สิทธิผู้ประกันตน พ.ร.บ. ประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ 20 ตุลาคม 2558

ประกาศเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมสิทธิของผู้ประกันตน ในระบบ ประกันสังคม

สิทธิผู้ประกันตน

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
เพิ่ม : ค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและค่าใช้จ่ายเป็น เงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตน ในกรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์
เดิม : มีสิทธิได้รับเฉพาะค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าบำ บัดทางการแพทย์ ค่ากินอยู่ และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์ ค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย

ผู้จงใจให้ตนเองได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และตาย
เพิ่ม : สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่จงใจทำ ให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพและตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น
เดิม : ไม่ได้รับความคุ้มครอง

กรณีทุพพลภาพ
เพิ่ม : ผู้ประกันตนซึ่งสูญเสียสมรรถภาพ ไม่ถึงร้อยละ 50 ของร่างกาย มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ
เดิม : ผู้ประกันตนต้องสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายร้อยละ 50 ถึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ

ผู้ทุพพลภาพอยู่ก่อนวันที่ 30 มีนาคม 2538
เพิ่ม : ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตลอดชีวิต
เดิม : ผู้ทุพพลภาพอยู่ก่อนวันที่ 30 มีนาคม 2538 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 15 ปี

ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือผู้ทุพพลภาพ
เพิ่ม : สิทธิประโยชน์กรณีตายแก่ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง/ผู้ทุพพลภาพ แม้ส่งเงินสมทบไม่ครบตามสิทธิ
เดิม : ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีตาย

กรณีตาย เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตน ถึงแก่ความตาย
แยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ส่งมาแล้ว 36 เดือนแต่ไม่ถึง 120 เดือน กับกรณีที่ 2 ส่งมาแล้ว 120 เดือนขึ้นไป

กรณีที่ 1
เดิม : ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบ มาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้าง 1.5 เดือน
เพิ่ม : ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้าง 2 เดือน

กรณีที่ 2
เดิม : ถ้าก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไปให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 5 เดือน
เพิ่ม : ถ้าก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไปให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน

เงินสมทบ
เพิ่ม : รัฐบาลสามารถออกประกาศลดหย่อนการออกเงินสมทบเพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตน และนายจ้างให้ได้รับผ่อนปรนการเก็บเงินสมทบในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ
เดิม : ไม่สามารถลดอัตราเงินสมทบเฉพาะพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติได้หากจะลดอัตราเงินสมทบ จะต้องประกาศลดอัตราเงินสมทบทั่วประเทศ)

เพิ่ม : กำหนดให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน
เดิม : ไม่ได้กำ หนดในกฎหมายให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบแต่ปัจจุบันรัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้เป็นเงินอุดหนุนสำ หรับจ่ายเป็นเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40

สิทธิผู้ประกันตนคลอดบุตร

กรณีคลอดบุตร
เพิ่ม : มีสิทธิได้รับไม่จำกัดจำนวนครั้ง + เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 90 วัน ไม่เกิน 2 ครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิง
เดิม : มีสิทธิได้รับไม่เกิน 2 ครั้ง เหมาจ่าย ครั้งละ 13,000 บาท + เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 90 วัน ไม่เกิน 2 ครั้ง สำ หรับผู้ประกันตนหญิง

กรณีสงเคราะห์บุตร
เพิ่ม : มีสิทธิได้รับคราวละไม่เกิน 3 คน
เดิม : ได้รับสำหรับบุตรอายุ 0-6 ปี คราวละ ไม่เกิน 2 คน เหมาจ่ายรายเดือน เดือนละ 400 บาท ต่อคน

กรณีว่างงาน
เพิ่ม : ให้ความคุ้มครองสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานแก่ผู้ประกันตน กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเนื่องจากเหตุสุดวิสัยโดยยังไม่มีการเลิกจ้าง เช่น กรณีสถานประกอบการถูกน้ำท่วม
เดิม : ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออก

ปรับปรุงหลักเกณฑ์การได้รับสิทธิประโยชน์
เพิ่ม : ผู้ประกันตนสามารถทำหนังสือระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้ โดยมีสิทธิได้รับร่วมกับทายาท หากไม่มีทายาท หรือไม่มีบุคคลที่ทำหนังสือระบุจะให้สิทธิแก่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา
เดิม : ผู้ประกันตนที่ไม่มีทายาท (บิดา มารดา บุตร และคู่สมรส) ไม่สามารถทำ หนังสือระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้ โดยเงินบำเหน็จชราภาพจะตกเป็นของกองทุน

เพิ่ม : ขยายระยะเวลาการยื่นคำ ขอรับประโยชน์ทดแทนจาก 1 ปี เป็น 2 ปี
เดิม : ระยะเวลาการยื่นคำ ขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี

ขยายความคุ้มครอง
เพิ่ม : ขยายความคุ้มครองลูกจ้างส่วนราชการ ขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการ
เดิม : คุ้มครองเฉพาะลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน

เพิ่ม : ขยายความคุ้มครองให้กับลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศและไปประจำทำงานในต่างประเทศ
เดิม : ไม่คุ้มครองให้กับลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศ และไปประจำทำงานในต่างประเทศ

insurer-02

การบริหารการลงทุน
กำหนดให้อสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานประกันสังคมได้มาจากการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนไม่เป็นที่ราชพัสดุ จะมีผลทำให้สำนักงานประกันสังคมสามารถนำ เงินกองทุนไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงได้

ความโปร่งใส ตรวจสอบได้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อกำกับดูแลความโปร่งใส ได้มาตรฐาน
2. กำหนดวิธีการได้มา คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม และต้องแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อ ปปช.
3. กำหนดวิธีการได้มา โดยให้มาจากการสรรหาตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกันสังคม
4. ที่ปรึกษามาจากการสรรหาตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกันสังคม

รายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับ สิทธิผู้ประกันตน ติดตามได้ที่เว็บไซด์ สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
หรือ ติดต่อสอบถามประกันสังคม 24 ชั่วโมง สายด่วน 1506