บทสวดมนต์ รวบรวมบทสวดมนต์ที่สำคัญ บทสวดก่อนนอน บทสวดในแต่ละเทศกาล2021-10-05T09:10:02+07:00

บทสวดมนต์ ชาวพุทธเราสัมผัสกับบทสวดมนต์ กันมาตั้งแต่ยังเล็ก สวดมนต์กันมาก สวดผิดบ้าง ถูกบ้าง สวดสิ่งที่ควรสวดบ้าง สวดสิ่งที่ไม่ควรสวดบ้าง นั่นเพราะความไม่รู้ จึงแล้วแต่ผู้ที่ตนเคารพนับถือจะแนะนำให้สวดอะไรก็สวดตามกันไป

บทสวดมนต์ รวบรวมบทสวดมนต์ที่สำคัญ บทสวดก่อนนอน บทสวดในแต่ละเทศกาล

บทสวดมนต์

ข้ามบทนำ ไปยังบทสวดมนต์

กล่าวถึง บทสวดมนต์

การ สวดมนต์นั้น จริงแล้วเป็น “วิธีการ” ในการทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ “พิธีการ” การ สวดมนต์ เป็นวิธีการในการทำจิตให้สงบ เป็นบริกรรมสมาธิ ถ้าจุดมุ่งหมายอย่างนี้แล้ว สวดอะไรก็ได้เพื่อให้จิตสงบ คือ เป็นการทำสมาธิโดยการบริกรรม สวดเบาๆ สิ้นมนต์ไปบทหนึ่งๆ ว่าซ้ำๆ จนจิตใจจดจ่อ จะสวดบทเดียวหรือหลายบทก็ได้ ให้จิตใจจดจ่อกับบทสวดแล้วเป็นอันใช้ได้

ตัวอย่าง บทสวดมนต์ ที่นิยมกันทั้งในฝ่ายพระและฝ่ายฆราวาส เป็นบทที่ดี เช่น บทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เป็นต้น ถ้าสวดคนเดียว ต้องการสมาธิ จะสวดซ้ำไปมากี่เที่ยวก็ได้

เดิมทีคำสอนของพระพุทธเจ้ายังไม่ได้จารึกลงเป็นตัวอักษร พระพุทธพจน์ถูกถ่ายทอดต่อกันด้วยการท่องจำสืบต่อกันมา สมัยก่อน เวลาไปช่วยกันท่องหนังสือ เขาเรียกว่า การต่อหนังสือ สวดมนต์ฉบับหลวงเล่มใหญ่ ๔๐๐-๕๐๐ หน้า บางคนจำได้หมด เพราะท่องไปเรื่อยๆ ไม่ได้มีเทคนิคอะไรเป็นพิเศษ มีแต่ความศรัทธา และฉันทะ มีอุตสาหะในการท่องจำ การท่องพระพุทธพจน์นั่นเองที่เป็นการ สวดมนต์ ในภายหลัง

ต่อเมื่อพระพุทธศาสนามาอยู่ในเมืองไทย เราก็ สวดมนต์ เพื่อรักษาธรรมเนียมเดิมไว้แต่ส่วนมากไม่ค่อยรู้ว่า สวดอะไร เพราะไม่ใช่ภาษาของเรา ถ้าไม่ได้เรียนภาษา เราก็ไม่เข้าใจ การสวดปาติโมกข์ ที่เคยเป็นวิธีการทบทวนพระวินัยจึงได้กลายเป็น “พิธีการ” ไป พิธีการ พิธีกรรม นั้น บางครั้งผู้ที่เข้าร่วมพิธีก็อาจไม่รู้ความก็ได้ คน สวดมนต์ ก็ไม่รู้เนื้อความ คนฟังก็ไม่รู้เนื้อความ จนกลายเป็นเรื่องความศักดิ์สิทธิ ความขลังไปเลยก็ยังมี

ตัวอย่างที่มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎก พบเรื่องพระมหากัสสปและพระโมคคัลานะป่วยหนัก พระพุทธเจ้าทรงทราบ เสด็จไปทรงเยี่ยมและทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ เมื่อทรงแสดงธรรมจบลง พระมหากัสสปและพระโมคคัลานะหายป่วย (ปรากฏในสังยุตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ หน้า ๑๑๓-๑๑๕)

ในเมืองไทยก็นิยมสวดบทโพชฌงค์ให้กับผู้ป่วย ผู้ป่วยก็หายบ้าง ไม่หายบ้างก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของผู้ป่วยนั่นเอง

การ สวดมนต์ นั้น ที่บางคนก็สวดเพื่อคุ้มครองตัวเอง คุ้มครองบ้านเรือน บ้างเพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่ตัว บางคนสวดเพื่อทบทวนความรู้ในข้อธรรม ฯลฯ สิ่งสำคัญของการ สวดมนต์ คือ การรู้เรื่อง รู้ความหมายไปด้วย
สวดมนต์ ต้องรู้เข้าใจไปด้วย ก็จะได้ทั้งสมาธิและปัญญา ได้ความปลอดโปร่ง สงบใจ คนที่หดหู่ ว้าเหว่ ไม่สบายใจ ฟุ้งซ่าน หากได้ สวดมนต์ สักพัก สวดคนเดียว เบาๆ ช้าๆ ก็จะได้ความสงบใจเป็นบริกรรมภาวนา ถ้ารู้เรื่อง เข้าใจความไปด้วยก็ได้ปัญญา อีกทั้งได้ศีล เพราะกาย วาจาก็สงบเรียบร้อยไปด้วย

จุดมุ่งหมายสูงสุดในการ สวดมนต์ คือ

สำรวมใจให้อยู่กับบทสวด ทำให้ได้ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าตั้งเป้าหมายแบบนี้แล้วจะไม่ผิดหวังเลย ต่างจากการตั้งเป้าหมายอย่างอื่น เช่น ความขลัง ฯลฯ อาจต้องผิดหวังบ้าง สมหวังบ้าง คุณค่าของการ สวดมนต์ จึงอยู่ที่การสำรวมกาย วาจา ใจ เข้าใจความหมายด้วยจะยิ่งเพิ่มความคิดความอ่านให้แตกฉานลึกซึ้งยิ่งขึ้น การ สวดมนต์ จึงควรทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง เพื่อไม่ให้การ สวดมนต์ นั้นขาดทุนเปล่า คือ สวดไปไม่ได้อะไร นอกจากเสียเวลาเปล่าและได้แต่อุปาทานว่า เราได้สวดแล้วเท่านั้นเอง

ประโยชน์ของการสวดมนต์

  1. เป็นการรักษาธรรมเนียม ประเพณีที่ดีให้คงอยู่
  2. เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย
  3. เป็นการเชื่อมสามัคคีในหมู่คณะ ครบไตรทวาร
  4. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
  5. เพื่อฝึกกายใจให้เข็มแข็งอดทน
  6. เพื่อดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้
  7. เพื่ออบรมจิตใจให้สะอาด สงบ สว่าง
  8. เพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน
  9. เพื่อเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์
สวดมนต์

บทสวดมนต์ ที่สำคัญ

บทสวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อภิปูชะยามิ อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อภิปูชะยามิ อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อภิปูชะยามิ (กราบ)
คำแปล ขอบูชาพระพุทธด้วยเครื่องสักการะนี้ ขอบูชาพระธรรมด้วยเครื่องสักการะนี้ ขอบูชาพระสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะนี้

บทสวดมนต์ กราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวาพุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
คำแปล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว , ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ)
พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

บทสวดมนต์ นมัสการพระรัตนตรัย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด 3 จบ) (กราบ)
คำแปล ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (กราบ)

บทสวดมนต์ อื่น ๆ ที่ควรทราบ

บทสวดบูชาพระรัตนตรัย บทสวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย พร้อมบาลี และ คำแปล

บทสวดบูชาพระรัตนตรัย บทสวดบูชาพระรัตนตรัย สำหรับสวดมนต์ ทำวัตร อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อภิปูชะยามิ อิมินา สักกาเรนะ [อ่านต่อ..]

By |August 29th, 2019|Categories: บทสวดมนต์|0 Comments

บทสวดกราบพระรัตนตรัย บทสวดมนต์ กราบพระรัตนตรัย พร้อมบาลี และ คำแปล

  บทสวดกราบพระรัตนตรัย บทสวดกราบพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง [อ่านต่อ..]

By |August 29th, 2019|Categories: บทสวดมนต์|0 Comments

บทสวดนมัสการพระรัตนตรัย บทสวดมนต์ นมัสการพระรัตนตรัย และ คำแปล

บทสวดนมัสการพระรัตนตรัย บทสวดนมัสการพระรัตนตรัย นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด [อ่านต่อ..]

By |August 29th, 2019|Categories: บทสวดมนต์|0 Comments

คาถาชินบัญชร บทสวดชินบัญชร ความหมายคาถาชินบัญชร

คาถาชินบัญชร ความเป็นมาของ  คาถาชินบัญชร  ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า [อ่านต่อ..]

By |September 26th, 2019|Categories: บทสวดมนต์|6 Comments

สวดมนต์ก่อนนอน แบบสั้น และ เต็มรูปแบบ รวมถึง คาถาชินบัญชรแบบย่อ

สวดมนต์ก่อนนอน ดีอย่างไร ในวัฒนธรรมไทย สวดมนต์ก่อนนอน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เรามีความสุขได้ เพราะนอกจากจะทำให้เราสบายใจขึ้นแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้เพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรได้อีกด้วย ซึ่งในบทสวดมนต์ก่อนนอนนั้น [อ่านต่อ..]

By |September 28th, 2019|Categories: บทสวดมนต์|2 Comments

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก กรมการศาสนา นิตยสารศุภมิตร และ dhammajak.net
รูปภาพจาก Father150

One Comment

  1. กัลยา 02/10/2019 at 1:41 pm

    ชอบตรง​ ไม่ใช่พิธีการ​

Comments are closed.