เกร็ดความรู้: วิสกี้ – Whiskey

Whiskeyหากให้พูดถึงจุดเด่นของสกอตแลนด์ คงจะมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่นึกถึงวิสกี้ วิสกี้ของสกอตแลนด์นั้นได้ชื่อว่าเป็นวิสกี้ที่ดีที่สุดของโลก ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานและเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับมันมากมาย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการดื่มหรือผู้ที่ชื่นชอบในการสรรหาเรื่องราวต่างๆแล้ว เรื่องน่ารู้เหล่านี้คงจะช่วยทำให้สามารถเพลิดเพลินกับวิสกี้ได้มากขึ้นไม่มากก็น้อย

1. Whisky แตกต่างจาก Whiskey

Whiskey

มีการอภิปราย โต้แย้งกันมาหลายครั้งว่ามีเพียงโรงกลั่นของสกอตแลนด์เท่านั้นหรือไม่ที่มีสิทธิ์จะเรียกวิสกี้ของพวกเขาว่า Whisky โดยได้ผลเป็นเอกฉันท์ว่าคำว่า Whisky ให้ใช้ได้เฉพาะวิสกี้ของสกอตแลนด์เท่านั้น ส่วนวิสกี้ที่มาจากที่อื่นๆให้ใช้ Whiskey แทน
เคยมีคนพูดติดตลกไว้ว่าเหตุผลที่ชาวสกอตสะกดคำว่าวิสกี้โดยไม่มีตัว “e” นั้นเป็นเพราะว่าพวกเขาเชื่อว่าการเพิ่มตัวสระเข้าไปจะทำให้เสียเวลาอันมีค่าในการเพลิดเพลินกับรสชาติของวิสกี้นั่นเอง

2. Whiskey ก็ถือเป็นเบียร์ชนิดหนึ่ง

Whiskey

Whiskey ก็คือเบียร์ที่ผ่านการกลั่นมาแล้ว 2-3 ครั้ง “การจะกลั่นวิสกี้นั้น อย่างแรกก็ต้องกลั่นเบียร์เสียก่อน คำว่า Beer เป็นศัพท์ทางเทคนิคของ Whiskey wash โดยใช้ได้กับทุกประเภทโดยไม่ต้องคำนึงถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการกลั่น

3. ภาษีวิสกี้

Whiskey

กว่า 50% ของราคาซื้อขายวิสกี้ในสหรัฐอเมริกานั้นถูกนำไปจ่ายเป็นค่าภาษีให้กับรัฐบาลกลาง รัฐและท้องถิ่น

4. อย่าใส่น้ำแข็งในวิสกี้

นักสะสมวิสกี้ที่ให้สัมภาษณ์ใน Whiskey conference กล่าวว่า น้ำแข็งจะทำให้รสชาติของวิสกี้อ่อนลง ทำให้อุณหภูมิต่ำลงมากเกินไปซึ่งจะทำให้ไม่สามารถลิ้มรสชาติและกลิ่นหอมของวิสกี้ได้อย่างเต็มที่ ถ้าหากต้องการใส่จริงๆ ให้ใส่เพียงก้อนเดียวก็พอ

Whiskey        Whiskey

หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือการใช้ Whiskey Stone หรือหินน้ำแข็ง
หินน้ำแข็ง เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ชอบเครื่องดื่มที่มีความเย็น เพราะมันจะช่วยลดปัญหาที่พบบ่อยๆ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดื่มวิสกี้ สุรา บรั่นดี หรือเครื่องดื่มอื่นๆ หินจะช่วยทำให้เครื่องดื่มของคุณเย็นโดยไม่ต้องเจือจางจากการละลายของน้ำแข็ง เพียงเท่านี้เครื่องดื่มที่คุณชื่นชอบก็จะเย็นโดยไม่ต้องกลัวเสียรสชาติอีกต่อไป หินที่ไม่มีรูพรุนหมายความว่าเป็นหินที่ไม่มีกลิ่นหรือรสที่จะทำให้เครื่องดื่มเสียไป ซึ่งแตกต่างจากน้ำแข็งที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

Whiskey

วิธีใช้: นำหินไปล้างก่อนที่จะใช้งานครั้งแรกแล้วนำไปวางไว้ในตู้เย็นจนกว่าหินน้ำแข็งจะเย็นตามที่ต้องการ เมื่อหินมีความเย็นแล้วนำไปใส่ในแก้วเครื่องดื่ม 2-3 ก้อน เติมเครื่องดื่มลงในแก้วพอมิดหิน และรอเพียงไม่กี่นาทีเพื่อให้เครื่องดื่มเย็น หลังจากการใช้งานเพียงแค่ล้างและทิ้งไว้ให้แห้งก่อนที่จะกลับมาแช่แข็งใหม่อีกครั้ง ไม่ควรนำหินมาเคี้ยวหรือว่าพยายามจะกินหินโดยเด็ดขาด
ในบางครั้งการดื่มแบบไม่ผสมอะไรเลยก็อาจไม่ดีนัก ควรจะผสมน้ำลงไปซักเล็กน้อย 1-2 หยด เพื่อเป็นการตัดรสชาติและกลิ่นของแอลกอฮอล์ซึ่งจะทำให้การรับรสของเราด้อยลง
น้ำที่ใช้ผสมควรเป็นน้ำแร่ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหอมและรสชาติของวิสกี้ หากเป็นน้ำประปาซึ่งมีส่วนผสมของคลอรีนมากอาจจะเป็นการทำให้สูญเสียรสชาติของวิสกี้ไป ดังนั้นก็ควรระวังในจุดนี้ไว้ด้วย

5. จุดไฟด้วยวิสกี้

Whiskey

เรื่องเล่าของสกอตแลนด์อีกหนึ่งเรื่อง ในอดีตชาวสกอตเคยนำวิสกี้ที่ได้มาจุดไฟเพื่อดูว่ามีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อยู่มากน้อยเพียงใด
พวกเขาจะรู้สัดส่วนที่เหมาะสมได้จากการดูสีของเปลวไฟ ถ้าหากมีสีเข้มและร้อนมากเกินไปแสดงว่ามีแอลกอฮอล์มากเกินไป พวกเขาจะขายวิสกี้เหล่านี้ให้กับคนงานในโรงกลั่นในราคาถูก

6. Whiskey Rebellion ในปี 1794

Whiskey

ในอดีตมีการเกิดการจลาจลขึ้นในเขต Pennsylvania หลังจากที่ Alexander Hamilton เริ่มให้มีการเก็บภาษีวิสกี้เมื่อปี 1791 ทำให้ผู้คนชาวสกอตและชาวไอริชจำนวนมากเกิดความไม่พอใจขึ้นเนื่องจากว่าวิสกี้นั้นถือเป็นสินค้าที่สำคัญทางเศรษฐกิจของพวกเขา

Whiskey
การจลาจลเกิดขึ้นในปี 1794 ซึ่งประธานาธิบดีในเวลานั้นก็ไม่ใช่ใครอื่นซึ่งก็คือ George Washington นั่นเอง โดยเขาได้ส่งกองกำลังเข้าปราบปรามจลาจลในครั้งนั้น Hamilton หวังที่จะใช้ผู้ก่อจลาจลเหล่านั้นเป็นตัวอย่างสำหรับการลงโทษในข้อหาก่อการกบฏ แต่ในภายหลัง Washington ก็ได้อภัยโทษให้กับพวกเขา
การเก็บภาษีของ Hamilton ถูกยกเลิกไปในปี 1802

7. มีแหล่งภูมิภาคที่ผลิตวิสกี้อยู่ 5-7 แห่ง

Whiskey

ขึ้นกับว่าคุณจะถามจากใคร ภูมิภาคหลักๆที่มีการกลั่นวิสกี้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5-7 แห่ง
วิสกี้จาก 5 แหล่งที่มักจะมีการพูดถึงอยู่บ่อยๆคือ Scotch Whisky, Irish Whiskey, Kentucky (Bourbon), Canadian Whiskey และ Tennesse Whiskey ส่วนภูมิภาคอีก 2 แห่งที่ยังโต้เถียงกันอยู่คือ ญี่ปุ่นกับนิวซีแลนด์

8. Bourbon, Kentucky

Whiskey

Bourbon whiskey ครั้งหนึ่งเคยถูกผลิตขึ้นที่ Bourbon ใน Kentucky (90% ของทั้งหมด แต่ในปัจจุบันนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องผลิตขึ้นในเขต Bourbon อีกต่อไปแล้ว)
เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมากลั่นมาคือข้าวโพดเป็นส่วนใหญ่จึงทำให้มีรสชาติหวานกว่า Whiskey ของที่อื่นๆ
เป็นเรื่องน่าสนใจที่เขต Bourbon นั้นเป็นเขต “dry” ซึ่งหมายความว่าห้ามไม่ให้มีการขายเครื่องดื่มสุรา

9. Ireland

Whiskey

ว่ากันว่า Whiskey ถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในไอร์แลนด์โดยพระชาวไอริช
Irish whiskey จะผ่านการกลั่น 3 ครั้งเรียกว่า “triple-distilled” โดยใช้ข้าวบาร์เลย์ มอลท์ ข้าวมอลท์ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นวิสกี้นั้นถูกอบแห้งอย่างมิดชิดในเตาและไม่ให้สัมผัสกับควันใดๆเลย

10. Scotland

Whiskey

 

“Scotch” หมายถึง Scottish whisky หรือ Scotch whisky เท่านั้น
ชาวสกอตเองก็อ้างว่าพวกเขาเป็นกลุ่มแรกที่ผลิตวิสกี้ขึ้นเช่นกัน เท่าที่เรารู้ วิสกี้ดูเหมือนจะไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ของสกอตแลนด์จนกระทั่งหลังจากการรวมเข้าเป็นสหภาพ ในขณะที่ชาวไอริชมีการกลั่นสุรามาอย่างน้อยก็ตั้งแต่ในปี 1590 มีเรื่องเล่าว่าความจริงแล้วพระชาวไอริชนั่นเองที่เป็นคนที่ทำให้ชาวสกอตได้รู้จักกับวิสกี้
รสชาติของวิสกี้สกอตจะมีกลิ่นหอมของควันที่ได้จากการใช้ถ่านหินในการอบแห้ง

11. Canada

Whiskey

Canadian whiskey กลั่นโดยใช้ข้าวไรย์เป็นวัตถุดิบหลัก
“Canadian Club” เป็นวิสกี้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปี 50 โดยเป็นผู้ผลิตจากอเมริการเหนือเพียงรายเดียวที่ได้รับ Royal Warrant (ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว) นอกจากนี้มันยังเป็นวิสกี้ที่ Don Draper ดื่มอยู่บ่อยๆในละครเรื่อง Mad Men อีกด้วย
Canadian whiskey เป็นเครื่องดื่มสุราอันดับ 1 ที่ส่งเข้าไปขายในสหรัฐ ได้รับความนิยมในการบริโภคเป็นอันดับ 2 รองจากวอดก้าเท่านั้น

12. Tennessee

Whiskey

Tennessee whiskey ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นมีอยู่ 2 ยี่ห้อคือ Jack Daniel และ George Dickel
Fun fact: ในวันศุกร์แรกของทุกเดือนคนงานที่ Jack Daniel จะได้วิสกี้ฟรี 1 ขวด

13. วิสกี้ผสม

Whiskey

วิสกี้ผสมนั้นทำขึ้นจากการนำวิสกี้ที่ผลิตได้จากโรงกลั่นหลายแห่งมาผสมกัน อัตราส่วนโดยทั่วไปของวิสกี้มอลท์กับวิสกี้ธัญพืชอื่นๆจะเป็น วิสกี้ธัญพืชอื่นๆ 60% และวิสกี้ข้าวมอลท์ 40% วิสกี้ที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผสมนั้นโดยปกติมักจะมีอายุประมาณ 5 ปี เพื่อจุดประสงค์ในการรักษารสชาติของวิสกี้ไว้ได้นาน

14. Whiskey มีความหมายว่า “น้ำแห่งชีวิต”

Whiskey

ในภาษา Gaelic ซึ่งเป็นภาษาสกอตดั้งเดิมนั้นคำว่า Whiskey ถูกแปลว่า uisce beatha หรือน้ำแห่งชีวิต
ตัวอักษร “e” ในคำว่า whiskey มาจากคำว่า fuisce ซึ่งมาจาก uisce beatha อีกทีหนึ่ง ในตอนที่พระชาวไอริชเผยแพร่วิสกี้ภายในยุโรป ไม่มีใครที่สามารถออกเสียงคำว่า uisce beatha ได้ พวกเขาจึงเรียกมันว่า fuisce แทน

15. ประโยชน์ต่อฟาร์มโคนม

Whiskey

เกษตรกรที่ทำฟาร์มโคนมซึ่งอยู่ใกล้กับโรงกลั่นวิสกี้มักจะนำเอาข้าวโพดและธัญพืชอื่นๆที่เหลือทิ้งจากการนำไปกลั่นวิสกี้มาเลี้ยงสัตว์ของพวกเขา
ทั้งโรงกลั่นและเกษตรกรพึ่งพาอาศัยกันโดยเมื่อโรงกลั่นต้องการกำจัดเอาธัญพืชส่วนเกิน เกษตรกรก็จะนำเอาธัญพืชเหล่านั้นซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารไปให้กับวัวของพวกเขา ซึ่งช่วยให้วัวผลิตน้ำนมได้มากขึ้น

 

Credit: www.businessinsider.com