พยัญชนะไทย - Prayanchanathai

ประวัติ ความเป็นมาของ พยัญชนะไทย อักษร ภาษาไทย

เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 400 ประเทศไทยได้ อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลานั้น ส่วนในเรื่อง พยัญชนะไทย เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชรียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด

อักษรมอญและอักษรขอมที่ไทยนำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนเป็น อักษร ที่รับและแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียนอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป

ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ อักษร ภาษาไทยที่เรียกกันว่า “ลายสือไทย” ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปมาจากอักษรมอญและอักษรเขมรที่มีอยู่เดิม ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสอง แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน

การพัฒนาปรับปรุง อักษร พยัญชนะไทย

อักษร ตัวอักษรภาษาไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ญ ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัวอักษร ฎ และ ธ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่นๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ

 

สำหรับ พยัญชนะไทย ซึ่งจะมีทั้งหมด 44 รูป

*หมายเหตุ

  • อักษร ตัว ฃ และ ฅ เป็นอักษรที่ปัจจุบันเราได้เลิกใช้ไปแล้ว
  • อักษร ตัว อ ถือว่าเป็นเสียงว่าง เราจะไม่นับ

พยัญชนะไทย ยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

  • อักษร เสียงสูง 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
  • อักษร เสียงกลาง 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
  • อักษร เสียงต่ำ 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

เนื้อเพลงสำหรับท่อง พยัญชนะไทย ทั้ง 44 ตัว

ท่อง อักษร จดจำ พยัญชนะไทย กับ เนื้อเพลง ก เอ๋ย ก ไก่ (แบบดั้งเดิม)

อักษร ตัวที่ 1 ก เอ๋ย ก ไก่
อักษร ตัวที่ 2 ข ไข่ ในเล้า
อักษร ตัวที่ 3 ฃ ฃวด ของเรา
อักษร ตัวที่ 4 ค ควาย เข้านา
อักษร ตัวที่ 5 ฅ ฅน ขึงขัง
อักษร ตัวที่ 6 ฆ ระฆัง ข้างฝา

พยัญชนะไทย ฆ ระฆัง

อักษร ตัวที่ 7 ง งู ใจกล้า
อักษร ตัวที่ 8 จ จาน ใช้ดี
อักษร ตัวที่ 9 ฉ ฉิ่ง ตีดัง
อักษร ตัวที่ 10 ช ช้าง วิ่งหนี
อักษร ตัวที่ 11 ซ โซ่ ล่ามที
อักษร ตัวที่ 12 ฌ กะเฌอ คู่กัน
อักษร ตัวที่ 13 ญ ผู้หญิง โสภา

พยัญชนะไทย ญ ผู้หญิง

อักษร ตัวที่ 14 ฏ ชะฎา สวมพลัน
อักษร ตัวที่ 15 ฏ ปฏัก หุนหัน
อักษร ตัวที่ 16 ฐ ฐาน เข้ามารอง
อักษร ตัวที่ 17 ฑ มณโฑ หน้าขาว
อักษร ตัวที่ 18 ฒ ผู้เฒ่า เดินย่อง
อักษร ตัวที่ 19 ณ เณร ไม่มอง
อักษร ตัวที่ 20 ด เด็ก ต้องนิมนต์

พยัญชนะไทย ด เด็ก

อักษร ตัวที่ 21 ต เต่า หลังตุง
อักษร ตัวที่ 22 ถ ถุง แบกขน
อักษร ตัวที่ 23 ท ทหาร อดทน
อักษร ตัวที่ 24 ธ ธง คนนิยม
อักษร ตัวที่ 25 น หนู ขวักไขว่
อักษร ตัวที่ 26 บ ใบ ไม้ทับถม
อักษร ตัวที่ 27 ป ปลา ตากลม

พยัญชนะไทย ป ปลา

อักษร ตัวที่ 28 ผ ผึ้ง ทำรัง
อักษร ตัวที่ 29 ฝ ฝา ทนทาน
อักษร ตัวที่ 30 พ พาน วางตั้ง
อักษร ตัวที่ 31 ฟ ฟัน สะอาดจัง
อักษร ตัวที่ 32 ภ สำเภา กางใบ
อักษร ตัวที่ 33 ม ม้า คึกคัก
อักษร ตัวที่ 34 ย ยักษ์ เขี้ยวใหญ่

ย ยักษ์

อักษร ตัวที่ 35 ร เรือ พายไป
อักษร ตัวที่ 36 ล ลิง ไต่ราว
อักษร ตัวที่ 37 ว แหวน ลงยา
อักษร ตัวที่ 38 ศ ศาลา เงียบเหงา
อักษร ตัวที่ 39 ษ ฤาษี หนวดยาว
อักษร ตัวที่ 40 ส เสือ ดาวคะนอง

ส เสือ
อักษร ตัวที่ 41 ห หีบ ใส่ผ้า
อักษร ตัวที่ 42 ฬ จุฬา ท่าผยอง
อักษร ตัวที่ 43 อ อ่าง เนืองนอง
อักษร ตัวที่ 44 ฮ นกฮูก ตาโต

คำค้น — พยัญชนะไทย ตัวอักษร อักษร ภาษาไทย อักษรไทย

Page แนะนำ :

กริยา 3 ช่อง : https://www.educatepark.com/v1-v2-v3/
สูตรคูณ : https://www.educatepark.com/สูตรคูณ/
แปล เพลงเกาหลี : https://www.educatepark.com/แปลเพลงเกาหลี/

Web แนะนำ :  https://www.wikipedia.org/