GMAT_(2)

GMAT หรือ Graduate Management Admission Test เป็นการสอบวัดระดับความสามารถของบุคคลที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก สาขาบริหารธุรกิจ ได้แก่ MBA, M.S. Marketing, M.S. Finance, MIS (ในสาขา MIS ของบางมหาวิทยาลัย อาจจำเป็นจะต้องใช้คะแนน GRE แทน GMAT), DBA, และ Ph.D. ด้านบริหารธุรกิจโดยทั่วไปจะใช้คะแนนการสอบ GMAT เพื่อพิจารณาพิจารณาการเข้ารับการศึกษา
ภาพรวมของ GMAT 

GMAT เป็นการวัดระดับความรู้ในเรื่องการสื่อสาร ประกอบไปด้วย การเขียนและการอ่าน, ทักษะในการวิเคราะห์ และทักษะการคำนวณ เพื่อเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการเรียนต่อในด้านบริหารธุรกิจ จาก website ของผู้ออกข้อสอบ(www.mba.com) ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าการสอบ GMAT ไม่สามารถใช้ในการวัดความรู้ความสามารถในเรื่องดังต่อไปนี้

• ความรู้เฉพาะทางด้านธุรกิจ ได้แก่ มาตรฐานบัญชี หรือ กฎหมายทางธุรกิจ
• ทักษะเฉพาะทางของงาน (specific job skill) และเนื้อหาจากบทเรียนในระดับปริญญาตรี ด้านการบัญชีและบริหาร
• คุณสมบัติต่างๆของการเป็นนักธุรกิจที่ดี ได้แก่ ความมุ่งมั่น การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น

2015_og_mbadotcom_222x142_v1

รูปแบบแบบทดสอบ และระยะเวลาในการทำแบบทดสอบ

GMAT ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ

  1. Analytical Writing Assessment

แบบทดสอบ Analytical Writing Assessment (AWA) แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

  • การเขียนเรียงความเพื่อแสดงความคิดเห็น (Issue)
  • การเขียนเรียงความเพื่อวิจารณ์บทความ (Argument)

*โดยผู้เข้าสอบจะมีเวลาในการเขียนเรียงความละ 30 นาที

  1. Quantitative Section

หลังจากการพัก 10 นาที จะเป็นการสอบใน Section ต่อไป คือ Quantitative โดยผู้เข้าสอบจะต้องทำโจทย์คณิตศาสตร์แบบ multiple choice จำนวน 37 ข้อ โดยแบบทดสอบจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ

  • Problem Solving จำนวน 24 ข้อ
  • Data Sufficiency จำนวน 13 ข้อ

*โดยมีเวลาในการทำแบบทดสอบ 75 นาที และคอมพิวเตอร์จะหยุดทำงานทันทีเมื่อหมดเวลา

3. Verbal Section

หลังพักจากการทำแบบทดสอบ Quantitative แล้ว ผู้เข้าสอบสามารถพัก หรือทำแบบทดสอบ Verbal ต่อได้เลย โดยแบบทดสอบส่วนนี้จะเป็นโจทย์แบบ multiple-choice จำนวน 41 ข้อ โดยแบบทดสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่

  • Reading Comprehension จำนวน 14 ข้อ
  • Critical Reasoning จำนวน 14 ข้อ
  • Sentence Correction จำนวน 13 ข้อ

*โดยมีเวลาในการทำแบบทดสอบ 75 นาที และคอมพิวเตอร์จะหยุดทำงานทันทีเมื่อหมดเวลา

การคิดคะแนน

การคิดคะแนนของ GMAT นั้น ผู้เข้าสอบจะต้องทำแบบทดสอบให้ครบทั้ง 3 ส่วน ทั้งแบบเขียน และแบบปรนัย ถ้าหากว่าผู้เข้าสอบทำแบบทดสอบไม่ครบ จะถือว่าการทำแบบทดสอบนั้นไม่สมบูรณ์ และจะไม่ได้รับผลคะแนน GMAT

การคิดคะแนน จะมีการหักคะแนน ¼ สำหรับข้อที่เลือกผิด โดยจะมีการแบ่งเป็นแต่ละส่วน ได้แก่

Analytical Writing Assessment จะคิดคะแนนแยกออกจากส่วนอื่นๆ โดยระดับคะแนนจะอยู่ในช่วง 0-6 คะแนน

Quantitative จะมีระดับคะแนนในช่วง 0-60 คะแนน และ Verbal จะมีระดับคะแนนในช่วง 0-60 คะแนนเช่นเดียวกัน แต่จะนำคะแนนในสองส่วนนี้มารวมกัน แล้วเทียบให้อยู่ในช่วงคะแนน 200 ถึง 800

การสอบ GMAT สามารถสอบได้ ปีละ 5 ครั้ง โดยมีระยะสอบได้ 1 ครั้ง ภายใน 31 วัน และผู้เข้าสอบที่มีคะแนนเต็ม 800 ก็จะไม่สามารถเข้าสอบได้อีกภายใน 5 ปี โดยการรายงานผลคะแนนนั้น จะถูกเลือกเฉพาะ 3 ครั้งล่าสุด บางมหาวิทยาลัยอาจจะพิจารณาเฉพาะคะแนนที่สอบได้มากที่สุด หรือ นำผลคะแนนทั้ง 3 ครั้งมาเฉลี่ย

*สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยดัง (Top Universities) ควรจะมีผลคะแนน GMAT 80-85% หรือประมาณ 640-680 คะแนน

การสมัครสอบ

การสมัครสอบ GMAT สามารถสมัครออนไลน์ได้ ที่ http://www.mba.com/mba  สามารถเค้าไปเช็คตารางสอบ วัน-เวลาสอบ และสถานที่ ซึ่งศูนย์สอบ ของประเทศไทยนั้นมีอยู่ 2 ที่ คือ

  1. Pearson Professional Center ใน กรุงเทพฯ
  2. A&A NEO TECHNOLOGY ใน เชียงใหม่

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.mba.com/ หรือ www.gmac.com/gmat