friend

» ช่วงสองถึงสามเดือนแรกของการพำนักในต่างประเทศ ท่านอาจต้องใช้เวลาเป็นอย่างมากในการปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นครั้งแรกที่ท่านต้องจากบ้านหรือได้มีโอกาศเรียนเรียนรู้วัฒนธรรมของชาติอื่นๆ ท่านอาจจะไม่เข้าใจในวิธีการดำเนินชีวิตของผู้คน รวมทั้งความแตกต่างทางวัฒนธรรมหรือแม้แต่บรรทัดฐานทางสังคมที่ต่างกัน ชาวออสเตรเลียมักดำเนินชีวิตแบบสบายๆ ไม่มีพิธีรีตรองมากมายนัก ซึ่งแตกต่างจากชาวเอเชียที่ล้วนแต่ได้รับการอบรมให้อยู่ใน กรอบของวัฒนธรรมและพิธีการต่างๆ อย่างเคร่งครัด

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการปรับตัว

  • มองโลกในแง่ดี พยายามนึกถึงว่าเหตุใดจึงเลือกมาเรียนที่ประเทศออสเตรเลีย
  • รู้จักยืดหยุ่นและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ
  • แรกเริ่มท่านอาจรู้สึกเหงาและไม่สะดวกสบายนักท่านควรปรึกษากับนักเรียนต่างชาติด้วยกันและเรียนรู้จากประสบการณ์ของพวกเขา
  • หาโอกาศเข้าร่วมการเล่นกีฬาและกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
  • สังเกตพฤติกรรมตลอดจนวิธีการสื่อสารของผู้อื่น และให้สอบถามหากมีข้อสงสัย
  • หากทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้นไม่เป็นผล ให้ขอคำแนะนำจากสำนักงานให้คำปรึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติ หรือขอคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาในสถาบันการศึกษาของท่าน

Culture Shock

  • วัฒนธรรมของต่างประเทศที่แตกต่างไปจากประเทศเรา หรือที่เราคุ้นเคย เป็นสิ่งที่ไม่มีบอกในตำราแต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนที่ไปใช้ชีวิตหรือได้พบเจอ จะแปลกมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการปรับตัวและความเคยชินของแต่ละคน เช่น
  • ขึ้นรถเมล์ต้องทักคนขับ และคนขับก็จะทักเรา พอลงก็ต้องบอก ขอบคุณ ซึ่งต่างกับประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง ที่แค่ขึ้นรถเมล์ทันโดยปลอดภัยก็นับว่าโชคดีมากๆแล้ว
  • ใช้ส้อมตักข้าว บางคนกินอิ่มก็ไม่กินน้ำเลย จะกินทีหลัง (ประมาณ ชั่วโมง) คนไทยต้องมีน้ำด้วยตลอด
  • กินพิซซ่าไม่ใส่ซอสมะเขือเทศ และกินเฟร้นฟราย กับ น้ำส้มสายชู (จะอร่อยมั้ยเนี่ย)

อาการของ Culture Shock ก็มีแบ่งเป็นระยะได้ เริ่มตั้งแต่

ระยะแรก

  • ใหม่ๆ แรก ๆ อะไรก็ดีไปหมด จะรู้สึกชอบทุก ๆ อย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัว ตื่นเต้นกับบ้านใหม่ อะไรมันจะสะดวกสบายขนาดนั้น รู้สึกตัวเองมีอิสระ เสรี และมีความสุขกับกับโลกใบใหม่นี้จริงๆเลยนะ ไปเที่ยวโน้นเที่ยวนี่ไม่เบื่อ ตื่นตาตื่นใจไปเสียหมด ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสองอาทิตย์แรกที่ไปถึง

ระยะที่สอง

  • ความคุ้นเคยจะเข้ามาเยือน เราจะเริ่มคุ้นเคยกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว บวกกับความเหงา เดียวดาย เริ่มจะไม่ชอบการอยู่คนเดียว คิดถึงบ้าน คิดถึงแม่ คิดถึงอาหารไทย นี้เลยคะอาการเริ่มแรก ของโฮมซิก หรือ อาการคิดถึงบ้านใจจะขาดนั้นเอง จะเริ่มตั้งแต่เกลียดเมืองที่อยู่อาศัยเอง เกลียดประเทศที่มาอยู่อาศัย เกลียดผู้คนรอบ ๆ ตัว เกลียดอพาร์ทเม้นต์ที่อยู่อาศัย เกลียดทุก ๆ อย่างในประเทศนี้ ระยะนี้แหละที่จัดได้ว่าเป็นระยะอันตราย ถ้ารอดจากระยะนี้ได้ก็สบายได้เป็นนักเรียนนอกแน่ แต่ถ้าไม่รอดก็โบกมือ บ้าย บาย จิงโจ้กลับไปกินส้มตำที่บ้านแน่นอน

ระยะที่สาม

  • สุดท้าย และตลอดไป นั่นหมายถึงว่านายแน่มากที่ผ่านระยะที่สองมาได้ เราจะเริ่มปรับยอมรับกับทุก ๆ สิ่งที่อยู่รอบข้างรู้จักเพื่อนใหม่ๆ การเรียนที่เริ่มจะดูจริงจังมากขึ้น บ้างก็ได้งานทำ เริ่มใช้เหตุผลในการใช้ชีวิตมากขึ้น ประมาณว่า Life must go on และจะเริ่มมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น

ระยะที่สี่

  • บ้างก็เลยไปถึงระยะที่สี่คือระยะไม่อยากกลับบ้าน เห็นอะไรที่เมืองไทยไม่ดีไปหมด อยากอยู่ออสเตรเลียจนตายก็มี อย่าเลยนะพ่อแม่รออยู่

การปรับตัวให้อยู่อย่างมีความสุข

» การเข้าใจธรรมเนียมบางอย่างของคนออสเตรเลียก็ช่วยให้เรา เข้าใจและอยู่ในสังคมออสเตรเลียได้อย่างมีความสุข จึงมีธรรมเนียมบางอย่างที่คุณควรรู้บ้างเช่น

  • ชาวออสเตรเลียให้ความสำคัญกับคำว่า “Please” และคำว่า “Thank you” หรือพูดสั้นๆ ว่า “Ta”
  • หากได้รับเชิญไปรับประทานอาหารที่บ้านใคร ถือเป็นธรรมเนียมที่คุณควรนำอะไรติดมือไปด้วย เช่น เครื่องดื่มสักขวด
  • การมาสายถือว่าไม่สุภาพ
  • ไม่มีการต่อรองราคาเมื่อซื้อของหรือนั่งแท็กซี่
  • ที่ออสเตรเลีย เวลาแต่งงาน เจ้าบ่าว-เจ้าสาวจะระบุของขวัญมาว่าต้องการอะไรบ้าง แล้วให้เราไปเลือกซื้อให้เค้า
  • เวลาแขกมาบ้าน ถ้ายกน้ำเปล่ามาให้ จะเหมือนดูถูก ไม่มีมรรยาท ต้องถามว่าเค้าต้องการอะไร ชา กาแฟ หรือน้ำผลไม้
  • ขึ้นรถเมล์ต้องทักคนขับ และคนขับก็จะทักเรา พอลงก็ต้องบอก ขอบคุณ
  • ใช้ส้อมตักข้าว บางคนกินอิ่มก็ไม่กินน้ำเลย จะกินทีหลัง (ประมาณ ชั่วโมง)
  • ห้างสรรพสินค้าและ ร้านค้าต่างๆ จะปิดเร็วมาก บางที 6 โมงก็ปิดแล้ว
  • ร้านอาหารจะอยู่เป็นจุดๆ ไม่เหมือนบ้านเรา แบบบ้านก็บ้านไปเลย ร้านก็อยู่รวมกัน
  • กินพิซซ่าไม่ใส่ซอสมะเขือเทศ และกินเฟร้นฟราย กะ น้ำส้มสายชู
  • คนทำงานแล้ว / นักศึกษา /นักเรียน ส่วนมากจะ ทำอาหารกลางวันไปกิน แล้วนั่งกิน ตาม เก้าอี้ริมถนน หรือสวนสาธารณะ