นักเรียนที่ประสงค์จะเดินทางไป ศึกษาต่ออเมริกา และได้รับอนุมัติผล วีซ่าอเมริกา เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเดินทางไปที่ ประเทศอเมริกา ซึ่งในหน้านี้ มีข้อแนะนำต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อนักเรียน โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

การจัดกระเป๋า

1. น้ำหนักกระเป๋าและเอกสารจำเป็นเวลาเดินทางเข้าอเมริกา

สายการบินแต่ละสายการบินอาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป ผู้เดินทางควรเช็คเงื่อนไขและข้อมูลแต่ละสายการบินให้ดี ก่อนที่จะชำระเงินค่าตั๋ว แต่โดยส่วนใหญ่สามารถนำกระเป๋าเดินทางขึ้นเครื่อง ได้ 3 ใบ โดย 2 ใบแรกนั้น เป็นกระเป๋าที่โหลดเข้าใต้ท้องเครื่องซึ่งนักเรียนควรเช็คน้ำหนักกระเป๋าให้ดี ไม่ให้น้ำหนักเกินเงื่อนไขของตั๋ว เพราะหากเกินแล้วทางสายการบินจะคิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม ซึ่งมีอัตราที่ค่อนข้างสูง ส่วนอีกใบที่เหลือนั้น สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องได้ ซึ่งกระเป๋าใบสุดท้ายนี้ ควรใส่พวกเอกสารที่เราจำเป็นต้องใช้ หรือต้องนำแสดงให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองทั้งในประเทศไทย และ ประเทศอเมริกา ตัวอย่างเช่น หนังสือเดินทางที่มีผล visa อเมริกา เอกสาร I-20 ที่ทางโรงเรียนออกให้ เอกสารที่พัก หนังสือรับรองต่าง ๆ และเอกสารอ้างอิงอื่น ๆ ที่เป็นเอกสารสำคัญในการทำเรื่อง เรียนต่ออเมริกา เป็นต้น

2. สิ่งที่ควรนำติดตัวไปอเมริกา

การเดินทางไป เรียนต่ออเมริกา มีสิ่งที่ควรนำติดตัวไป ดังนี้

2.1 เสื้อผ้า – ควรศึกษาสภาพอากาศที่ สหรัฐอเมริกา ที่เมืองที่นักศึกษาจะไปอาศัยอยู่ เพราะจะได้เลือกประเภทของเสื้อผ้าได้อย่างเหมาะสม และไม่ควรนำเสื้อผ้าติดตัวไปที่ อเมริกา มากจนเกินไป เนื่องจากนักศึกษาสามารถหาซื้อได้ที่นั่น
2.2 เอกสารสำคัญของนักศึกษา – ตามที่กล่าวและยกตัวอย่างไปแล้วในเรื่อง “น้ำหนักกระเป๋าและเอกสารจำเป็น” ซึ่งขอเน้นย้ำอีกครั้งว่า เอกสารดังกล่าว ได้แก่ หนังสือเดินทาง วีซ่าอเมริกา I-20  เอกสารรับรองที่พัก ควรเก็บไว้ในกระเป๋าที่นักศึกษาสามารถหยิบได้สะดวก (ห้ามใส่กระเป๋าที่โหลดเข้าใต้ท้องเครื่องบินเป็นอันขาด) เพราะเป็นเอกสารที่ต้องใช้แสดงกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เวลาที่ไปถึงสนามบินใน ประเทศอเมริกา แล้ว
2.3 Dictionary อังกฤษ – ไทย และ ไทย – อังกฤษ (แนะนำ Dictionary ระบบดิจิตอล เพราะใช้งานได้สะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหา)
2.4 ยาประจำตัว สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวควรเตรียมไปให้พร้อม (หากเตรียมไปจำนวนมาก ควรขอใบรับรองแพทย์ติดไปด้วย) นอกจากนี้ ควรเตรียมยาที่ใช้รักษาโรคทั่ว ๆ ไปติดตัวไปด้วย เช่น ยาแก้ไข้ ยาแก้ปวดหัว ปวดท้อง เพราะที่ ประเทศอเมริกา การหาซื้อยาต่าง ๆ ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ เท่านั้น เภสัชกรจึงจะขายยาให้
2.5 หนังสืออ้างอิง ที่นักศึกษาอาจจำเป็นต้องใช้ในสาขาที่เลือกเรียน ซึ่งหนังสือดังกล่าวอาจจะไม่มีขาย หรือหาอ่านไม่ได้แล้วใน อเมริกา
2.6 รูปถ่ายครอบครัว บ้านและประเทศไทย
2.7 กล้องถ่ายรูป
2.8 สัญลักษณ์ที่แสดงถึงประเทศไทย

3. สิ่งไม่ควรนำติดตัวไปอเมริกา

3.1 อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
3.2 สัตว์ทุกประเภท
3.3 อาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีกลิ่น
3.4 หนังสือที่สามารถ หาซื้อ, หาดูได้โดยง่ายใน สหรัฐอเมริกา หรือสามารถหาอ่านได้ทางอินเตอร์เน็ต
3.5 อาวุธ
3.6 เครื่องประดับราคาแพง
3.7 สิ่งเสพติดหรือของมึนเมา
3.8 ยาบางประเภทที่ทำจากสัตว์อันตราย

การคมนาคม และการเดินทางในสหรัฐอเมริกา

โดยส่วนใหญ่แล้ว เมืองที่นักเรียนนักศึกษานิยมไปศึกษาต่อ จะมีระบบคมนาคมสาธารณะที่สะดวก และมีบริการให้เลือกหลากหลาย ตัวอย่างเช่น รถไฟ รถประจำทาง แท๊กซี่ รถราง รถไฟฟ้า ซึ่งบริการเหล่านี้ จะมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า สถาบันที่นักเรียนเลือกไปเรียนต่อ อยู่ใกล้กับตัวเมืองหรือแหล่งชุมชนมาก น้อยเพียงใด ซึ่งนักเรียนควรจะคำนึงถึงเรื่องการเดินทางไปกลับระหว่างสถาบันกับที่พักไว้ด้วย เพราะหากที่พักกับสถาบันอยู่ไกลกันมากหรือเดินทางได้ไม่สะดวกเท่าที่ควรแล้ว อาจส่งผลกระทบต่อเวลาเรียน หรือผลการเรียนในระยะยาวได้

การประกันสุขภาพ ของนักเรียนในอเมริกา

เมื่อนักศึกษาจะไป ศึกษาต่อสหรัฐอเมริกา นักศึกษาควรที่จะต้องทำประกันสุขภาพด้วย ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลอเมริกา ไม่ได้ตั้งเงื่อนไขเรื่องประกันสุขภาพตอนทำเรื่องไป เรียนต่ออเมริกา หรือตอนที่ทำเรื่อง วีซ่าอเมริกา หรือแม้กระทั่งตอน สัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา ไว้ก็ตาม แต่เนื่องจากที่ อเมริกา ค่าใช้จ่ายของการรักษาพยาบาลมีอัตราที่สูงมาก ซึ่งโดยส่วนมากแล้วสถาบันการศึกษาที่ตอบรับนักเรียนเข้าทำการศึกษา มักจะเป็นผู้จัดหาการทำประกันสุขภาพให้แก่นักเรียน แต่หากทางสถาบันไม่มีบริการในส่วนนี้ นักเรียนก็ควรทำเรื่องประกันสุขภาพเอง ซึ่งการทำประกันสุขภาพนั้น ควรทำในวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า US$ 50,000 และให้ความคุ้มครองทั้งเรื่องอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยอื่น ๆ ด้วย โดยทั่วไปการประกันสุขภาพจะไม่ครอบคุมถึงเรื่องของการทำฟัน, เรื่องสายตา-การตัดแว่น, ศัลยกรรมตกแต่งที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ และความเจ็บป่วยที่เป็นมาก่อนที่จะทำการประกันสุขภาพ

การเปิดบัญชีธนาคารในอเมริกา

สหรัฐอเมริกา มีธนาคารจำนวนมากที่คอยให้บริการด้านการเงิน ซึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกธนาคารของนักศึกษา ควรเลือกธนาคารที่อยู่ใกล้กับที่พัก หรือสถานศึกษาของตนเป็นหลัก เพื่อความสะดวกในการทำธุรกรรม หากใกล้ ๆ ที่พักหรือสถานศึกษามีธนาคารตั้งอยู่หลายธนาคาร ก็ควรพิจารณาถึงอัตราดอกเบี้ยประกอบการเลือกใช้บริการด้วย รวมถึงพิจารณาถึงที่ตั้งของเครื่องกดเงิน ATM ที่ให้บริการอยู่ด้วยและอาจมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น สามารถโอนเงินโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม มีสมุดเช็คให้ฟรี เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วธนาคารจะเปิดทำการในวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 15.00 น. ส่วนในวันเสาร์อาจเปิดให้บริการตั้งแต่ 9.00 – 12.00 น. และหยุดทำการในวันอาทิตย์

การเปิดบัญชีธนาคารในอเมริกา นักศึกษาสามารถเข้าไปติดต่อด้วยตนเองที่ธนาคาร หรือจะเปิดบัญชีแบบออนไลน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แล้วค่อยนำเงินไปเข้าเอทีเอ็มทีหลังก็ได้ การเปิดบัญชีธนาคารในอเมริกานั้น มักจะเปิดบัญชีแบบ checking หรือ บัญชีแบบ saving checking account กันเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นบัญชีแบบมาตรฐานคล้าย ๆ กับการเปิดบัญชีแบบ สะสมทรัพย์ หรือ ฝากประจำ ในประเทศไทย


บัญชี checking

ลักษณะเหมือนบัญชีออมทรัพย์ ในประเทศไทย ที่ต่างกันคือ บางธนาคารอาจจะไม่ให้ดอกเบี้ย และมาพร้อมกับสมุดเช็ค (บางธนาคารอาจมีธรรมเนียมสำหรับสมุดเช็คเล่มนี้) โดยมากจะมาเป็นเล่มพร้อมปก ในซองปกจะมีสมุดเล่มเล็กๆ อีกเล่ม ที่ไว้ให้เราบันทึกจำนวนเงินเข้า-จำนวนเงินออกจากบัญชี ทุกครั้งที่เขียนเช็ค ก็จะมาลงรายการบันทึกไว้ในสมุดเล่มนี้ เราก็จะรู้ว่า มีเงินเหลือจำนวนเท่าใด ส่วนใหญ่คนที่นิยมใช้บัญชีประเภทนี้ คือคนที่ไม่พกบัตรเครดิต โดยจะพกเงินสดติดตัวนิดหน่อย และใช้เช็คเป็นหลัก การเขียนเช็คสั่งจ่ายโดยไม่ติดตามการใช้ มักจะเกิดปัญหาเรื่องเช็คเด้ง ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยจนแทบจะเรื่องปกติในอเมริกาไปแล้ว แต่การเกิดเช็คเด้ง ไม่ใช่ว่าไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น หากเราสั่งจ่ายเช็คไป และไม่มีเงินอยู่ในธนาคารตามยอดที่เราสั่งจ่ายไป ทางธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ทันที มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร นอกจากนี้ ผู้รับเงิน (โดยเฉพาะที่เป็นบริษัท หรือ ร้านค้า) จะชาร์จเราเพิ่มอีกทันที ประมาณ 20 – 40 เหรียญ เพราะว่า เวลาร้านค้าเอาเช็คของเราไปขึ้นเงินที่ธนาคาร ถ้าเกิดเด้งขึ้นมา ทางร้านค้าก็ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมด้วยเช่นกัน

บัญชี Saving account/ Time Deposit Account

ลักษณะเหมือนบัญชีออมทรัพย์ หรือฝากประจำ ในประเทศไทย มีดอกเบี้ยให้หลายอัตรา และมีค่าธรรมเนียมดูแลรักษาบัญชี ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนดเงื่อนไข

บัญชีกรณีอื่น ๆ

  1. แบบเป็นนักเรียน (student account) อาจมีข้อกำหนดว่าต้องมีเงินในบัญชีอย่างน้อยเท่าไร (minimum balance) เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมในการรักษาบัญชี
  2. แบบเงินจะโอนจากบัญชีกระแสรายวัน เข้าบัญชีออมทรัพย์โดยอัตโนมัติทุกเดือน (automatic transfer)
  3. แบบต้องมีเงินรายได้ (จากงานที่ทำ) เข้ามาประจำทุกเดือน (direct deposit) ดังนั้นควรถามเงื่อนไขต่างๆ ให้แน่ใจก่อนเลือกบัญชีประเภทนี้

รายละเอียดเบื้องต้นที่ต้องควรทราบ ในการเปิดบัญชีกับธนาคารที่อเมริกา

  1. ใช้บัตรที่มีรูปถ่าย 2 ใบ เช่น ใบขับขี่ของอเมริกา บัตรนักศึกษาของสถาบันที่ทำการศึกษาอยู่ หนังสือเดินทาง หรือถ้ามีบัตรเงินสด (debit card) ของธนาคารอื่นในอเมริกาก็สามารถใช้ได้
  2. ทุกธนาคารใน สหรัฐอเมริกา จะทำ online banking ให้ลูกค้าใช้บริการ ตัวอย่างเช่น การดูรายละเอียดของเงินในบัญชี (check balance) การโอนเงินข้ามบัญชี (transfer) การชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการผ่านทางบัญชี (payment) เป็นต้น โดยสามารถเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ของทางธนาคาร โดยใช้อินเตอร์เน็ตในการเชื่อมต่อ ซึ่งทางธนาคารจะให้เราตั้ง ชื่อผู้ใช้ (User name) กับ รหัสผ่าน (Password) ด้วยส่วนใหญ่การตั้งชื่อ จะต้องมีตัวอักษร (Alphabet) ผสมกับตัวเลข (Number) เสมอ ซึ่งการตั้งชื่อและรหัสผ่านนั้น ควรเลือกใช้ชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวที่ไม่ง่ายจนเกินไปและเราสามารถจำได้ เพื่อความปลอดภัยของบัญชี
  3. บางธนาคารจะส่งสมุดเช็ค (check book) กับบัตรเงินสด (debit card) มาให้ทีหลัง ตามที่อยู่ที่เราให้ไป (หลายธนาคารจะให้สมุดเช็คชั่วคราวมาก่อน) โดยเราควรสอบถามเรื่องระยะเวลาในการจัดส่งกับทางเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งถ้านานเกินกำหนดและสมุดดังกล่าวยังมาไม่ถึง นักเรียนควรโทรสอบถามกับทางธนาคารทันที เพราะถ้าสมุดเล่มดังกล่าวถูกส่งผิด เราจะได้แจ้งให้ทางธนาคารรับทราบเรื่อง เพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นไำด้ และเมื่อนักเรียนได้มาสมุดเช็คกับบัตรเงินสดมาแล้ว ควรตรวจสอบชื่อ นามสกุล และเลขบัญชี ว่าถูกต้องหรือไม่

หลักฐานอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบการเปิดบัญชีธนาคาร

  1. Social Security Number
  2. Driver’s licenseหรือ State ID

ชื่อ / ลิงค์ธนาคารในอเมริกา

  1. Bank of America
  2. Chase
  3. Citibank
  4. Wachovia

ที่พัก – ประเภทที่พักในประเทศอเมริกา

ที่พักในสถาบัน

1. หอพักของสถาบัน ที่พักแบบนี้เป็นที่นิยมมากสำหรับนักศึกษาที่เดินทางมา เรียนต่ออเมริกา เป็นครั้งแรก เพราะนักศึกษายังไม่มีความชำนาญและรู้ช่องทางมากนัก ทางเลือกนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของนักศึกษาส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม บางสถาบันอาจจะไม่มีที่พักแบบนี้ให้ นักศึกษาก็ต้องเลือกพักที่พักนอกสถาบันตามที่จะอธิบายในข้อถัดไป ข้อดีของที่พักแบบนี้ คือ นักศึกษามีโอกาสได้ทำความรู้จักและพูดคุยกับนักศึกษาชาวต่างชาติ รวมถึงนักศึกษาชาวอเมริกา ด้วย หอพักแบบนี้ ส่วนใหญ่แยกส่วนกันระหว่าง ชาย-หญิง และมีเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นอยู่ครบ ในบางแห่งจะมีโรงอาหารรวมหรือห้องครัวขนาดเล็กให้ด้วย ห้องน้ำโดยส่วนใหญ่ เป็นแบบใช้ร่วมกัน และมีผู้คุมหอพักคอยดูแลความเรียบร้อยให้ นอกจากนี้ หอพักแต่ละแห่ง จะมีกฎข้อบังคับกลาง ที่นักศึกษาทุกคนต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น นักศึกษาที่เดินทางมา ศึกษาต่ออเมริกา ควรศึกษากฎเกณฑ์ข้อบังคับของหอพัก ที่จองไว้ด้วย เพื่อเคารพสิทธิของผู้ร่วมพักคนอื่น ๆ และจะได้ปรับตัวให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในหอได้อย่างมีความสุข

ที่พักนอกสถาบัน

2. หอพักนอกสถาบัน มีลักษณะคล้ายกับหอพักของสถาบัน ต่างกันตรงที่เอกชนเป็นเจ้าของ ซึ่งอัตราค่าเช่าจะไม่แตกต่างกันมากนัก
3. Homestay หรือ Host Family (การพักร่วมกับครอบครัวชาวอเมริกา) เหมาะสำหรับนักเรียนที่เดินทางคนเดียว และไม่มีญาติ เพื่อนหรือคนรู้จักที่ประเทศอเมริกา ครอบครัวชาวอเมริกา จะจัดห้องให้นักศึกษาอยู่เป็นสัดส่วนโดยมีห้องส่วนตัวให้ สำหรับเรื่องอาหารนั้น โดยส่วนใหญ่ วันจันทร์ – วันศุกร์ จะมีอาหารให้นักศึกษาจำนวน 2 มื้อ คือ มื้อเช้าและมื้อเย็น ในส่วนของวันเสาร์- อาทิตย์ จะมีอาหารให้ 3 มื้อ ซึ่งบางครอบครัวนั้น อาจเสนองานบางอย่างให้ทำด้วย เพื่อแลกกับการลดค่าเช่าให้กับนักศึกษา

การเลือกที่พักแบบนี้ มีข้อดีหลายอย่าง คือ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูก และสมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับที่พักแบบอื่น นักศึกษาสามารถฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษได้ด้วยการคุยกับเจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัว อีกทั้งสามารถเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับครอบครัวชาว อเมริกา ได้อีกด้วย สำหรับข้อด้อย อาจจะอยู่ที่ความมีอิสระ และทางเลือกในเรื่องของอาหารการกิน เนื่องจากนักเรียนจะต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมและตารางเวลาของครอบครัว อเมริกา ที่มาอาศัยอยู่ด้วย และรวมถึงกฎระเบียบของแต่ละครอบครัวที่นักเรียนจะต้องปฏิบัติตาม

4. บ้านที่ให้บริการเช่าห้องพัก ที่พักแบบนี้ใน อเมริกา โดนส่วนใหญ่แล้วมีลักษณะแบ่งให้เช่าร่วมกัน 2 คนต่อห้อง และมีราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับที่พักแบบอื่น ซึ่งที่พักลักษณะนี้ มักพบปัญหาจากการอยู่ร่วมกันของเพื่อนร่วมห้อง เพราะจำเป็นต้องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว แต่หากนักศึกษาสามารถกำหนดกฎกติการ่วมกันได้ หรือเดินทางมา เรียนต่ออเมริกา พร้อมกันกับเพื่อนสนิท ทางเลือกนี้ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางเลือกหนึ่ง

5. ที่พักแบบ Co-Ops/ Cooperative Residence Halls ที่พักแบบนี้มีลักษณะเป็น บ้านพัก เหมาะสำหรับนักศึกษาที่ต้องการอยู่ร่วมกันหลายคน (ประมาณ 5-7 คน) โดยนักศึกษา ที่มา ศึกษาต่ออเมริกา แต่ละคน จะต้องร่วมกันรับผิดชอบในเรื่องการทำความสะอาดสถานที่ เรื่องอาหารการกิน และงานอื่น ๆ ที่จำเป็นกันเอง ซึ่งมักจะแบ่งเวรหรือ หน้าที่กัน โดยส่วนใหญ่ที่พักแบบนี้หาค่อนข้างยาก เพราะมีราคาถูกเนื่องจากแชร์ค่าเช่ากันหลายคน

6. ที่พักชั่วคราว เป็นที่พักสำหรับนักศึกษาที่มา เรียนต่ออเมริกา โดยที่ยังไม่ได้เตรียมในส่วนของที่พักเอาไว้ก่อน ซึ่งที่พักแบบนี้ มักหมายถึง โรงแรม โดยจะมีให้เลือกหลายระดับราคา ตั้งแต่ถูกไปจนถึงแพง จุดประสงค์ของนักศึกษาที่เลือกพักแบบชั่วคราวนี้ คือ เพื่อค้นหาที่พักประเภทอื่นที่เหมาะสมกับตนเอง

การทำงานใน สหรัฐอเมริกา แบ่งเป็น

การทำงานในวิทยาเขต

ตามกฎหมายแล้วนักศึกษาที่ถือ วีซ่าอเมริกา ประเภท วีซ่านักเรียน F-1 สามารถทำงานได้ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ต้องเป็นงานในวิทยาเขตที่ตน ทำการศึกษาอยู่เท่านั้น โดยนักศึกษาสามารถทราบข้อมูลได้จากประกาศต่างที่อาจติดไว้ตามบอร์ดของทางสถาบัน ตัวอย่างงานที่สามารถทำได้ในวิทยาเขต ได้แก่ งานในโรงอาหาร งานในห้องสมุด งานบรรณารักษ์ งานเก็บบัตรจอดรถ การเป็นผู้ช่วยอาจารย์หรือผู้ช่วยในห้อง Lab เป็นต้น ซึ่งนักศึกษาจะสามารถทำงานภายในสถาบันได้ ก็ต่อเมื่อการทำงานนั้นๆ ไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียน หรือผลการเรียนที่ได้ ต้องอยู่ในระดับที่พอใจ สถาบันการศึกษาหลายแห่งจึงกำหนดให้นักศึกษาแสดงหนังสืออนุญาตให้ทำงาน จากเจ้าหน้าที่แนะแนวนักศึกษาต่างชาติก่อนที่จะตกลงจ้างให้ทำงานกับทางสถาบัน

การทำงานนอกวิทยาเขต

สำหรับการทำงานนอกวิทยาเขต (Off-Campus) นั้น จะต้องได้รับการอนุมัติจาก International Student Office ของทางมหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่เสียก่อน การทำงานนอกวิทยาเขตนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. Curricular Practical Training (CPT) การฝึกอบรมอาชีพที่สอดคล้องกับวิชาเอกที่นักเรียนเลือกเรียน เป็นการทำงานในบริษัทหรือหน่วยงานของอเมริกา ในขณะที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่ ในช่วงระหว่างภาคการศึกษา หรือ ปิดภาคการศึกษา นักเรียนสามารถขอทำงานนอกวิทยาเขตในรูปแบบของ CPT ได้ แต่ทั้งนี้งานที่ทำจะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียน ในบางกรณีนักศึกษาสามารถนับหน่วยกิตเข้าในหลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่ได้ หากเป็นการทำงานในช่วงปิดภาคการศึกษา มักเรียกว่า Cooperative Education Program (Co-Op) นักศึกษาควรระมัดระวังในเรื่องของเวลาที่ได้รับอนุมัติ อย่าทำงานเกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต เพราะอาจมีผลต่อการขอ OPT หลังจากศึกษาสำเร็จได้ หากต้องการทำเกินระยะเวลาที่อนุมัติในครั้งแรก ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ International Student Office ทันที่

ข้อควรรู้สำหรับการทำ CPT สำหรับการทำงานระหว่างที่เรียนใน สหรัฐอเมริกา

  • ไม่จำเป็นต้องแจ้ง หรือได้รับอนุญาตจาก INS แต่ต้องทำเรื่องขออนุมัติจาก International Student Office แทน
  • ต้องเป็นนักศึกษา Visa นักเรียน ประเภท วีซ่านักเรียน F-1 มาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา หรืออย่างต่ำ 9 เดือน
  • จะต้องได้รับจดหมายตอบรับ หรือ Offer Letter จากบริษัท หรือหน่วยงานราชการใน อเมริกา มาเป็นลายลักษณ์อักษร
  • ควรดำเนินเรื่องขออนุมัติ CPT ก่อนการเริ่มทำงานอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • นักศึกษาสามารถใช้ CPT ได้นานเท่าที่ต้องการ ตราบใดที่ยังมีสถานภาพที่ถูกกฎหมายของ วีซ่าอเมริกา ประเภท วีซ่านักเรียน F-1 อยู่ โดยมีข้อแม้ว่า
    • นักศึกษาควรระมัดระวังในเรื่องของระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติ ถ้านักศึกษาใช้ CPT เกิน 12 เดือน จะหมดสิทธิ์ในการขอ OPT หลังจากที่สำเร็จการศึกษาแล้ว ซึ่งถ้านักศึกษาใช้ CPT ไม่เกิน 12 เดือน ก็จะยังมีสิทธิ์ในการขอ OPT ได้เหมือนเดิม (ถ้าได้รับอนุมัติ OPT จะได้รับสิทธิ์ในการทำงานอีก 12 เดือน)
    • ขั้นตอนการขออนุมัติจะแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ขั้นตอนทั่วไปที่เหมือนกันคือ นักศึกษาต้องไปติดต่อที่ International Student Office พร้อมกับจดหมายตอบรับจากทางบริษัท หรือหน่วยงานใน อเมริกา และอาจแนบจดหมายแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาไปด้วย จากนั้นจึงกรอกฟอร์ม I-538 หากการขอ CPT ได้รับการอนุมัติ เจ้าหน้าที่ของ International Student Office จะเซ็นด้านหลังแบบฟอร์ม I-20 ให้ พร้อมกับระบุระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต

2. Optional Practical Training (OPT) การจ้างงานชั่วคราวเพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ

OPT เป็นขั้นแรกก่อนการได้รับโอกาสในการยื่นขอ วีซ่าอเมริกา ประเภท H-1B (วีซ่า การจ้างงานชั่วคราวใน อเมริกา นักศึกษาอาจได้รับ วีซ่า ชนิดนี้ หากหน่วยงานที่เราทำงานด้วย พอใจในผลการปฏิบัติงาน และออก Job Offer ให้หลังจากที่ใกล้หมดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตของ OPT เพื่อนำไปยื่นขอวีซ่า H-1B) นักศึกษาที่ต้องการยื่นเรื่องขอ Optional Practical Training จะต้องติดต่อกับ INS โดยผ่านทาง International Student Office เพื่อขออนุมัติจาก INS และเมื่อได้รับการอนุมัตินักศึกษาจะมีเวลารวม 12 เดือน ในการทำงานที่ใดก็ได้ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เรียนจบ

ข้อควรรู้สำหรับการทำ OPT ที่สหรัฐอเมริกา

  • จะต้องรักษาสถานภาพของการเป็นนักศึกษา วีซ่าอเมริกา ประเภท วีซ่านักเรียน F-1 มาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา หรือ 9 เดือน
  • OPT สามารถใช้ได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
    • ยังศึกษาไม่สำเร็จ แต่อยากขอ OPT เพื่อไปทำงานแบบเต็มเวลา (full-time) ส่วนใหญ่จะขอในช่วงปิดเทอม เรียกว่า Internship Note คล้าย ๆ กับ CPT
    • ยังศึกษาไม่สำเร็จ แต่อยากขอ OPT เพื่อไปทำงานแบบ part-time (20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ส่วนใหญ่จะขอระหว่าง semester เรียกว่า Co-op Note คล้ายๆ กับ CPT เช่นกัน
    • ศึกษาสำเร็จแล้ว และต้องการขอทำงาน full-time กับบริษัทหรือหน่วยงานใน สหรัฐอเมริกา ควรขอภายใน 60 วันหลังจากสำเร็จการศึกษา เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว สถานภาพของ วีซ่าอเมริกา ประเภท วีซ่านักเรียน F-1 ของนักศึกษาจะหมดอายุ
  • ถ้านักศึกษาเคยขอ OPT แบบ full-time มาแล้ว ระยะเวลาของ OPT จะถูกหักออกไปจากยอดรวม 12 เดือน เช่น ถ้าในช่วง summer นักศึกษาได้ทำงานไปแล้วทั้งหมด 2 เดือน เมื่อศึกษาสำเร็จ ก็จะเหลือเวลาสำหรับ OPT อีกเพียง 10 เดือนเท่านั้น
  • ถ้านักศึกษาเคยขอ OPT แบบ part-time มาแล้ว ระยะเวลาของ OPT จะถูกหักออกไปจากยอดรวม 12 เดือนในอัตรา 1/2 ของเวลาทำงาน เช่น ถ้านักศึกษาทำงานไปทั้งหมด 2 เดือน (แบบ part-time) เมื่อศึกษาสำเร็จ นักศึกษาจะเหลือเวลาสำหรับ OPT เท่ากับ 12-(2/2) คือ 11 เดือนนั่นเอง
  • นักศึกษาต้องกรอกฟอร์ม I-538 และฟอร์ม I-765 พร้อมรูปถ่ายหันข้าง 45 องศา จำนวน 2 ใบ แล้วนำไปยื่นที่ International Student Office พร้อมชำระค่าธรรมเนียม โดยการเขียนเช็คสั่งจ่าย INS จำนวน US $120
  • ขั้นตอนในการขอ OPT อาจแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย แต่โดยทั่วไปแล้ว นักศึกษาสามารถระบุวันเริ่มทำงานได้ แต่ไม่เกิน 60 วันหลังจากวันที่สำเร็จการศึกษา
  • ในกรณีที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา และได้ทำเรื่องยื่นขอ OPT ไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติ หรือยังไม่ได้รับเอกสารที่อนุญาตให้ทำงาน (EAD) ใน สหรัฐอเมริกา นักศึกษายังไม่ควรเดินทางออกนอก ประเทศอเมริกา เนื่องจากสถานภาพของวีซ่าอเมริกา ประเภท วีซ่านักเรียน F-1 จะขาดทันที และจะไม่สามารถเดินทางเข้า สหรัฐอเมริกา ด้วย I-20 ใบเดิมได้อีก ดังนั้น นักศึกษาจึงควรรอให้เรื่องอนุมัติเรียบร้อยเสียก่อน
  • EAD (Employment Authorization Document) Card เป็นเอกสารอนุมัติ OPT ให้กับนักศึกษา ออกโดย INS และจะจัดส่งกลับมาให้ที่ International Student Office ซึ่งเจ้าหน้าที่จะติดต่อให้นักศึกษาไปรับอีกทีภายหลัง ในกรณีที่ยังไม่ได้รับเอกสารสำคัญนี้ ห้ามเริ่มทำงานโดยเด็ดขาด
  • ถ้า OPT ได้รับการอนุมัติ และได้รับ EAD เรียบร้อยแล้ว นักศึกษาสามารถเดินทางกลับเมืองไทยเพื่อพักผ่อน ก่อนการทำงานจริงใน สหรัฐอเมริกา ได้ หรือต้องการเดินทางไปที่ประเทศไหนก่อนก็ได้ แต่ก่อนหน้าที่จะเดินทางออกจาก ประเทศอเมริกา นักศึกษาต้องติดต่อกับทาง International Student Office ก่อน เพื่อให้เซ็นต์เอกสาร I-20 เหมือนกับ ตอนที่ในช่วงที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่
  • ภายในระยะเวลาที่นักศึกษาได้รับการอนุมัติ OPT จาก INS นักศึกษาสามารถเปลี่ยนงานได้ โดยไม่ต้องได้รับการอนุมัติใหม่ ซึ่งจะแตกต่างจาก CPT ที่นักศึกษาจะต้องแจ้งให้ทาง International Student Office ทราบ และอนุมัติทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนงาน
  • ไม่จำเป็นต้องรอให้ได้งานก่อน แล้วจึงขอ OPT ก็ได้ หากกำลังจะสำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษานี้ ก็สามารถเริ่มขอไว้ก่อนล่วงหน้าได้ เพราะขั้นตอนต่างๆของ OPT อาจต้องใช้เวลาทั้งหมดนานถึง 3 เดือน พร้อมกันนี้ก็ควรจะหางานไปด้วยในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการเรียนสุดท้าย
  • การได้งานทำแบบ OPT นั้น จะมีข้อดีที่ว่าเมื่อทำไปได้จนถึงระยะเวลาที่ OPT ของนักศึกษาใกล้จะหมดลง ทางบริษัทหรือหน่วยงานของ อเมริกา ที่เป็นนายจ้างของนักศึกษา อาจจะเป็น sponsor ให้ในการขอ วีซ่าอเมริกา แบบ H-1B ซึ่ง วีซ่า ชนิดนี้ เป็น วีซ่า สำหรับทำงานชั่วคราวใน สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะ และเมื่อนักศึกษาได้วีซ่าอเมริกา แบบ H-1B ก็สามารถทำงานต่อใน ประเทศอเมริกา ได้สูงสุดถึง 6 ปี

การทำงานในขณะที่ถือ วีซ่าอเมริกา ประเภท วีซ่านักเรียนแลกเปลี่ยน J-1

นักศึกษาสามารถทำงาน ในขณะที่ถือ วีซ่าอเมริกา ประเภท J-1 ได้ ไม่ว่าจะเป็น part-time หรือ full-time ถ้าทางสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจอย่างถูกกฎหมายอนุญาต ในกรณีที่ทำการศึกษาอยู่นั้น งานที่ทำจะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาที่ลงเรียนด้วย และมีระยะเวลาไม่เกินกว่าระยะเวลาของ วีซ่าอเมริกา ที่ได้รับ โดยสามารถทำในระหว่างที่เรียนก็ได้ หรือจะเลือกทำหลังจากเรียนจบก็ได้ ถ้าต้องการทำงานหลังจากเรียนจบ นักศึกษาต้องได้รับการอนุมัติให้ทำงานได้ภายใน 30 วันหลังจากที่สำเร็จการศึกษา ไม่เช่นนั้น วีซ่าอเมริกา ประเภท วีซ่า J-1 ก็จะหมดอายุลง หรือในกรณีที่ได้รับ วีซ่าอเมริกา ประเภท J-1 เพื่อมาทำงานตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน วีซ่า ผู้ได้รับ วีซ่า ก็ต้องทำงานเฉพาะในสาขาที่ได้รับอนุญาต และปฏิบัติตามเงื่อนไข รวมถึงกฎเกณฑ์ของ วีซ่า อย่างเคร่งครัดด้วย

สำหรับผู้ติดตามที่ถือ วีซ่าอเมริกา ประเภท J-2 สามารถที่จะทำงานอะไรก็ได้ แต่ต้องเขียนจดหมายถึง INS พร้อมกับแสดงให้เห็นว่า รายได้จากการทำงานของ J-2 นั้น จะไม่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่ถือ วีซ่าอเมริกา ประเภท J-1 และเมื่อ INS อนุมัติแล้ว ก็จะส่ง EAD มาให้ผู้ติดตามที่ถือ วีซ่าอเมริกา ประเภท J-2 อยู่ ซึ่งหมายความว่าสามารถเริ่มทำงานได้เลย ระยะเวลาที่สามารถทำงานได้ของ วีซ่าอเมริกา ประเภท J-2 ก็จะได้นานเท่ากับอายุของ วีซ่า J-1

สถานที่สำคัญ และเบอร์โทรที่ควรทราบ

1. สถานทูตไทยประจำแต่ละรัฐใน อเมริกา

thai-embassy
2.บริการไปรษณีย์ที่ ประเทศอเมริกา

ที่ทำการไปรษณีย์ใน สหรัฐอเมริกา เปิดทำการทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ โดยมีการให้บริการทั้ง ไปรษณีย์บัตร, ไปรษณีย์ลงทะเบียน, บริการส่งจดหมายทั้งภายในและต่างประเทศ เป็นต้น สำหรับสิ่งสำคัญในการส่งไปรษณีย์ที่นักศึกษาต้องพึงระลึกเสมอ คือ “ต้องกรอก ข้อมูลของผู้รับให้ละเอียดและครบถ้วนโดยเฉพาะรหัสไปรษณีย์ต้องไม่ลืมเด็ดขาด” เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้การส่งจดหมายล่าช้าขึ้น

เวลาทำการของไปรษณีย์ ที่ อเมริกา คือเวลา 8.30 – 17.00 น. สำหรับอัตราค่าบริการ ถ้าเป็นจดหมายธรรมดาติดแสตมป์ $ 0.34 แต่ถ้าพัสดุมีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อยอัตราค่าบริการก็ประมาณ 60 เซ็นต์ ถึง 1 เหรียญกว่าๆ ระยะเวลาที่ใช้ในการส่งแบบธรรมดาก็ประมาณ 4-7 วัน โดยผู้ให้บริการหลักคือ United States Postal Service รายละเอียดการให้บริการเกี่ยวกับค่าบริการ ได้ที่ http://postcalc.usps.gov

3.หมายเลขโทรศัพท์ใน สหรัฐอเมริกา

3.1 ตำรวจ ดับเพลิง ฉุกเฉินอื่น ๆ เบอร์ 911
3.2 การโทรศัพท์จาก ประเทศอเมริกา มา ประเทศไทย

  • การต่อสายโดยตรง กด 011+ 66 (รหัสประเทศไทย)+รหัสจังหวัด +หมายเลขโทร 7 หลัก
  • การติดต่อเจ้าหน้าที่โดยการหมุน 0 บอก สถานที่และเบอร์ที่ต้องการ สามารถกำหนดได้ว่าจะให้เก็บค่าโทรกับตัวเองหรือเก็บค่าโทรปลายทาง
  • การต่อให้เจ้าหน้าที่คนไทยให้ต่อสายให้
  • การโทรทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามประเภทบริการ
  • การใช้ Phone Card หรือ Calling Card ผู้ใช้ต้องชำระเงินล่วงหน้า เพื่อซื้อ Phone Card หลังจากนั้นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ และการสั่งซื้อจาก Internet ซื้อด้วยบัตรเครดิตการ์ด ทางบริษัทจะให้ Pin Number และวิธีใช้ มาให้ทางอีเมล์