บำนาญเอกชน ข้อมูลการออมเงินบำนาญ สำหรับพนักงานเอกชน เพื่อเป็นเงินเก็บในอนาคตหลังเกษียณอายุ บำนาญเอกชนควรออมเงินลักษณะใด

ประเทศไทยยังมีเสน่ห์ ขวัญใจคนเกษียณทั่วโลก

  ประเทศไทยยังมีเสน่ห์ ขวัญใจคนเกษียณทั่วโลก ประเทศไทยยังมีเสน่ห์ ขวัญใจคนเกษียณทั่วโลก เปิดฉากกลับมาทำงานวันแรกของปีใหม่ 2016 หรือ 2559 ตลาดหุ้นโลกก็หล่นระเนระนาดตัวแดงเถือกกันเป็นแถวๆ เหมือนจะส่งสัญญาณเตือนชาวโลกให้ตระหนักถึงคำทำนายของโหรใหญ่น้อยทั้งหลายว่า ปีลิงปีนี้ไม่ใช่ลิงธรรมดาอย่างแน่นอน สาเหตุใหญ่ที่ทำให้หุ้นตกอย่างแรงก็มาจากการทะเลาะกันของ 2 ประเทศใหญ่ในตะวันออกกลางซาอุดีอาระเบียกับอิหร่านที่รุนแรงถึงขั้นประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูต ตามมาด้วยข่าวภาวะเศรษฐกิจจีนจะถดถอยลงไปอีกส่งผลให้ตลาดหุ้นที่เซี่ยงไฮ้ร่วงกราวอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนร้อนถึงทางการจีนต้องสั่งยุติการซื้อขายชั่วคราว จากนั้นก็เกิดโรคหุ้นตกระบาดแผ่กระจายจนร่วงกราวไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยและไปจบที่สหรัฐอเมริกาซึ่งสาหัสเช่นกัน ผมเองในฐานะคนมองโลกในแง่ดีแม้จะอดใจหายเสียมิได้กับข่าวร้าย ที่สรุปมาข้างต้นนี้ แต่ก็ไม่อยากจะให้ท่านผู้อ่านเสียกำลังใจไปมากกว่านี้...เพราะนี่เพิ่งจะเริ่มต้นปีเท่านั้น เรามาค้นหาข่าวดีมาคุยกันบ้างดีกว่า เผื่อจะทำให้ใจชื้นขึ้นบ้าง ก็พอดีในหน้า 1 ของเว็บไซต์ BBC ซึ่งเป็นเว็บข่าวดังระดับโลก วันเดียวกับที่เต็มไปด้วยข่าวร้ายๆที่ว่านี้ เขามีข่าวไม่ใหญ่ไม่เล็กอยู่ด้วยข่าวหนึ่งพาดหัวว่า “The top seven places to retire” แปลกันตรงๆตัวก็คือ “สถานที่สุดยอด 7 แห่ง ที่เหมาะสำหรับการเกษียณอายุ” นั่นเอง เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าสังคมตะวันตกนั้นกลายเป็นสังคมของผู้สูงอายุมาหลายปี มีประชากรสูงอายุค่อนข้างมากในหลายๆประเทศ แม้จะมีเงินบำเหน็จบำนาญ หรือเงินสวัสดิการที่ได้จากรัฐ แต่เมื่อเจอกับภาวะเศรษฐกิจอย่างในปัจจุบัน ที่ข้าวของรวมทั้งอาหารและที่อยู่อาศัยแพงขึ้นอย่างมาก ก็คงจะเดือดร้อนกันพอสมควร ผู้เกษียณอายุในประเทศพัฒนาแล้วจำนวนมาก จึงเริ่มแสวงหาที่อยู่ใหม่ โดยจะเลือกไปใช้ชีวิตในประเทศที่มีความเป็นอยู่สบายๆ อากาศดี ที่อยู่อาศัยและข้าวปลาอาหารไม่แพงเกินไป [อ่านต่อ..]

By |2016-02-24T13:25:54+07:00February 24th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

ติดสปีดตั้งกองทุนบำนาญชาติ

  คลังเร่งรับมืออีกแค่ 10 ปีคนสูงอายุเต็มเมือง นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์นี้ จะเสนอให้นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาจัดตั้งกองทุนบำนาญแห่งชาติโดยมีตนเป็นประธาน เพื่อให้กองทุนฯแห่งนี้เป็นแหล่งเงินออมในวัยเกษียณผู้สูงอายุในอนาคต ซึ่งจากการประเมินของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) พบว่า หากไม่มีมาตรการใดๆ ออกมารองรับอีก 10 ปีข้างหน้า ประชากรที่สูงอายุจะมีค่าใช้จ่ายทางด้านงบประมาณสูงถึง 600,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีค่าใช้จ่ายปีละ 200,000-300,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว เพราะในอีก 10 ปีข้างหน้า สังคมไทยจะเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ ทำให้รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายช่วยเหลือคนชรา ค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น นายสมชัยกล่าวว่า ปัจจุบันโครงสร้างทางด้านการออมเงินหลังเกษียณของไทยเป็นแบบการออมภาคสมัครใจ เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ยกเว้นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่เป็นการออมภาคบังคับสำหรับข้าราชการ แต่ในภาคประชาชนยังไม่มีการออมแบบภาคบังคับเลย ซึ่งหมายความว่าประชาชนทุกคนจะต้องออมเงินเพื่ออนาคตของตนเอง สำหรับหลักการของกองทุนบำนาญแห่งชาติ จะมีลักษณะการออมภาคบังคับ โดยจะเริ่มต้นจากแรงงานที่อยู่ในระบบอายุระหว่าง 15-60 ปี มีประมาณ 17 ล้านคน [อ่านต่อ..]

By |2016-02-17T15:52:32+07:00February 17th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

ชมรมผู้สูงอายุ

สรุปภาพรวมทั้งหมด และข้อคิดเห็น จากการศึกษาเชิงปริมาณ และคุณภาพ จากข้อคิดเห็นทั้ง จากนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และจากผู้สูงอายุเอง ที่มีประสบการณ์ในการดำเนินงาน ชมรมผู้สูงอายุมาแล้ว ประกอบกับข้อคิดเห็นของคณะศึกษาวิจัย สรุปรวบรวมลงได้ดังนี้ 1. ในปัจจุบัน มีชมรมผู้สูงอายุอยู่โดยทั่วไป ทั้งประเทศ ประมาณ 3,487 ชมรม ชมรมดังกล่าวบางชมรมก็ดำเนินการเป็นเอกเทศ บางชมรมก็อยู่ในเครือข่ายสภาผู้สูงอายุ แห่งประเทศไทยฯ บางชมรมก็อยู่ในเครือข่าย ของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข ระดับจังหวัด บางชมรมก็อยู่ในเครือข่าย กรมประชาสงเคราะห์ การศึกษาครั้งนี้ ได้พยายามติดต่อโดยทางไปรษณีย์ ไปยังชมรมทุกชมรม แต่พบว่า มีชมรมที่ตอบแบบสอบถามเพียง 1,024 ชมรม ทั้งที่สอบถามไปซ้ำถึง 2 ครั้ง แสดงว่า ในจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ที่อ้างว่าเป็นชมรมผู้สูงอายุนั้น ที่ดำเนินการเป็นกิจลักษณะมีอยู่เพียง 1,042 ชมรม (30%) เท่านั้น นอกนั้นอาจมีแต่ชื่อ แต่มิได้มีกลไกดำเนินการอะไร ชมรมผู้สูงอายุที่อยู่ในเครือข่าย ของสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ ดูจะเป็นชมรมที่มีสถานภาพมั่นคง มีการดำเนินการต่อเนื่อง แน่นอนมากที่สุด (ทั้งนี้ อาจเป็นได้ว่า ชมรมผู้สูงอายุที่สมัครเข้าอยู่ใน [อ่านต่อ..]

By |2022-09-14T08:59:24+07:00February 12th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

เกษียณอย่างเศรษฐี

เกษียณอย่างเศรษฐี วันเสาร์สบายๆวันนี้มาคุยเรื่อง “การเกษียณอย่างเศรษฐี” กัน ดีกว่านะครับ นับจากนี้ไปอีกสองอาทิตย์กว่า ก็จะถึงวันเกษียณอายุราชการกันแล้ว อายุ 60 ปีสมัยนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิตบั้นปลาย จากการสำรวจอายุขัยของคนไทยล่าสุดปี 2556 พบว่า ผู้ชายไทยมีอายุเฉลี่ย 71.1 ปี ผู้หญิงมีอายุเฉลี่ย 78.1 ปี ผู้หญิงมีอายุยืนกว่าผู้ชายถึง 7 ปี เมื่อดูอายุเฉลี่ยย้อนหลังไป 10 ปีก็พบว่า คนไทยอายุยืนขึ้นกว่าเดิมอีก 3 ปี อีก 10 ปีข้างหน้า คนไทยก็จะอายุยืนขึ้นไปอีก การใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีก 10–20 ปี จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคิดแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตหลังเกษียณไปจนถึงวันตาย จะเก็บออมอย่างไรให้เพียงพอเลี้ยงตัวเอง สมัยนี้จะพึ่งพา ลูกหลานเลี้ยงไปจนตายคงลำบาก เมื่อวานนี้ รัฐบาลนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพิ่งแถลงนโยบายต่อสภา มีนโยบายที่จะ ยกเลิกประโยชน์ทางภาษี LTF ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นระยะยาวเพื่อการออมในระยะยาว เก็บออมไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ เมื่อครบกำหนดยกเว้นภาษีในปี 2559 การลงทุนในแอลทีเอฟก็จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกต่อไป [อ่านต่อ..]

By |2016-02-09T09:28:18+07:00February 9th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

ออมเงินก่อนเกษียณ เปิดแผนตั้งเป้ารวยก่อนแก่ by K-Expert

ออมเงินก่อนเกษียณ เปิดแผนตั้งเป้ารวยก่อนแก่ by K-Expert ในชีวิตคนเราเรื่องเงินมีหลายเรื่องที่ต้องจัดการ หลายคนพยายามหาแนวทางการลงทุนเพื่อสร้างมั่งคั่งให้ได้รับผลตอบแทนสูง หรือเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในวัยทำงาน โดยลืมนึกถึงแผนการเงินที่ทุกคนต้องเจอ คือ แผนการเกษียณอายุ ซึ่งปัจจุบันประชากรไทยมีแนวโน้มอายุจะยืนขึ้นเรื่อยๆ ในขณะบางคนอาจจะคิดว่าอีกนานหลายปี กว่าจะถึงวันที่เกษียณอายุ แต่หลายคนที่กำลังจะเกษียณ จะคิดว่า หากเตรียมตัวเสียแต่เนิ่นๆ ชีวิตคงดีกว่านี้ แล้วจะจัดการอย่างไรให้พอดี K-Expert จึงได้เสนอ 3 เรื่องที่ต้องรู้ เพื่อตั้งเป้ารวยก่อนแก่ ดังนี้ 1. รู้ตัวเลข เพื่อตั้งเป้าก่อนเกษียณ ก่อนที่จะรู้ตัวเลข เพื่อตั้งเป้าก่อนเกษียณ จะต้องทราบข้อมูลเพื่อใช้กำหนดเป้าหมายทางการเงิน ดังนี้ ต้องการใช้จ่ายหลังเกษียณต่อเดือนเท่าไร และ จำนวนปีที่จะใช้เงินหลังเกษียณ ซึ่งเป็นข้อมูลที่คาดการณ์ให้ถูกต้องได้ยาก จากการสำรวจค่าใช้จ่ายหลังเกษียณของ K-Expert พบว่า ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณที่จะเกษียณแบบเพียงพอ ควรจะมีอย่างน้อย 15,500 บาทต่อเดือน และจากข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2556 พบว่า ประชากรไทยเพศชายมีอายุขัยเฉลี่ย 71.1 ปี ในขณะที่เพศหญิงมีอายุขัยเฉลี่ย 78.1 ปี ดังนั้น K-Expert [อ่านต่อ..]

By |2016-01-23T11:56:41+07:00January 23rd, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

สิทธิผู้ประกันตน พ.ร.บ. ประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2558

สิทธิผู้ประกันตน พ.ร.บ. ประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ 20 ตุลาคม 2558 ประกาศเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมสิทธิของผู้ประกันตน ในระบบ ประกันสังคม กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เพิ่ม : ค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและค่าใช้จ่ายเป็น เงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตน ในกรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ เดิม : มีสิทธิได้รับเฉพาะค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าบำ บัดทางการแพทย์ ค่ากินอยู่ และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์ ค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย ผู้จงใจให้ตนเองได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และตาย เพิ่ม : สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่จงใจทำ ให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพและตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น เดิม : ไม่ได้รับความคุ้มครอง กรณีทุพพลภาพ เพิ่ม : ผู้ประกันตนซึ่งสูญเสียสมรรถภาพ ไม่ถึงร้อยละ 50 ของร่างกาย มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ เดิม : ผู้ประกันตนต้องสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายร้อยละ [อ่านต่อ..]

By |2016-01-22T15:51:28+07:00January 22nd, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

กอช. พร้อมรับการโอน ผู้ประกันตน แจ้งพร้อมรับการโอนข้อมูลและเงินบำนาญชราภาพ

กอช. พร้อมรับการโอน ผู้ประกันตน กอช.พร้อมรับการโอนผู้ประกันตน กอช. แจ้งพร้อมรับการโอนข้อมูลและเงินบำนาญชราภาพของผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 เพื่อมาเป็นสมาชิก กอช.แล้ว ย้ำผู้ประกันตน เร่งแจ้งความจำนงภายในวันที่ 23 มี.ค.59 นายสมพร จิตเป็นธม เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กอช.พร้อมรับการโอนข้อมูลและเงินบำนาญชราภาพของผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 ที่กฎหมายได้ให้สิทธิผู้ประกันตนโอนย้ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ เพื่อมาเป็นสมาชิก กอช. ได้แล้ว โดยขอให้ผู้ประกันตน เร่งแจ้งความจำนงต่อสำนักงานประกันสังคมภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะหมดเขตภายในวันที่ 23 มี.ค.59“ ทั้งนี้ ปัจจุบันตามกฎหมายประกันสังคม มาตรา 40 มีจำนวนผู้ประกันตนประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนหนึ่งที่มีสิทธิโอนย้ายมาเป็นสมาชิก กอช. โดยผู้ประกันตนสามารถแจ้งความจำนงต่อสำนักงานประกันสังคมให้โอนเงินส่วนที่เป็นบำนาญชราภาพมาเป็นเงินตั้งต้นการออมกับกองทุน กอช.ได้“ กอช. และสำนักงานประกันสังคมกำลังเตรียมความพร้อมการถ่ายโอนข้อมูลและเงินบำนาญชราภาพของผู้ประกันตนมายังฐานข้อมูลสมาชิก กอช. ซึ่งหลังจากที่ได้กำหนดขั้นตอนวิธีการ และเริ่มดำเนินการโอนข้อมูลแล้ว ทาง กอช. จะมีหนังสือแจ้งให้สมาชิกทราบต่อไป โดยกองทุนนี้ถือเป็นทางเลือกสวัสดิการเงินออมเพื่อการเกษียณสำหรับประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระทุกประเภทและแรงงานนอกระบบ ซึ่งยังไม่มีหรือรับสวัสดิการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันยามชราภาพ ให้ได้มีการออมเงินและสิทธิรับเงินบำนาญสำหรับใช้จ่ายดูแลตนเองเมื่อเกษียณอายุ“ อย่างไรก็ตาม [อ่านต่อ..]

By |2016-01-19T10:01:18+07:00January 19th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

กอช.ประกาศพร้อมรับโอน ผู้ประกันตนมาตรา 40 มาเป็นสมาชิก

กอช.ประกาศพร้อมรับโอน ผู้ประกันตนมาตรา 40 มาเป็นสมาชิก กอช.หมดเขตแจ้งความจำนง 23 มี.ค.นี้ กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เตรียมพร้อมรับโอนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่กฎหมายให้สิทธิผู้ประกันตนโอนย้ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ หรือที่เรียกว่าทางเลือกที่ 3 มายัง กอช. พร้อมเป็นสมาชิก กอช.โดยอัตโนมัติ ล่าสุดมีผู้ประกันตนสอบถามข้อมูลเข้ามาที่ กอช. เป็นจำนวนมาก นายสมพร จิตเป็นธม เลขาธิการคณะกรรมการ กอช. เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลได้ประกาศจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ขึ้น และเริ่มรับสมัครสมาชิกแล้วตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา โดยรัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. การให้สิทธิแก่ผู้สมัครเป็นสมาชิก กอช. เป็นบางกรณี ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนที่เคยได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ หรือที่เรียกให้ประชาชนเข้าใจอย่างง่ายๆ ว่า มาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนกลุ่มนี้สามารถโอนย้ายมาเป็นสมาชิก กอช. ได้ โดยแจ้งความจำนงต่อสำนักงานประกันสังคมให้โอนเงินส่วนที่เป็น "บำนาญชราภาพ" มาเป็นเงินตั้งต้นการออมกับ กอช. "ตามกฎหมายประกันสังคม [อ่านต่อ..]

By |2022-08-02T10:38:27+07:00January 18th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

บำนาญ ชราภาพ กับ เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

บำนาญ ชราภาพ กับ เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 54 บัญญัติความโดยสรุปสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 73 มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ โดยสำนักงานประกันสังคมทำหน้าที่จ่ายให้แก่ผู้ประกันตนโดยกองทุนประกันสังคมประกอบด้วยเงินสมทบจากผู้ประกันตน นายจ้าง และผลประโยชน์หรือรายได้อื่นๆ ตลอดจนเงินสมทบจากรัฐบาลตามมาตรา 21 และ มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัตินี้ด้วย ส่วนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นไปตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ซึ่งได้มีการออกระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ.2552 โดยกำหนดไว้ในข้อ 5 (3) ความโดยสรุปว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม คือไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐฯ จัดให้เป็นประจำ ต่อมาได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองการส่งเสริมและการสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่างๆ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 พ.ศ.2553 ได้กำหนดให้หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นรายเดือน กระทรวงมหาดไทยจึงได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552 โดยข้อ 6(4) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวกำหนดไว้มีความเช่นเดียวกับระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติดังกล่าวข้างต้น ข้อ 5 (3) ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้สูงอายุที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 แล้วยังมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตาพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 อีกหรือไม่ ประเด็นนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วมีความเห็นโดยสรุปว่า แม้ว่าผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคมก็ตามแต่ก็มิใด้เป็นผู้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ ผู้ประกันตนจึงเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(4) แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวแต่ประการใด (เรื่องเสร็จที่ [อ่านต่อ..]

By |2016-01-14T16:02:35+07:00January 14th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

กรมบัญชีกลางปรับเกณฑ์กู้เงิน ให้ผู้รับบำนาญ

กรมบัญชีกลางปรับเกณฑ์กู้เงินให้ ผู้รับบำนาญ บรรเทาความเดือดร้อนจากค่าครองชีพ นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการใช้หนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน สำหรับ ผู้รับบำนาญ ที่ยื่นกู้เงินกับสถาบันการเงิน และขอกู้เงินไม่เต็มจำนวนในหนังสือรับรอง หากต้องการที่จะกู้เงินเพิ่ม ก็สามารถกู้เงินกับสถาบันการเงินเดิมได้ โดยใช้หนังสือรับรองฉบับเดิม แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยจำนวนเงินที่กู้เดิมกับจำนวนเงินที่กู้เพิ่ม รวมกันแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือรับรอง สำหรับ ผู้รับบำนาญ ที่ยื่นกู้เงินกับสถาบันการเงินเต็มจำนวนในหนังสือรับรอง และได้ชำระเงินคืนบางส่วน หากต้องการกู้เงินเพิ่มในส่วนที่ได้ชำระไปแล้ว ก็สามารถกู้เงินเพิ่มกับสถาบันการเงินเดิมได้เช่นกัน โดยใช้หนังสือรับรองฉบับเดิม ซึ่งจำนวนเงินที่กู้เดิมกับจำนวนเงินที่กู้เพิ่ม เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือรับรอง และเป็นไปตามเกณฑ์การให้สินเชื่อของสถาบันการเงินที่ท่านได้ยื่นกู้ไว้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป ในกรณีที่ ผู้รับบำนาญ ได้รับบำนาญเพิ่มจากการกลับไปรับบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หากต้องการจะขอรับบำเหน็จดำรงชีพ ก็สามารถยื่นแบบขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ที่ส่วนราชการต้นสังกัด และหากต้องการจะกู้เงินในส่วนที่ได้รับสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพิ่ม ก็ให้ขอหนังสือรับรองเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นได้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้ถ้า ผู้รับบำนาญ ได้ขอรับหนังสือรับรองเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นแล้วจะไม่มีสิทธิยื่นขอบำเหน็จดำรงชีพในส่วนที่ได้รับบำนาญเพิ่มได้อีก ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ออกราชการตอนอายุ 60 [อ่านต่อ..]

By |2016-01-13T18:59:43+07:00January 13th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

กรมบัญชีกลางปรับเกณฑ์วิธีปฏิบัติการกู้เงินกับสถาบันการเงินของข้าราชการบำนาญ

กรมบัญชีกลางปรับเกณฑ์วิธีปฏิบัติการกู้เงินกับสถาบันการเงินของข้าราชการบำนาญ นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการใช้หนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน สำหรับผู้รับบำนาญที่ยื่นกู้เงินกับสถาบันการเงิน และขอกู้เงินไม่เต็มจำนวนในหนังสือรับรอง หากต้องการที่จะกู้เงินเพิ่มก็สามารถกู้เงินกับสถาบันการเงินเดิมได้ โดยใช้หนังสือรับรองฉบับเดิม แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยจำนวนเงินที่กู้เดิมกับจำนวนเงินที่กู้เพิ่ม รวมกันแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือรับรอง สำหรับผู้รับบำนาญที่ยื่นกู้เงินกับสถาบันการเงินเต็มจำนวนในหนังสือรับรอง และได้ชำระเงินคืนบางส่วน หากต้องการกู้เงินเพิ่มในส่วนที่ได้ชำระไปแล้ว ก็สามารถกู้เงินเพิ่มกับสถาบันการเงินเดิมได้เช่นกัน โดยใช้หนังสือรับรองฉบับเดิม ซึ่งจำนวนเงินที่กู้เดิมกับจำนวนเงินที่กู้เพิ่ม เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือรับรอง และเป็นไปตามเกณฑ์การให้สินเชื่อของสถาบันการเงินที่ท่านได้ยื่นกู้ไว้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป ในกรณีที่ผู้รับบำนาญได้รับบำนาญเพิ่มจากการกลับไปรับบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หากต้องการจะขอรับบำเหน็จดำรงชีพ ก็สามารถยื่นแบบขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ที่ส่วนราชการต้นสังกัดของท่าน และหากต้องการจะกู้เงินในส่วนที่ได้รับสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพิ่ม ก็ให้ขอหนังสือรับรองเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นได้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้ถ้าผู้รับบำนาญได้ขอรับหนังสือรับรองเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นแล้วจะไม่มีสิทธิยื่นขอบำเหน็จดำรงชีพในส่วนที่ได้รับบำนาญเพิ่มได้อีก ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ออกราชการตอนอายุ 60 ปี ได้รับบำนาญเดือนละ 20,000 บาท จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด จำนวน 30 เท่าของบำนาญรายเดือน คิดเป็นเงิน 600,000 บาท [อ่านต่อ..]

By |2016-01-08T12:12:37+07:00January 8th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

อลิอันซ์แนะ คนไทยควรออมเงินเพิ่มเพื่อ วัยเกษียณที่ยั่งยืน

อลิอันซ์แนะ คนไทยควรออมเงินเพิ่ม เพื่อวัยเกษียณที่ยั่งยืน  โครงสร้างบำนาญในปัจจุบันของไทยไม่สามารถสร้างรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอ เพื่อชีวิตหลังเกษียนที่สะดวกสบาย คนทำงานควรพิจารณา ยืดอายุการทำงานให้ยาวขึ้น… หรือเก็บเงินผ่านทางเลือกต่างๆ เพื่อให้อัตราทดแทนรายได้หลังเกษียนอยู่ที่ 47% รายได้หลังเกษียณจากระบบบำนาญของไทย ถูกจัดให้อยู่ในลำดับท้ายๆ จากผลการวิจัย Allianz’ Retirement Income Adequacy (RIA) indicator ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มอลิอันซ์ เพื่อวัดความเพียงพอของรายได้หลังเกษียณของประชากรในประเทศกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 49 ประเทศ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอายุการเกษียนในระดับต่ำที่สุด (อยู่ที่ 55 ปี) มีอัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง รวมทั้งอัตราทดแทนรายได้หลังเกษียณที่ต่ำ (เปอร์เซ็นต์รายได้ของการดำรงชีพหลังเกษียณเมื่อเทียบกับเงินเดือนเดือนสุดท้าย) ดังนั้น การเตรียมความพร้อมหลังเกษียนให้เพียงพอและเหมาะสมจึงถือเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว ประเทศไทย ถูกจัดอันดับในดัชนีชี้วัดความเพียงพอของรายได้หลังเกษียน (RIA) ในลำดับที่ต่ำ แต่ทั้งนี้ ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศจีน ประเทศอินเดีย และ ประเทศอินโดนีเซีย แต่ต่ำกว่าประเทศตุรกี และสิงคโปร์ นอกจากนั้นประเทศไทยก็อยู่ในลำดับท้ายๆของผลการวิจัย Allianz Pension Sustainability Indicator (PSI) ที่จัดทำโดยกลุ่มอลิอันซ์เช่นกัน แต่งานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งวัดความยั่งยืนของระบบบำนาญโดยรวม หากวิเคราะห์ระบบบำนาญในประเทศไทยจะพบว่า ยังคงมีหลายส่วนที่ขาดหายไป [อ่านต่อ..]

By |2016-01-07T09:43:53+07:00January 7th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

เก็บเงินวัยเกษียณ อลิอันซ์แนะเก็บเงินเพิ่มเพื่อใช้ในวัยเกษียณ

เก็บเงินวัยเกษียณ อลิอันซ์แนะ เก็บเงินเพิ่มเพื่อใช้ในวัยเกษียณ (1) ปัจจุบันโครงสร้างบำนาญของไทยไม่สามารถสร้างรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอ เพื่อชีวิตหลังเกษียนที่สะดวกสบาย คนทำงานควรพิจารณายืดอายุการทำงานให้ยาวขึ้น หรือเก็บเงินผ่านทางเลือกต่างๆ เพื่อให้อัตราทดแทนรายได้หลังเกษียนอยู่ที่ 47% ซึ่งรายได้หลังเกษียณจากระบบบำนาญของไทย ถูกจัดให้อยู่ในลำดับท้ายๆ จากผลการวิจัย Allianz' Retirement Income Adequacy (RIA) indicator ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มอลิอันซ์ เพื่อวัดความเพียงพอของรายได้หลังเกษียณของประชากรในประเทศกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 49 ประเทศ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอายุการเกษียนในระดับต่ำที่สุด (อยู่ที่ 55 ปี) มีอัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง รวมทั้งอัตราทดแทนรายได้หลังเกษียณที่ต่ำ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมหลังเกษียนให้เพียงพอและเหมาะสมจึงถือเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว นางสาวบริกิท มิกซา หัวหน้าฝ่ายบำนาญ กลุ่มอลิอันซ์ กล่าวว่า ประเทศไทย ถูกจัดอันดับในดัชนีชี้วัดความเพียงพอของรายได้หลังเกษียน (RIA) ในลำดับที่ค่อนข้างต่ำ แต่ทั้งนี้ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศจีน ประเทศอินเดีย และประเทศอินโดนีเซีย แต่ต่ำกว่าประเทศตุรกี และสิงคโปร สำหรับการเปิดตัวกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายระบบบำนาญให้ครอบคลุมถึงแรงงานนอกระบบที่มีอยู่ถึงกว่า 25 ล้านคนในประเทศไทย ด้วยการดำเนินงานของกองทุนการออมแห่งชาติ จะทำให้ประเทศไทยมีระบบที่ครอบคลุมแบบหลายเสาหลัก ตามรูปแบบของธนาคารโลกและจะช่วยลดภาวะยากจนในวัยชรา [อ่านต่อ..]

By |2016-01-07T09:25:35+07:00January 7th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

เงินบำนาญชราภาพ กับ เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เงินบำนาญชราภาพ กับ เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1. ในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 54 บัญญัติความโดยสรุปสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 73 มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ โดยสำนักงานประกันสังคมทำหน้าที่จ่ายให้แก่ผู้ประกันตนโดยกองทุนประกันสังคมประกอบด้วยเงินสมทบจากผู้ประกันตน นายจ้าง และผลประโยชน์หรือรายได้อื่นๆ ตลอดจนเงินสมทบจากรัฐบาลตามมาตรา 21 และ มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัตินี้ด้วย 2. ส่วนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นไปตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ซึ่งได้มีการออกระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ.2552 โดยกำหนดไว้ในข้อ 5 (3) ความโดยสรุปว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม คือไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐฯ จัดให้เป็นประจำ ต่อมาได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองการส่งเสริมและการสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่างๆ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 พ.ศ.2553 ได้กำหนดให้หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นรายเดือน   กระทรวงมหาดไทยจึงได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552 โดยข้อ 6(4) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวกำหนดไว้มีความเช่นเดียวกับระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติดังกล่าวข้างต้น ข้อ 5 (3) 3. ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้สูงอายุที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 แล้วยังมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตาพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 อีกหรือไม่ 4. ประเด็นนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วมีความเห็นโดยสรุปว่า แม้ว่าผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคมก็ตามแต่ก็มิใด้เป็นผู้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ ผู้ประกันตนจึงเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ [อ่านต่อ..]

By |2016-01-06T18:20:44+07:00January 6th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประกันสังคม ดูแลผู้ประกันตนในวัยชราภาพ

ประกันสังคม ดูแลผู้ประกันตนในวัยชราภาพ ดร. อำมร เชาวลิต เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคมให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนในวัยชรา โดยกำหนดให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ เมื่อผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ได้แก่ เกษียณ ลาออก เลิกจ้าง ตาย หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้ประกันตนให้มีรายได้เพียงพอแก่การดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน เมื่อถึงวัยสูงอายุ สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ เป็นสิทธิประโยชน์ 1 ใน 7 กรณี ที่สำนักงานประกันสังคม กำหนดให้ความคุ้มครองผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนจะถูกหักเงินออม เข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญชราภาพร้อยละ 3 จากที่ถูกหักเงินสมทบร้อยละ 5 ต่อเดือน ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเดือนละ10,000 บาท ถูกหักร้อยละ 5 ต่อเดือน จำนวน 500 บาท แยกเป็นเงินออมกองทุนบำเหน็จบำนาญชราภาพจำนวน 300 บาทต่อเดือน ซึ่งกองทุนนี้ นายจ้างจะจ่ายสมทบออมอีกจำนวน 300 บาทต่อเดือน รวมเป็นเงินออมกองทุนบำเหน็จบำนาญ  ชราภาพจำนวน 600 บาทต่อเดือน [อ่านต่อ..]

By |2016-01-05T13:22:35+07:00January 5th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

คาดปี 59 จะเห็นความผันผวนที่มากยิ่งขึ้นจาก นโยบายการเงิน

คาดปี 59 จะเห็นความผันผวนที่มากยิ่งขึ้นจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางในหลายประเทศ YLG มองราคาทองคำปี 59 ในกรอบ 1,000-1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ แนะเริ่มสะสมที่ 1,046 โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามซึ่งจะส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของราคาทองคำในปี 59 คือ นโยบายทางการเงินของเฟด ส่วนเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มจะแข็งค่าแต่อาจไม่มากเท่าปี 58 ส่วนเงินบาทมีโอกาสที่จะอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องในปี 59 ซึ่งประเมินไว้ในบริเวณ 36.80-37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ จะเห็นความผันผวนที่มากยิ่งขึ้นจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ของโลก น.ส.ฐิภา นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มภาพรวมราคาทองคำในตลาดโลกปี 2559 หากราคาทำจุดต่ำสุดใหม่ที่ต่ำกว่า 1,046 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ มีโอกาสที่ราคาจะอ่อนตัวลงไปสู่บริเวณ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยวายแอลจีประเมินกรอบความเคลื่อนไหวราคาทองคำมีแนวรับที่ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือ 17,500 บาทต่อบาททองคำ และแนวต้านอยู่ที่ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือ 21,000 บาทต่อบาททองคำ [อ่านต่อ..]

By |2021-07-16T19:38:05+07:00January 5th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

จ่อปรับ โครงสร้างเงินเดือนข้าราชการ | มนัส ลั่นต้องดูอย่างรอบด้าน

จ่อปรับ โครงสร้างเงินเดือนข้าราชการ | มนัส ลั่นต้องดูอย่างรอบด้าน กรมบัญชีกลาง ยอมรับ รบ. กำลังศึกษาปรับ โครงสร้างเงินเดือนข้าราชการ ระบุ ต้องดูอย่างรอบด้านเพื่อให้สอดคล้องต่อภาวะเศรษฐกิจ และให้บุคลากรของรัฐได้รับฐานเงินเดือนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากปัจจุบันยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ ขณะเดียวกัน ระบบราชการก็ยังมีปัญหาสมองไหล คนเก่งหนีออกไปทำงานให้แก่องค์กรอื่น คาดจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า หลังจากตัวแทนสมาพันธ์เครือข่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมไทย รวม 32 องค์กร และเครือข่ายสมาชิกจากชมรมนักวิชาการสาธารณสุข (ประเทศไทย) (ชวส.), ชมรมเจ้าพนักงานอาวุโส (ประเทศไทย) (ชอส.), ชมรมเจ้าพนักงานสาธารณสุข, ชมรมทันตาภิบาล 77 จังหวัด และหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ได้ยื่นหนังสือถึง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เสนอปรับโครงสร้างเงินเดือนราชการ จากนั้นจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาปรับโครงสร้างเงินเดือน และค่าตอบแทนใหม่ พร้อมมอบให้เลขาธิการสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นเลขานุการคณะกรรมการ โดยการปรับเงินเดือนราชการในปัจจุบันมีทั้งการปรับเพิ่มตามผลงานของแต่ละคนภายในหน่วยงานแต่ละปี ประมาณร้อยละ 5-6 และอีกส่วนหนึ่ง คือ การปรับโครงสร้างทั้งระบบ [อ่านต่อ..]

By |2016-01-04T14:36:30+07:00January 4th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

กับดักรายได้ การรับมือสังคมสูงวัย ผลักดันไทยก้าวพ้นกับดัก

รับมือสังคมสูงวัย ผลักดันไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ประเทศไทยติด กับดักรายได้ ปานกลางทำให้ไม่สามารถยกระดับการพัฒนาไปเป็นประเทศรายได้สูงมาระยะหนึ่งแล้ว โดยมีการประเมินว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี ในการก้าวข้ามปัญหานี้ ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ไทยพัฒนาเป็นประเทศร่ำรวยได้ยากยิ่งขึ้น คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากรไปสู่สังคมสูงวัย ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานและฉุดรั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ในงานสัมมนาวิชาการ “การยกระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาวของไทย” หัวข้อ การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุ ดร.นณริฏ พิศลยบุตร และ ดร.จิระวัฒน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย เช่น ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การออมลดลง และงบประมาณรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมเพิ่มสูงขึ้น การรับมือสังคมผู้สูงวัย จากอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและประชากรมีอายุยืนขึ้นทำให้ประเทศไทยกำลังขยับเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย โดยประชากรอายุตั้งแต่อายุ 15-59 ปี ซึ่งเป็นวัยแรงงานจะมีสัดส่วนลดลง ขณะที่ผู้สูงอายุจะมีทั้งสัดส่วนและจำนวนเพิ่มขึ้น  มีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2563 จะมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 12 ล้านคน ส่วนจำนวนประชากรวัยแรงงานจะลดลงเหลือประมาณ 46 ล้านคน ทำให้อัตราการพึ่งพิงลดลงเหลือประมาณ 3.7 หรือประชากรวัยแรงงานเพียง 4 คน ต้องดูแลผู้สูงอายุ 1 คน จากเดิมในปี พ.ศ. [อ่านต่อ..]

By |2023-10-19T15:38:58+07:00January 4th, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

สลาก ธกส สลากออมสิน สลากใดมีโอกาสถูกรางวัลที่ 1 มากกว่า

สลาก ธกส สลากออมสิน สลากใดมีโอกาสถูกรางวัลที่ 1 มากกว่า ไขคำตอบสลาก ธ.ก.ส.-ออมสิน ที่เสนอขายในช่วงนี้ แต่ละค่ายมีดีคนละอย่าง หากไม่เน้นรางวัลสลากออมสินเหนือกว่าด้วยดอกเบี้ยที่ให้ 2% ธ.ก.ส.ให้เพียง 1% และถ้าเน้นเลขท้ายเทียบกันบาทต่อบาทแล้วออมสินก็ยังให้มากกว่า แต่ถ้าเน้นโอกาสถูกรางวัล 1-5 น้ำหนักอยู่ที่ ธ.ก.ส. ใครที่อยากออมได้ลุ้นเหมือนหวยแต่เงินต้นไม่สูญเลือกตามสะดวก การออมอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือไปจากการฝากเงินไว้กับธนาคารนั้น ยังมีการออมเงินด้วยรูปแบบของสลาก (ไม่ใช่สลากกินแบ่งรัฐบาล) สลากของคนที่รักการออมจะมีสลากของธนาคารออมสินและสลากของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สลากของธนาคารรัฐทั้ง 2 แห่งแตกต่างจากสลากกินแบ่งรัฐบาล คือ เป็นการซื้อที่มีระยะเวลาเป็นปีออกรางวัลเดือนละ 1 ครั้ง ขณะที่สลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นการซื้อแบบงวดต่องวดราว 15 วันต่อครั้ง โดยที่การออกรางวัลมีทุกวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน กรณีไม่ถูกรางวัลแต่เมื่อครบกำหนดเช่น 3 ปีหรือ 5 ปีก็จะได้รับเงินต้นที่ซื้อสลากคืนพร้อมด้วยดอกเบี้ยจำนวนหนึ่ง ขณะที่สลากกินแบ่งรัฐบาลเมื่อไม่ถูกรางวัลเงินที่ซื้อสลากไปจะไม่ได้คืน นี่คือจุดแข็งของสลากธนาคารรัฐทั้ง 2 แห่ง ทำให้คนออมเงินจำนวนไม่น้อยหันมาออมเงินในรูปแบบสลากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยของสลากทั้ง 2 ธนาคารจะไม่สูงเหมือนกับบัญชีเงินฝากของธนาคารทั่วไป แต่ผู้ที่ออมผ่านสลากนี้จะมีสิทธิลุ้นรางวัลเหมือนกับสลากกินแบ่งรัฐบาล ดังนั้นผู้ที่คาดหวังผลตอบแทนจากการถูกรางวัลจึงเลือกที่จะออกเงินด้วยวิธีการนี้ยอสลากคืนพร้อมด้วยดอกเบี้ยที่คาดหวังผลตอบแทนจากการถูกรางวัลจึงเลือกที่จะออกเงินด้วยวิธีการนี้ [อ่านต่อ..]

By |2016-01-01T16:05:29+07:00January 1st, 2016|บำนาญเอกชน|0 Comments

เศรษฐกิจไทย 2559 คนไทยต้องรัดเข็มขัด ส่งออกไม่ฟื้น

เศรษฐกิจไทย 2559 คนไทยต้องรัดเข็มขัด ส่งออกไม่ฟื้น กำลังซื้อหด ค่าเงินผันผวน เศรษฐกิจไทย 2559 ซึมต่อ แม้มีปัจจัยบวกเข้ามาบ้างจากน้ำมันที่ลดลง แต่น้อยเกินไปที่จะปลุกกำลังซื้อของคนในประเทศ ส่งออกยังไม่ดี รถยนต์ใหม่แพงขึ้นจากภาษีสรรพสามิต สหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ย เงินทุนไหลกลับ จับตาหากขึ้นถี่ ขึ้นแรง ตลาดเงินผันผวน ขณะที่กำลังซื้อในประเทศยังหาแววฟื้นไม่เจอ แนะประชาชนรัดเข็มขัดกันต่อไป ภาพรวมของเศรษฐกิจปี 2558 เป็นการฟื้นตัวขึ้นภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2557 ซึ่งสิ้นปีนั้นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเพิ่มขึ้นเพียง 0.9% แม้ทุกอย่างจะเข้าสู่ภาวะสงบจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ปัญหาทางการเมืองยุติลงด้วยการตัดสินใจของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและรับภาระบริหารประเทศต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน แต่เศรษฐกิจในปี 2558 ก็ยังประสบปัญหาทั้งจากปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศที่ส่งต่อมา มีเพียงการลงทุนจากภาครัฐและภาคการท่องเที่ยวเท่านั้นที่พยุงเศรษฐกิจไว้ได้ คาดกันว่าสิ้นปี 2558 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะอยู่ที่ประมาณ 2.8% ขณะที่ในปี 2559 ปัจจัยเดิมๆ จากปี 2558 ยังคงส่งผลกระทบตามมาอีก พร้อมด้วยเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น หากไม่มีเหตุการณ์อะไรที่รุนแรงเข้ามากระทบ ประเมินกันว่าเศรษฐกิจในปี 2559 จะเติบโตมากกว่าปี 2558 เพียงเล็กน้อย โดยคาดกันว่าจะอยู่ที่ระดับ 3% บวกลบได้ 0.5% [อ่านต่อ..]

By |2015-12-29T10:13:21+07:00December 29th, 2015|บำนาญเอกชน|0 Comments

กลยุทธ์ใช้บัตรเครดิต ยุคเงินฝืด แบบชาญฉลาด

กลยุทธ์ใช้บัตรเครดิต ยุคเงินฝืด แบบชาญฉลาด เศรษฐกิจทรุด เงินในกระเป๋าเหลือน้อย หากรายได้ไม่เพิ่ม แนะเคล็ดลับในการใช้บัตรเครดิตให้คุ้มค่า ผู้บริหารบัตร KTC ย้ำไม่สนับสนุนให้ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย สำคัญที่สุดคือวินัยทางการเงิน ใช้จ่ายผ่านบัตรได้ส่วนลดค่าสินค้าและบริการ ได้แต้มสะสม นำแต้มมาแลกของที่หมายตา ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ แต่ต้องเลือกบัตรให้เหมาะกับความต้องการเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์คุ้มที่สุด ไม่แนะนำให้พกบัตรเกิน 2-3 ใบ รับยังมีปัญหาที่บางสถานที่บวกเพิ่มถ้าจ่ายผ่านบัตรหรือให้ส่วนลดถ้าจ่ายเงินสดที่ต้องเร่งแก้ ท่ามกลางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่หยุดชะงักทั้งจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ รวมถึงผลพวงจากโครงการประชานิยมจากรัฐบาลชุดก่อน ทำเอากำลังซื้อของคนในประเทศหดหายไปไม่น้อย รวมถึงค่าครองชีพที่พุ่งขึ้นตามนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท แถมด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยในต่างประเทศ สินค้าเกษตรราคาตกต่ำทั่วโลก กำลังซื้อจากต่างประเทศลดต่ำลง ล้วนกระทบมาถึงเงินในกระเป๋าของคนไทยแทบทุกคน เห็นได้จากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา แม้กระทั่งหน่วยงานต่างๆ ได้ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยปี 2558 ลดลงมาอยู่ 2.8% จากที่เคยประเมินกันไว้ที่ 3-3.5% อีกหนึ่งสัญญาณของเศรษฐกิจที่ไม่ดีในปี 2558 นั่นคือยอดค้างชำระเกิน 3 เดือนของบัตรเครดิตที่เดือนกันยายนอยู่ที่ 10,147 ล้านบาท ขณะที่สิ้นเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ 8,315 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,832 ล้านบาท สะท้อนถึงสถานะทางการเงินภาคบุคคลได้ว่าความสามารถในการชำระหนี้เริ่มลดน้อยลง ที่ผ่านมาบัตรเครดิตถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้คนใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย [อ่านต่อ..]

By |2015-12-28T10:04:40+07:00December 28th, 2015|บำนาญเอกชน|0 Comments

สินค้าและบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ของขวัญปีใหม่จากกระทรวงการคลัง

สินค้าและบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ คลัง แจงรายละเอียดสินค้า และบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามมาตรการกระตุ้นการบริโภคปลายปี และของขวัญปีใหม่จากกระทรวงการคลัง นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จัดแถลง “ของขวัญปีใหม่จากกระทรวงการคลัง” โดยระบุว่า มาตการลดหย่อนภาษีจากการซื้อสินค้า และบริการราคาไม่เกิน 15,000 บาท เพื่อให้ประชาชนผู้เสียภาษีนำใบเสร็จเต็มรูปแบบมาหักลดหย่อนภาษีตามฐานรายได้ของผู้เสียภาษี จากการซื้อสินค้าระหว่างวันที่ 25-31 ธันวาคม เพื่อต้องการกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ หวังดึงจีดีพีเพิ่มประมาณร้อยละ 0.1-0.2 เนื่องจากการบริโภคช่วงที่ผ่านมาซบเซา ประชาชนไม่ยอมใช้จ่ายเพราะไม่มั่นใจเศรษฐกิจ ยอมรับว่าภาครัฐสูญเสียรายได้รัฐประมาณ 4-5 พันล้านบาท แต่เกิดผลทางอ้อมในทางภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาภายหลัง คาดว่าจะก่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบกว่า 1.4 แสนล้านบาท นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ประชาชนสามารถนำใบเสร็จเต็มรูปแบบจากการซื้อสินค้า และบริการ โดยต้องระบุที่อยู่ของร้านค้า ผู้ประกอบการ และที่อยู่ปัจจุบันของผู้ซื้อสินค้า หรือตามบัตรประชาชน เพื่อนำมาหักลดหย่อนตามฐานภาษีรายได้แต่ละบุคคล โดยไม่ใช่หักลดหย่อนเป็นเงิน 15,000 บาท และต้องใช้กับร้านค้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับสินค้าและบริการที่นำมาหักลดหย่อนภาษีได้นั้น เช่น ค่าซ่อมรถ บริการนวด สปา ส่วนค่าบริการอาหารและเครื่องดื่มนำมารวมบิลค่าคิดบริการเพื่อหักลดหย่อนภาษีได้ สำหรับการบริการศัลยกรรมตกแต่ง การบริการแพทย์แผนโบราณ โดยต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม [อ่านต่อ..]

By |2015-12-26T19:01:00+07:00December 26th, 2015|บำนาญเอกชน|0 Comments

LTF ใหม่ไม่เคลียร์ บังเอิญ สมคิด วนรอบกลับมาแก้ปัญหา

เกณฑ์ใหม่ LTF ยังไม่เคลียร์ แม้ได้ข้อสรุปต่ออายุอีก 3 ปี ถือครอง 7 ปีปฏิทิน แต่กังขาวันเริ่มต้น ติงควรเริ่ม 1 มกราคม 2560 ไม่งั้นขัดข้อกำหนดเดิม บลจ.ย้ำให้รอประกาศที่ชัดเจน มั่นใจไม่กระทบภาวะการลงทุน คนวงในประเมินอาจไม่จูงใจกลุ่มฐานภาษีต่ำ นักวิชาการชี้เกณฑ์ใหม่ลดแรงกดดันช่องว่างทางสังคม บังเอิญทีมเศรษฐกิจที่อนุมัติ LTF ครั้งแรกกับเกณฑ์ใหม่ครั้งนี้มาจากชุดสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นอันว่าข้อสรุปในเบื้องต้นของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund) หรือ LTF ที่กำหนดเดิมระบุว่าให้ซื้อได้จนถึงปี 2559 นั้น คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2558 อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา สำหรับการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จากเดิมกำหนดสิ้นสุดการลดหย่อนในปี 2559 ขยายเวลาออกไปอีก 3 ปี นอกจากนี้ยังเพิ่มการถือครองโดยได้ปรับเงื่อนไขการถือครองจากเดิมนับตั้งแต่วันซื้อกองทุน เพื่อถือครองหน่วยลงทุนจากเดิม 5 ปี เพิ่มเป็น 7 ปี โดยสามารถซื้อวันที่ [อ่านต่อ..]

By |2021-10-05T09:05:00+07:00December 25th, 2015|บำนาญเอกชน|0 Comments

เผยปัญหาเศรษฐกิจโลกยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในปีหน้า

เผยปัญหา ศก.โลกยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในปีหน้า กดดันเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดแนวโน้ม ศก.ไทย ปี 59 น่าจะเติบโตได้ 3.0-3.5% แต่ต้องจับตาปัจจัยเสี่ยง ศก.โลก ความผันผวนเงินทุนเคลื่อนย้าย ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ และปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงกว่าคาด น.ส.พิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวถึงแนวโน้วเศรษฐกิจไทย ปี 2559 โดยเชื่อว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.0-3.5 จากปี 2558 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 2.8 โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักสำคัญจากการลงทุนภาครัฐที่จะเร่งเดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ระบบขนส่ง ซึ่งคาดว่าการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวได้ร้อยละ 7 ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจที่จะลงทุนตาม ส่วนการลงทุนภาคเอกชนนั้นคาดว่าจะเติบโตร้อยละ3.9 จากปี 2558 ที่ติดลบร้อยละ 1.7 ขณะที่การส่งออกกลับมาฟื้นตัวมาเป็นบวกที่ร้อยละ 2 จากที่ติดลบร้อยละ 5 ในปีนี้ ซึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในปีหน้ายังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวแรงกว่าที่คาด เงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ทยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ย ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังอยู่ในระดับต่ำ และปัญหาจากภัยก่อการร้าย ขณะเดียวกัน [อ่านต่อ..]

By |2015-12-24T18:23:13+07:00December 24th, 2015|บำนาญเอกชน|0 Comments

คลังเดินหน้าออกแผนพัฒนาตลาดทุนมั่นใจเป็นเสาหลัก ศก

คลังเดินหน้าออกแผนพัฒนาตลาดทุนมั่นใจเป็นเสาหลัก ศก.ในประเทศและภูมิภาค คลัง เดินหน้าออกแผนพัฒนาตลาดทุน เพื่อรองรับการระดมทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หวังยกระดับเทียบตลาดหุ้น สิงคโปร์-มาเลเซีย พร้อมคาดหวังให้ตลาดทุนเป็นเครื่องมือหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และกระจายรายได้ของประเทศ และต้องการให้ตลาดทุนไทยเป็นแหล่งระดมทุนจากนักลงทุนทั่วโลก นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานประชุม “International Capital Market Conference 2015” โดยระบุว่า รัฐบาลไทยต้องการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) เพื่อให้การระดมทุนในตลาดทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงการเดินทางขนส่งกันระหว่างภูมิภาค โดยขณะนี้ไทยอยู่ระหว่างยกร่างแผนพัฒนาตลาดทุนระยะ 10 ปี เพื่อต้องการยกระดับตลาดทุนไทยให้เติบโตเทียบเท่ากับตลาดหุ้นสิงคโปร์ และมาเลเซีย สำหรับแผนพัฒนาตลาดทุนที่กำลังศึกษายกร่างขณะนี้ เน้นการนำนวัตกรรมใหม่มาออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การออกอนุพันธ์ใหม่เพิ่มในตลาดทุน เพื่อระดมทุนรูปแบบต่างๆ เพิ่ม การออมเงินระยะยาวอีกรูปแบบหนึ่งให้กับผู้สูงอายุ รวมถึงการเป็นช่องทางระดมทุนให้กับภาคเอกชน แทนการพึ่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงิน การผลักดันให้เอกชนระดมทุนเพื่อใช้ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยมีมาตรการจูงใจทางการคลัง การให้ความรู้กับประชาชน นักลงทุนรายย่อย และการร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาตลาดทุนในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา เพื่อให้เป็นแหล่งระดมทุนอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับแผนพัฒนาตลาดทุน คณะทำงานจะเริ่มประชุมจัดทำแผนในช่วงกลางเดือนธันวาคม จากนั้นคาดว่าจะเสนอ ครม.พิจารณาและประกาศใช้ในต้นปีหน้า นายสมชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อได้ออกแผนพัฒนาตลาดทุนแล้ว หวังว่าตลาดทุนจะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและกระจายรายได้ของประเทศ และต้องการให้ตลาดทุนไทยเป็นแหล่งระดมทุนจากนักลงทุนทั่วโลก ยอมรับว่ากลุ่มอนุภูมิลุ่มน้ำโขงเริ่มมีความเข้มแข็ง เพราะขนาดเศรษฐกิจมีสัดส่วนถึงร้อยละ [อ่านต่อ..]

By |2015-12-24T14:29:41+07:00December 24th, 2015|บำนาญเอกชน|0 Comments

รายชื่อ บริษัท โบรกเกอร์ดีเด่น 2558 ผลดำเนินงานยอดเยี่ยม

บล.กสิกรฯ คว้า 2 รางวัลโบรกเกอร์ดีเด่น 2558 ผลดำเนินงานยอดเยี่ยม ตลท.เผยรายชื่อ บจ.ผลดำเนินงานยอดเยี่ยมปี 58 ใน 5 กลุ่ม โดยแยกตามขนาดมาร์เกตแคป พร้อมรายชื่อ 4 โบรกเกอร์ยอดเยี่ยมใน 4 ด้านหลัก ซึ่งคว้ารางวัล SET Award ในปีนี้ ระบุ บล.กสิกรฯ เอาไปครอง 2 รางวัล เป็นเลิศให้บริการหลักทรัพย์แก่รายย่อย 3 ปีซ้อน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เผยการมอบรางวัล SET Award 2015 แก่บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยม โดยกลุ่ม บจ.ที่มีมาร์เกตแคปไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ได้แก่ บมจ.ไทยออพติคอล กรุ๊ป ส่วนกลุ่ม บจ.ที่มีมาร์เกตแคป 3,000-10,000 ล้านบาท ได้แก่ บมจ.สหมิตร ถังแก๊ส ส่วนกลุ่ม บจ.ที่มีมาร์เกตแคป 10,000-30,000 [อ่านต่อ..]

By |2015-12-24T14:05:04+07:00December 24th, 2015|บำนาญเอกชน|0 Comments

ออมเงินเพื่อเกษียณของคนทำอาชีพอิสระ กอช.

ออมเงินเพื่อเกษียณของคนทำอาชีพอิสระ มีข่าวดีมาบอก ใครอยากมีเงินใช้หลังเกษียณทุกเดือนฟังทางนี้ สำหรับคนที่ทำอาชีพอิสระทั่วไปและไม่ได้อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้าง รวมถึงไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐหรือเอกชนแล้วล่ะก็ รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันให้กับชีวิตในยามเกษียณ โดยสมาชิกกองทุนฯ จะได้รับบำนาญเป็นรายเดือนไว้ใช้ตอนเกษียณ ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไร และกองทุนฯ ที่ว่านี้แตกต่างจากกองทุนประกันสังคมมาตรา 40 อย่างไรบ้างนั้น K-Expert ได้รวบรวมมาฝากดังนี้ กองทุนการออมแห่งชาติคืออะไร กองทุนการออมแห่งชาติเป็นกองทุนการออมเพื่อวัยเกษียณซึ่งส่งเสริมให้คนที่ไม่ได้อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญได้สร้างหลักประกันหลังเกษียณของตัวเองขึ้นมานั่นเอง เราต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนฯ เท่าไหร่ และรัฐบาลจ่ายเงินสมทบให้เท่าไหร่ สมาชิกกองทุนฯ จ่ายเงินสะสมไม่ต่ำกว่า 50 บาทต่อเดือนและไม่เกิน 13,200บาทต่อปี ขอบอกว่าเงื่อนไขการออมเงินมีความยืดหยุ่นมากเลยทีเดียว คือไม่จำเป็นต้องฝากเงินสะสมทุกเดือนและไม่จำเป็นต้องฝากเงินจำนวนเท่ากันทุกเดือนอีกด้วย ถ้าปีไหนเราส่งเงินสะสมไม่ไหว ก็จะไม่ได้รับเงินสมทบจากรัฐในปีนั้น แต่ยังคงสิทธิการเป็นสมาชิกและคงบัญชีรายบุคคลไว้เหมือนเดิม สำหรับการจ่ายเงินสมทบนั้น รัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบให้ตามระดับอายุของสมาชิกและเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินสะสมค่ะ คือ อายุ 15-30 ปี รัฐจ่ายให้ 50% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 600 บาทต่อปี อายุ 31-50 ปี รัฐจ่ายให้ 80% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 960 บาทต่อปี อายุ 51-60 [อ่านต่อ..]

By |2015-12-24T12:01:08+07:00December 23rd, 2015|บำนาญเอกชน|0 Comments

เผยตัวเลขสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ 9 วัน 2.1 แสนราย ยอดออมพุ่ง 198 ล้าน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยตัวเลขสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ 9 วัน 2.1 แสนราย ยอดออม 198 ล้าน ธ.ก.ส. มากที่สุด 1.7 แสนราย ออมสิน 2.8 หมื่นราย กรุงไทย จิ๊บ ๆ 1.1 หมื่นราย นายกฯ สั่งประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ มีเงินบำนาญยามเกษียณ วันนี้ (31 ส.ค.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รายงานล่าสุดจากกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) พบว่า ยอดสมัครสมาชิก กอช. นับจากวันเปิดกองทุน คือ 20 ส.ค. จนถึงวันศุกร์ที่ 28 ส.ค. หรือประมาณ 9 วัน ที่เปิดกองทุน มีจำนวนทั้งสิ้น 211,603 ราย คิดเป็นยอดวงเงินฝากรวม 198,155,701 บาท ซึ่งสะท้อนว่าพี่น้องประชาชนเห็นความสำคัญกับการออมอย่างมากและเป็นสิ่งที่รัฐบาลยินดีเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ [อ่านต่อ..]

By |2015-12-24T12:08:13+07:00December 23rd, 2015|บำนาญเอกชน|0 Comments

เริ่มวันนี้ รับสมัครกองทุนการออมแห่งชาติ ออมเร็วได้มาก

พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงนโยบายกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ของรัฐบาลว่า เป็นโครงการที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนซึ่งไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญได้สร้างหลักประกันหลังเกษียณของตนเอง โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ อาทิ เกษตรกร ลูกจ้างรายวัน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และแรงงานนอกระบบ โดยการออมเงินกับกอช. และรัฐจะสมทบเงินให้ตามหลักเกณฑ์ปีละไม่เกิน 13,200 บาท โดยผู้ประสงค์จะออม ใช้หลักฐานเพียงบัตรประจำตัวประชาชนใบเดียว ไปสมัครยังธนาคารของรัฐ 3 แห่ง ได้แก่ ออมสิน กรุงไทย และ ธกส. ได้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ในปีแรกที่เปิดให้บริการกองทุนการออมแห่งชาติ ยังให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ออมที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ให้สามารถออมต่อได้จนถึง 10 ปี โดยรัฐจะสมทบเงินให้ทุกปี ซึ่งหากมาสมัครหลังจากหนึ่งปี จะมีระยะเวลาการออมถึงอายุ 60 ปี เท่านั้นและระยะเวลาที่รัฐจะจ่ายเงินสมทบให้ก็จะสั้นลงไปด้วย จึงอยากเชิญชวนให้มาออมและใช้สิทธิพิเศษนี้ให้มากที่สุด "เมื่อออมเงินถึงจนอายุ 60 ปี กองทุนจะจ่ายเงินบำนาญให้สมาชิกเป็นรายเดือนทุกเดือนตลอดชีพ ถือเป็นหลักประกันในยามเกษียณ ดังนั้นผู้ใดเริ่มออมเร็ว เงินบำนาญที่จะได้รับก็จะสูงตามไปด้วย โดยกองทุนเปิดรับสมาชิกซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยตั้งแต่ อายุ 15-60 [อ่านต่อ..]

By |2015-12-24T12:06:23+07:00December 23rd, 2015|บำนาญเอกชน|0 Comments

รัฐปั้น กองทุนการออมแห่งชาติ ให้บำนาญสูง ไล่จี้ประกันสังคม

กองทุนการออมแห่งชาติ รัฐบาลประยุทธ์ทุบโหลดองกองทุนการออมแห่งชาติ หลังยื้อมากว่า 4 ปี ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างหลักประกันคนไทยในยามชรา หลายฝ่ายเห็นพ้องเกิดได้เป็นเรื่องดี เตรียมยุบผู้ประกันตนมาตรา 40 จากนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์โอนย้ายเข้า กอช. โชว์ตัวเลขบำนาญออมตั้งแต่แรกรับสูงสุดหมื่นกว่าบาทต่อเดือน ด้านประกันสังคมแจงวัตถุประสงค์แตกต่างกันหลังถูกเปรียบเทียบเงินบำนาญ กอช.ออมมุ่งเกษียณอย่างเดียว ประกันสังคมมีสวัสดิการอื่นแถม วัดใจมหาดไทยให้เบี้ยยังชีพบำนาญประกันสังคมหรือไม่หลังกฤษฎีกาตีความมีสิทธิได้รับ กว่า 4 ปีของพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ที่เริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่ 12 พฤษภาคม 2554 ในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลมาเป็นพรรคเพื่อไทยที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เรื่องนี้กลับถูกดองเงียบ จนมีประชาชนจำนวนหนึ่งที่เรียกร้องต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นให้เร่งดำเนินการในเรื่องดังกล่าว รัฐบาลพรรคเพื่อไทยกลับออกแนวทางอื่นมาทดแทน ด้วยการใช้พระราชบัญญัติประกันสังคม ในมาตรา 40 ให้ผู้ที่อยู่นอกระบบข้าราชการและบริษัทเอกชน เข้ามาออมเงินแทน ในเดือนมิถุนายน 2555 และโหมรับสมัครในช่วงท้ายรัฐบาล จนได้ผู้สมัครเข้ามาราว 1 ล้านคน นี่คือภาคการเมืองที่ขับเคี่ยวกันทุกมิติ กอช.เป็นผลงานของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเพื่อไทยมาเป็นรัฐบาลจึงหลีกเลี่ยงที่จะนำมาใช้ ด้วยการออกแบบให้กองทุนประกันสังคมทำหน้าที่แทนและเพิ่มเงื่อนไขอื่นเข้าไปเพื่อจูงใจ แต่นั่นจะกลายเป็นภาระของรัฐบาลที่หนักมากกว่าการมีกองทุนการออมแห่งชาติ จนกระทั่งเกิดปัญหาทางการเมือง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นต้องเข้ามายึดอำนาจและบริหารประเทศแทน [อ่านต่อ..]

By |2015-12-24T12:04:47+07:00December 23rd, 2015|บำนาญเอกชน|0 Comments

ปลดล็อค วัยเกษียณ 55-60 ปี เพื่อแรงงานสูงวัยเปี่ยมคุณภาพ

ปลดล็อก วัยเกษียณ 55-60 ปี เพื่อสังคมไทยมีแรงงานสูงวัยเปี่ยมคุณภาพ                 ความเชื่อที่ว่า “60 ปี ถึงวัยเกษียณ” หรือมโนทัศน์เดิมในสังคมที่มักมองคนชราในแง่ลบ ว่าไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มร้อย จนนำไปสู่การยุติการทำงานหรือเลิกจ้างอาจไม่เป็นจริงอีกต่อไป เพราะจากการสำรวจของหน่วยงานรัฐล่าสุด พบว่าผู้สูงอายุในประเทศไทยกว่าร้อยละ 30 ยังมีศักยภาพในการทำงานและพึ่งพาตนเองได้ ขณะเดียวกันประเทศไทยได้เดินหน้าเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” โดยในปี 2573 จะเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุอย่างสุดยอด” โดยสัดส่วนผู้สูงวัยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 26.6 เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ ส่งผลให้ภาคเอกชนขาดแคลนแรงงาน เพราะเมื่อปลดระวางแรงงานสูงอายุออกจากระบบ แต่กลับไม่มีแรงงานวัยหนุ่มสาวเข้ามาเสริมในส่วนที่เสียไป กระทบต่อขีดความสามารถในการผลิต การลงทุน และการพัฒนาประเทศในภาพรวม ทั้งยังมีแรงงานสูงอายุจำนวนไม่น้อยขาดวินัย ไม่ยอมวางแผนออมเงินตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อเกษียณอายุแล้วจึงขาดรายได้เลี้ยงดูตนเอง ซึ่งหลายคนมีชีวิตบั้นปลายที่ลำบาก โดยสถาบันประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล วิจัยและแจ้งว่ามีสาเหตุมาจากผู้สูงอายุไทยเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่ได้รับการศึกษา ขณะที่มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 3,013 บาทต่อเดือน ส่วนรายจ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 2,751 บาทต่อเดือน ร้อยละ 40 มีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละ 40,179 บาท ทำให้ผู้สูงวัยกว่าร้อยละ 58 ยังต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ [อ่านต่อ..]

By |2019-12-11T16:13:46+07:00December 22nd, 2015|บำนาญเอกชน|0 Comments