เรียนภาษาเยอรมันด้วยตัวเอง การออกเสียง ไวยากรณ์

การเรียนภาษาเยอรมัน อาจจะยากสักหน่อย โดยเฉพาะคนไทยอย่างเรา แต่ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม การเรียนภาษาเยอรมันนั้น หากเรามีความพยายามแล้ว ก็ไม่ยากที่จะไปถึงระดับภาษาที่เราต้องการได้ เพจนี้จะรวบรวม บทความที่น่ารู้เกี่ยวกับ การเรียนภาษาเยอรมัน เรียนภาษาเยอรมันด้วยตัวเอง และการออกเสียง ในขั้นพื้นฐาน

ปกติแล้ว นักเรียนมักจะมาถามว่า ต้องเรียนนานเท่าไรถึงจะได้ระดับนี้ ซึ่งแน่นอนว่า ถึงแม้ว่าจะมีตารางบอกว่า แต่ละระดับควรเรียนประมาณกี่ชั่วโมง แต่สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีใครสามารถการันตีระยะเวลาที่แน่นอนให้ได้ สิ่งที่สำคัญสำหรับตัวนักเรียนเองคือความมุ่งมั่นที่จะเรียนและพัฒนาภาษาจริง ๆ

บทความ เรียนภาษาเยอรมันด้วยตัวเอง

รวบรวม บทความเรียนภาษาเยอรมันด้วยตัวเอง

เหตุผลที่ควร เรียนภาษาเยอรมัน

1. ภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วไปในทวีปยุโรป ไม่ใช่เพียงแค่ประชาชนในประเทศเยอรมนีพูดภาษาเยอรมันเท่านั้น ภาษาเยอรมันยังเป็นภาษาราชการของประเทศออสเตรีย, สวิตเซอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก และลิกเตนสไตน์  นอกจากนี้ยังเป็นภาษาที่ใช้พูดกันอย่างมากในประเทศอิตาลี, ฝั่งตะวันออกของเบลเยี่ยม, เนเธอร์แลนด์, เดนมาร์ก, ฝั่งตะวันออกของฝรั่งเศส, บางส่วนในโปแลนด์, สาธารณรัฐเช็ค, รัสเซีย และโรมาเนีย

2. ภาษาเยอรมันไม่ยากอย่างที่คิด เนื่องจากภาษาเยอรมันจะมีคำศัพท์และไวยากรณ์ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ภาษาเยอรมันยังมีระบบการออกเสียงที่ดี ซึ่งหากได้เรียนรู้แล้ว มันจะง่ายต่อการเดาว่าเมื่อฟังคำศัพท์คำนี้แล้วจะเขียนว่าอย่างไร หรือเมื่อเห็นคำศัพท์คำนี้แล้วควรออกเสียงอย่างไร

3. การอ่านวรรณกรรม สำหรับผู้ที่ต้องการอ่านวรรณกรรมฉบับดั้งเดิมนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาษาเยอรมัน อีกทั้งหนังสือใหม่ ๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในประเทศเยอรมนีในแต่ละปีนั้น ภาษาเยอรมันถือว่าเป็นภาษาอันดับที่ 3 ของโลกที่มีการแปลหนังสือเยอะที่สุด

4.  โอกาสทางธุรกิจ ภาษาเยอรมันมีความสำคัญทางด้านการค้าในยุโรป โดยเฉพาะการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านธุรกิจกับคู่ค้า ซึ่งปัจจุบันประเทศเยอรมนีถือได้ว่าเป็นประเภทที่มีอุตสาหกรรมใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก และเป็นประเทศที่มีการส่งออกที่สำคัญของโลกอีกด้วย ความรู้ทางด้านภาษาเยอรมันจึงเป็นข้อดีอย่างมากในการทำธุรกิจ

5. เรียนรู้วัฒนธรรม การมีความรู้ความเข้าใจในภาษาเยอรมันถือได้ว่าเป็นการเปิดประตูสู่วัฒนธรรมของยุโรป  ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัฒนธรรมภาษา, ดนตรีคลาสสิค เป็นต้น

เรียนภาษาเยอรมันด้วยตัวเอง แบบง่าย ๆ

บางทีหลาย ๆ คนอาจจะไม่ได้อยากเรียนไวยากรณ์ หรือคำศัพท์ยาก ๆ แต่อยากเรียนเพื่อแค่ใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในการไปท่องเที่ยว เพียงเท่านั้น มีบางประโยคที่ควรที่จะรู้ไว้ สำหรับการสนทนาในชีวิตประจำวัน

การอ่านออกเสียง
Hallo! – สวัสดี ฮาโล่
Guten Morgen! – สวัสดีตอนเช้า กู้ดทึ่น มอเก้น
Guten Abend! – สวัสดียามเย็น กู้ดทึ่น อาเบ้น
Danke! – ขอบคุณนะ ดั้งเค่อ
Vielen Dank! – ขอบคุณมาก ๆ เลย ฟีเล้น ดั้ง
Willkommen! – ยินดีต้อนรับ วีลคอมม
Alles Gute zum Geburtstag – สุขสันต์วันเกิด อัลเลซ กูเท่อ ซุม เกบ๊วตซทาก
Fröhliche Weihnachten – สุขสันต์วันคริสต์มาส โฟรเฮ่อะ  ไวฮ์ น๊าค เท่น
Ich heiβe Susanne – ฉันชื่อซูซาน อิช ไฮเซอะ ซูซานน
Wie heißen Sie? – คุณชื่ออะไร วี ไฮ้เซ่น ซี
Wie geht’s? – คุณเป็นอย่างไรบ้าง วี เก้ทส
Mir geht’s gut. – ฉันสบายดี เมียร์ เก้ทส กุ๊ด
Mir geht’s nicht gut. – ฉันไม่สบาย เมียร์ เก้ทส ไนคท์ กุ๊ด
Ich komme aus… – ฉันมาจากประเทศไทย อิส โคมเมอ เอาส์ ไทยแลนด์
Bis später! – ไว้เจอกันนะ บิส ชปีเท่อร์
Tschüß! – ลาก่อน ทชู๊ส

ระดับภาษาเยอรมัน

จะแบ่งตาม Common European Framework of Reference Language ดังนี้

Basic User

“A1” : ผู้ที่มีระดับภาษาเยอรมันในระดับ A1 หมายถึงเป็นผู้ที่มีความสามารถใช้ภาษาได้ในเบื้องต้น คือสามารถแนะนำตัวเอง หรือแนะนำผู้อื่นได้ และสามารถสนทนาในคำถาม-ตำตอบง่าย ๆ ได้ แต่ยังไม่คล่องแคล่วเท่าที่ควร

“A2” : ผู้ที่มีระดับภาษาเยอรมันในระดับ A2 จะสามารถเข้าใจประโยคที่ใช้บ่อย ๆ อาทิเช่น ข้อมูลส่วนตัวทั่วไป, ประโยคที่ใช้บ่อย ๆ ในการซื้อของ เป็นต้น

Independent User

“B1” : ผู้ที่มีระดับภาษาเยอรมันในระดับ B1 จะสามารถจับใจความประเด็นหลัก ๆ ในหัวข้อต่าง ๆ อาทิเช่น การฟังเลกเชอร์ เป็นต้น สามารถอธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ และให้เหตุผลหรือแสดงความคิดเห็นประกอบได้

“B2” : ผู้ที่มีระดับภาษาเยอรมันในระดับ B2 จะสามารถเข้าใจประเด็นหลัก ๆ ของหัวข้อที่มีความซับซ้อนได้ อาทิเช่น การอภิปรายในเชิงเทคนิค เป็นต้น สามารถที่จะโต้ตอบได้อย่างคล่องแคล่ว กับเจ้าของภาษาได้

Proficient User

“C1” : ผู้ที่มีระดับภาษาเยอรมันในระดับ C1 จะสามารถเข้าใจบทความที่ยาว ๆ และสามารถแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงการใช้ภาษาที่มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นภาษาทั่วไป, ภาษาทางการ หรือเป็นภาษาเทคนิคต่าง ๆ

“C2” : ผู้ที่มีระดับภาษาเยอรมันในระดับ C2 สามารถสรุปข้อมูลจากแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน, สามารถอภิปรายได้อย่างชัดเจนและต่อเนื่องได้อย่างคล่องแคล่ว

euro

 

บทความน่ารู้เกี่ยวกับการเรียนภาษาเยอรมัน

วิธีการเรียนภาษาเยอรมัน คลิกที่นี่

มารู้จักการสอบ TestDAF คลิกที่นี่

เรียนภาษาเยอรมันด้วยตัวเอง TestDaf

รวบรวมแต่ละตอน ของ เรียนภาษาเยอรมันด้วยตัวเอง


ตอนที่ 1 ศัพท์ภาษาเยอรมัน

ตอนที่ 2 การทักทายภาษาเยอรมัน

ตอนที่ 3 ตัวอักษรภาษาเยอรมัน

ตอนที่ 4 ตัวเลขในภาษาเยอรมัน 1-20

ตอนที่ 5 ตัวเลขในภาษาเยอรมัน ตั้งแต่ 21 ขึ้นไป

ตอนที่ 6 ทำความรู้จัก (kennenlernen) ผู้อื่น

ตอนที่ 7 ทำความรู้จัก (kennenlernen) ผู้อื่น และการผันคำกริยาเบื้องต้น ตอนที่ 2

ตอนที่ 8 ทำความรู้จัก (kennenlernen) ผู้อื่น และการผันคำกริยาเบื้องต้น ตอนที่ 3

ตอนที่ 9 เรื่องของภาษาเยอรมันกับเพศ ตอนที่ 1

ตอนที่ 10 คนที่เราให้เกียรติ หนึ่งคน เท่ากับคนอื่นๆ อีกหลายคน

ตอนที่ 11 การบอกเวลา

ตอนที่ 12 วัน เดือน ฤดูกาล

ตอนที่ 13 ผักผลไม้ภาษาเยอรมัน

ตอนที่ 14 ศัพท์ภาษาเยอรมัน หมวดเครื่องดื่ม เนื้อสัตว์ และขนม

ตอนที่ 15 ภาษาเยอรมันที่ไว้ใช้ในร้านกาแฟ

ตอนที่ 16 สีต่าง ๆ เป็นภาษาเยอรมัน กับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

ตอนที่ 17 เรียนภาษาเยอรมัน กับ งาน Oktoberfest

ตอนที่ 18 ไส้กรอกเยอรมัน

ตอนที่ 19 การเริ่มบทสนทนาสั้น ๆ กับชาวเยอรมัน

ตอนที่ 20 อาหารไทย เรียกเป็นภาษาเยอรมัน

ตอนที่ 21 เรียนภาษาเยอรมันออนไลน์