โรงเรียนสอนภาษาที่ญี่ปุ่น

ปัจจุบันมีโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นจำนวนมาก และมีหลักสูตรภาษาให้เลือกหลากหลาย แต่จะสามารถแบ่งหลักสูตรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
หลักสูตรระยะสั้น
หลักสูตรนี้มักจะเปิดในช่วงภาคฤดูร้อน ซึ่งข้อดีของหลักสูตรคือนักเรียนจะสามารถเรียนได้ด้วยการถือวีซ่าท่องเที่ยวซึ่งจะใช้เวลาในการขอและขั้นตอนไม่ยุ่งยากเท่ากับวีซ่านักเรียน ซึ่งหลักสูตรนี้อาจจะเปิดสำหรับนักเรียนที่ต้องการเรียนภาษาเพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ อาทิเช่น ทางธุรกิจ หรือเน้นเฉพาะการสนทนา
หลักสูตรระยะยาว
เหมาะสำหรับนักเรียนที่มีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาระดับภาษาญี่ปุ่นโดยแท้จริง นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับนักเรียนไม่มีความรู้ทางด้านภาษาญี่ปุ่นและตั้งใจที่จะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือทำงานในบริษัทญี่ปุ่น

การเข้าเรียนในโรงเรียนสอนภาษา
โดยทั่วไป นักเรียนต่างชาติที่ต้องการจะศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่นจะลงทะเบียนกันสถาบันสอนภาษาก่อนประมาณ 1 หรือ 2 ปี จากนั้นจึงทำการสอบเข้าตามมหาวิทยาลัย
สถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทสำหรับนักเรียนต่างชาติที่ต้องการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยทั้งในระดับปริญญาตรีและในระดับปริญญาโท
1 Preparatory Japanese Language Course สำหรับนักเรียนต่างชาติที่ต้องการเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชน
จุดประสงค์ของหลักสูตรนี้เพื่อเตรียมตัวสำหรับภาษาญี่ปุ่น, สังคมและวัฒนธรรมของญี่ปุ่น และอื่น ๆที่นักเรียนต่างชาติจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เมื่อเข้ามาใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่น โดยจะประกอบไปด้วย วิชาพื้นฐานต่าง ๆ, ภาษาญี่ปุ่น, สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งจะสอนในภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด อย่างไรก็ตามมีบางโรงเรียนที่เปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษ
ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนคอร์สในลักษณะนี้จะอยู่ในสถานะ “College Student”
2. สถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นที่ได้รับรองจาก Association for the Promotion of Japanese Language Education
Association for the Promotion of Japanese Language Education เป็นองค์กรที่คอยตรวจสอบและให้การรับรองแก่สถาบันสอนภาษาญี่ปุ่น โดยมีทั้งสิ้น 395 สถาบันในประเทศญี่ปุ่น
ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนคอร์สในลักษณะนี้จะอยู่ในสถานะ “College Student” หรือ “Pre-college Student”

หลักในการเลือกเรียนโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น

1.  ลักษณะของหลักสูตร :

ป็นหลักสูตรทั่วไป, หลักสูตรเตรียมเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย, หลักสูตรภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ, หลักสูตรระยะสั้น หรือ หลักสูตรที่เรียนตัวต่อตัว

2.  การแบ่งชั้นเรียน :

มีการแบ่งระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนหรือไม่ แต่ละห้องมีจำนวนนักเรียนเท่าไหร่

3.  วิชาพื้นฐาน :

สำหรับผู้เรียนที่ต้องการเรียนเพื่อสอบเข้าในระดับมหาวิทยาลัยนั้นมีชั่วโมงเรียนวิชาพื้นฐาน อาทิเช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี สังคมศึกษา หรือไม่ อย่างไร

4.  จำนวนชั่วโมงเรียน :

รวมทั้งหลักสูตรเรียนกี่ชั่วโมง และแต่ละวิชาเรียนทั้งหมดกี่ชั่วโมง

5.  สถานที่ตั้งของโรงเรียน :

อยู่ห่างจากที่พักแค่ไหน เดินทางสะดวกหรือไม่

6.  ที่พัก :

มีหอพักในโรงเรียนหรือไม่ หากไม่มี มีการแนะนำที่พักให้หรือไม่

7.  การให้คำแนะนำเรื่องศึกษาต่อและการใช้ชีวิต :

มีการให้คำปรึกษาและแนะนำเรื่องการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นหรือไม่

8. เส้นทางหลังจบการศึกษา :

รุ่นพี่ที่จบการศึกษาไปแล้วเป็นอย่างไร สามารถเข้าศึกษาในสถาบันที่ต้องการได้หรือไม่

9.  มาตรฐานการศึกษา :

คะแนนสอบของการสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น และการสอบเพื่อศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นของนักเรียนเป็นอย่างไรบ้าง

10. จำนวนอาจารย์ผู้สอน :

สัดส่วนจำนวนอาจารย์ผู้สอนกับจำนวนผู้เรียนเป็นอย่างไร สัดส่วนอาจารย์ประจำและอาจารย์ชั่วคราวมีมากน้อยแค่ไหน

11. ค่าเล่าเรียน :

ค่าเล่าเรียนนั้นเหมาะสมกับจำนวนชั่วโมงเรียน จำนวนอาจารย์ที่ดูแลและอุปกรณ์อำนวยสะดวกหรือไม่

12. การคัดเลือกเข้าศึกษา :

พิจารณาเอกสารเพียงอย่างเดียวหรือต้องสัมภาษณ์ผู้ค้ำประกันหรือผู้ปกครองที่อยู่ในญี่ปุ่นด้วย มีการรับสมัครนอกประเทศญี่ปุ่นหรือไม่

13. อัตราส่วนของจำนวนนักศึกษาต่างชาติ :

มีนักเรียนจากประเทศที่ใช้อักษรคันจำอยู่แล้วมากแค่ไหน ให้ความใส่ใจนักเรียนจากประเทศที่ไม่ใช้อักษรคันจิหรือไม่