samutsakorn-logo

เมืองประมง ดงโรงงาน
ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์

จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดเล็กๆ ในเขตพื้นที่ตอนล่างของภาคกลาง บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน ตั้งอยู่ห่างจากทะเลอ่าวไทยเพียง 2 กิโลเมตร เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยเฉพาะสัตว์น้ำทะเล จึงมีการประกอบอาชีพด้านการประมงอย่างกว้างขวาง มีเรือประมงที่ทันสมัยนับพันลำ และสามารถจับสัตว์น้ำได้เป็นปริมาณที่มากที่สุดของประเทศ อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีนาเกลือมากที่สุดด้วยในด้านประวัติศาสตร์ สมุทรสาครเป็นเมืองที่มีบันทึกไว้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อคราวพระเจ้าเสือเสด็จประพาสชลมารค จึงกำเนิดเป็นเรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ผู้ซื่อสัตย์ จงรักภักดี และรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่สำคัญของเมืองในปัจจุบันรู้จักสมุทรสาครสมุทรสาครมีเนื้อที่ประมาณ 872.34 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 545,216 ไร่ จัดเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 72 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตอนล่างของภาคกลาง บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน ห่างจากทะเลอ่าวไทยเพียง 2 กิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1-2 เมตร มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านตอนกลางของจังหวัดตามแนวเหนือใต้ และไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร รวมระยะทางที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครประมาณ 70 กิโลเมตรพื้นที่ตอนบนในเขตอำเภอบ้านแพ้วและอำเภอกระทุ่มแบนมีความอุดมสมบูรณ์ของดิน และมีโครงข่ายแม่น้ำลำคลองเชื่อมโยงถึงกันกระจายอยู่ทั่วพื้นที่กว่า 170 สาย จึงเหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชนานาชนิด และบางส่วนเป็นย่านธุรกิจ อุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย ส่วนพื้นที่ตอนล่างของจังหวัดในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร อยู่ติดชายฝั่งทะเลยาว 41.8 กิโลเมตร จึงเหมาะกับการประกอบอาชีพประมงทะเล เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และทำนาเกลือสมุทรสาคร เดิมเรียกกันว่า “ท่าจีน” เพราะเป็นตำบลใหญ่อยู่ติดอ่าวไทย มีชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวจีนนำสำเภาเข้ามาจอดเทียบท่าค้าขายกันมาก จึงเรียกติดปากว่า “ท่าจีน” จนกระทั่งปี พ.ศ. 2091 ในสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดให้ยกบ้านท่าจีนขึ้นเป็นเมือง “สาครบุรี” เพื่อเป็นหัวเมืองสำหรับเรียกระดมพลเวลาเกิดสงครามกับพม่า และเป็นเมืองหน้าด่านป้องกันผู้รุกรานทางทะเลต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรีเป็นเมือง “สมุทรสาคร” ในปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระบรมราชโองการให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วทั้งประเทศ เมืองสมุทรสาครจึงได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัดสมุทรสาคร” มาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคำว่า “มหาชัย” ที่คนชอบเรียกกันนั้น เป็นชื่อคลองที่สมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดให้ขุดขึ้นเพื่อตัดความคดเคี้ยวของคลองโคกขามแต่เดิม ลัดจากเมืองธนบุรีเป็นแนวตรงไปออกปากน้ำแทน แต่ยังไม่ทันเสร็จก็ทรงสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 (ขุนหลวงท้ายสระ) จึงได้โปรดให้ขุดคลองต่อจนแล้วเสร็จ และได้พระราชทานนามว่า “คลองมหาชัย” ซึ่งต่อมา บริเวณฝั่งซ้ายของปากคลองได้เกิดชุมชนขนาดใหญ่ชื่อว่า “มหาชัย” ขึ้น จึงเป็นที่นิยมเรียกขานกันจนติดปากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสมุทรสาครแบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครมีพื้นที่ 872.347 ตร.กม. มีประชากรประมาณ 519,457 คน และมีอำเภอทั้งหมด 3 อำเภอ ได้แก่

  • อำเภอเมืองสมุทรสาคร
  • อำเภอกระทุ่มแบน
  • อำเภอบ้านแพ้ว

การเดินทาง

สมุทรสาครอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 30 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดสมุทรสาครได้อย่างสะดวกหลายวิธี ทั้งโดยรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง และรถไฟ

 

สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ 5 อันดับ

 

ตลาดสดมหาชัย

 

mahachai

เป็นตลาดที่รวมอาหารทะเลสดและแห้ง นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการค้า การคมนาคมของสมุทรสาคร เนื่องจากการคมนาคมสัญจรมาสู่ตลาดมหาชัย เชื่อมโยงหลายเส้นทางเข้าด้วยกัน ทั้ง เส้นทางรถยนต์ที่มาสุดตรงท่าเรือเทศบาล ซึ่งมีเรือเมล์ไปสู่ตำบลต่าง ๆ หลายแห่ง แล้วยังสามารถเช่าเรือหางยาวไปเที่ยวคลองโคกขามได้ มีทั้งเช่าเหมาลำและเรือประจำทาง และยังมีขขบวนรถไฟจาก สถานีวงเวียนใหญ่มายังมหาชัยวันละหลายเที่ยว

 

พื้นที่ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัย

 

forestlane

เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า วิจัย ด้านธรรมชาติวิทยาของระบบนิเวศ ป่าชายเลน และปากแม่น้ำท่าจีน ปัจจุบันดำเนินการก่อตั้งเป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ป่าชายเลนมหาชัย

 

ศาลพันท้ายนรสิงห์

 

pantay

ศาลนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พันท้ายนรสิงห์ ในคราวที่คัดท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัยจนหัวเรือชนกิ่งไม้ใหญ่ริมคลองโคกขาม ทำให้โขนเรือหักตกลงในน้ำ พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมทูลพระเจ้าเสือ ให้ประหารชีวิตตามกฎมณเฑียรบาล พระเจ้าเสือทรงจำฝืนพระทัยตามพระราชกำหนดที่วางไว้ จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ แล้วให้ทำศาลขึ้นสูงเพียงตา และนำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกชัยที่หักขึ้นพลีกรรมไว้บนศาล เพื่อเป็นอนุสรณ์แสดงถึงความซื่อสัตย์จงรักภักดี ต่อมากรมศิลปากรได้จัดสร้างศาลขึ้นใหม่แทนหลังเก่าที่พังลงมา ภายในศาลมีรูปปั้นของพันท้ายนรสิงห์ ขนาดเท่าคนจริงอยู่ในท่าถือท้ายคัดเรือ เป็นที่นับถือของชาวบ้านเป็นอย่างมาก

 

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

 

lakmeung

เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งประชาชนเคารพนับถือ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวประมงในจังหวัด โดยก่อนออกเรือเพื่อไปหาปลาทุกครั้ง ชาวประมงจะต้องไปทำพิธีสักการบูชา และจุดประทัดบริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพื่อเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ใกล้กันเป็นยังมีอาคารแบบไทย ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปกร ภายในประดิษฐาน เสาหลักเมืองที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

 

แหล่งผลิตเบญจรงค์

 

glass

เป็นแหล่งผลิตเบญจรงค์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยเฉพาะ ต.ดอนไก่ดี ต.ท่าเสา อ.กระทุ่มแบน ซึ่งมีการผลิตเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เป็นของ ตกแต่งบ้าน และของที่ระลึก ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากชาวไทย และชาวต่างประเทศ

 

 

 

 

    TTT
ขอขอบคุณข้อมูลจาก