สังคมและวัฒนธรรม ชาวเยอรมัน

การสื่อสารภายในประเทศ

 

โทรศัพท์

สำหรับรหัสโทรศัพท์เมื่อโทรเข้าประเทศเยอรมัน จะใช้ +49 แล้วตามด้วย 0 จากนั้นจึงกดเบอร์โทรศัพท์ และหากต้องการโทรจากเยอรมันไปประเทศอื่น ๆ ต้องกด 00 ก่อนแล้วตามด้วยรหัสประเทศนั้น ๆ

โทรศัพท์สาธารณะ จะไม่พบในเมืองเล็ก ๆ ซึ่งอาจจะใช้ได้ทั้งการหยอดเหรียญ และบัตรโทรศัพท์ โดยสามารถหาซื้อบัตรโทรศัพท์ได้ตามไปรษณีย์, ธนาคาร และตามส่วนที่บริการนักท่องเที่ยว

สำหรับมารยาทในการโทรศัพท์ในเยอรมนี ผู้ที่โทรจะต้องเอ่ยชื่อของตนเองให้เรียบร้อยก่อนที่จะเริ่มพูดธุระ และไม่ควรโทรเข้าบ้านในเวลาหลังจาก 22.00 น. หรือโทรเข้าออฟฟิศในเวลาหลังจาก 17.00 น. (จันทร์ถึงพฤหัส) และหลังจาก 16.00 น. (ศุกร์)

 

ไปรษณีย์

ไปรษณีย์ในเยอรมนีดำเนินการโดยบริษัท Deutsche Post ซึ่งเปิดบริการในเวลา 9.00-18.00 วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และในเมืองใหญ่ ๆ จะมีการเปิดให้บริการสำหรับวันเสาร์ครึ่งวันอีกด้วย

ตู้ไปรษณีย์ของที่นี่จะเป็นสีเหลือง และมีระบุเวลาในการเก็บจดหมายที่ชัดเจนบนตู้ไปรษณีย์

สำหรับราคาส่งพัสดุภายในประเทศ หากน้ำหนักไม่เกิน 20 กรัม จะมีราคาค่าส่งที่ 55 เซนต์ สำหรับจดหมายหรือโพสการ์ดที่ต้องการส่งถึงต่างประเทศราคาจะอยู่ที่ 75 เซนต์

รหัสไปรษณีย์ในเยอรมนีจะมีทั้งหมด 5 ตัว โดยสามารถค้นหารหัสไปรษณีย์และข้อมูลอื่น ๆได้จากเวบไซต์ของ Deutsche Post (http://www.deutschepost.de)

 

อินเตอร์เน็ต

Wi-Fi หรือชาวเยอรมันจะเรียกว่า W-Lan ยังมีการจัดระบบให้บริการทั่วถึงในเมืองใหญ่ ๆ โดยเฉพาะในร้านอาหาร, สนามบิน และโรงแรม อย่างไรก็ดีเยอรมนีต้องการให้มีการกระจายระบบ Wi-Fi ให้มากกว่านี้ และทั่วถึงในแถบเมืองเล็ก ๆ อีกด้วย

สำหรับผู้ให้บริการอินเตอร์ในประเทศเยอรมัน รายใหญ่คือ Deutsche Telekom’s T-Online นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการตามแต่ละรัฐอีก อาทิเช่น gmx.net, snafu.de, หรือ Web.de (DSL)

 

มารยาททางสังคมของชาวเยอรมัน

 

การจับมือ

การจับมือเป็นวัฒนธณรมที่สำคัญของชาวเยอรมัน โดยเฉพาะการพบกันครั้งแรก หรือการพบปะการประชุม

การจูบ

สำหรับความสัมพันธ์ในรูปแบบเพื่อนจะเป็นการจูบเบา ๆ ที่แก้มทั้ง 2 ข้างในขณะที่เจอกัน

‘Sie’ และ ‘du’

ภาษาเยอรมันจะมีทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ ‘Sie’ และในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ ‘du’  ตัวอย่างของความแตกต่างกันอาทิเช่น

การแนะนำตัวเอง หากเป็นในรูปแบบ ‘Sie’ หากต้องการแนะนำตัวเอง อาจจะแนะนำแบบชื่อ+นาทสกุล หรือเฉพาะนามสกุลเท่านั้น แต่หากเราแนะนำเฉพาะชื่อแรกของเราจะถือว่าอยู่ในรูปแบบ ‘du’ ซึ่งและแล้วแต่ความเหมาะสมของสถานการณ์

คำนำหน้าชื่อ

นอกจาก Herr (Mr.) และ Frau (Ms.) แล้ว คำนำหน้าชื่อที่แสดงถึงการศึกษาและฐานะยังเป็นสิ่งสำคัญในวัฒนธรรมของชาวเยอรมัน  ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรลืมอย่างยิ่งเมื่อเราต้องแนะนำคนอื่น ๆ สำหรับคำนำหน้าเหล่านี้จะต่อท้ายคำว่า Herr และFrau ยกตัวอย่างเช่น Herr Dr.Keller หรือ Frau Prof. von Henkel

ความตรงต่อเวลา

ชาวเยอรมันมีความตรงต่อเวลาเป็นอย่างมาก และเป็นมารยาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการประชุมทางธุรกิจ และการนัดหมายที่สำคัญ ควรจะไปก่อนเวลาสักเล็กน้อย  หากเราไปสายจะเป็นการสร้างความไม่ประทับใจต่อคนอื่น ๆ โดยเฉพาะเมื่อทุก ๆคนมาตรงต่อเวลา

การได้รับคำเชิญ

เมื่อเราได้รับการเชื้อเชิญให้ไปทานข้าวหรือเยี่ยมบ้านของชาวเยอรมัน  เราควรนำของเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อมอบให้กับเจ้าของบ้าน และต้องมั่นใจด้วยว่าของเหล่านั้นจะมีจำนวนเป็นเลขที่  เพราะชาวเยอรมันเชื่อว่าของที่มีจำนวนเป็นเลขคู่จะนำโชคไม่ดีเข้าสู่บ้าน

การแยกขยะ

การแยกขยะในบ้านของตนเอง หรือแม้กระทั่งถังขยะของสาธารณะ เป็นเรื่องปกติของชาวเยอรมัน เราอาจพบถังขยะสำหรับใส่แก้ว, ใส่กระดาษ และใส่ภาชนะ แยกกันตามทางสาธารณะ

 

ร้านอาหารในเยอรมนี

เมื่อเข้าไปในร้านอาหาร เราไม่จำเป็นต้องคอยให้บริกรมาหาที่นั่งให้ แต่เราสามารถหาที่นั่งได้เอง หรืออาจมีการถามบริกรว่าตรงนี้ว่างหรือไม่   การที่เราแชร์โต๊ะนั่งกับคนอื่น ๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดคุยกับคนร่วมโต๊ะเสมอไป แต่อย่างไรก็ตามหากคนที่นั่งร่วมโต๊ะนั้นเปิดบทสนทนาขึ้นมา ก็เป็นโอกาสที่ดีของเราที่จะได้พูดคุยและฝึกฝนภาษาไปพร้อม ๆ กัน

การบริการภายในร้านอาหาร

ร้านอาหารในเยอรมนีโดยทั่วไปจะไม่มีบริการน้ำฟรี หากเราสั่ง Wasser ทางร้านจะเสิร์ฟน้ำแร่ให้กับเรา เครื่องดื่มโดยทั่วไปที่เป็นที่นิยมของชาวเยอรมันคือเบียร์ ซึ่งจะเสิร์ฟตามปริมาตร อาทิเช่น 0.2, 0.3 หรือ 0.5 ลิตร

สำหรับอาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) โดยทั่วไปจะเป็นบริการฟรีของทางร้านอาหาร  แต่ถ้าหากเราอยากทานขนมปังในลักษณะเป็นตะกร้า เราจำเป็นจะต้องสั่งและจ่ายเงินในส่วนนี้

มารยาท

หลักโดยทั่วไปเราจะต้องถือมีดในมือขวา และถือส้อมด้วยเมือซ้าย และจะไม่มีการเปลี่ยนมือในระหว่างการเปลี่ยนจานอาหาร  เมื่อเรารับประทานอาหารเสร็จแล้วเราจะต้องวางส้อมและมีดไว้คู่กันบนจานทางด้านขวาของเรา หรือระยะประมาณเลข 4 ในนาฬิกา เพื่อเป็นสัญญาณให้กับบริกรในการเก็บจานอาหาร ในทางตรงกันข้ามการวางส้อมและมีดไว้แยกกันในจานอาหารจะถือว่าเรายังทานอาหารจานนี้อยู่ อย่างไรก็ดีมารยาทเหล่านี้ไม่ได้ใช้เพียงแค่ในร้านอาหารเท่านั้น ยังรวมถึงการทานอาหารในบ้านอีกด้วย

สำหรับการดื่มเครื่องดื่ม หากต้องการเฉลิมฉลอง หรือชนแก้ว จะต้องพูดคำว่า “Prost!” (Cheer!) หรือ คำว่า “Zum Who!” (To your health) ในเยอรมนีจะอนุญาติให้เด็กอายุมากกว่า 16 ปีสามารถดื่มเบียร์หรือไวน์ได้ หากเกิน 18 ปีจะสามารถดื่มจำพวกวิสกี้ หรือแอลกฮอล์ประเภทอื่น ๆ ได้

การจ่ายเงิน

ในร้านอาหารส่วนใหญ่ การจ่ายทิปนั้นส่วนใหญ่จะให้อยู่ที่ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายในบิล อาทิเช่น บิลบอก 2.80 ยูโร เราก็จะให้ 3 ยูโร หากบิลเป็น 22.40 ยูโร เราสามารถให้เป็น 25 หรือ 26 ยูโร ขึ้นกับความพอใจในการบริการของเรา

ควรระวังไว้ข้อหนึ่งคือร้านอาหารส่วนใหญ่ในเยอรมนีจะไม่รับบัตรเครดิต ดังนั้นควรพกเงินสดให้เพียงพอก่อนเข้าร้านอาหารนะคะ!!!

 

มื้ออาหารของชาวเยอรมัน

มื้อเช้า

ชาวเยอรมันชอบทางจำพวกขนมปัง, โทสต์ และขนมปังโรล ในช่วงเช้า โดยจะรับประทานกับแยม, น้ำผึ้ง, ไข่ ทานคู่กับกาแฟหรือชา  สำหรับเด็ก ๆ จะดื่มนมหรือโกโก้เป็นหลัก

มื้อกลางวันและมื้อเย็น

โดยตามธรรมเนียม มื้อกลางวันถือว่าเป็นอาหารมื้อหลักของในแต่ละวัน  โดยจะรับประทานในเวลา 12.00 น. ส่วนมื้อเย็นจะเป็นอาหารที่มื้อเล็กกว่า โดยอาจจะเป็นอาหารจำพวกแซนด์วิชมากกว่า  แต่ในปัจจุบันชาวเยอรมันได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินโดยจะทางอาหารเย็นเป็นมื้อใหญ่กว่าเนื่องจากเป็นเวลาที่รีแล็กซ์มากกว่า

เครื่องเคียงประจำมื้ออาหาร

ก๋วยเตี๋ยวเป็นของเคียงที่สำคัญของชาวเยอรมัน โดยเฉพาะ Spätzle ซึ่งมีไข่แดงเป็นส่วนประกอบหลัง หรือจะเป็นลักษณะของก๋วยเตี๋ยว, มันฝรั่ง หรือ Dumplings (มันฝรั่งบดต้มกับแป้ง) ก็พบเห็นตามทั่วไป

เครื่องดื่ม

เบียร์ถือว่าเป็นเครื่องดื่มเก่าแก่ของเยอรมนี พิลเซ่นเบียร์ (Pills) เป็นประเภทของเบียร์ที่มีความนิยมมากที่สุดในเยอรมนี ในขณะที่ทางฝั่งใต้ของบาวาเรียจะชอบดื่มลาเกอร์เบียร์มากกว่า

นอกจากนี้ไวน์ยังเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในเยอรมนี โดยแหล่งที่มาของไวน์นั้นจะอยู่ในแถบทางด้านตอนบนและตอนกลางของแม่น้ำไรน์  โดยประเพณีแล้วชาวเยอรมันจะชอบไวน์ขาวชนิดหวานมากกว่า

ของหวาน

ของหวานที่เป็นที่นิยมนั้นมีหลากหลายอาทเช่น เค้กและทาร์ตที่ทำจากผลไม้สดในประเทศ (แอ๊ปเปิ้ล, ลูกพลัม, สตรอเบอร์รี่ และเชอร์รี่) นอกจากนี้ยังมีชีสเค้ก, โดนัทเยอรมัน, เบอร์ลินเนอร์

ไอศกรีมและของหวานจำพวกเชอร์เบทยังเป็นที่นิยมอย่างมาก  ไอศกรีมที่เป็นที่นิยมในเยอรมนีมากที่สุดคือ ไอศกรีมสปาเก๊ตตี้ (Spaghetti Eis)

 

การซื้อของ

ชาวเยอรมันไม่นิยมการจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต ส่วนใหญ่จะพกเป็นเงินสดหรือเดบิตการ์ดเอาไว้  เนื่องจากในร้านเล็ก ๆของเยอรมนีจะไม่รับบัตรเครดิต รวมถึงร้านอาหารและคาเฟ่ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็จะไม่รับทั้งบัตรเครดิตและบัตรเดบิตอีกด้วย  ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการจะไปช้อปปิ้งในเยอรมนีแนะนำว่าพกเงินสดดีที่สุดค่ะ

ชาวเยอรมันส่วนใหญ่มักจะหิ้วถุงผ้ากันมาเองสำหรับการซื้อของ เนื่องจากหลาย ๆ ร้านขายของชำส่วนใหญ่นั้นจะไม่ให้ถุงกับลูกค้า เพื่อเป็นการรณรงค์อีกวิธีหนึ่ง

ร้านขายของในเยอรมนีมักจะเปิดในเวลา 9.00 หรือ 10.00 และจะปิดในเวลา 18.00 หรือ 20.00 ซึ่งหากเป็นวันเสาร์ร้านขายของส่วนใหญ่มักจะปิดก่อนเวลา ในขณะที่หากเป็นเมืองใหญ่ ๆ ร้านค้าจะเปิดถึงเวลา 20.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ ถึงเสาร์ และในบางที่อาจมีการเปิดถึง 22.00 น.

ร้านค้าบางร้านจะมีการปิดในช่วงเวลากลางวันตั้งแต่ 13.00 ถึง 15.00 น. ซึ่งมักจะพบได้ในเมืองเล็ก ๆ  ในขณะที่ร้านทุก ๆ ร้านจะมีการปิดในช่วงวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ  หากต้องการซื้ออะไรในวันเหล่านี้ เราจะสามารถไปซื้อได้ที่ร้านค้าในปั๊มน้ำมันแทน  และร้านขนมปัง,ร้านดอกไม้บางร้านยังมีการเปิดในช่วงวันอาทิตย์อยู่ หากเป็นเมืองใหญ่ ๆ ร้านค้าตามสถานีรถไฟจะเปิดให้บริการในช่วงวันอาทิตย์ และวันหยุดราชการอยู่แล้ว

กีฬา

ชาวเยอรมนีให้ความสำคัญในเรื่องของกีฬามาก ซึ่งประเทศเยอรมนีเองก็ถือว่าเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกที่มีความเด่นในเรื่องของกีฬาหลากหลายชนิดด้วยกัน ดังจะเห็นได้จากการแข่งขันโอลิมปิคฤดูร้อน ในปี 2008 และการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคในฤดูหนาว ปี 2010 ประเทศเยอรมนีจะอยู่ใน Top 5 ตลอด

 

ฟุตบอล

ประเทศเยอรมนีมีการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศที่มีชื่อเสียงในระดับโลก และคนไทยก็รู้จักกันเป็นอย่างดี นั่นคือ บุนเดสลีก้า (Bundesliga) และมีทีมชาติที่อยู่ในอันดับต้น ๆของโลกเสมอ

นอกจากนีทีมฟุตบอลหญิงของประเทศเยอรมนียังเป็นทีมที่มีความเเข้มแข็ง และอยู่ในระดับมาตรฐานต้น ๆ ของโลกอีกด้วย

 

ฮอกกี้น้ำแข็ง (Ice hockey)

เป็นหนึ่งในกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศเยอรมนี  และมีการแข่งขันภายในประเทศที่สำคัญคือ Deutsche Eishockey Liga ซึ่งปัจจุบันทีมชาติของผู้ชายนั้นอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก

 

วันหยุด สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

1 มกราคม              = วันขึ้นปีใหม่

6 มกราคม              = วันฉลองเทศกาลเสด็จมาของพระเยซูคริสต์; Epiphany Day (วันหยุดของรัฐBaden-Württemberg,Bavaria, Saxony-Anhalt)

3 เมษายน              = วันศุกร์ก่อนวันอีสเตอร์; Good Friday

6 เมษายน              = วันจันทร์หลังวันอีสเตอร์; Easter Monday

1 พฤษภาคม          = วันแรงงาน

10 พฤษภาคม       = วันแม่ (วันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม ไม่ใช่วันหยุดราชการ)

14 พฤษภาคม       = วันที่ 40 หลังวันอีสเตอร์; Ascension Day และกำหนดให้เป็นวันพ่อ เพื่อเฉลิมฉลอง Ascension Day

25 พฤษภาคม       = วันจันทร์ที่ 7 หลังวันอีสเตอร์; Pentecost Monday

4 มิถุนายน             = วันสมโภชพระคริสตวรกาย; Corpus Christi Day (วันหยุดของรัฐBaden-Württemberg,Bavaria, Hesse, North Rhine-Westphalia,Rhineland-Palatinate,Saarland)

15 สิงหาคม           = วันอัสสัมชัญ; Assumption Day (วันหยุดของรัฐSaarland)

3 ตุลาคม                = วันรวมชาติเยอรมัน

31 ตุลาคม             = วันปฏิรูปทางคริสตศาสนา (วันหยุดของรัฐBrandenburg, Mecklenburg-Vorpommern, Saxony,Saxony-Anhalt,Thuringia)

1 พฤศจิกายน        = วันระลึกถึงนักบุญ; All Saints Day (วันหยุดของรัฐBaden-Württemberg,Bavaria, North Rhine-Westphalia,Rhineland-Palatinate,Saarland)

18 พฤศจิกายน     = วันสำนึกบาป (วันหยุดของรัฐSaxony)

25 ธันวาคม           = วันคริสต์มาส

26 ธันวาคม           = St Stephens Day / Boxing Day

 

** วันที่ในบางวันหยุดสำคัญนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี