การวางแผนการลงทุนเพื่อชีวิตวัยเกษียณ

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิษากร สิริวัฒน์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

บทคัดย่อ บทความนี้เสนอแนวทางในการตัดสินใจลงทุนเพื่อให้มีเงินสะสมไว้ใช้ในชีวิตยามเกษียณ เพราะเมื่อถึงวัยเกษียณนั้น รายได้จาก การประกอบอาชีพจะหายไป ในขณะที่รายจ่ายกลับตรงข้าม เพราะยิ่งอายุมากขึ้น ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดมากขึ้น เช่น ค่าใช้จ่าย ด้านสุขภาพรวมถึงราคาสินค้าที่แพงขึ้นทุกวันหรือที่เรียกว่าภาวะเงินเฟ้อ เงินที่ได้จากกองทุนต่างๆ เช่นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนรวมอื่นๆ ที่เราสะสมไว้หรือเงินได้จากการประกันชีวิตที่ครบสัญญา จึงเป็นเงิน ก้อนสุดท้าย ที่สำคัญคือเราจึงต้องออมอย่างชาญฉลาด เพื่อให้เงินที่เราสะสมมานั้นเพิ่มขึ้นมากพอที่จะสู้กับภาวะเงินเฟ้อได้หนทางหนึ่ง คือการนำเงินออมดังกล่าวไปลงทุนในทองคำ อสังหาริมทรัพย์หรือตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ ได้แก่ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ฯลฯ หรือแม้แต่การฝากเงินไว้กับธนาคาร ทั้งนี้การเลือกลงทุนนั้นควรต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่สูงพอกับภาวะเงินเฟ้อ เพื่อให้ผู้ลงทุนมีเงิน ใช้อย่างเพียงพอ สามารถดำรงชีวิตบั้นปลายได้อย่างราบรื่น มีความสุข

การลงทุนเพื่อชีวิตวัยเกษียณ

เวลาในแต่ละวันของคนทำงานส่วนใหญ่มักหมดไปกับการทำงานจนลืมนึกถึงเรื่องของการทำเงินให้งอกเงยยิ่งปล่อยให้เวลาผ่าน ไป ก็เหมือนกับปล่อยผลตอบแทนให้หลุดมือ แล้วให้เงินนอนเฉยๆ โดยไม่มีอะไรงอกงาม คงเคยได้ยินคำว่า “ออมก่อน รวยกว่า” ยิ่ง ออมเร็วเท่าไร เงินในกระเป๋าท่านก็ยิ่งพอกพูนเท่านั้น แต่การออมอย่างเดียวอาจจะไม่พอกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ข้าวของแพงขึ้นทุกวัน หรือที่เรียกว่าภาวะเงินเฟ้อที่ทุกคนต้องประสบดังนั้นเราต้องออมอย่างชาญฉลาดเพื่อให้เงินที่เราสะสมมาเพิ่มขึ้นมากพอที่จะสู้กับเงินเฟ้อ ได้การที่จะทำให้เงินออมงอกเงยขึ้นนั้นทางหนึ่งก็คือ การนำเงินไปลงทุนในทองคำ อสังหาริมทรัพย์หรือตราสารทางการเงินประเภท ต่างๆ ได้แก่ หุ้น พันธบัตร ฯลฯ หรือแม้แต่การฝากเงินไว้กับธนาคารก็ถือว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง การเลือกที่จะลงทุนแบบใดนั้นควร ต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่สูงพอด้วยกับภาวะเงินเฟ้อ หรือเพื่อรองรับการมีเงินใช้อย่างเพียงพอในชีวิตวัยเกษียณ ไม่ง่ายนักที่จะตอบคำถาม“มีเงินออมอยู่จะนำไปลงทุนอะไรดีที่ไม่ใช่ค้าขาย?” แม้ว่าในปี2554มีทิศทางของดอกเบี้ยขาขึ้น2.0- 2.75 % การนำเงินฝากธนาคารนานหลายปีก็ยังได้รับผลตอบแทนตำกว่าเงินเฟ้อ จะซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หรือกองทุนต่างๆ ระยะ เวลาสั้น 3 เดือน 6 เดือนถึงหลายปีที่มีเสนอขายออกมาจากสถาบันการเงินทุกระยะสัปดาห์หรือจะลงทุนพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุนาน 1 ปีถึงอายุ 50 ปี(ยาวนานเป็นประเทศที่ 4 ของโลก) ที่ออกมาเมื่อปลายเดือนมีนาคม2554 จำนวนหลายหมื่นล้านบาทและขายได้หมด เพียงวันเดียว โดยมีสถาบันการเงินและบริษัทใหญ่เป็นผู้ซื้อหลักหรือจะลงทุนซื้อทองคำแท่งหรือจะเล่น“GoldFuture” ก็เป็นความท้าทาย กับความเสี่ยงสูง

ผลตอบแทนจากการลงทุนต่อปี (โดยประมาณ)

  • หุ้น/กองทุน 15.5 – 20.5%
  • ทองคำ 10.0 – 20.0%
  • ตราสารหนี้ 5.3 – 6.5%
  • กองทุนตราสารหนี้ 4.0 – 5.5%
  • พันธบัตรรัฐบาล 3.0 – 4.8%
  • เงินฝากธนาคาร 2.0 – 2.7%

ตัวอย่างแนวคิดในการลงทุนที่จะช่วยสร้างรายได้ให้ตลอดชีวิต การลงทุนเพื่อสร้างรายได้ตลอดชีวิต อาจเริ่มโดยกันเงิน ส่วนหนึ่งเป็นสภาพคล่องสำหรับ1 ปีแรกหลังเกษียณ เพื่อให้มีเงิน ใช้จ่ายหมุนเวียนไปตลอด1 ปีซึ่งไม่มีอะไรดีไปกว่าเงินฝาก หรือ กองทุนตราสารหนี้ที่ปลอดภัยและมั่นคง และสภาพคล่องสูง จาก นั้นให้จัดสรรเงินออมที่หามาได้ทั้งชีวิตออกเป็น3 ก้อน ซึ่งรูปแบบ การลงทุนจะค่อยๆ เพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมาก ขึ้นเรื่อยๆ

  • ก้อนแรก เป็นการลงทุนสำหรับ10ปีแรกหลังเกษียณ(60- 70 ปี) แบ่งเงินออกมา65% ของเงินลงทุนที่มีอยู่โดยจะเน้นลงทุน สินทรัพย์ที่รับประกันผลตอบแทน เช่น เงินฝาก พันธบัตร หรือ ตราสารหนี้ที่มั่นคงสูง ซึ่งสามารถลงทุนแบบขั้นบันได โดยการ กำหนดให้ทยอยครบอายุได้ เช่น ลงทุนพันธบัตรอายุ 1 ปี2 ปี 3 ปี….5 ปี…..10 ปีซึ่งจะได้เงินลงทุนและดอกเบี้ยที่ครบกำหนด ในแต ่ละช ่วงเพื่อนำมาใช้จ ่ายในแต ่ละปีทั้งนี้ ต้องศึกษาว ่า พันธบัตรที่มีขายนั้นมีรุ่นใด อายุใดบ้าง และจะเข้าถึงได้อย่างไร
  • ก้อนที่สอง สำหรับ 10 ปีที่สอง (70-80 ปี) แบ่งเงินออก มา 20% ของเงินลงทุนที่มีอยู่ โดยจะเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างรายได้และการเติบโต เช่น หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน ดีมีการจ่ายเงินปันผลสมำเสมอ กองทุนอสังหาริมทรัพย์
  • ก้อนที่สาม สำหรับช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไป แบ่งเงินออกมา 15%ของเงินลงทุนที่มีอยู่ โดยจะเป็นเงินลงทุนเพื่อคาดหวังให้เงิน ลงทุนเติบโต เอาไปลงทุนในทองคำ หุ้น GrowthStock หุ้นต่าง ประเทศ เป็นต้น

การลงทุนที่มีระยะเวลายาวนานกว่าจะมีความเสี่ยงที่ต่ำ กว่า คนที่เกษียณอายุแล้วจึงสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่หลาก หลายมากกว ่าแค ่เงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล แต ่ต้องเน้นความ ปลอดภัยเอาไว้ก่อน เพราะเป็นเงินก้อนสุดท้ายก็ต้องรักษาเงินต้น เอาไว้ให้ได้นานที่สุดเพราะฉะนั้นจึงไม่ควรนำไปลงทุนในสินทรัพย์ ที่มีความเสี่ยงในอัตราส่วนสูงมาก เช่น การลงทุนในหุ้นแต่ก็ควร มีความรู้เกี่ยวกับหุ้นไว้บ้าง

อ่านข้อมูลฉบับเต็มได้ที่ การลงทุนเพื่อชีวิตวัยเกษียณ – Investment Planning for Life after Retirement