เหตุใดถึงง่วงนอน หลังทานอาหาร

เหตุใดถึงง่วงนอน หลังทานอาหาร | อาการง่วงหลังกิน Food Coma หรือที่ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า Postprandial Somnolence คือ การที่ร่างกายเราใช้แรงไปกับการย่อยอาหารเยอะและมีพลังงานให้ส่วนอื่นๆ น้อยลง ทุกครั้งที่เราทานอาหารจำนวนมาก เราจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ซึ่งเป็นระบบประสาทที่คอยรักษาสภาวะของร่างกายให้สมดุล ทำให้เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป ร่างกายของเราจะสั่งให้รีบย่อยอาหาร จึงส่งผลให้เลือกและพลังงานที่จะถูกนำไปใช้ในส่วนอื่นๆ ของร่างกายน้อยลง ทำให้เรารู้สึกอยากที่จะพักผ่อน

เหตุใดถึงง่วงนอน หลังทานอาหาร

นอกจากนี้ยังมีตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อร่างกายย่อยอาหารให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคสและซูโคส ทำให้ปริมาณน้ำตาลในร่างกายเราสูงขึ้น ร่างกายของเราจึงหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลในร่างกายไปเป็นไขมันลดระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับมาอยู่ในสภาพปกติ กรรมวิธีเหล่านี้ทำให้ร่างกายหลั่งสาร เซโรโทนิน สารซึ่งทำหน้าที่เพิ่มความสงบจากคาร์โบไฮเดรต และสารเซโรโทนินส่งต่อไปยังต่อมไพเนียลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนกลางที่ช่วยการกระตุ้นสารเมลาโทนินอันเป็นสารแห่งการนอนหลับออกมาปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาของร่างกาย เราจึงรู้สึกง่วงนอนแม้ในเวลากลางวันนั้นเอง

Food Coma

วิธีการแก้ปัญหา

  • ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนักๆ ใน 1 มื้อ ลดอาหารจำพวกแป้งย่อยยาก ของหวานและเครื่องดื่มรสหวานเติมน้ำตาล หันมารับประทานคาร์โบไฮเดรตชนิดดี เช่น ข้าวกล้องหรือขนมปังโฮลวีท
  • รับประทานผักและไขมันชนิดดีทดแทนการสร้างพลังงานและควรเคี้ยวให้ละเอียดเพื่อเก็บพลังงานสะสมในร่างกาย 
  • นอกจากนี้ควรงดทำกิจกรรมที่ใช้ความคิด เช่น การประชุม การสัมมนา เปลี่ยนมาทำกิจกรรมเบาๆ ที่ได้ขยับเนื้อเขยื้อนตัวหรือมีการสื่อสารกับคนอื่นตลอดเวลา ร่างกายของเราก็จะรู้สึกตื่นตัวกลับมากระฉับกระเฉงพร้อมที่จะทำกิจกรรมทั้งงานและการออกกำลังกาย

สาเหตุที่ง่วงหลังทานข้าว

credit: manager.co.th

ข้อมูลสุขภาพอื่น ๆ :
สะอึก สาเหตุและวิธีแก้อาการสะอึก
ตะคริว สาเหตุของตะคริว วิธีแก้ตะคริว

กลับขึ้นไปด้านบน | ไปหน้า เกร็ดความรู้