ระบบการดูแลสุขภาพของประเทศออสเตรเลีย

- วิทยาการต่าง ๆของมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ส่วนมากมีศูนย์การแพทย์ที่มี คุณภาพตั้งอยู่ภายใน ส่วนวิทยาเขตอื่น ๆทุกแห่งก็มีอย่างน้อยเจ้าหน้าที่ปฐมพยาบาลที่ผ่านการอบรม และห้องสำหรับนักศึกษาที่ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ เพื่อรักษาพยาบาลหรือพักผ่อนขณะที่คอยแพทย์มีศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลทั่วทุกเมืองใหญ่และเมืองเล็กซึ่งรวมถึง ในเขตนอกเมืองหลายแห่งด้วย นอกจากนี้ยังมีแผนกฉุกเฉินที่โรงพยาบาลทุกแห่งและในเขตนอกเมืองบางแห่ง คนไข้สามารถขอพบแพทย์หญิงหรือนายแพทย์ ก็ได้อาจเป็นไปได้ที่จะหานายแพทย์ที่พูดภาษาแม่ของคุณได้ DIM A ให้บริการการผ่านโทรศัพท์ ภายในประเทศฟรีเพื่อให้ความช่วยเหลือบรรดาแพทย์ในการสื่อสารกับคนไข้ที่พูดภาษาอังกฤษไม่เก่ง - ออสเตรเลียมีระบบการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพ ชาวออสเตรเลียทุกคนจ่ายค่าภาษีเพิ่มเติม เพื่อนำมาสนับสนุนระบบสาธารณสุข และเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถได้รับบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลและสถาน พยาบาลอื่น ๆ ในระบบสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง - สำหรับผู้ที่จ่ายเพิ่มพิเศษให้กับกองทุนประกันสุขภาพส่วนบุคลจะได้ รับสิทธิพิเศษบางอย่างเมื่อใช้บริการดูแลสุขภาพ เอกชน นอกจากการบริการต่าง ๆที่มีตามปกติในตำบลหรือเมือง ๆ ของออสเตรเลียแล้ว สถาบันการศึกษาของออสเตรเลียส่วนมากจะให้บริการดูแลสุขภาพ และคำแนะนำแก่นักศึกษาอีกด้วย - ระบบการดูแลสุขภาพของประเทศออสเตรเลียแบ่งออกเป็นของ “รัฐบาล” และ“เอกชน” คนไข้รัฐมีการประกันสุขภาพแห่งชาติของรัฐบาล ของ Medicare โรงพยาบาลเอกชนดำเนินการในเชิงพาณิชย์ คนไข้เอกชนชำระค่าธรรมเนียมประจำปีเพื่อการคุ้มครอง สุขภาพตามความต้องการระบบสาธารณสุขมีความสูงระดับชาติดังนั้นคนไข้ไม่ควรเป็นกังวลว่าบริการจะด้อยกว่า - นักศึกษาต่างชาติที่มีประกันสุขภาพสามารถขอรับการรักษาได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐบาลและของเอกชน แต่การประกันสุขภาพอาจไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทุกอย่างถ้ารับการรักษาจากเอกชน ใบสั่งยา - ยาหลายประเภทในออสเตรเลีย(ซึ่งรวมถึงประเภทปฏิชีวนะ) จะขายให้ลูกค้าได้เฉพาะผู้ที่มีใบสั่ง ยาจากแพทย์ใบสั่งยาสามารถกรอกรายการได้ที่ร้านขายยาใดก็ได้ใบสั่งยาธรรมดา ๆ เช่น ยาปฎิชีวนะ ราคา A$23-30 การประกันสุขภาพครอบคลุมค่ายาบางส่วนเท่านั้น เรียกร้องผลประโยชน์ของการประกันสุขภาพอย่างไร - เวลาที่เรียกร้องผลประโยชน์จากบริการนอกโรงพยาบาลคุณสามารถจ่ายไปเองก่อนแล้วคอยขอเงิน [อ่านต่อ..]

สถานที่ควรระวังในออสเตรเลีย

» ออสเตรเลียถือว่าเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยสูงพอสมควร ตามถนนหนทางบางแห่งที่ค่อนข้างเปลี่ยวจะมีกล้องโทรทัศน์วงจร ปิดติดตั้งอยู่เป็นจุด แต่สิ่งที่น้องๆควรต้องระวังตัวเองคือการเดินที่เปลี่ยวใน ตอนกลางคืนดึกๆ ถึงแม้ว่าจะมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดติดตั้งอยู่ ก็ยังต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะมิจฉาชีพมีอยู่ทุกหนแห่งในโลก สิ่งที่พี่ๆสามารถแนะนำได้คือ ไม่ควรพกของมีค่าติดตัวจำนวนมาก ไม่ควรใส่เครื่องประดับมีค่า ไม่ควรเดินในซอยเปลี่ยวคนเดียว (ทั้งผู้ชายและผู้หญิง) ไม่ควรพูดคุยกับคนแปลกหน้า ไม่ควรพูดโทรศัพท์ระหว่างเดินในที่เปลี่ยว เพราะความระมัดระวังตัวเราอาจลดลงไป » บางพื้นที่ หรือบาง Suburb ใกล้เคียง Sydney อาทิ Redfern หรือ Kings Cross จะมีพวกขี้เหล้าเมายาเยอะ เวลาเดินในช่วงกลางคืน ให้ระวังเป็นพิเศษ ถ้ามีความจำเป็นจะไปบริเวณดังกล่าวจริงๆ ควรหาเพื่อนไปด้วยกันจะดีกว่า

บัตรโดยสาร

ราคาของบัตรโดยสารที่ใช้ได้ทั้งรถไฟ รถเมล์ และเรือข้ามฟาก บัตรโดยสารหรือตั๋วเดินทาง ที่ใช้ในการโดยสารรถเมล์ รถไฟ และเรือข้ามฟากนั้น ส่วนมากแล้วถ้าเราโดยสารกันเป็นประจำทุกวัน ควรจะซื้อเป็นบัตรโดยสารแบบรายอาทิตย์ ซึ่งสามารถใช้ได้ตลอดทั้งอาทิตย์ กี่เที่ยวก็ได้ และประหยัดเงินค่าขนมต่ออาทิตย์ไปอีกหลายดอลเลยทีเดียว นอกจากบัตรโดยสารแบบรายอาทิตย์แล้วนั้น ก็ยังมีบัตรโดยสารแบบรายเดือน แบบรายสามเดือน ขึ้นไปจนถึงบัตรโดยสารแบบรายปี ซึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวและนักศึกษาแล้วบัตรแบบรายอาทิตย์น่าจะเหมาะสมที่สุด เพราะถ้าท่านจะย้ายที่อยู่ก็ไม่ต้องมานั่งเสียดายระยะเวลาที่เหลืออยู่ในบัตรที่อาจจะไร้ประโยชน์ไปเลยก็ได้ถ้าท่านไม่ได้เดินทางในเส้นทางเดิมอีกต่อไป ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของการใช้บัตรโดยสารระยะยาวก็คือ ถ้าเกิดการสูญหายขึ้นมาท่านอาจเกิดอาการ เสียดายจนทำให้กินไม่ได้ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย อาจถึงขนาดใตพิการ อาหารไม่ย่อยก็เป็นได้ โดยทั่วไปจะมีบัตรโดยสารราคาพิเศษสำหรับนักศึกษาและผู้สูงอายุ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่รัฐบาลออสเตรเลีย ไม่อนุญาติให้นักศึกษาต่างชาติได้ส่วนลดจากสิทธิพิเศษตรงนี้ เนื่องจากรัฐบาลออสเตรเลียได้เล็งเห็นว่า เงินของนักศึกษาต่างชาติที่มาใช้จ่ายในแต่ละปีนั้น ถ้าคำนวนดูแล้วก็สามารถสร้างโอเปร่าเฮ้าส์ ได้อีกหลายที่เลยทีเดียว รัฐบาลเค้าเลยขอสงวนสิทธิพิเศษส่วนลดค่าโดยสารให้กับประชากรของประเทศออสเตรเลียเท่านั้น แต่นักศึกษาต่างชาติบางคน ยังมีความต้องการที่จะได้รับสิทธิ พิเศษตรงนี้แบบลับๆ โดยการแอบซื้อบัตรโดยสารราคาพิเศษ ซึ่งถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจเจอเข้าละก็คุณจะต้องเสียค่าปรับประมาณ $200- $500 ไปช่วยต่อเติมซ่อมแซมโอเปร่าเฮ้าส์ให้กับประเทศออสเตรเลีย บัตรโดยสารประเภทต่างๆ บัตรโดยสารแบบรายสัปดาห์ที่ใช้กันทั่วไปจะเป็นแบบโดยสารเฉพาะรถไฟอย่างเดียว, รถเมล์อย่างเดียว หรือเรือข้ามฟากอย่างเดียว แต่ยังมีบัตรโดยสารอีกประเภทที่สามารถใช้ได้ทั้งรถไฟ, รถเมล์และเรื่อข้ามฟาก ซึ่งจะสะดวกสำหรับท่านที่บ้านอยู่ไกลและต้องเดินทาง 2 ต่อ ราคาและประเภทของบัตรขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกล ซึ่งแบ่งเป็นประเภทต่างๆดัง ชนิดของบัตร รถไฟ รถเมล์ [อ่านต่อ..]

Work and Holiday

โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนภายใต้ Work and Holiday Visas ไทย-ออสเตรเลีย ความเป็นมา - รัฐบาลไทย และรัฐบาลออสเตรเลียเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้เยาวชนของทั้งสองฝ่าย มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ วัฒนธรรมและภาษาในต่างประเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างมิตรภาพและกระชับความสัมพันธ์ระดับเยาวชน จึงริเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนไทย – ออสเตรเลีย โดยการให้วีซ่าประเภทท่องเที่ยวและทำงาน หรือ Work and Holiday Visas จำนวน 200 คนต่อปี ซึ่งผู้ที่ได้รับวีซ่านี้ จะสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ออสเตรเลียได้เป็นเวลาไม่เกิน 12 เดือน ขณะเดียวกันในระหว่างนี้ก็สามารถทำงานชั่วคราวได้ด้วย คราวละไม่เกิน 6 เดือน หรือศึกษาหรือฝึกอบรมได้ไม่เกิน 4 เดือน - เงื่อนไขของการทำงาน เยาวชนไทยที่ได้รับ Work and Holiday Visas จะต้องสมัครงานด้วยตนเอง โดยมีเงื่อนไขที่จะต้องทำงานกับนายจ้างในออสเตรเลียได้คราวละไม่เกิน 6 เดือน หลังจากนั้น ต้องเปลี่ยนไปทำงานกับนายจ้างรายใหม่ หรืออาจจะทำงานกับนายจ้างเดิมได้ โดยจะต้องเว้นระยะไปทำงานกับนายจ้างใหม่หรือเดินทางท่องเที่ยวระยะหนึ่งก่อน ทั้งนี้ จะต้องไม่ทำงานตลอดระยะเวลา 12 เดือน ไม่ทำงานหรือประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมาย [อ่านต่อ..]

การเปิดบัญชีในออสเตรเลีย

เอกสารที่ต้องเตรียมในการเปิดบัญชีธนาคาร - สำหรับนักเรียนไทยที่หนีลมร้อนจากเมืองไทย ข้ามน้ำข้ามทะเลมาเรียนที่ซิดนีย์พี่ๆทีมงานแนะนำว่า ควรจะเปิดบัญชีธนาคารของที่นี่ไว้สักบัญชี เนื่องจากบัญชีธนาคารของที่นี่อาจจะเป็น ประโยชน์ในการใช้ชีวิตของน้องๆ ในแดนจิงโจ้แห่งนี้ด้วยเหตุผลหลายๆอย่างด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น เอาไว้เป็นหลักฐานทางการเงินในการยื่นวีซ่าครั้งต่อไป, เอาไว้ยื่นขอโทรศัพท์มือถือ (แบบ Plan), เอาไว้ทำสัญญาเช่าบ้าน, สามารถซื้อของโดยใช้บัตร ATM แทนเงินสดได้เกือบทุกร้านค้า และแน่นอนว่าเอาไว้เก็บตังค์ (ให้เพื่อนยืม) ส่วนเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับเปิดบัญชีก็มีดังนี้ หนังสือเดินทาง จดหมายรับรองจากสถาบัน อาทิเช่น บัตรนักเรียน, จดหมายจากสถาบันที่ยืนยันว่าเป็นนักเรียนของสถาบันนั้นๆ, ใบ COE (Confirmation Of Enrolment) เงินสดไม่ต่ำกว่า $100 ออสเตรเลียดอลลาร์ (บางธนาคารไม่จำเป็นต้องฝากเงินสดในครั้งแรกที่เปิดบัญชี) - หลังจากที่เปิดบัญชีธนาคารแล้ว ทางธนาคารจะ ให้หมายเลขบัญชี และเงื่อนไขต่างๆของบัญชีนั้นๆ แก่เจ้าของบัญชี แต่สำหรับบัตร ATM และรหัสผ่าน (Pin Number) ทางธนาคารจะส่งแยกกันมาให้เจ้าของบัญชี ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ให้กับทางธนาคาร ส่วนใหญ่แล้วธนาคารที่นี่จะไม่มีสมุดบัญชีให้ แต่จะส่งเป็นรายการแจ้งรายละเอียดในการการฝากและถอนทุกๆครั้งมาให้เจ้าของบัญชีทุกๆ 3 เดือน ธนาคารใน ซิดนีย์ - ธนาคารในซิดนีย์มีอยู่หลายธนาคารด้วยกัน การเลือกว่าจะเปิดบัญชีกับธนาคารไหน ควรจะขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ใช้มากว่า เพราะถ้าคุณใช้บัตร [อ่านต่อ..]

ที่พักในออสเตรเลีย

- Homestay -  -เหมาะสำหรับนักเรียนใหม่ที่เดินทางไปเรียนคนเดียวโดยไม่มีญาติ พี่น้องอยู่ที่ออสเตรเลียเลย หรือ ไม่รู้จักใครเลยในเมืองนี้ เจ้าของ Homestay ส่วนใหญ่จะเป็นชาวออสเตรเลียนหรือ ยุโรป ที่มาตั้งรกรากในประเทศออสเตรเลีย นักเรียนที่อยู่กับ Homestay ในช่วงแรก จะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องและวัฒนธรรมตะวันตก จากเจ้าของบ้าน บางบ้าน จะพานักเรียนไปเที่ยวตามสถานที่ ที่น่าสนใจ หรืออาจพาไปงาน สังสรรค์ ที่เพื่อนๆของ เจ้าของ Homestay จัดขึ้นด้วย - Shared Apartment -  -ลักษณะคือการอาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์เดียวกัน โดยหารค่าใช้จ่าย อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นรายสัปดาห์ 1 ยูนิต ของ อพาร์ทเม้นท์ อาจมีห้องแยกย่อยข้างในตั้งแต่ 2-5 ห้อง ซึ่งนักเรียนที่เช่าอาจ อยู่ห้องส่วนตัวหรือแชร์ห้องกับนักเรียนต่างชาติคนอื่น แล้วแต่การตกลงกับเจ้าของอพาร์ทเม้นท์และผู้เช่า เป็นที่นิยมสำหรับนักต่างชาติ เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายและยังสร้างสัมพันธ์ และเรียนรู้วัฒนธรรม ใหม่ๆ จากเพื่อนร่วมอพาร์ทเม้นท์ ได้อีกด้วย - Town House -  -โดยมากนักเรียนจะรวมกลุ่มกันไปเช่าบ้านที่ ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ ที่มีอยู่ทั่วไปในเมือง ระยะเวลาเช่าอย่างต่ำประมาณ [อ่านต่อ..]

คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้เงิน

» สำหรับคนที่กำลังจะไปเรียนต่อ ควรจะต้องทำใจเสียแต่เนิ่นๆ ว่า หลายๆอย่างที่เมืองไทยมี อาจจะไม่มีที่ออสเตรเลีย หรือถ้าหากมีแล้วราคาก็อาจจะแพงกว่ามาก ดังนั้นควรจะต้อง ฝึกตนเองให้รู้จักประหยัด และไม่หวั่นไหวกับสิ่งยั่วยุหลายอย่างที่นี่ เช่น ไม่จำเป็นก็ไม่ควรจะดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือ เข้าสถานบันเทิง เราควรจะต้องพึงระลึกเสมอว่า เรามาเรียน ไม่ใช่มาเที่ยว และ ค่าใช้จ่ายทั้งค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายรายเดือนนั้น เป็นเงินที่มาจาก พ่อแม่ และผู้ปกครอง ซึ่งต้องทำงานมาเพื่อส่งให้เราได้เล่าเรียน

สถานฑูตไทยในออสเตรเลีย

Australia, Royal Thai Embassy, Canberra 111 Empire Circuit, Yarralumla, A.C.T 2600, Canberra Tel : (02) 6273 1149, 6273 2937 Fax : (02) 6273 1518 website : canberra.thaiembassy.org Australia, Royal Thai Consulate General, Sydney Level 8, 131 Macquarie Street Sydney, NSW 2000 Tel : (02) 9241 2542, 9241 2543 Fax : (02) 9247 8312 E-mail : thaicon-sydney@dipiomats.com [อ่านต่อ..]

เบอร์โทรที่สำคัญในออสเตรเลีย

  กด 000 ก็สามารถ ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ได้เลยครับ โดยที่เราไม่ต้องไปจำเบอร์อื่นๆ ให้ยุ่งยากครับ ซึ่งเบอร์ 000 เมื่อโทรไปแล้วจะมีเจ้าหน้าที่คอยรับแจ้งเหตุ และคอยช่วยประสาน ไปยังหน่วยงานต่างๆ ได้เลย

ปลั๊กไฟออสเตรเลีย

ระบบไฟฟ้าที่ออสเตรเลียใช้นั้นอยู่ที่ 230-250 โวลต์ / 50 วงจร เป็นแบบตัวเสียบระบบ AC ที่มี 3 หัว ดังนั้น ควรหาหัวแปลงปลั๊กไฟ Universal adapter มาใช้ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่ Powerbuy Universal Adapter    

ระบบไฟฟ้าที่ออสเตรเลีย

ระบบไฟฟ้าที่ออสเตรเลียใช้นั้นอยู่ที่ 230-250 โวลต์ / 50 วงจร เป็นแบบตัวเสียบระบบ AC ที่มี 3 หัว ส่วนหม้อแปลงและอแด็บเตอร์ ดังนั้น หัวแปลงปลั๊กไฟซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไป อุุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถหาซื้อได้ที่ Powerbuy

สิ่งของต้องห้ามนำเข้าออสเตรเลีย การนำสิ่งของเข้าประเทศออสเตรเลีย

สิ่งของต้องห้ามนำเข้าออสเตรเลีย ข้อแนะนำในการเตรียมของ จัดกระเป๋า ตรวจคนเข้าเมือง ออสเตรเลีย สิ่งของที่ไม่ควรนำไปที่ออสเตรเลีย การนำสิ่งของเข้าประเทศออสเตรเลีย สิ่งของต้องห้ามนำเข้าออสเตรเลีย | ประเทศออสเตรเลียมีสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง และมีพืชและสัตว์ที่ไม่อาจพบในที่อื่นใดในโลก อีกทั้งยังปลอดเชื้อโรค และศัตรูพืชที่พบในสถานที่ต่างๆ ในโลก โรคภัยต่างๆ ที่เป็นภัยร้ายแรงในปัจจุบัน ได้ถูกสกัดไม่ให้เข้ามาในประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลียมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันไม่ให้มีการนำเชื้อโรค และศัตรูพืชเข้ามาในประเทศ ทางประเทศออสเตรเลียจึงมีการตรวจตราอย่างเคร่งคัด ที่สนามบินโดยเจ้าหน้าที่แผนกกักกันโรค เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะตัวของประเทศออสเตรเลีย สิ่งของต้องห้าม !!! นก ขนนก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สัตว์ปีก เมล็ดพืช ผลิตภัณฑ์จากพืช์ และถั่วตากแห้ง ผลิตภัณฑ์จากนม ชากาแฟ และเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีนมเป็นส่วนประกอบ ผัก และผลไม้สด (ผักผลไม้แห้งต้องได้รับการบรรจุหีบห่อเพื่อการค้า) น้ำผึ้ง และผลิตภัณฑ์จากผึ้ง พืช แมลง สัตว์ที่มีชีวิต อุปกรณ์ใช้แล้วที่ใช้กับสัตว์ เนื้อและผลิตภัณฑ์จากเนื้อ (ทั้งสดและแห้ง) รวมถึงหมูกระป๋อง ปลา ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลอื่นๆ (สดและแห้ง) อาหารต่างๆที่สุก ดิบ รับประทานเล่น ส่วนผสมของอาหาร และขนมต่างๆ [อ่านต่อ..]

เรียนต่อออสเตรเลีย ปัญหาหนักใจของนักเรียน ร้องไห้หนักมากกับรูมเมท

เรียนต่อออสเตรเลีย ปัญหาหนักใจของนักเรียน ร้องไห้หนักมากกับรูมเมท ปัญหาของเหล่านักเรียนที่ไป เรียนต่อออสเตรเลีย ส่วนใหญ่จะไม่ใช่ปัญหาเรื่องการเรียน แต่เป็นปัญหาเรื่องการอยู่มากกว่า คนส่วนใหญ่อาจจะไม่มีปัญหาเรื่องนี้ เพราะได้รูมเมทดี เข้าใจกันและกัน มีความเคารพซึ่งกันและกัน แต่ถ้าเมื่อไร เกิดหลวมตัวไปอยู่กับรูมเมทสุดเฮ้ว ลืมไป ลืมไป ว่า เราอยู่ด้วยกัน ล่ะก็ น้อง ๆ ก็อาจจะปวดเศียรเวียนเกล้า ได้ ถ้าอย่างนั้น เราน่าจะมี กฎในการอยู่ร่วมกัน สัก 3 ข้อดีไหม ข้อแรก>> มา ๆ มาตกลงกัน เวลาไหนควรเงียบ เวลาไหนเราจะปาร์ตี้ การที่เราอยู่ร่วมกับผู้อื่น แน่นอนว่าทั้งเราหรือรูมเมทควรที่จะเคารพในพื้นที่และตารางเวลาซึ่งกันและกัน หากรูมเมทของเรามีรายงานหรือการบ้านอื่น ๆ ที่จะต้องส่งวันพรุ่งนี้ เราเองก็ไม่ควรที่จะมีปาร์ตี้หรือส่งเสียงดังในช่วงเวลากลางคืน มากำหนดเรื่องนี้เป็นนโยบายแห่งเราในการอยู่ร่วมกันเพื่อที่จะไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งหรือความรู้สึกไม่ดีในอนาคตดีกว่านะคะ ข้อที่สอง >> ทำความสะอาดในส่วนของตัวเอง รูมเมทของเรา หรือไม่ก็เราเอง ต่างก็อยากอยู่ในที่ที่สะอาดเรียบร้อย ไม่ใช่ที่ที่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง และของของใครคนใดคนหนึ่ง จงล้างจานหลังจากมื้ออาหาร อย่าวางเสื้อผ้าทิ้งไปทั่ว ควรกำหนดตารางทำความสะอาดห้องกับรูมเมท ข้อที่สาม >> เคารพในพื้นที่ส่วนบุคคล [อ่านต่อ..]

ทำ Resume ในแบบฉบับ Australian Style อะไรควรมี อะไรไม่ควรมี

Resume ในแบบฉบับ Australian Style จากบทความใน Tastyjobs.com.au ซึ่งเป็นเวบไซต์หางานทางด้านการโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรเลีย ได้สรุปสิ่งที่ควรมี และสิ่งที่ไม่ควรมีใน Resume ไว้ตามนี้ สิ่งที่ควรมี: ใส่ประวัติการทำงาน ควรใส่รายละเอียดของนายจ้างไว้ด้วย นี่เป็นเรื่องสำคัญที่หลากหลายคนมองข้ามกันเลยทีเดียว ยิ่งสำหรับนักศึกษาที่มาจากต่างประเทศแล้ว บางบริษัทเองไม่ได้เป็นที่รู้จักในออสเตรเลีย จะดีไหมหากเราใส่สักหน่อยว่าบริษัทนี้ ทำอะไร มีชื่อเสียงขนาดไหน หรือในประเทศของเราคนรู้จักกันระดับไหน สิ่งที่ไม่ควรมี: ข้อมูลส่วนตัว อาทิเช่น อายุ, โสด/แต่งงาน, เชื้อชาติ และสัญชาติ ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะเป็นมาตรฐานการเขียน Resume ในอดีต หรือยังเป็นมาตรฐานการเขียน Resume ในไทย แต่จริง ๆ แล้ว ข้อมูลที่ว่านี้มันเป็นเรื่องผิดกฎหมายในออสเตรเลียเชียวนะ หากนายจ้างมาถาม และยิ่งพวกข้อมูลสำคัญ ๆ อาทิเช่น วันเกิด, ที่อยู่ หรือรายละเอียดบัญชี ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงความปลอดภัย ยิ่งไม่ควรใส่ใหญ่เลยค่ะ สิ่งที่ควรมี: อัพเดทแบบการเขียน Resume ตามมาตรฐานของชาวออสเตรเลีย สำหรับรายละเอียดของแบบการเขียน Resume ยกตัวอย่างเช่น เบอร์โทรศัพท์ ควรที่จะใส่รหัสประเทศ [อ่านต่อ..]

เรียนต่อออสเตรเลีย โดย พี่อาร์ต ชวนอัพเดต ประเทศออสเตรเลีย 2558

เรียนต่อออสเตรเลีย โดย พี่อาร์ต ชวนอัพเดต ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2558 เมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2015 ได้มีโอกาสได้กลับไปเยือนประเทศออสเตรเลีย (Australia) อีกครั้ง เหมือนเป็นการกลับเป็นเยี่ยมบ้าน (หลังที่สอง) จากการที่เคยใช้ชีวิตอยู่สมัยสาวๆตอนเรียนป.โท ประมาณ 3 ปี เห็นจะได้ เริ่มจาก Melbourne ก่อน เมืองนี้มีความสวยงามราวกับเทพนิยายในแดนยุโรป ตึกรามบ้านช่อง สถาปัตย์ที่งดงาม ตัวเมืองมีการจัดวางผังอย่างดีเป็น block เดินไปถนนไหนก็ทะลุถึงกันหมด แต่... .............. ...................... เมืองแคบเหลือเกิน ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร เดินแบบเอาจริง วันเดียวก็ทั่วแล้ว จุดที่ผู้คนชอบไปอยู่รวมกันเวลามีกิจกรรมต่างๆก็คือ Flinders square พี่ก็ไปขลุกอยู่ตรงนั้นนานเหมือนกัน นั่งดูผู้คน ช่วงที่ไปมี Indian Film festival ชาวอินเดียนเต็มพื้นที่ไปหมด ก็ดูแปลกๆไปอีกแบบ มาเมืองนอกเจอแต่ชาวอินเดีย ส่วนจุดอื่นที่น่าสนใจก็มีเยอะ เช่น  Art Gallery, Queens Victoria [อ่านต่อ..]

เรียนต่อออสเตรเลีย ประกาศการยกเว้นค่าใช้จ่ายการทำวิจัยให้นักศึกษาชาวต่างชาติที่เมืองแคนเบอร์ร่า

นักเรียน นักศึกษาชาวต่างชาติที่ศึกษาและทำวิจัยในมหาวิทยาลัยในเมืองแคนเบอร์ร่าจะได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยจากคณะกรรมการการศึกษาและการฝึกอบรม (ACT Public School) โดยที่นักศึกษาจะได้รับเงินสนับสนุนการทำวิจัย 12,000 ดอลลาร์ต่อคน หัวหน้าคณะรัฐมนตรี Andrew Barr ได้ประกาศเรื่องการยกเว้นค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้แคน-เบอร์ร่าเป็นสถานที่สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในเขตพื้นที่อื่นๆรวมถึงนิวเซาท์เวลส์เองก็มีการยกเว้นค่าใช้จ่ายให้กับนักเรียน นักศึกษาที่ทำวิจัยในโรงเรียนรัฐบาลของออสเตรเลียเช่นกันผู้ที่ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัยที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย, มหาวิทยาลัยแคนเบอร์ร่าและมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์จะได้รับประโยชน์จากการยกเว้นค่าใช้จ่ายนี้ซึ่งนาย Andrew Barr ได้กล่าวว่าสิ่งนี้จะช่วยดึงดูดให้เหล่าผู้คนที่มีความสามารถเดินทางมาที่แคนเบอร์ร่า ในปัจจุบันนี้ค่าใช้จ่ายรายปีของเด็กนักเรียนในระบบของโรงเรียนรัฐบาลแต่ละคนอยู่ที่ประมาณ 12,000 ดอลลาร์ต่อคน นาย Barr กล่าวว่าการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของแคนเบอร์ร่านั้นเป็นหนึ่งในผู้คุมรายใหญ่ที่สุดของเมืองโดยจะมีชาวแคนเบอร์ร่า 1 คนในทุก 9 คนที่กำลังเล่าเรียนอยู่หรือถูกจ้างโดยมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา – ทำให้ที่นี่มีอัตราการศึกษาและการจ้างงานสูงที่สุดในออสเตรเลียนาย Barr ยังกล่าวอีกว่า “ผลที่ได้จากการวัดผลนี้จะช่วยสร้างงานใหม่ๆและส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนนี้” “ค่าใช้จ่ายในการเรียนนั้นเคยเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนไม่ค่อยให้ความสนใจเลือกเป็นสถานที่เรียนและทำงานวิจัย, ถึงแม้ว่าจำนวนนักเรียน นักศึกษาวิจัยที่มาเลือกเรียนที่แคนเบอร์ร่านั้นจะค่อนข้างน้อย พวกเขาก็ถือเป็นกลุ่มที่สำคัญที่มอบความรู้ ความชำนาญในการทำวิจัยที่พวกเขามีและผลที่ได้จากการวิจัยนั้นให้กับประเทศนี้” นาย Barr กล่าวว่าเขาจะทำให้แน่ใจว่าแคนเบอร์ร่าจะได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักเรียน นักศึกษาชาวต่างชาติตามที่มีการคาดการณ์ไว้ใน Abbott Government’s international education 2015 strategy ซึ่งกลยุทธ์นี้จะช่วยเพิ่มจำนวนนักเรียนชาวต่างชาติในออสเตรเลียให้มากขึ้นหลายเท่าตัวภายในระยะเวลา 10 ปี นาย Barr [อ่านต่อ..]

เรียนต่อออสเตรเลีย เมลเบิร์นได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก

เมลเบิร์น ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก โดย Economic Intelligence Unit (EIU) สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเมลเบิร์น ก็คงไม่ประหลาดใจว่าทำไมเมลเบิร์นได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกเป็นเวลาถึง 5 ปีซ้อน เมลเบิร์นติดอันดับสูงสุดของการจัดอันอันดับเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกประจำปีโดย EIU และได้เอาชนะเมืองเวียนนาของประเทศออสเตรียไปเพียงแค่ 0.1 คะแนนเท่านั้น แอดิเลด เข้ามาติดอันดับที่5 เทียบเท่ากับ คัลการี เมืองอันดับที่ 3 ใน 5 ของประเทศแคนาดาตามมาด้วยแวนคูเวอร์และโตรอนโต ส่วนซิดนีย์และเพิร์ธเข้ามาติดอันดับ 1 ใน 10  คือ อันดับที่ 7 และ 8 บริสเบนติดอันดับที่ 18 ของโลก จากแบบสำรวจการคิดคะแนนจะแบ่งออกเป็น 5 หมวดใหญ่ ได้แก่ ความมั่นคง การดูแลสุขภาพ วัฒธรรมและสิ่งแวดล้อม การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐาน ค้นพบแล้วว่า เมืองขนาดกลางในประเทศที่มั่งคั่งกว่า พร้อมกับมีความหนาแน่นของประชากรต่ำจะมีคะแนนสูง เช่น แคนาดาและออสเตรเลีย ติดถึง 7 อันดับของ 1 [อ่านต่อ..]