ประวัติวอลเลย์บอล กีฬาวอลเลย์บอลถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลียม จี. มอร์แกน และนายเจมส์ ไนท์สมิธ ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยเขามีความคิดที่ต้องการให้มีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้งเพื่อออกกำลังกายพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

ประวัติวอลเลย์บอล

ประวัติวอลเลย์บอล

เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ 6 ฟุต 6 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ

จนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท Ant G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วยยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า “มินโทเนตต์” (Mintonette)

ค.ศ.1896 ได้มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมหลังจากที่ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโทเนตต์ (Mintonette) เป็น “วอลเลย์บอล” (Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอลตกพื้น

ค.ศ. 1928 ดร.จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล และประวัติสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ

ปี ค.ศ. 1895
นายวิลเลียม จี มอร์แกน (William G.Morgan) ได้คิดค้นเกมการเล่นวอลเลย์บอลขึ้น ที่สมาคม Y.M.C.A. ในเมืองโฮลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ (Holyoke, Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ชื่อ มินโตเนต (Mintonette)

ปี ค.ศ. 1896
ศาสตราจารย์อัลเฟรด ที ฮอลสเตด (Prof.Alfred T.Halstead) ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อจาก “มินโตเนต (Mintonette)” เป็น “วอลเลย์บอล (Volleyball)”

ปี ค.ศ. 1898
ประเทศแคนาดาได้พัฒนากีฬาวอลเลย์บอลเพื่อเป็นกิจกรรมนันทนาการ (Recreation Activity)

ปี ค.ศ. 1905
ศาสตราจารย์เจ ฮาวาร์ด โครเกอร์ (Prof J. Haward Crocher) ได้นำกีฬาวอลเลย์บอลเข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีน (China)

ปี ค.ศ. 1908
นายแฟรงกิน เอช บราวน์ (Franklin H.Brown) ได้นำกีฬาวอลเลย์บอลเข้าไปเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น (Japan)

ประวัติวอลเลย์บอล ปี ค.ศ. 1910
นายเอลวู๊ด เอส บราวน์ Elwood S.Brown ช่วยจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลในประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)

ปี ค.ศ. 1913
ได้มีการบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลเข้าในการแข่งขันกีฬาภาคพื้นตะวันออกไกล (Far Eastern Games) ครั้งที่ 1 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ (Manila, Philippines)

ปี ค.ศ. 1918
ได้กำหนดให้ใช้ผู้เล่นข้างละ 6 คน

ปี ค.ศ. 1922
ได้กำหนดกติกาให้แต่ละทีมเล่นลูกได้ไม่เกิน 3 ครั้ง และได้มีการก่อตั้งสมาคมวอลเลย์บอลและบาสเกตบอลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเชคโกสโลวาเกีย

ปี ค.ศ. 1928
มีการก่อตั้งสมาคมวอลเลย์บอลขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 1 ที่ Brooklyn Central Y.M.C.A. (USA National Volleyball Championships)

ปี ค.ศ. 1933
ได้บรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในการแข่งขันกีฬา Central American และ Caribbean Game ในกรุงซาน ซิลวาดอร์ (San Salvador) ประเทศเอลซัลวาดอร์ (El Salvador)

ปี ค.ศ. 1934
มีการจัดตั้งคณะกรรมการกีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติเป็นครั้งแรกภายใต้สหพันธ์แฮนด์บอล

ปี ค.ศ. 1946
ประเทศโปแลนด์ ฝรั่งเศส เชคโกสโลวาเกีย สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตรัสเซียและโรมาเนีย ได้ร่วมกันก่อตั้งคณะกรรมการที่ดำเนินการด้วยตนเองขึ้นครั้งแรก

การจัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ

ปี ค.ศ. 1947
14 ประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (The Federation International De Volleyball : FIVB) ขึ้นในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เลือกนายพอล ลิบอร์ด (Paul Libaud) เป็นประธานสหพันธ์คนแรก โดยมีประเทศที่ร่วมกันจัดตั้ง ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เชคโกสโลวาเกีย โปแลนด์ อียิปต์ อิตาลี เนเธอแลนด์ เบลเยียม โปรตุเกส โรมาเนีย ตุรกี บราซิล อุรุกวัย ยูโกสลาเวีย (อิสราเอลและเลบานอนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี ค.ศ. 1949)

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล

ปี ค.ศ. 1948
การแข่งขันวอลเลย์บอลชิงชนะเลิศแห่งทวีปยุโรป ครั้งที่ 1 ประเภทชาย ที่กรุงโรม ระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน

ปี ค.ศ. 1949
– จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงชนะเลิศของโลกเป็นครั้งแรก ณ กรุงปราก (Prague) ประเทศเชคโกสโลวาเกีย (Czechoslovakia)
– คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee-IOC) ได้ประกาศรับรองกีฬาชนิดนี้ แต่ยังอยู่ในฐานะกีฬาที่ไม่ได้มีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก (Non Olympic Sport)
– การแข่งขันชิงแชมป์โลก ประเภททีมชาย (Men’S World Championships) ครั้งแรก ณ กรุงปราก (Prague)
– การแข่งขันชิงแชมป์ยุโรป (European Champions) ประเภททีมหญิงครั้งแรก ณ กรุงปราก (Prague)
– มีการใช้ระบบการรุก 3 คน และมีการล้ำแดนของตัวเซตที่อยู่แดนหลัง

ปี ค.ศ. 1951
อนุญาตให้มือสามารถล้ำเหนือตาข่ายได้ ภายใต้เงื่อนไขคือการสกัดกั้น

ปี ค.ศ. 1952
การแข่งขันชิงแชมป์โลก ประเภททีมหญิง (Women’S World Championships) ครั้งแรก ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย (Moscow, Russia)

ปี ค.ศ. 1955
– กีฬาวอลเลย์บอลได้ถูกบรรจุเข้าใน “แพนอเมริกันเกม ครั้งที่ 2” (The 2nd Pan American Games) ณ เมืองเม็กซิโกซิตี้ (Mexico City)
– นายมาซาอิชิ นิชิกาว่า (Masaichi Nishikawa) นายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่นได้จัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย (Asian Volleyball Confederation : AVC) ขึ้น

ปี ค.ศ. 1956
จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชาย-หญิงชิงแชมป์โลกในเวลาเดียวกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (Paris, France) โดยมีทีมชาย 24 ทีม และ หญิง 17 ทีม

ปี ค.ศ. 1957
คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้มีการประชุมที่เมืองโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย (Sofia, Bulgaria) และยอมรับกีฬาวอลเลย์บอลเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก และประกาศให้สหพันธ์วอลเลย์นานาชาติ (FIVB) เป็นองค์กรกีฬาสากลมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายนเป็นต้นไป

ปี ค.ศ. 1961
คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) และคณะกรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิก (OCOG : Organising Committee of The Olympic Game) แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้บรรจุกีฬาวอลเลย์บอลเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียวด้วย

ปี ค.ศ. 1963
สหพันธ์วอลเลย์บอลยุโรป (The European Volleyball Confederation : CEV) ได้จัดตั้งคณะกรรมการในโซนของยุโรป

ปี ค.ศ. 1964
– กีฬาวอลเลย์บอลชาย-หญิงได้ถูกบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (เหรียญทองหญิง ได้แก่ ทีมญี่ปุ่นเหรียญทองชาย ได้แก่ ทีมสหภาพโซเวียตรัสเซีย)
– ได้มีการปรับปรุงกติกาการสกัดกั้นใหม่ (อนุญาตให้มือทั้งสองลำ้เหนือตาข่ายและอนุญาตให้ถูกลูกขณะสกัดกั้นเกินกว่า 1 ครั้งได้)

แข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์คัพชายครั้งแรก

ปี ค.ศ. 1965
– การแข่งขันเวิลด์คัพชาย ครั้งที่ 1 ณ กรุงวอซอร์ ประเทศโปแลนด์ (Warsaw, Poland)
– มีการจัดตั้งคณะกรรมการในโซนแอฟริกาขึ้น

ปี ค.ศ. 1966
Dr.Ruben Acosta ได้จัดตั้งคณะกรรมการโซนอเมริกากลางและโซนคาริเบียนขึ้น

ปี ค.ศ. 1968
สหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้เข้าร่วมโซนอเมริกากลาง เพื่อจัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอล แห่งทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง (NORCECA) ตามข้อเสนอของ Dr.Ruben Acosta

ปี ค.ศ. 1971
ได้มีการจัดหลักสูตรผู้ฝึกสอนระดับนานาชาติขึ้นครั้งแรก โดยสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การดำเนินงานของ Mr.Yutaka Maeda และ Mr.Hiroshi Toyoda

ปี ค.ศ. 1972
สหพันธ์วอลเลย์บอลทั้ง 5 ทวีป ได้แก่ เอเชีย (AVC), แอฟริกา (CEV), อเมริกาใต้ (CSV), อเมริกาเหนือและอเมริกากลาง (NORCERA) ได้จัดตั้งคณะกรรมการฝ่ายแข่งขันกีฬาของแต่ละทวีปขึ้น โดยการรับรองโดยสหพันธ์ของแต่ละทวีป

ปี ค.ศ. 1973
การแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์คัพหญิง ครั้งที่ 1 ที่ประเทศอุรุกวัย (Uruguay)

ความเป็นมาวอลเลย์บอล ประวัติวอลเลย์บอล

ปี ค.ศ. 1974
มีการถ่ายทอดสดเป็นครั้งแรกในการแข่งขันวอลเลย์บอลชาย-หญิงชิงแชมป์โลกจากประเทศเม็กซิโกไปยังประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ

ปี ค.ศ. 1975
– มีการจัดประชุมและส่งเสริมมินิวอลเลย์บอลขึ้นที่ประเทศสวีเดน
– มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงชนะเลิศแห่งทวีปแอฟริกา ณ เมืองดากา ประเทศเซเนกัล (Dakar, Senegal)

ปี ค.ศ. 1976
– Dr.Ruben Acosta ได้คิดค้นระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก และอนุญาตให้เล่นได้อีก 3 ครั้ง หลังการสกัดกั้นได้ถูกนำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกม ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา (Montreal, Canada)
– ความกว้างของตาข่ายถูกลดให้เหลือ 9 เมตร

ปี ค.ศ. 1977
การแข่งขันระดับเยาวชน (อายุตำ่ กว่า 21 ปี ) ชาย-หญิง ชิงแชมป์โลกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศบราซิล (Brazil)

ปี ค.ศ. 1980
กติกาของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ได้มีการพัฒนาขึ้นเป็น 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปนเป็นครั้งแรก ตามผลจากการเสนอของประเทศเม็กซิโก ในการประชุมใหญ่ที่กรุงมอสโคว์และได้มีการรับรองเกี่ยวกับนักกีฬาอาชีพ

ปี ค.ศ. 1982
ได้มีการลดแรงดันลมของลูกบอลจาก 0.45 เป็น 0.40 กิโลกรัม /ตารางเซนติเมตร

ปี ค.ศ. 1984
– Dr.Ruben Acosta ได้รับเลือกให้ขึ้นเป็นประธานสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (2nd FIVB President) แทนนาย Pual Libaud ผู้ก่อตั้งสหพันธ์ฯ
– สำนักงานใหญ่ของสหพันธ์ฯ ได้ย้ายจากกรุงปารีสไปยังเมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Lausame, Switzerland)

ปี ค.ศ. 1985
– คณะกรรมการบริหารสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้ให้การรับรอง 5 โครงการหลัก เพื่อพัฒนาวอลเลย์บอลของโลก ซึ่งเสนอโดย Dr.Ruben Acosta และมีเจตนามุ่งหมายเพื่อยกระดับวอลเลย์บอลขึ้นสู่ระดับกีฬาอาชีพ
– ได้มีการจัดการแข่งขัน World Gala เป็นครั้งแรกที่กรุงปักกิ่งและเมืองเซี่ยงไฮ้ โดยทีมหญิงของประเทศจีนพบกับทีมดาราของโลก การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลกได้จัดเป็นครั้งแรกที่ประเทศบราซิล

ปี ค.ศ. 1990
การแข่งขัน วอลเลย์บอลเวิลด์ลีก (World League) ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก มีการจัดการแข่งขันมากกว่า 20 เมือง จาก 8 ประเทศ เข้าร่วมแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัล 1 ล้านเหรีญสหรัฐ

แข่งขันวอลเลย์บอล (Beach Volleyball) ชายหาดครั้งแรก

ปี ค.ศ. 1992
สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ได้เริ่มให้มีการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด (Beach Volleyball) World Tour ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการจัดการแข่งขันที่ญี่ปุ่น เปอร์โตริโก บราซิล อิตาลี และออสเตรเลีย

ปี ค.ศ. 1993
– สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้กลายเป็นองค์กรกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีประเทศสมาชิกถึง 210 ประเทศ
– เริ่มมีการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง เวิลด์กรังปรีซ์ (Women’S World Grand Prix) ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมี 8 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
– คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้มีการประชุมที่เมืองมอนเตการ์โล รัฐโมนาโก (Monte Carlo, Monaco) ให้บรรจุวอลเลย์บอลชายหาด เข้าในกีฬาโอลิมปิกเกม 1996 มีการแข่งขันทีมหญิง 16 คู่ ทีมชาย 24 คู่

ปี ค.ศ. 1994
– อนุญาตให้ลูกถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทุกส่วนรวมทั้งเท้า
– ได้มีการขยายเขตเสิร์ฟจนเต็มเขตพื้นที่ 9 เมตร
– ที่ประชุมใหญ่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้รับรองแผนการส่งเสริมวอลเลย์บอลปี 2001 ซึ่งเสนอโดย Dr.Ruben Acosta เพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการของสมาคมวอลเลย์บอลแต่ละประเทศให้สามารถจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลอาชีพขึ้นรวมทั้งวอลเลย์บอลชายหาดด้วย

ปี ค.ศ. 1995
ครบรอบ 100 ปี สำหรับกีฬาวอลเลย์บอล จัดให้มีการเฉลิมฉลอง 100 วัน ในทั่วโลกโดยผู้เกี่ยวข้องกับกีฬาวอลเลย์บอล

ปี ค.ศ. 1996
กีฬาวอลเลย์บอลชายหาดได้ถูกบรรจุเข้าในรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ณ เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย (Atlanta, Jeorgia)

ประวัติวอลเลย์บอล ปี ค.ศ. 1997
– มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลก (ทั้งประเภททีมชายและทีมหญิง) เป็นครั้งแรก ณ เมืองลอสแองเจลิส (Los Angeles, USA) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเงินรางวัลในแต่ละประเภท 600,000 เหรียญสหรัฐ
– การแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์ลีกครั้งที่ 8 ได้เพิ่มเงินรางวัลเป็น 8 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปี ค.ศ. 1998
การประชุม FIVB World Congress ครั้งที่ 26 มีการประกาศใช้ระบบการนับคะแนนแบบ “Rally Point” และมีการยอมรับอย่างเป็นทางการให้มีการเล่นโดยใช้ตัวรับอิสระ (The Libero Player) ในการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่กรุงโตเกียว (Tokyo)

ปี ค.ศ. 1999
ทีมหญิงจากประเทศคิวบา (Cuba) ได้รับตำแหน่งชนะเลิศเป็นครั้งที่ 4 ในการแข่งขันรายการ FIVB World Cup และทีมชายจากประเทศรัสเซียได้รับตำแหน่งชนะเลิศเป็นครั้งแรก

ความเป็นมากีฬาวอลเลย์บอล ประวัติวอลเลย์บอล

วิวัฒนาการวอลเลย์บอล (Volleyball) ปี ค.ศ 2000 – ปัจจุบัน

ปี ค.ศ. 2000
– การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มีการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ประเภทชาย 24 คู่ หญิง 24 คู่ วอลเลย์บอลในร่มประเภทชาย 12 ทีม หญิง 12 ทีม และสาธารณรัฐคิรินาส (Kiribati) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 218
– ระบบการนับคะแนนแบบ Rally Point ถูกนำไปใช้กับการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด
– มีการยอมรับกติกาการเสิร์ฟบอลสามารถถูกตาข่ายได้
– การเฉลิมฉลองให้กับผู้เล่นที่ดีที่สุดแห่งศตวรรษ (Best Players of Century) ได้แก่ Karch Kiraly จากสหรัฐอเมริกา Lorenzo Bernardi จากอิตาลี และ Regla Torres จากเจ้าของแชมป์โอลิมปิก 3 สมัยอย่างคิวบา

ปี ค.ศ. 2002
– มีการประชุมใหญ่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ครั้งที่ 28 ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา (Buenos, Aires, Argentina) ได้มีการกำหนดความสูงของผู้เข้าแข่งขัน ชาย 185 เซนติเมตรขึ้นไป หญิง 175 เซนติเมตรขึ้นไป
– ประเทศเยอรมนี (Germany) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก โดยมีทีมเข้าร่วม 24 ทีม แข่งขันในเมื่อต่างๆ ถึง 8 เมือง
– ประเทศอาร์เจตินา (Argentina) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์โลก โดยมีทีมเข้าร่วม 24 ทีม แข่งขันในเมืองต่างๆ ถึง 6 เมือง

ปี ค.ศ. 2004
– การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ (Athens, Greece) มีการแข่งขันวอลเลย์บอลในร่มประเภททีมชาย จำนวน 12 ทีม ประเภททีมหญิงจำนวน 12 ทีม และวอลเลย์บอลชายหาดจำนวน 24 ทีม หญิง จำนวน 24 ทีม
– ทีมชนะเลิศวอลเลย์บอลประเภทชาย ได้แก่ บราซิล และประเภทหญิง ได้แก่ ประเทศจีน

ปี ค.ศ. 2006
การแข่งขัน FIVB Volleyball World Championship ทีมชนะเลิศประเภทชาย ได้แก่ บราซิล และประเภทหญิง ได้แก่ รัสเซีย

ปี ค.ศ. 2007
การแข่งขัน FIVB World Cup ทีมชนะเลิศประเภทชาย ได้แก่ บราซิล และ ประเภทหญิง ได้แก่ อิตาลี

ปี ค.ศ. 2008
การแข่งขันโอลิมปิกที่ประเทศจีน ทีมชนะเลิศประเภทชาย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเภทหญิง ได้แก่ บราซิล

ปี ค.ศ. 2009
– การแข่งขันรายการ FIVB Club World Championship ประเภททีมชายได้นำกลับมาลงในปฏิทินการแข่งขันระดับนานาชาติอีกครั้ง หลังจากที่มีการแข่งขันล่าสุดในปี 1992

ปี ค.ศ. 2010
– กีฬาวอลเลย์บอลประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ กับการเริ่มฤดูกาลแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชน ณ ประเทศสิงคโปร์
– การแข่งขันรายการ FIVB Club World Championship ประเภททีมหญิงได้นำกลับมาลงในปฏิทินการแข่งขันอีกครั้ง หลังจากที่มีการแข่งขันครั้งแรกในปี 1994 หลังจากที่ประเภททีมชายประสบความสำเร็จในการแข่งขันเมื่อปีก่อนหน้านี้
– การแข่งขันเพื่อชิงถ้วยรางวัล Continental Cup ถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ที่จะจัดขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2012 ณ กรุงลอนดอน (London, England)

ปี ค.ศ. 2011
– ระบบการนับแต้มแบบใหม่ได้มีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในการแข่งขัน โดยได้รับการยืนยันโดยผู้บริหารของ FIVB ในการแข่งขันที่มีการชนะที่ 3 ต่อ 0 หรือ 3 ต่อ 1 โดยผู้ชนะจะได้ 3 แต้ม และผู้แพ้จะได้ 0 เช่นกันกับการชนะแต้ม 3 ต่อ 2 ซึ่งจะหมายถึง ผู้ชนะได้ 2 แต้ม และผู้แพ้ได้ 1 แต้ม ในกรณีที่แต้มเสมอกันจะนับคะแนนเป็นแบบ Set Ratio ซึ่งจะต่างจากการนับคะแนนแบบ Point Ratio ในอดีตที่ผ่านมา

ปี ค.ศ. 2012
– มีการปรับปรุงแก้ไขเรื่องเครื่องแบบของผู้เล่นฝ่ายหญิงโดยมีทางเลือกให้ 3 ทาง คือ ผู้เล่นสามารถสวมปลอกหุ้มหัวเข่าความยาวอย่างมากที่สุด 3 เซนติเมตร ไว้เหนือเข่าหรือใส่แบบครึ่งตัวหรือใส่แบบเต็มตัว โดยให้ขึ้นอยู่กับการเคารพในกฎและหรือความเชื่อของแต่ละศาสนา

อ่าน ประวัติวอลเลย์บอลไทย ต่อได้ที่นี่

ประวัติวอลเลย์บอล 2

ดาวน์โหลด เอกสาร

ประวัติวอลเลย์บอล ความเป็นมากีฬาวอลเลย์บอล วิวัฒนาการวอลเลย์บอล Volleyball

ข้อมูลจาก : กรมพลศึกษา

กลับขึ้นไปด้านบน | ไปหน้า เกร็ดความรู้