สถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำ

» พระราชวัง «

สถานที่ท่องเที่ยวเกาหลี

» พระราชวังคยองบก หรือ เคียงบก ตั้งอยู่ที่ตอนเหนือของกรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เป็นหนึ่งในห้าพระราชวังใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยราชวงศ์โชซอน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1937 (ค.ศ. 1394) โดย ชองโดจอน และได้กลายเป็นพระราชวังหลวงสำหรับประทับว่าราชการของกษัตริย์และเหล่าเชื้อพระวงศ์ของเกาหลีมาโดยตลอด และได้รับการต่อเติมโดยพระเจ้าแทจงและพระเจ้าเซจงมหาราช แต่บางส่วนของพระราชวังนั้นถูกเพลิงเผาวอดในช่วงที่ญี่ปุ่นบุกประเทศเกาหลี
» พระราชวังมีเนื้อที่ 5.4 ล้านตารางฟุต โดยในช่วงต้นราชวงศ์โชซอนมีตำหนักอาคารมากถึง 200 อาคาร กระทั่งปี พ.ศ. 2135 ที่กองทัพญี่ปุ่นบุกรุกประเทศเกาหลี ตำหนักต่างๆ ได้ถูกทุบทำลาย ถูกเผาทิ้งไปเป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะได้รับการบูรณะซ่อมแซม และสร้างพระราชวังขึ้นมาใหม่ในแบบฉบับเดิม โดยในปัจจุบันมีตำหนักทั้งสิ้น 10 ตำหนัก คำว่า “เคียงบกกุง” ในภาษาเกาหลี แปลว่า “พระราชวังแห่งพรที่ส่องสว่าง (The Palace of Shining Blessings)”

2

» พระราชวังชางด๊อกกุง หรือ พระราชวังชางด๊อก หนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดในสาธารณรัฐเกาหลี สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแทจงแห่งราชวงศ์โชซอน เมื่อปี พ.ศ. 1948 (ค.ศ. 1405) แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 1955 (ค.ศ. 1412) ด้วยเหตุที่พระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระราชวังเคียงบก (Kyeongbok Palace) ผู้คนจึงเรียกพระราชวังแห่งนี้ว่าพระราชวังตะวันออก (East Palace) ซึ่งต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าซอนโจ กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งโชซอนได้โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหญ้าของพระราชวังเป็น 500,000 ตารางเมตร

3 » พระราชวังท๊อกซู «

4

» พระราชวังเคียงฮึยกุง หรือ พระราชวังเคียงฮึย เป็นหนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดของราชวงศ์โชซอนและเกาหลีพระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ สร้างในช่วงราชวงศ์โชซอนตอนปลายและพระราชวังแห่งนี้ได้เป็นพระราชวังแห่งที่ 2 ขององค์พระมหากษัตริย์ โดยพระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ทางตะวันตกของโซล จึงเรียกว่า ซอกโวล (พระราชวังตะวันตก) โดยตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าอินโจ – พระเจ้าชอลจง เป็นเวลา 10 รัชกาลที่ประทับที่นี่

5

» พระราชวังชางเกียงกุง (Chang Gyeong Gung) หรือ พระราชวังชางเกียง หนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดใน เกาหลี ตั้งอยู่ในกรุง โซล ประเทศ เกาหลีใต้ เดิมเป็น พระราชวังฤดูร้อน ของกษัตริย์ ราชวงศ์โครยอ กระทั่ง พระเจ้าเซจงมหาราช มีดำริที่จะสร้างพระราชวังถวายแก่พระราชบิดาคือ พระเจ้าแทจง แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2026 ในรัชสมัย พระเจ้าซองจง ทรงโปรดให้บูรณะซ่อมแซมและขยายอาณาเขตของพระราชวัง และในปี พ.ศ. 2295 ได้มีกษัตริย์องค์หนึ่งประสูติ ณ พระราชวังแห่งนี้คือ พระเจ้าจองโจ หรือ องค์ชายลีซาน และระหว่างยุคล่าอาณานิคมของญี่ปุ่น พวกญี่ปุ่นได้สร้างสวนสัตว์ สวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์ไว้ที่นี่ จนในปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526) ได้มีการย้ายสวนสัตว์และสวนสาธารณะออกไปเหลือแค่พิพิธภัณฑ์เท่านั้น

» สถานที่ช๊อปปิ้ง «

 

t2

ห้างสรรพสินค้า Coex Mall

t1

ห้างสรรพสินค้า Central City Seoul

t5

ห้างสรรพสินค้า Lotte

t8

ช๊อปปิ้งย่าน Itaewon

t6

ตลาดเมียงดง ( Myeongdong Market )

t7

ตลาดนัมแดมุน ( Namdaemun Market )

t3

ตลาดทงแดมุน ( Dongdaemun Market )

t9

เมืองลอยฟ้า ณ สนามบินคิมโป

t4

ถนนอินซาดง( Insadong shopping street )

» สถานที่เที่ยวอื่น ๆ «

 

Seoraksan National Park Entrance
o2 o3
อุทยานแห่งชาติซอรัคซาน
(Seoraksan National Park)
โรงละครแห่งชาติ หอคอยกรุงโซล (Seoul Tower)
o4 o5 o6
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
(National Folk Museum of Korea)
ประตูควางฮวามุน ( Gwanghwamun) ศูนย์กลางศิลปะการแสดง เซจงเซ็นเตอร์
( Sejong Centre)
OLYMPUS DIGITAL CAMERA o8 OLYMPUS DIGITAL CAMERA
แดจังกึม Theme Park
( Dae Jung Kum Theme Park )
เกาะนามิ ( Namiseom ) ล็อตเต้เวิลด์ ( Lotte World )
o10 o11
เอเวอร์แลนด์ (Everland) เกาะเชจู ( Jeju )

» อาหาร «

f1
f2 f3
ผักดองเกาหลีกิมจิ (Kim Chi)
เนื้อย่างเกาหลี ( Bulgogi, Galbi)
สตูว์ ( Jjigae )
f4 f5 f6
ไก่ตุ๋นโสม ( Samgyetang )
บะหมี่เย็น ( NaengMyeon )
ข้าวยำ ( BiBimBap )

» เทศกาลในฤดูต่างๆ «

 

~ ฤดูหนาว ~

 

เทศกาลตกปลาน้ำแข็งที่อินเจ (Ice Fishing Festival)

 

s1

» เทศกาลตกปลาน้ำแข็ง ณ บริเวณทะเลสาบโซยัง เมืองอินเจ ซึ่งเป็นเมืองที่สายน้ำมีความใสสะอาดที่สุด อีกทั้งป่าไม้ที่ปกคลุมทั่วขุนเขาและหุบเขาที่สลับซับซ้อน ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนและผจญภัยที่ได้มาตรฐานมากที่สุดของประเทศ

» เทศกาลตกปลาน้ำแข็ง ที่ใน 1 ปี จะมีเพียงครั้งเดียวและช่วงเวลาเดียวเท่านั้นคือ ราวปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ประมาณ 2 อาทิตย์ ผืนน้ำที่กลายเป็นลานน้ำแข็งกว้างไกลสุดสายตาส่วนหนึ่งจะถูกกันไว้สำหรับบรรดานักตกปลาที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์อีกรูปแบบหนึ่ง กับการตกปลาบิงงอปลาน้ำแข็งขนาดเล็กประมาณนิ้วก้อยที่จะมีเฉพาะช่วงที่น้ำในแม่น้ำมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเท่านั้นโดยน้ำแข็งในบริเวณนั้นจะถูกเจาะเป็นหลุมเรียงกันเป็นแถวส่วนผู้มาเที่ยวชมก็แค่ซื้อเบ็ดที่มีตะขออันเล็กๆเป็นช่วงๆ ตามเอ็นที่ห้อยยาวลง หลังจากนั้นก็เอาไปหย่อนลงในโพรงน้ำแข็งที่เจาะไว้ให้แล้วก็นั่งรอเวลาปลากินเบ็ดปลาที่ตกขึ้นมาได้ คนเกาหลีจะสามารถรับประทานได้ทันทีแบบสดๆ พร้อมจิ้มกับน้ำจิ้มพริกสไตล์เกาหลี นอกจากนี้ยังมีการจัดการแข่งขันฟุตบอลบนน้ำแข็ง และกีฬาน้ำแข็งอื่นๆ การแข่งขันชิงแชมป์สุนัขลากเลื่อนหิมะ และรถแข่งหิมะ

เทศกาลหิมะแทแบคซาน (Taebaek Snow Festival)

 

s2

» ในทุกฤดูหนาวจะมีการจัดเทศกาลหิมะขึ้นที่จังหวัดคังวังโด โดยจะจัดในช่วงระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่บริเวณอุทยานภูเขาแทแบ็ค และในส่วนอื่นๆด้วย เพื่อร่วมฉลองเทศกาลนี้ ซึ่งจัดขึ้นเพียง 9 วัน ต่อปีเท่านั้น งานยิ่งใหญ่ประจำปีนี้จัดมาตั้งแต่ปี 1995 โดยใช้ทัศนียภาพความสวยงามของภูเขาหิมะแทแบคเป็นฉาก ในช่วงนั้น ภูเขาแทแบคจะกลายเป็นสีเงินสดใสที่ถูกห่มไว้ด้วยหิมะขาวโพลน
ในงานเทศกาลหิมะนี้จะมีรายการที่น่าสนใจหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นขบวนพาเหรดที่เดินจากท้องถนนไปยังภูเขาแทแบค มีบรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองที่เรียกว่ากิลนอรี ภายในงานมีการแสดงการประกวดประติมากรรมน้ำแข็งระดับประเทศ โดยศิลปินมืออาชีพระดับโลกรวมถึงระดับประเทศเกาหลีเองด้วย นอกจากนี้ยังมีการแสดงมายากล คอนเสิร์ต การแข่งขันประดิษฐ์ตุ๊กตาหิมะในหมู่สมาชิกครอบครัว เลื่อนหิมะการวิ่งแข่งมาราธอนหิมะเกมพื้นบ้านบนหิมะ และ งานออกร้านอาหารพื้นบ้านฤดูหนาวเป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสกับบรรยากาศอันโรแมนติกของฤดูหนาวที่เกาหลีใต้

~ ฤดูใบไม้ผลิ ~

 

เทศกาลโคมไฟดอกบัว (Lotus Lantern Festival)

 

s3

» เทศกาลที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เหล่าพุทธศาสนิกชนในเกาหลีใต้จะร่วมแห่ขบวนโคมไฟดอกบัว และเดินขบวนแห่มังกร ในวันก่อนถึงวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน จะมีการห้อยโคมไฟดอกบัวหลากสีสัน พร้อมการจัดเทศกาลรื่นเริงทั่วประเทศ ตั้งแต่ในพระราชวังไปจนถึงหมู่บ้านเล็กๆ

» ปัจจุบันเทศกาลโคมไฟดอกบัวได้กลายเป็นงานประเพณี ประจำปีไปแล้ว โดยเฉพาะในใจกลางกรุงโซล จุดเด่นของงานคือ ขบวนพาเหรดโคมไฟในใจกลางกรุงโซล โดยเริ่มขบวนตั้งแต่สนามกีฬาทงแดมุน ใกล้บริเวณวัดพงอึนซา ไปจนถึงวัดโชเกซาในย่านชงโน เส้นทางของขบวนประมาณ 5 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยแสงสีจากโคมไฟในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ เช่น มังกร เสื้อ หรือช้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และมีขบวนพาเหรดของประเทศต่างๆ ที่ผู้คนนับถือศาสนาพุทธ เช่น อินเดีย จีน ศรีลังกา เนปาล รวมทั้งจากประเทศไทยด้วย
นอกจากนี้ผู้ร่วมงานสามารถเดินชมนิทรรศการเกี่ยวกับศาสนาพุทธ
ตลอดแนวถนน และกิจกรรมทางด้านบันเทิง และพุทธสาระ ตลอดจนการทำโคมบัวด้วยตัวเองเพื่อร่วมขบวน ซึ่งมีอุปกรณ์และผู้สอนฟรี การทำสมาธิ และการแสดงระบำพื้นเมือง พร้อมการละเล่นพื้นเมืองของประเทศต่างๆ

~ ฤดูใบไม้ร่วง ~

 

เทศกาลระบำหน้ากาก (Mask Dance Festival)

 

s4

» จัดขึ้นในเมืองอันดง ซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมขงจื๊อของเกาหลี จะมีทั้งการแสดงของเกาหลีเอง และจากนานาประเทศ ที่หมู่บ้านฮาโฮ ที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งหนึ่งของเกาหลี ที่นี่นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ชมการเต้นรำหน้ากากในป่าสนแล้ว ยังได้ตื่นตาตื่นใจกับ “ฮาโฮ ซอนยูจุลบุลโนรี” ซึ่งเป็นดอกไม้ไฟพื้นเมืองของเกาหลี ที่จุดข้ามท้องฟ้าเวลากลางคืน ทำให้เกิดบรรยากาศที่สวยงามสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เหล่าบรรพบุรุษเชื่อว่า ซอนยูจุลบุลโนรีสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคภัยไข้เจ็บ และเพื่อปัดเป่าความโชคร้าย

» หน้ากากที่หมู่บ้านฮาโฮจะมีจุดเด่นตรงที่ทำด้วยไม้ทั้งหมด ถ้าเมืองหรือหมู่บ้านอื่นจะใช้วัสดุอื่นร่วมด้วย เช่น กระดาษ ผลน้ำเต้า และขนสัตว์ ส่วนละครระบำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดได้แก่ ฮาโฮ เบียวซินกุต ทัลลอรี ซึ่งเป็นละครระบำหน้ากากนักบวชซึ่งได้มีการเล่นมากว่า 500 ปี ในหมู่บ้านฮาโฮ เป็นการสวดขอพรเทวดาผู้พิทักษ์ให้มีสุขภาพดี และเกิดสันติสุขในชุมชน เพิ่มเติมสีสันด้วยคำถากถางอันเผ็ดร้อนต่อบรรดาชนชั้นสูงที่ทุจริต และพระที่กระทำผิด หรือพระที่ฟุ่มเฟือย

~ ฤดูร้อน ~

 

เทศกาลโคลนโพเรียง (Boryeong Mud Festival)

 

s5

» จัดขึ้นช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ชายหาดแดเจิน เมืองโพเรียง จังหวัดชุงชองนัมโด ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเกาหลีใต้ สิ่งที่ดึงดูดให้มีผู้มาเยือนตลอดปีของที่นี่ก็คือ “หาดแทชอน” ซึ่งเป็นหาดรูปจันทร์เสี้ยวที่ยาวที่สุดในฝั่งทะเลตะวันตก “หาดมูจางโป” ที่มีชื่อเสียงว่าเป็นปาฏิหาริย์แห่งโมเสสอีกแห่งนอกจากที่เกาะชินโด เนื่องด้วยความมีชื่อเสียงของโคลนที่เมืองโพเรียง ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญกันว่ามีคุณสมบัติในการบำรุงผิว สามารถช่วยป้องกันรังสีอินฟาเรด และมีแร่ธาตุต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แร่ธาตุเจอเมเนี่ยม ที่ช่วยปกป้องผิวและรักษาโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังได้หลายชนิด มีส่วนช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือด ประทินผิว ช่วยชะลอความชรา ลบรอยเหี่ยวย่น ขจัดน้ำมันส่วนเกิน และคราบสกปรกจากผิวหนัง เทศกาลนี้จึงเป็นที่นิยมของผู้คนทั้งชาวเกาหลีและชาวต่างชาติ ซึ่งนิยมมาพอกโคลนบำรุงผิวกันที่นี่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน

» สำหรับรายการสำคัญของงาน มีทั้งการบรรยายเกี่ยวกับสุขภาพและอนามัย ภาคปฏิบัติเกี่ยวกับโคลน เช่น การนวดตัวด้วยโคลน การบำรุงผิว และแต่งหน้าด้วยโคลน การแข่งขันมวยปล้ำ และชักเย่อในโคลน นอกจากนี้ยังมีการแสดงทางด้านวัฒนธรรม และการละเล่นพื้นเมืองของเกาหลี การประกวดภาพถ่าย และการแข่งขันวอลเล่ย์บอลชายหาด และการประกวด “ราชาโคลน” ชิงเงินรางวัล 2 ล้านวอนผู้มาเยือนยังสามารถหาซื้อ
เครื่องประทินโฉมที่ทำจากโคลนในราคาพิเศษ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีชื่อเสียง
ในต่างประเทศและได้เริ่มแพร่หลายในเมืองไทยด้วยเช่นกัน

» การละเล่น «

 

การเล่นว่าว / ยอนนัลลีกี

» เป็นการละเล่นที่ผู้คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชื่นชอบมาตั้งแต่โบราณ โดยเป้าหมายในการแข่งว่าวของชาวเกาหลี คือ ชักว่าวของตนให้ไปตัดสายป่านว่าวของฝ่ายตรงข้ามให้ขาดจนหัวปักลงดินให้ได้ ว่าวรูปสี่เหลี่ยม (ยอน) ทำขึ้นด้วยการขึงไม้ไผ่บนแผ่นกระดาษชังโฮจิตามขวางและเย็บเข้าติดกัน และสายป่านมักทำจากไหมที่โรยเศษกระเบื้อง หรือกากเพชรละเอียดเคลือบไว้เพื่อให้คม เพียงเท่านี้ ว่าวก็พร้อมจะถูกปล่อยให้ลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า

» การเล่นว่าวเป็นที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะในวันประเพณีต่างๆ เช่นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ หรือวันฉลองอื่นๆของชาวบ้าน มีการชิงชนะเลิศการเล่นว่าวไปหลายๆเมืองในเกาหลี หรือวันอาทิตย์ที่ลมดี จะมีสมาชิกชมรมว่าวของกรุงโซลออกมาแข่งขันกันที่สวนสาธารณะฮันกัง งานเทศกาลว่าวนานาชาติของที่นี่ จะจัดขึ้นในเดือนแรกของปีตามปฏิทินทางจันทรคติ

หมากล้อม (Baduk)

 

s6

» พาดุก หรือในภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า “โกะ” หรือหมากล้อม เป็นการละเล่นแบบกระดาน โดยมีผู้เล่น 2 คน แข่งกันยึดครองพื้นที่บนกระดาน กระดานพาดุกจะตีเส้นตรงตัดกัน ในแนวตั้งและแนวนอน ด้านละ 19 เส้น ตัวหมากแบ่งเป็นหมากขาวและหมากดำ ในสมัยโกคูรยอและแพ็กเจ พาดุกถือเป็นการละเล่นสำหรับขุนนางชั้นสูงและเพิ่งจะ กลายมาเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวบ้านเมื่อหลังปี 1945 นี้เท่านั้น ปัจจุบันเกาหลีมีศาลาเล่นพาดุกตั้งอยู่ตามเมืองต่างๆ แทบจะทุกแห่งก็ว่าได้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่จะชอบเล่นพาดุกกัน นอกจากจะเล่นเพื่อความสนุกสนานแล้ว ยังช่วยฝึกสมองให้รู้จักคิดและเล่นยากกว่าหมากรุก พาดุกจึงได้รับความนิยมเล่นอย่างแพร่หลาย ในภาคตะวันออกไกลและทั่วโลก บัดนี้กลายเป็นการละเล่นระดับสากลไปแล้ว

กระดานหก ( Neolttwigi )

 

s7

» กระดานหกเป็นประเพณีการละเล่นแบบชาวบ้านสำหรับสุภาพสตรี วิธีการก็คล้ายกับม้ากระดกแบบตะวันตก นั่นคือ มีแผ่นไม้ยาว ซึ่งส่วนกลางจะตั้งอยู่บนกองฟางที่แห้งแข็ง ผู้เล่นจะมี 2 คน โดยแต่ละคนจะผลัดกันกระโดดลงบนลายไม้แต่ละข้าง ส่งให้อีกฝ่ายตัวลอยขึ้นกลางอากาศ การละเล่นนี้มักจะเล่นกันในวันหยุดตามประเพณีต่างๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ วันชูซก หรือวันทาโน๊ะ ซึ่งจัดในช่วงฤดูใบไม้ผลิมาแต่ครั้งโบราณ การละเล่นเหล่านี้คิดค้นขึ้นเพื่อให้สตรีชั้นสูงของเกาหลีในสมัยโบราณ มีโอกาสได้มองเห็นความเป็นไปของโลกนอกกำแพงบ้านอันสูงใหญ่บ้าง เพราะพวกนางไม่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกบ้านในเวลากลางวัน

» ไพ่เกาหลี / ฮวาทู «

» ไพ่เกาหลีเรียกว่า ฮวาทู มีขนาดเท่ากลักไม้ขีดไฟ นอกจากใช้เล่นเพื่อความเพลิดเพลินแล้วยังใช้ไพ่ในการทำนายโชคชะตาได้อีกด้วย 1 สำรับมีไพ่ทั้งหมด 48 ใบ แทนเดือนทั้ง 12 เดือนใน 1 ปี ดังนี้

  • ไพ่ต้นสน = มกราคม
  • ต้นพลัม = กุมภาพันธ์
  • เชอร์รี่ = มีนาคม
  • โคลฟเวอร์ป่า = เมษายน
  • กล้วยไม้ = พฤษภาคม
  • โบตั๋น = มิถุนายน
  • ไอริส = กรกฎาคม
  • พระจันทร์ = สิงหาคม
  • เบญจมาศ = กันยายน
  • เมเปิ้ล = ตุลาคม
  • พาวโลเนีย = พฤศจิกายน
  • สายฝน = ธันวาคม
» ชิงช้า / คึเนตุยกี «

» ชิงช้านี้ก็เป็นการละเล่นแบบชาวบ้านอีกอย่างหนึ่ง ที่นิยมเล่นกันในหมู่สุภาพสตรีเช่นเดียวกับนอลตุยกี และนิยมเล่นกันในวันทาโน๊ะ คึเนเป็นชิงช้าของเกาหลีทำขึ้นโดยใช้เชือก 2 เส้น ซึ่งมีความยาว 6 เมตร ผูกติดกับแผ่นไม้และนำไปแขวนติดกับต้นไม้สูงหรือผูกติดกับไม้ซุง ซึ่งต่อเป็นคานแล้วแกว่งตัวขึ้นไปกลางอากาศอย่างสนุกสนาน หญิงสาวชาวเกาหลีจะโล้ชิงช้าคึเนนี้ไปได้สูงทีเดียว คึเนตุยกีจึงเป็นการละเล่นที่ชาวบ้านทุกเพศทุกวัยเล่นกันในระดับประเทศ

» แบ็กแกมมอน / ยุทโนรี «

» เป็นเกมที่ผู้สูงอายุนิยมเล่นกันตามริมถนนโดยใช้แท่งไม้ยาว 10 นิ้ว 4 แท่ง โยนขึ้นไปกลางอากาศ ผู้เล่นจะเดินเบี้ยของตนไปตามจำนวนแท่งไม้ที่หงายขึ้นหรือคว่ำลง เพื่อนำเบี้ยทั้ง 4 ตัวไปถึงเส้นชัย ชาวเกาหลีนิยมเล่นกันในเดือนมกราคมตามจันทรคติ และเป็นการละเล่นของเกาหลีแท้ๆ ยุท เป็นคำๆหนึ่งในเกมนี้ (โด, เก, กล, ยุท และโม) หมายความว่า “สี่” เกมมีความคล้ายคลึงกับเกมพาชีสิ แต่การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ทีม ซึ่งจะเดินหมากไปรอบๆ หลังจากการโยนไม้

» หมากรุกเกาหลี / จางกี «

» เกาหลีรับเอาหมากรุกจากแถบเมโสโปเตเมียผ่านเข้ามาทางประเทศจีน ชายชาวเกาหลีมักจับกลุ่มเล่นหมากรุกกันทั้งตามบาทวิถี ในร้านค้าและตามสวนสาธารณะ ชางกีเป็นการละเล่นแบบกระดานคล้ายหมากรุก กระดานและตัวหมากเดินทำด้วยไม้หรือพลาสติก มีผู้เล่น 2 คน ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะมีหมาก 16 ตัว ประกอบด้วย ขุนหนึ่ง รถศึกสอง ปืนใหญ่สอง ม้าสอง ช้างสอง องครักษ์รักษาวังสอง และพลทหารอีกห้า โดยจะเขียนสัญลักษณ์อักษรจีนเอาไว้บนตัวหมาก ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องรุกฆาตขุนของฝ่ายตรงข้ามให้ได้ บรรดานักเล่นหมากรุกทั้งหลายย่อมรู้จักตัวพระราชา เรือ ม้า และเบี้ยอื่นๆ แต่คงไม่เคยเห็นช้างและปืนใหญ่ซึ่งไม่มีในหมากรุก