หลาย ๆ คนคงมีข้อสงสัยว่า ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) หากติดเชื้อแล้ว จะมีอาการอย่างไรบ้าง เพื่อให้ข้อมูลครบถ้วน ทางเว็บไซด์จึงได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสังเกตและดูแลตนเองไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น หากพบว่าตนเองเข้าข่ายอาการเหล่านี้ ให้ใส่หน้ากากอนามัย และไปพบแพทย์โดยทันที เมื่อไปถึงสถานพยาบาลแล้วพึงแจ้งพยาบาลคัดกรองถึงอาการต่าง ๆ เพื่อที่จะได้วินิจฉัยประเมินการส่งตัวทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง

อาการของผู้ติดเชื้อไวรัส Covid-19

ทางเพจ หมอเวร ได้ช่วยสรุปอาการจากสถิติคนไข้ของประเทศจีน เพื่อให้เห็นถึงการสังเกตุอาการเบื้องต้น สำหรับผู้ที่กักตัว หรือสงสัยว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ เราไปดูกันเลยว่า อาการแบบไหน เข้าข่ายบ้าง โดยเป็นข้อมูลถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563

  • มีไข้สูง
  • ไอแห้งๆ
  • อ่อนเพลีย
  • มีเสมหะ
  • หายใจไม่สะดวก หายใจแล้วเหนื่อย หายใจสั้น ๆ
  • ปวดตามเนื้อตัว ปวดเมื่อย โดยไม่ได้ทำงานหนัก
  • เจ็บคอ
  • ปวดศรีษะ
  • หนาวสั่น
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • คัดจมูก
  • ท้องเสีย

อาการโควิด-19

ซึ่งอาการดังกล่าว เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่รวบรวมมาจากผู้ที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 แต่การตรวจสอบให้แน่ชัดว่าติดโควิด-19 หรือไม่ จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยอาการดังกล่าวมีอาการคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดมาก เพื่อให้มีแนวทางในการสังเกตอาการ ตามระยะการฟักตัวของเชื้อโควิด ซึ่งอยู่ระหว่าง 2-14 วัน และจากข้อมูลของกรมควบคุมโรค โดยสถาบัน The Johns Hopkins Researchers ได้มีข้อวินิจฉัยเบื้องต้นเกี่ยวกับ ระยะฟักตัวเฉลี่ยของเชื้อโควิด-19 อยู่ที่ 5.2 วัน โดยอาการในแต่ละวัน มีดังต่อไปนี้

  • ช่วงที่เริ่มมีอาการ คือ ช่วง 1-4 วันแรก จะเริ่มมีไข้เล็กน้อย อุณหภูมิในร่างกาย 36.5 องศาเซลเซียส มีอาการเหนื่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอแห้งๆ เจ็บคอ ท้องเสีย คลื่นไส้
  • วันที่ 5-6 จะเริ่มมีไข้สูงขึ้นถึง 38 องศา การหายใจลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงวัย และผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • วันที่ 7 อาการจะเริ่มทรุดหนัก ต้องรีบส่งให้ถึงมือแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • วันที่ 8 จะมีอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน เนื่องจากเชื้อเข้าสู่ปอด ทำให้ปอดทำงานแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้น้อยลง
  • วันที่ 9-10 คนไข้จะมีอาการหนักขึ้นมาก อาจต้องเข้า ICU กรณีรุนแรงจะกินอะไรไม่ได้เลย
  • วันที่ 11-17 หากผู้ป่วยอยู่ในมือแพทย์และได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ตอบสนองต่อยาต้านไวรัส ผู้ป่วยก็จะค่อยๆ ฟื้นตัว แต่หากร่างกายไม่ตอบสนอง อาการก็อาจจะแย่ลง ถึงขั้นเสียชีวิตได้

ทั้งหมดนี้ คือ ลำดับอาการของผู้ป่วย Covid-19 ตามข้อมูลของ The Johns Hopkins researchers ประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์ควบคุมโรคระบาดประเทศจีน มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น และกระทรวงสาธารณสุขไทย

ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยรัฐ

นอกเหนือจากอาการข้างต้น ยังมีการเก็บสถิติอาการของผู้ป่วยจากประเทศจีน จำนวน 72,314 เคส จาก : worldometers.info ส่วนใหญ่ จะมีอาการดังนี้

  • 80.9% เป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง โดยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และสามารถหายเองได้
  • 13.8% เป็นการติดเชื้อแบบรุนแรง ซึ่งจะมีอาการปอดบวม และหายใจติดขัด
  • 4.7%  เป็นขั้นวิกฤต ซึ่งจะมีอาการ ของ ระบบการหายใจล้มเหลว ช็อค และระบบอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว
  • 2% เป็นอัตราการเสียชีวิตของ ผู้ติดเชื้อ ซึ่งความเสี่ยงนี้จะเป็นไปตามอายุ (หากอายุเยอะ เมื่อติดเชื้อแล้วอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง
  • นอกจากนี้ มีเพียงไม่กี่เคสที่พบในเด็ก
สัญญาณอาการ Covid-19

อาการโควิด-19

ข้อมูลไวรัสโควิด-19 (เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)) จากกรมควบคุมโรค กระทรางสาธารณสุข

1. คำถาม ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 คืออะไร

คำตอบ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้อาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) เป็นต้น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์ก่อให้เกิดอาการป่วยระบบทางเดินหายใจในคน และสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ โดยเชื้อไวรัสนี้พบครั้งแรกในการระบาดในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปลายปี 2019

2. คำถาม อาการของผู้ป่วยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีอาการอย่างไร

คำตอบ อาการทั่วไป ได้แก่ อาการระบบทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบาก ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดออักเสบ ไตวาย หรืออาจเสียชีวิต

3. คำถาม แนวทางการรักษาผู้ป่วยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

คำตอบ เป็นการรักษาแบบประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการป่วยต่างๆ โดยปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค

4. คำถาม ขนาดของเชื้อ เชื้อ COVID-19

คำตอบ เชื้อโควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า หรือโดยกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้กันโดยทั่วไป

5. คำถาม ความเสี่ยง (ร้อยละ) ที่เชื้อจะแพร่กระจายจากการติดอยู่บนสิ่งของ

คำตอบ เชื้อ COVID-19 สามารถแพร่กระจายผ่านสิ่งของที่แปดเปื้อนเชื้อโรคได้ อยู่ได้นานหลายวันหากไม่มีการทำความสะอาด หากใช้มือสัมผัสสิ่งของแล้วนำมาแตะบริเวณหน้า หรือหยิบอาหารเข้าปาก สามารถติดเชื้อได้เช่นเดียวกับการสัมผัสเชื้อจากผู้ป่วยโดยตรง จึงควรต้องระมัดระวัง ทำความสะอาดพื้นผิวที่อาจแปดเปื้อนบ่อยๆ และล้างมือบ่อยๆ

6. คำถาม เชื้อสามารถแพร่กระจายในบริเวณสระว่ายน้ำได้หรือไม่

คำตอบ ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการติดเชื้อจากการว่ายน้ำในสระ หรือแหล่งน้ำอื่น แต่ควรหลีกเลี่ยงสระน้ำที่มีผู้คนแออัด

อาการโควิด-19 ทั่วไป

7. คำถาม หน้ากาก N95 ควรใช้แบบ fit test หรือ fit check มีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิงหรือไม่

คำตอบ หน้ากาก N95 ที่ใช้ในการแพทย์ แนะนำให้ใช้เฉพาะกับบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานกับผู้ติดเชื้อหรือสงสัยติดเชื้อ COVID-19 และต้องทำการทดสอบ fit check ทุกครั้งก่อนปฏิบัติงาน (หน้ากาก N95 สำหรับกันฝุ่น ไม่สามารถใช้ในทางการแพทย์)

8. คำถาม สถานพยาบาลใดที่สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ (28 มีนาคม 2563)

  • พื้นที่เขตสุขภาพที่ 1-12 ให้ส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 ส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กรุงเทพมหานคร ส่งตรวจคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช, คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์, โรงยาบาลราชวิถี

ห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจ 2019-nCoV ได้ ตามที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกาศ

  • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์(NIH) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกแห่ง ยกเว้น ศวก.สระบุรี
  • คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
  • คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี
  • โรงพยาบาลราชวิถี
  • คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

9. คำถาม การทำความสะอาดรถยนต์ / รถโดยสารสาธารณะ นอกเหนือจากการเช็ดทำความสะอาดจุดสำคัญด้วยแอลกอฮอล์ 70%

คำตอบ การทำความสะอาดรถยนต์ รถสาธารณะคือการทำความสะอาดบริเวณจุดที่มือของผู้โดยสารมีโอกาสสัมผัส นอกจากการเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าสามารถใช้น้ำยาละลายผงซักฟอกเช็ดทำความสะอาด นอกจากการเช็ดพื้นผิวสัมผัสต่างๆ การนำรถไปตากแดดน่าจะลดความคงอยู่ของเชื้อเนื่องจากอุณหภูมิความร้อน

10. คำถาม ยาสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร สามารถรักษาโรคไวรัสโคโรนา ได้หรือไม่

คำตอบ ฟ้าทะลายโจรเป็นยาสมุนไพรที่กรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแนะนำให้ใช้รักษาหวัด และให้กินทันที ไวรัส COVID-19 เป็นเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์และพบว่าก่อนโรคที่ค่อนข้างรุนแรงในผู้สูงอายุและผู้มีภูมิต้านทานต่ำ ยังไม่เคยมีการนำฟ้าทลายโจรมาทดลองใช้รักษา COVID-19

11. คำถาม ตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ไวรัสมี ชื่อยาว่าอะไรบ้าง

คำตอบ ยาที่มีรายงานใช้รักษาผู้ป่วย COVID-19 เป็นยาต้านไวรัสเอดส์ (lopinavir ผสม Rotronavir) ใช้ร่วมกับยาต้านไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ก็มีรายงานการใช้ยาต้านไข้มาลาเรีย รายงานการใช้ยา Remdesivir ที่พบว่าใช้ได้ผลในห้องทดลองและสัตว์ทดลองที่ติดเชื้อ SARS และ MERS ทั้งหมดนี้ยังไม่มีการวิจัยที่เป็นระบบและเชื่อถือได้ว่ายาเหล่านี้มีประสิทธิผลการรักษาในคน โปรดระลึกเสมอว่า การใช้ยาดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ไม่ควรหาซื้อยามาทดลองเองเป็นอันขาด

อาการโควิด-19 ที่มา: กรมควบคุมโรค

กลับขึ้นไปด้านบน | ไปหน้า ข่าวสาร