสาธารณะคุณภาพระดับโลก สามารถสอบถามเส้นทางและการเชื่อมต่อของรถเมล์โดยสาร รถไฟ และเรือข้ามฟากได้จากบริการข้อมูล Trans-Info Service ที่หมายเลขโทรศัพท์ 13 12 30 หรือแวะชมที่เว็บไซต์ www.transinfo.qld.gov.au

» สนามบิน «

ข้อมูลบริสเบน-2
» บริสเบนมีทั้งสนามบินภายใน และระหว่างประเทศ จากสนามบินใช้เวลาเดินทางเข้าเมืองเพียง 20 นาทีเท่านั้น โดยนั่งรถบัสที่มีออกทุกๆ ครึ่งชั่วโมง

» เรือ «

Brisbane_citycat
» เรือ CityCat สีฟ้าของเมืองบริสเบน ออกวิ่งทุกๆ 20 ถึง 30 นาที ระหว่างเวลา 5.50 ถึง 23.20 น. ไม่เว้นวันอาทิตย์และ public holiday โดยวิ่งไปและกลับจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงใต้ ไปสิ้นสุดที่ท่าเรือ Bretts Wharf ทางตะวันออกเฉียงเหนือ
» นอกจากนี้ยังมีเรือข้ามฟาก Cross River Ferry ที่วิ่งซิกแซ็กข้ามแม่น้ำไปและกลับระหว่างท่าเรือ North Quay ที่อยู่ใกล้กับสะพาน Victoria Bridge กับสวนสาธารณะ Mowbray Park มีราคาค่อนข้างแพง เพราะระยะทางข้ามฟากแค่ประมาณ 200 เมตร ค่าโดยสาร $ 1.80 หรือ 1 zone

» รถเมล์โดยสาร «

Brisbane_theloop-300x201 » The Loop «

» เป็นบริการรถเมล์ฟรีที่วิ่งรอบบริเวณตัวเมือง ซึ่งออกทุกๆ 10 นาทีในวันธรรมดาระหว่าง 7.00 ถึง 18.00 น. ส่วนรถเมล์ที่คิดค่าโดยสารสายอื่นๆ จะออกวิ่งทุกๆ 10 ถึง 20 นาทีในวันจันทร์ถึงศุกร์ ตั้งแต่เวลา 5.00 ถึงเที่ยงคืน ในวันเสาร์ เริ่มวิ่ง 6.00 น. ถึงประมาณเที่ยงคืน และในวันอาทิตย์รถจะออกวิ่งด้วยความถี่น้อยกว่าในช่วงวันอื่นๆ และจะหยุดวิ่งเวลา 19.00 น

» รถไฟ «

Brisbane_citytrain-300x168» เครือข่ายรถไฟด่วน Citytrain มี 7 สาย โดยจะวิ่งไปไกลถึง Gympie North ทางทิศเหนือ (ชายฝั่งซันไชน์โคสท์) และวิ่งไป Nerang และ Robina ทางทิศใต้ (ชายฝั่งโกลด์โคสท์) รถไฟทุกสายวิ่งผ่านสถานี Roma Street สถานี Central และ สถานี Brunswick Street

» การขี่รถจักรยาน «

Brisbane_bicycle-300x202» ภายในตัวเมืองบริสเบน มีระบบทางจักรยานที่ครอบคลุมทั่วพื้นที่ การเดินทางด้วยจักรยานเป็นทางเลือกที่มีความสนุก และประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากจะปั่นไปเรียนหรือทำงาน ก็ยังสามารถปั่นเที่ยวตามทางเลียบแม่น้ำบริสเบนหรือตามเส้นทางอื่นๆได้อีกด้วย

» เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักจะเดินทางโดยรถเมล์ เรือหรือรถไฟ จึงนำประสบการณ์และรายละเอียดการเดินทางแต่ละประเภท มาเล่าสู่กันฟัง

» การเดินทางโดยรถเมล์ «

บริการรถเมล์โดยสารที่ให้บริการในตัวเมืองบริสเบน มี 3 บริษัทใหญ่ๆด้วยกัน คือ

Brisbane_brtransport-261x300

» Brisbane Transport «

» (Tel. 13 12 30) ให้บริการ City bus, Ferry และให้บริการร่วมอย่างใกล้ชิดกับ QR City Train ในบางบริการ

Brisbane_nation-300x223
» National bus «

» ให้บริการ รถเมล์ทางไกล ไปยัง Suburbหรือหัวเมืองที่ไกลออกไป

Brisbane_sunshine-300x184

» Sunshine Coast Sunbus «

» ให้บริการ รถเมล์ทางไกล ไปยังหัวเมืองทางเหนือ ไปจนถึงนูซ่า

****** บริษัทแรก เทียบได้กับ ขสมก. ส่วนบริษัทอื่นๆ เทียบได้กับ รถทัวร์ต่างจังหวัดในประเทศไทยนั่นเอง ซึ่งรถเมล์โดยสารที่คนใช้บริการส่วนใหญ่ก็คือของบริษัทแรก รถเมล์ที่นี่ โดยมาก เป็นรถที่ค่อนข้างจะเป็นรถที่ใหม่มาก ใช้แก๊ส บรรยากาศภายในรถไม่ทึบ ดูสว่างไม่อึดอัด และลดมลภาวะด้วย

» การเก็บค่าโดยสาร «

» จะมีเพียงคนขับรถ ทำงานบนรถคนเดียวเท่านั้น ไม่มีคนเก็บเงิน คนขับทำหน้าที่เก็บเงินไปในตัว ผู้โดยสาร จะต้องเรียงแถวขึ้นที่ประตูด้านหน้าทีละคน เพื่อบอกปลายทาง และจ่ายเงินที่คนขับ ยกเว้นว่า ใครที่มีตั๋วแบบสิบเที่ยว ก็สามารถใช้เสียบในเครื่องคิดเงินแล้วเดินผ่านได้เลย โดยไม่ต้องรอจ่ายเงินให้คนขับ กรณีนี้ จะสามารถขึ้นรถได้ทีละสองคนพร้อมกันเพราะมีสองเครื่อง
» การคิดค่าโดยสาร จะแบ่งการเดินทางออกเป็น โซนๆ ราคาค่าโดยสาร จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนโซนที่เราเดินทาง ราคาค่าโดยสาร ต่อเที่ยว โดยประมาณ (ราคาปกติ/ราคาจากการซื้อตั๋วสิบเที่ยว)

อัตราการเก็บค่าโดยสาร
Zone
ราคาตั๋วปกติ / ราคาตั๋วสิบเที่ยว
1 zone
$1.80 / $1.38
2 zone
$2.80 / $2.06
3 zone
$3.20 / $2.78
Off-peak
$4.60 / ซื้อครั้งเดียว ใช้ได้ทั้งวัน ในช่วงเวลาที่กำหนด

» นอกจากนี้ก็ยังมีตั๋ววัน ราคา $8.40 นั่งรถเมล์ และเรือ ไปไหนก็ได้ตลอดวัน ไม่มีช่วงเวลา ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว และตั๋ว 2 ชั่วโมง ราคา $3.80 สามารถนั่งรถเมล์ เรือ ไปไหนก็ได้ รวมทั้งรถไฟในช่วงระยะทางที่กำหนด ได้ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว ภายใน 2 ชั่วโมงอีกด้วย

» ส่วนลด «

» นักเรียน ที่เรียนในโรงเรียนที่มี Contact กับทาง City Council จะมีบัตรนักเรียน ซึ่งมีสัญลักษณ์ QR บนบัตร ก็จะสามารถใช้ลดราคาได้ ครึ่งหนึ่งโดยประมาณ ทั้งรถเมล์ รถไฟ และเรือ บุคคลที่มีสิทธิ์รับส่วนลดเช่นเดียวกับนักเรียน ก็คือ คนแก่ อายุเกิน 60 และ คนออสซี่ที่ตกงาน ก็จะได้รับส่วนลดนี้เช่นกัน ซึ่งจะต้องแสดงบัตรเมื่อจ่ายเงินค่าโดยสาร

» การกำหนดเวลาการวิ่งให้บริการที่แน่นอน (เวลาโดยประมาณ) «

» ป้ายรถเมล์ จะมีป้ายบอกเวลาของการให้บริการ ซึ่งก็มีหลายแบบด้วยกัน ถ้าป้ายไหนที่มีรถเมล์จอดหลายสายมากๆ ก็จะมีป้ายขนาดใหญ่ติดข้างฝา ปกติ ป้ายแบบนี้จะมีเฉพาะสถานี ที่เป็น Busway Station เท่านั้น หรือบางที่ก็จะเป็น ป้ายไฟ สำหรับ Busway Stations ก็จะมีทั้งสองแบบ

» ในบางถนนที่รถเมล์วิ่งผ่านเยอะมากๆ เช่น Adelaide St. เป็นต้น รถเมล์จะไม่จอดทุกป้าย แต่จะกำหนดให้แต่ละสาย จอดเฉพาะบางป้าย เพื่อลดจำนวนของรถที่มาออกัน
ถ้าป้ายไหน ไม่มีรถจอดมากนัก พอจะเขียนลงในกรอบเล็กๆ กรอบสองกรอบพอ เค้าก็จะติดกรอบป้ายบอกเวลานั้น เอาไว้กับเสาของป้ายรถเมล์

» ข้อสำคัญเกี่ยวกับเวลาการเดินรถคือ วันธรรมดา วันเสาร์ และวันอาทิตย์ จะมีแผนการเดินรถไม่เหมือนกัน ต้องตรวจสอบให้ดี เพราะ ถ้าไม่ใช่เส้นทางสำคัญๆ ก็ไม่มีมาบ่อยๆ โดยเฉพาะวันอาทิตย์ ถ้าพลาดแล้ว อาจจะต้องรออีกเป็นชั่วโมง หรือมากกว่านั้น

» Public holiday ใช้ตารางเดินรถเดียวกันกับวันอาทิตย์ ทั้งรถเมล์ รถไฟ และเรือ «

» สำหรับบางเส้นทาง ที่มีการให้บริการคับคั่ง ทาง Brisbane Transport ได้สร้างถนนพิเศษ ซึ่งอนุญาตให้รถเมล์ใช้งานเท่านั้น เรียกกันสั้นๆว่า Busway ตลอดเส้นทางที่เป็น Busway ทุกสถานี จะใช้แปลนเดียวกันทั้งหมด มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสาร อย่างเพรียบพร้อม ไม่ว่าจะเป็น ตารางบอกเวลา ทั้งแบบติดข้างฝา และ ป้ายไฟ , ที่นั่ง

» สะพานลอยข้ามไปยังแพลตฟอร์มฝั่งตรงข้าม(ไม่อนุญาตให้วิ่งข้ามถนนในบริเวณ Busway station) แล้วก็ ลิฟต์ เพื่อขึ้นไปยังสะพานลอย

» คนตรวจตั๋ว มักจะขึ้นไปตรวจบนรถ เวลาขึ้นบัสเวย์ เพราะระยะทางมันไกล กว่าจะถึงป้ายถัดไป คนที่โกง จะแอบลงก่อน ก็ไม่มีโอกาส ดังนั้นใครคิดจะโกงค่าโดยสารรถเมล์ เวลาขึ้นรถสายที่ผ่านบัสเวย์ช่วงยาวๆ ก็ระวังจะเสียค่าปรับ 150 $ และเสียประวัติได้
» ตอนนี้รถเมล์ เริ่มมีพัฒนาการใหม่ คือสามารถเอาจักรยานขึ้นรถเมล์ได้ (มากสุดทีละ 2 คัน) ซึ่งเค้าจะเอาไปใส่ไว้ในซองพิเศษ ที่เรียกว่า Bike rack ที่ด้านหน้าของรถเมล์

อีกเรื่องที่สำคัญ คือไม่ว่าจะเป็น รถเมล์ รถไฟ และเรือ ห้ามนำของกินและเครื่องดื่ม ขึ้นมากินบนรถ ถ้าฝ่าฝืน ค่าปรับ $150

 

» การเดินทางโดยเรือ City Cat «

» ตัวอาคารท่าเรือ เหมือนบ้านการ์ตูน ตัวโป๊ะ แข็งแรง ในตัวอาคารจะมีที่นั่งอยู่รอบๆ มีส่วนที่เป็นระเบียง เพื่อให้นั่งชมวิวแม่น้ำได้ชัดเจน แล้วที่ข้างฝา ก็จะมีป้ายตารางเวลาให้บริการ และป้ายบอกการแบ่งโซน ซึ่งป้ายนี้จะไม่เป็นวงๆเหมือนรถเมล์ แต่จะเป็นรูปแม่น้ำ แล้วก็เส้นทางการบริการ และมีจุดไข่ปลาแบ่งโซน เรียกว่า Zone boundary

» เมื่อเรือมาก็เดินลงไปตามแรมพ์ หรือทางเดินลงไปยังโป๊ะ (ผู้โดยสารไม่ได้รับอนุญาตให้เดินลงไปรอที่โป๊ะ จนกว่าจะได้รับสัญญาณจากพนักงานในเรือ แล้วก็ต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่ขึ้นจากเรือ จะขึ้นมาจนหมดซะก่อน ถึงจะเดินลงไปได้) โดยจะมีป้ายเตือนไว้ที่ทางเดิน เป็นประตูพับได้ เดินลงมาจนถึงในตัวเรือแล้ว ก็เดินไปจ่ายค่าโดยสารในเรือ City Cat มีเครื่องคิดค่าโดยสารสีเขียวๆ เหมือนในรถเมล์เหมือนกัน สามารถใช้ตั๋วเดียวกันนั้น เสียบเดินทางได้ทั้งรถเมล์ เรือ และรถไฟในบางบริการอีกด้วย

» ตัวเรือจะมีระเบียงด้านหน้า และด้านหลัง ซึ่งอนุญาตให้ผู้โดยสารไปยืน (สำหรับด้านหน้า) หรือนั่ง และยืน สำหรับด้านหลัง ได้อีกด้วย ถ้าไปยืนด้านหน้าจะเห็นวิวอะไรชัดเจนดี บรรยากาศดีด้วย เรือนี้จะจอดทุกท่าที่มีในระบบ ดังนั้นจึงไม่ต้องกดกริ่งก่อนลง

» เรือ City Cat จะมีช่วงเวลาการให้บริการประมาณ ทุกๆ 30 นาที หรือบ่อยกว่านั้น ในช่วงเวลาเร่งด่วน นอกจากนี้ยังสามารถเอาจักรยาน ขึ้นเรือข้ามฟากได้ โดยจะต้องจอดไม่ให้กีดขวางทางคนอื่นเท่านั้นก็พอ

» การเดินทางโดยรถไฟ «

» ยกตัวอย่างจากสถานีหลัก คือ Central Station เริ่มจากเข้าไปในสถานีก็จะเห็น เครื่องขายตั๋วอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า Ticket Vending Machine วางเรียงรายกันอยู่หลายตู้ ต้องการไปที่ไหนก็แค่กดปุ่มตัวเลขปลายทาง เครื่องก็จะบอกจำนวนเงินที่จะต้องจ่าย เราก็หยอดไปเท่านั้น มันก็จะออกสลิปตั๋วรถไฟมาให้ นอกจากนี้ถ้าใครไม่มีเหรียญ เค้าก็มี เครื่องแลกเหรียญอัตโนมัติ ไว้ให้แลกเหรียญอีกด้วย
» จากนั้นก็เดินเข้าไปที่ทางลงแพลตฟอร์ม ถ้าเป็นสถานีใหญ่ๆ ในเมือง หรือเรียกรวมกันว่า CBD Stations (Central Business District) คือ Central Station , Roma Street Station และ Brunswick Street Station จะมีคนตรวจ ตรงทางเข้าออก แต่สถานีอื่นๆ จะไม่มีคนตรวจ มีเพียงการสุ่มตรวจโดย อินสเปคเตอร์ ที่จะขึ้นมาบนรถไฟ ที่ไหน และเมื่อไร อันนี้ก็ไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้

» สำหรับส่วนลดก็มี ตั๋ว Off peak คือการซื้อตั๋วแบบไป-กลับ ตั้งแต่เวลา 9.00 เป็นต้นไป ของวันปกติ จะมีส่วนลดให้ 30% จากค่าโดยสารไปกลับ และ Fare Buster คือการซื้อตั๋วไป-กลับ ในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ หรือ public holiday จะคิดค่าโดยสารเพียงเที่ยวเดียว นั่นก็คือ เที่ยวกลับ นั่งฟรี

» ระบบประตู «

» เป็นประตูกึ่งอัตโนมัติ คือจะไม่เปิดเองทุกประตู ทุกสถานี แบบ BTS บ้านเรา แต่จะต้องกดคันโยก หรือปุ่ม เพื่อสั่งให้เปิดประตู ไม่ว่าจะเป็นคนขึ้นหรือคนลง ทั้งนี้เพื่อลดการเปิดประตูโดยไม่จำเป็น คันโยกหรือปุ่มนี้ จะใช้การได้ ก็ต่อเมื่อรถไฟจอดสนิทที่สถานีแล้ว และไฟ Doors released ติดแล้วเท่านั้น เวลาประตูจะปิด ก็คล้ายๆ BTS คือจะมีเสียงเตือน ต่างกันแต่ว่า BTS จะดัง ติ๊ดๆๆๆๆๆ แต่นี่ จะดัง ติ๊งต่องงงง แล้วก็มีเสียงพูดว่า Doors are closing. Please stand clear. แล้วประตูก็จะปิด รถไฟก็ออกตัวทันที

» สำหรับคนที่มีจักรยาน หรือรถเข็นเด็กสามารถนำขึ้นบนรถไฟได้ ขอเพียงไม่ทำให้เกะกะเท่านั้นเป็นพอสำหรับรถไฟที่วิ่งทางไกล ก็จะมีห้องน้ำให้ด้วย
รถไฟ City Train จะไม่มีเป็น ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ไม่ว่าที่นั่งจะแตกต่างกันยังไงก็ตาม ก็จะคิดราคาเท่ากันหมด รถไฟบางขบวนที่วิ่งระยะทางไกลๆ เช่น ขบวนที่วิ่งไปจากในเมือง ถึง Caboolture , Nambour , Gympie North อาจจะใช้ขบวนรถที่มีที่นั่งดีกว่าปกติ

» นอกจากนี้ยังมี Tilt Train ซึ่งเป็นรถไฟที่ ให้บริการจากบริสเบน ถึง Cairn (อ่านว่า แคน) ซึ่งเป็นเมืองทางเหนือ ระยะทางประมาณ 1000 กิโลเมตร อยู่ใกล้ๆชายทะเล เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงจาก เกรท แบริเออรีฟ นั่นเอง