La construction de la phrase

(ลา กงสทรุคซิยง เดอ ลา ฟราส)

โครงสร้างประโยค

 

โครงสร้างก็เหมือนภาษาอังกฤษเลยครับ มีด้วยกัน 3 ส่วน คือ

1. Sujet(ซูเช) ประธาน

2. Verbe(แว๊บ(เบอะ) กริยา

3. Objet(อ๊อบเช) กรรม

สำหรับวันนี้ขอเสนอข้อแรกในเรื่อง Pronoms Personnels(โพรนง แปร์คซอนแน็ล) สรรพนามชี้บุคคล โดยขอเปรียบเทียบกับสรรพนามในภาษาอังกฤษ

 

Pronoms Personnels

Je(เฌอ)  ฉัน I
Tu(ตือ)   เธอ You
Il(อิล)  เขา, มัน(เพศชาย) He, It
Elle(แอ็ล(เลอะ)  หล่อน, มัน(เพศหญิง) She, It
Nous(นู)  พวกเรา We
Vous(วู)  คุณ, ท่าน You
Ils(อิล)  พวกเขา(เพศชาย) They
Elles(แอ็ล(เลอะ)  พวกหล่อน(เพศหญิง) They

*ข้อสังเกต

1. Tu กับ Vous นั้นต่างกัน

เราจะใช้ Tu กับคนที่สนิทแล้วเท่านั้น เช่น เพื่อน พี่ น้อง เป็นต้น

เราใช้ Vous กับคนที่เรายังไม่สนิทหรือคนที่เราเคารพ เช่น ครู ผู้อาวุโส คนเพิ่งรู้จัก เป็นต้น

2.ในภาษาฝรั่งเศสมีเพศและพจน์บ่งบอกนาม สรรพนาม สังเกตได้จาก Il, Elle, Ils และ Elles

ตัวอย่างประโยคเช่น

  • J’aime bien Monsieur Jean parce qu’il est très gentil.(แฌม เบียง เมอซิเออ ฌอง ปาซกิลเล แทร๊ ฌังตี)

= ฉันชอบคุณฌอง เพราะเขาเป็นคนใจดี(ใช้ Il เนื่องจาก ฌอง เป็นผู้ชาย)

 

  • Voilà la chaise! Elle appartient à moi.(วัวล่า ลา แชส แอลลัปปาร์คเตียง อ๊า มัว)

= นั่นไงเก้าอี้ มันเป็นของฉัน(ใช้ Elle เนื่องจาก เก้าอี้เป็นเพศหญิง)

 

ขอเพิ่มเติมในส่วนสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรม Pronoms Toniques(โพรนง โตนิ๊ก(เกอะ) และขอเทียบกับภาษาอังกฤษเหมือนกันครับ

 

Pronoms Toniques

Moi(มัว) Me
Toi(ตัว) You
Lui(ลุย) Him, It
Elle(แอ็ล(เลอะ) Her, It
Nous(นู) Us
Vous(วู) You
Eux(เออ) Them
Elles(แอ็ล(เลอะ) Them

*ตัวอย่างประโยค

  • Ce médicament est bon pour toi. (เซอ เมดิกาม็อง เซ บง พูค ตัว)

= ยาตัวนี้ดีสำหรับเธอนะ

  • C’est lui qui mange du fromage d’Anne.(เซ ลุย คี มอชเฌอะ ดึว โฟรมาชเฌอะ ดานเนอะ)

= นี่คือเขาหละผู้ซึ่งกินเนยแข็งของอาน

 

ชอบคุณคุณ Assia ที่มาร่วมกันปรับปรุงเนื้อหาเวบไซต์ สามารถอ่านคอมเม้นต์เพิ่มเติมจากคุณ Assia ได้ตามคอนเม้นต์ด้านล่างเลยนะคะ หากน้อง ๆ พี่ ๆ เพื่อน ๆ มีตรงไหนที่คิดว่าน่าจะควรปรับปรุง ก็แจ้งทาง Educatepark มาได้เลยนะคะ

 

เรียนภาษาฝรั่งเศสด้วยตนเอง ตอนที่ 3 “ตัวอักษรภาษาฝรั่งเศส”

เรียนภาษาฝรั่งเศสด้วยตนเอง ตอนที่ 5 “การกระจายกริยา”