การใช้ ปรอทวัดไข้

 

การใช้ปรอทวัดไข้ - Thermometer

ช่วงนี้ หลายๆ คนคงจะวิตกกับสถานการณ์ โควิด – 19 เป็นอย่างมาก เพราะว่าอาการเบื้องต้น ของไวรัสตัวนี้ จะมีอาการไข้ ตัวร้อน เป็นจุดสำคัญ และเครื่องวัดอุณภมิ ที่เป็นเครื่องยิงนั้น ไม่สามารถวัดอุณหภูมิได้ไม่สเถียร ดังนั้นเราควรใช้ ปรอทวัดไข้ จะดีที่สุด

ปรอทวัดไข้ หรือ Clinical Thermometer เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นหลอดแก้วทรงยาว ทำมาจากแก้วชนิด Pyrex glass ภายในบรรจุปรอท ซึ่งเป็นธาตุในกลุ่มโลหะทรานซิชัน ซึ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของตัวปรอท ทำให้เราสามารถทราบค่าอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้

วิธีการใช้ปรอท ที่ถูกต้อง

  1. ทำความสะอาด ปรอทวัดไข้ ให้เรียบร้อย
  2. หลังจากทำความสะอาดแล้วให้นำ ปรอทวัดไข้ มาอมใต้ลิ้น เป็นเวลา 3 – 4 นาที
  3. หลังจากครบตามเวลาที่กำหนด ให้นำปรอทวัดไข้ ขึ้นมาดูอุณหภูมิ ว่าอยู่ที่เท่าไหร่
  4. หลังจากที่วัดเรียบร้อยแล้ว ให้ทำความสะอาดปรอทวัดไข้ ให้เรียบร้อยและ เก็บใส่ปลอก เพื่อใช้งานในครั้งต่อไป

หากวัดอุณหภูมิทางปาก รักแร้ หู ได้เกิน 37.5 องศาเซลเซียส หรือวัด ทางทวารหนัก เกิน 38 องศาเซลเซียส ก็จะถือว่ามีไข้ ให้ทานยาลดไข้เบื้องต้นก่อน เพื่อดูอาการก่อนได้เลย หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ ที่ใกล้ที่สุด

การวัดไข้อย่างไรให้ถูกวิธี

เราลองมาดูการวัดอุณหภูมิแต่ละแบบกัน ว่าควรมีเทคนิคอย่างไรให้ได้ค่าที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด

วัดทางรักแร้

  • เหมาะกับเด็กทุกวัย แต่ต้องแน่ใจว่าปลายปรอทอยู่ใต้รักแร้ และสอดไว้นาน 2-3 นาที จึงจะได้ค่าที่แน่นอน เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก แต่ใช้เวลาวัดนานบางครั้งเด็กดิ้นปลายปรอทเคลื่อน จึงอาจได้ค่าต่ำกว่าความเป็นจริง

วัดทางปาก

  • เหมาะสำหรับเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป เพราะเด็กต่ำกว่า 5 ปี อาจยังอมปรอทไม่เป็นและอาจกัดปรอทแตก และควรให้อมไว้ใต้ลิ้น เพราะมีเส้นเลือดจำนวนมาก จะทำให้ได้อุณหภูมิที่ถูกต้องที่สุด

อมปรอทไว้นาน 3 นาที ขณะวัดไม่ควรหายใจทางปากและไม่ดื่มน้ำเย็นหรือน้ำร้อนก่อนจะวัดปรอท อย่างน้อย 10-15 นาที

วัดทางหู

  • เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3เดือนขึ้นไป เพราะรูหูมีขนาดใหญ่พอที่แสงอินฟาเรดจะเข้าไปถึงเยื่อแก้วหู ใช้เวลาสั้น 2-3 วินาทีและค่าค่อนข้างแม่นยำ ขณะวัดควรดึงใบหูไปทางด้านหลังเล็กน้อยเพื่อให้รูหูตรง ควรวัดอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อหาค่าเฉลี่ย แต่ค่าอาจคลาดเคลื่อนถ้าใช้ในเด็กเล็กเกินไปเพราะรูหูเล็ก หรือเด็กที่มีขี้หูปิดรูหูไว้

วัดทางทวารหนัก

  • จะได้ค่าที่ใกล้เคียงอุณหภูมิแกนกลางร่างกายที่สุด เหมาะกับเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี โดยทาวาสลีนที่ปรอท แล้วใส่เข้าไปที่ทวารหนัก ลึก 1นิ้ว นาน 2 นาที โดยต้องจับปลายไว้ให้แน่นเพื่อไม่ให้ปรอกไหลลึกเข้าไป สามารถทำได้ทั้งท่านอนหงาย คว่ำ ตะแคง แต่ถ้าทำไม่ถูกต้องอาจเกิดแผลฉีกขาดได้ และปรอทอ่านผลได้ยาก

วัดทางผิวหนัง

  • โดยใช้แถบวัดไข้ สะดวกเหมาะกับทุกวัย โดยต้องเช็ดเหงื่ออออกก่อน แล้วใช้แถบวัดไข้แปะที่หน้าผากนานประมาณ 15 วินาที จนตัวเลขขึ้น แต่มีข้อเสียที่ค่าคลาดเคลื่อนได้ง่าย ไม่แม่นยำ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.samitivejhospitals.com