งานกาชาด คือ | ทำไมต้องจัดงานกาชาด

งานกาชาด คือ งานที่จัดขึ้นเพื่อหารายได้บำรุงสภากาชาดไทย มีการจัดงานทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครเดิมมักจัดที่บริเวณ ลานพระบรมรูปทรงม้า สวนอัมพร และสนามเสือป่า ประมาณปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนสถานที่และเวลาตามความเหมาะสมของแต่ละปี ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าราคาถูก บริการตรวจสุขภาพ รับบริจาคโลหิต จำหน่ายสลากรางวัล “สลากกาชาด” เป็นต้น ซึ่งร้านในงานมาจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยงานรัฐ กองทัพ สถานีโทรทัศน์ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ตลอดจนถึงบริษัทเอกชน

งานกาชาดเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2465 โดยมีวัตถุประสงค์ในขณะนั้นเพื่อหา ประชาสมาชิก ให้แก่สภากาชาดไทย การสมัครเป็นสมาชิกนี้ เสียค่าบำรุง 1 บาทต่อปี สถานที่จัดงานคือ สนามหลวง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2476 จึงมีการออกสลากกาชาดในราคาฉบับละ 1 บาทเพื่อระดมทุนเข้าสภากาชาดไทยเป็นครั้งแรก

Credit : https://www.facebook.com/sgcu.obj/

งานกาชาด คือ

ประวัติงานกาชาด

สภากาชาดไทยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อครั้งสมัยแผ่นดิน “พระพุทธเจ้าหลวง” รัชกาลที่ 5 ในต้น ร.ศ. 112 (ปี 2436) ซึ่งประเทศสยามเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสในเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ทำให้เกิดการสู้รบกันยังผลให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และได้รับความทุกข์ทรมานเป็นจำนวนมาก โดยในขณะนั้นยังไม่มีกองการกุศลใดๆ ทำหน้าที่ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ในยามสงครามอย่างเป็นกิจจะลักษณะ

ประวัติงานกาชาด

“พระพุทธเจ้าหลวง” ทรงมีความห่วงใยเหล่าทหารหาญและบรรดาอาสาสมัครที่เสียสละเอาชีวิตร่างกายต่อสู้เพื่อรักษาพระราชอาณาเขต จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้จัดตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งสยามขึ้น เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2436 เพื่อทำหน้าที่จัดส่งยา เวชภัณฑ์ อาหาร เสื้อผ้า และเครื่องใช้ต่างๆ ไปยังทหารและประชาชนที่เดือดร้อน อันเป็นหลักการที่ละม้ายกับหลักการของสภากาชาดสากล

นอกจากนั้น พระองค์ยังมีพระมหากรุณาธิคุณแก่องค์การที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ และพระบรมราชานุญาตให้เรี่ยไรได้เงินเป็นจำนวนถึง 443,716 บาท อันเป็นเงินจำนวนมหาศาลในสมัยนั้น นับว่าเป็นการรณรงค์จัดหารายได้ครั้งแรกเป็นปฐมฤกษ์ในการก่อตั้งองค์การ

ต่อมาสภากาชาดไทยได้จัดให้มีงานกาชาดขึ้นครั้งแรกระหว่างวันที่ 31 มีนาคม 2465 – 8 เมษายน 2466 (ขณะนั้นเปลี่ยนพุทธศักราชในเดือนเมษายน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหา “ประชาสมาชิก” ให้แก่สภากาชาดไทย โดยการสมัครเป็นสมาชิกนี้เสียค่าบำรุง 1 บาทต่อปี มีผู้สมัครถึง 13,436 คน สถานที่จัดงานคือ สนามหลวง

ประวัติงานกาชาดไทย

งานกาชาดจึงได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และขยายวงกว้างขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาในปี 2471 ได้ย้ายสถานที่จัดงานมายัง พระราชอุทยานสราญรมย์ ในปี 2472 เริ่มมีการสอยกัลปพฤกษ์ เป็นครั้งแรก รางวัลได้แก่เครื่องเวชภัณฑ์ เสื้อผ้า ค่าสอยกัลปพฤกษ์ มิได้กำหนดราคาไว้แล้วแต่ศรัทธา

ในปี 2476 เริ่มมีลอตเตอรี่ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก เพื่อหารายได้ให้สภากาชาดไทยในราคาฉบับละ 1 บาท ต่อมาในช่วงปี 2481 – 2499 ได้ย้ายมาจัดที่สถานเสาวภา และบริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติ ซึ่งในการจัดงานแต่ละครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จทอดพระเนตรด้วย งานกาชาดนี้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ

ต่อมาในปี 2500 งานกาชาดได้ย้ายสถานที่จากสถานเสาวภาไปจัดที่สวนอัมพร ลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนศรีอยุธยา ถนนราชดำเนิน โดยมีหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานกาชาดซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย เนื่องจากทรงเห็นว่าสถานเสาวภาคับแคบไม่สะดวกแก่ผู้มาเที่ยวงานโดยเฉพาะหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาร่วมออกร้าน ซึ่งหมายรวมถึงประชาชนที่มาเที่ยวงานอย่างมากมายจนไม่สามารถรองรับได้

โดยในปีแรกของการย้ายสถานที่เป็นงานกาชาดที่ยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดงานพร้อมด้วยพระราชโอรสและพระราชธิดา มีพิธีพระราชทานเหรียญกาชาดไทยในตอนค่ำ มีงานเลี้ยงพระราชทานแก่ผู้ทูลเกล้าถวายเงินบำรุงสภากาชาดไทย และคณะกรรมการจัดงาน กิจกรรมต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาขึ้นและเปลี่ยนรูปแบบไปบ้างตามความเหมาะสม และในปี 2545 – 2559 บริเวณจัดงานได้ขยายออกไปถึงสนามที่ทำการสำนักพระราชวัง (สนามเสือป่า)

คำค้น : งานกาชาด คือ | ทำไมต้องจัดงานกาชาด ประวัติงานกาชาด

งานกาชาด 2556 สนามเสือป่า

เครดิตภาพ http://www.thailandexhibition.com

กระทั่งปี 2561 สภากาชาดไทยได้นำคำขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ขอย้ายสถานที่จัดงานกาชาด โดยในปีนี้งานกาชาดจะถูกบันทึก ไว้ในประวัติศาสตร์อีกครั้ง เพราะงานกาชาดประจำปี 2561 ได้ย้ายสถานที่จัดงานจากบริเวณสวนอัมพร มายังสวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกกับงานกาชาดในสวนสวยใจกลางกรุงเทพมหานคร แต่ยังคงความเป็นอัตลักษณ์ของกิจกรรมรื่นเริงเพื่อการกุศลที่รวมไว้ซึ่ง ความสนุกสนาน ความบันเทิงต่าง ๆ การเสี่ยงโชคชิงรางวัล การสอยดาว การจำหน่ายสินค้าราคาถูก และกิจกรรมไฮไลท์เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาส 125 ปี ของการก่อตั้งสภากาชาดไทย

ในปี 2561 นี้ สภากาชาดไทยได้จัดงานอย่างยิ่งใหญ่ตระการตากว่าปีที่ผ่านมา โดยท่านที่มาเที่ยวงานจะได้พบกับการแสดงแสง สี เสียง ในรูปแบบกิจกรรมย้อนยุคหรือย้อนอดีตของการจัดงานกาชาดในสมัยก่อนที่ได้รวบรวมความบันเทิงและความสนุกสนานมากมาย อาทิ ขบวนรถกาชาดในความทรงจำที่ได้ถอดแบบมาจากกระบวนรถกาชาดในอดีต เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เคยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรในปี 2513 ประกวดขวัญใจงานกาชาด กิจกรรมย้อนวันวานสุดคลาสสิค เช่น รถมอเตอร์ไซค์ไต่ถังสุดระทึก ประกวดว่าวไทยโบราณหรือการแสดงว่าวไทย ที่ครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทอดพระเนตรการแสดงว่าว ในงานกาชาดประจำปี 2502 การแสดงธง การฉายหนังกลางแปลง และการจัดนิทรรศการพระบรมราชูปถัมภก 6 แผ่นดิน 125 ปี สภากาชาดไทย ที่จะนำสิ่งที่เป็นตำนานในอดีตและเกร็ดประวัติศาสตร์งานกาชาดมาแสดง เพื่อเล่าขานใหม่และให้ความรู้ในรูปแบบที่น่าสนใจ สิ่งที่น่าจารึกไว้อีกประการคือ ในปีนี้งานกาชาดเปลี่ยนจาก การจัดในฤดูร้อนมาจัดในช่วงฤดูหนาว และที่สำคัญในปีนี้ประชาชนที่จะเที่ยวงานกาชาดประจำปี 2561 จะไม่เสียค่าบัตรผ่านประตู

ขอบคุณข้อมูลจาก : งานกาชาด สภากาชาดไทย

บรรยากาศงานกาชาด 2561

งานกาชาด 2561

สภากาชาดไทย ขอเชิญย้อนรำลึกค้นหา “มนต์เสน่ห์ งานกาชาด จากวันวาน สู่วันนี้”

ในงานกาชาดประจำปี 2561 ณ สวนลุมพินี

กองอำนวยการจัดงานกาชาด สภากาชาดไทย กำหนดจัดงานกาชาดประจำปี 2561 ขึ้นภายใต้แนวคิด “125 ปี สภากาชาดไทย ร้อยดวงใจส่งต่อการให้ที่งดงาม” ระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม 2561 ณ สวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 เพื่อหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย โดยมี หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ สโมสร รวมถึงบริษัท และร้านค้าทั่วไปเข้าร่วมออกร้าน มนต์เสน่ห์ งานกาชาด จากวันวาน สู่วันนี้ กว่า 90 ปี ที่สภากาชาดไทยจัดให้มีงานกาชาด

งานกาชาด 2561

มหรสพการกุศลคู่คนไทยมาอย่างยาวนาน ครั้งแรกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มีนาคม 2465 – 8 เมษายน 2466 ซึ่งสมัยนั้นใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันปีใหม่เรียกงานนี้ว่า “การรับประชาสมาชิก พ.ศ. 2466” มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประชาสมาชิกโดยเสียค่าบำรุง 1 บาทต่อปี ในปีแรกมีผู้สมัครถึง 13,436 คน ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากสภากาชาดสยามจัดให้มีขบวนแห่รถยนต์ รถม้า และรถจักรยานที่ตกแต่งเป็นรูปต่างๆ เกี่ยวกับการอนามัย มีมหรสพแตรวงทหารบก ทหารเรือ จำอวด งานแห่กาชาดนี้จึงนับว่าเป็นต้นกำเนิดของงานกาชาดและเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดมหรสพเพื่อการหาราย ได้บำรุงสภากาชาดไทยจวบจนปัจจุบัน

ต่อมาคณะกรรมการจัดงานกาชาดได้เพิ่มเติมกิจกรรมให้สอดคล้องกับสมัยนิยมและเข้าถึงประชาชนมากขึ้น อาทิ การจัดแข่งขันว่าว การจัดขายลูกลอยกาชาด หรือลูกสวรรค์ ซึ่งในอดีตลูกสวรรค์จะมีเฉพาะในงานกาชาดเท่านั้น ปี พ.ศ.2472 มีกิจกรรม “สอยผลกัลปพฤกษ์” เพื่อชิงรางวัลเป็นครั้งแรก มีการจัดแสดงมอเตอร์ไซค์ไต่ถังเหล็ก เป็นที่ตื่นตาตื่นใจของผู้เข้าชมงานกาชาดเป็นอย่างยิ่ง และในปี พ.ศ.2476 สภากาชาดไทยจัดให้มีการออกล็อตเตอรี่ราคาฉบับละ 1 บาทในงานกาชาดเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ปี พ.ศ.2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานการแสดงบัลเลต์ประกอบเพลงพระราชนิพนธ์เรื่อง “มโนราห์” โดยพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดฉาก แสง สี ด้วยพระองค์เองอีกทั้งยังมีการประกวดธิดากาชาด เริ่มต้นในปีพ.ศ. 2504 ซึ่งผู้ได้รับตำแหน่งจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลกับสภากาชาดไทย ต่อมาเปลี่ยนชื่อการประกวดเป็นการสรรหา “กุลบุตร-กุลธิดากาชาด” เพื่อคัดสรรผู้แทนเยาวชนไทยที่ดี เก่ง รอบรู้ สุขภาพดี และมีจิตสำนึกในการบำเพ็ญประโยชน์ในสังคม

ทำไมต้องจัดงานกาชาด

ตลอด 90 ปี 4 สถานที่งานกาชาดในความทรงจำถือกำเนิดที่ท้องสนามหลวง เติบโตสู่พระราชอุทยานสราญรมย์ จวบจนปี พ.ศ. 2481 ย้ายมาจัดที่สถานเสาวภา จนกระทั่งปี พ.ศ.2500 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 องค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ทรงมีพระราชเสาวนีย์โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายสถานที่จัดงานมายังบริเวณสวนอัมพร ลานพระบรมรูปทรงม้า และสนามเสือป่า จนถึงปี พ.ศ. 2559

และในปี พ.ศ. 2561 นี้ งานมหรสพการกุศลครั้งยิ่งใหญ่ของคนไทยจะถูกกล่าวขานและบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง 125 ปี สภากาชาดไทย ร้อยดวงใจส่งต่อการให้ที่งดงาม กับกิจกรรมสืบสานอัตลักษณ์งานกาชาดในสวนสวย ใจกลางกรุงเทพ ณ สวนลุมพินี ถ.พระรามที่ 4 ในบรรยากาศงานแฟร์ในสวน

คำค้น : งานกาชาด คือ | ทำไมต้องจัดงานกาชาด ประวัติงานกาชาด

กิจกรรมสุดพิเศษ งานกาชาด 2561

1. นิทรรศการพระบรมราชูปถัมภก 6 แผ่นดิน 125ปี สภากาชาดไทย

จัดแสดงเพื่อเผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณและพระราชกรณียกิจของพระบรมราชูปถัมภก องค์สภานายิกาสภากาชาดไทย และองค์อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ที่ทรงมีต่อสภากาชาดไทยตลอด 125 ปี ท่านจะได้สัมผัสความงดงามแห่งการให้ผ่านภาพเหตุการณ์ต่างๆ ตลอด 9 วัน 9 คืน

งานกาชาด คืออะไร
2. ผลิตภัณฑ์จากร้านโครงการส่วนพระองค์

อาทิ ร้านจิตอาสา 904, ร้านโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา, ร้านสมเด็จองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย, ร้านสมเด็จองค์อุปนายิกาสภากาชาดไทย, มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก, ร้านมูลนิธิส่งเสริมศิลปชีพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ, มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ และร้านมูลนิธิพระดาบส


3. กระบวนรถแห่กาชาดในความทรงจำ

เชิญทุกท่านร่วมย้อนวันวาน ระลึกถึงความงดงาม ตระการตาของริ้วกระบวนรถแห่กาชาดในความทรงจำ จากต้นกำเนิดรถแห่ในปี พ.ศ.2466 ด้วยการจำลองบรรยากาศการรับประชาสมาชิกที่หาชมได้ยาก ด้วยรถยนต์ และรถจักรยานที่ตกแต่งเป็นรูปต่างๆ เกี่ยวกับการอนามัยและ 4 ภารกิจของสภากาชาดไทย แสดงการแต่งกายตามเครื่องแบบชุดกาชาดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีมหรสพแตรวงร่วมกระบวน แห่ผ่านหน้าพลับพลาที่ประทับวันที่ 23 พฤศจิกายน พร้อมการแสดงธง แปรขบวนอักษร และจอดเทียบแสดงให้ประชาชนร่วมบันทึกภาพแห่งความทรงจำวันที่ 24 – 25 พฤศจิกายน 2561

ขบวนรถงานกาชาด
4. การจัดแสดงนิทรรศการว่าวไทยโบราณที่หาชมได้ยาก

พร้อมสาธิตการเล่นว่าว และจัดแสดงว่าวของหน่วยงานที่ร่วมประกวดตามแนวคิด “125 ปี สภากาชาดไทย ร้อยดวงใจส่งต่อการให้ที่งดงาม” โดยกองอำนวยการจัดงานกาชาดประจำปี 2561 ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดขึ้นเพื่ออนุรักษ์ว่าวไทยโบราณและสืบสานอัตลักษณ์ของมนต์เสน่ห์งานกาชาด ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดการแข่งขันว่าวครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2467 โดยมีพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) เป็นนายสนามว่าวจัดที่ท้องสนามหลวงมีผู้เข้าร่วมแข่งขันจำนวนมาก ขณะนั้นหารายได้บำรุงสภากาชาดไทยได้ถึง 5,045.82 บาท นอกจากนั้นยังมีการประกวดว่าวในงานกาชาดอีกด้วย จึงนับเป็นการริเริ่ม ส่งเสริม และสร้างสรรค์เกี่ยวกับว่าวไทย จนเป็นประเพณีสืบทอดต่อกันมา

และในงานกาชาดประจำปีนี้จัดให้มีการประกวดว่าวของหน่วยงานที่ร่วมออกร้านในงานกาชาด อาทิ ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวงู ว่าวควาย เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานที่ชนะเลิศจะได้รับโล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปนายิกาสภากาชาดไทย ปัจจุบันมีหน่วยงานที่สมัครแล้วกว่า 10 หน่วยงาน อาทิ กรุงเทพมหานคร, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้, บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เป็นต้น จะมีการตัดสินการประกวดในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 และจัดแสดงว่าวที่ร่วมการแข่งขันตลอดการจัดงานกาชาด 9 วัน 9 คืน ณ บริเวณสวนลุมพินี และมีกิจกรรมอื่นๆ อาทิ การจัดนิทรรศการว่าว 4 ภาค, กิจกรรม DIY การทำว่าวจากวัสดุธรรมชาติ, การนำว่าวต่างๆ ขึ้นโชว์บนท้องฟ้าและจัดพื้นที่ให้ประชาชนได้ทดลองนำว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้า, การระบายสีที่ตัวว่าว โดยมีการตกแต่งสถานที่เป็นอุโมงค์ว่าว Landmark สำหรับถ่ายภาพ และการจำหน่ายว่าวชนิดต่างๆ เป็นที่ระลึก

ประกวดว่าว งานกาชาด
5. การประกวดขวัญใจงานกาชาด ประจำปี 2561

จำลองรูปแบบการประกวดธิดากาชาดครั้งแรกในปี พ.ศ.2504 สมัยนั้นเน้นความสำคัญของการมีมารยาทงามเป็นเกณฑ์การตัดสิน และผู้ครองตำแหน่งธิดากาชาดคนแรกคือ คุณจิตรา นรินทรางกูร ณ อยุธยา และคนที่สองคือ คุณจิตติมา สังขทรัพย์ และในปีนี้บรรยากากศการคัดเลือกสตรีไทยใจบุญจะกลับมาอีกครั้ง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมลุ้น ร่วมเชียร์ และโหวตสตรีไทยใจบุญมากความสามารถจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สมาคมต่างๆ ที่ร่วมออกร้านในงานกาชาด โดยผู้ได้รับตำแหน่งขวัญใจงานกาชาดจะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาทพร้อมสายสะพายและของรางวัลอื่นๆ อีกมากมายตามลำดับ ซึ่งการประกวดแบ่งออกเป็น 3 รอบ ดังนี้

  • รอบแรก วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2561 เวลา 18.00 – 21.30 น. ผู้เข้าประกวดแนะนำตัวและหน่วยงานต้นสังกัดบนเวทีเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาเก็บคะแนนเครื่องแต่งกาย แต่งเครื่องแบบหรือเครื่องแต่งกายตามระเบียบของหน่วยงานต้นสังกัด
  • รอบที่ 2 วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561 เวลา 18.00 – 21.30 น. รอบแสดงความสามารถพิเศษหรือเสนอผลงานกิจกรรมสาธารณประโยชน์ (คนละไม่เกิน 3 นาที) เครื่องแต่งกาย สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ภายใต้แนวคิด “ร้อยดวงใจ ส่งต่อการให้ที่งดงาม”
  • รอบตัดสิน วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม 2561 เวลา 18.00 – 21.30 น. จะทำการตัดสินผู้ชนะเลิศ จำนวน 1 ตำแหน่ง รองชนะเลิศ จำนวน 2 ตำแหน่ง และขวัญใจประชาชน 1 ตำแหน่ง เครื่องแต่งกาย ชุดไทยสวยงาม

ประกวดขวัญใจงานกาชาด
6. การประกวดร้านงานกาชาด ประจำปี 2561

พบกับการออกแบบร้านตามแนวคิด “125 ปี สภากาชาดไทย ร้อยดวงใจส่งต่อการให้ที่งดงาม” ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของหน่วยงาน ท่ามกลางบรรยากาศในสวนสวย และสอดคล้องไปกับแนวคิดที่กำหนด เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามาสัมผัส ร่วมสนุก และถ่ายภาพ Check-in เป็นที่ระลึกในงาน ซึ่งมีหน่วยงานที่ร่วมสมัครแล้วแบ่งเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ อาทิ กรุงเทพมหานคร, กองทัพอากาศ, กองทัพเรือ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงสาธารณสุข, กรมพัฒนาชุมชน, สมาคมแม่บ้านกองบัญชาการกองทัพไทย, สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นต้น

งานออกร้าน งานกาชาด
7. การแสดงมอเตอร์ไซค์ไต่ถังเหล็ก โซนสวนสนุก ที่หาชมได้ยาก

ย้อนวันวานจากปี พ.ศ. 2472 ที่สร้างความสนุกสนาน หวาดเสียวและความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้มาร่วมงาน โดยนายเลื่อน พงษ์โสภณ เป็นผู้แสดงการขี่จักรยานยนต์ในถังเหล็กในสมัยนั้น และในงานกาชาดประจำปีนี้จะนำกลับมาแสดงเพื่อสร้างสีสันแห่งการย้อนวันวานให้กับงานกาชาดอีกครั้งหนึ่ง เฉพาะวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์เท่านั้นระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤศจิกายน และ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2561

ย้อนวันวานงานกาชาด
8. การแสดงสารพัน แสง สี บนเวทีกลาง ตลอด 9 วัน 9 คืน

อาทิ แหล่ 125 ปี สภากาชาดไทย จากแม่ขวัญจิตร ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ปี 2539 การแสดงลำตัดคณะแม่ ศรีนวล ขำอาจ (จากคณะหวังเต๊ะ) การแสดง Bangkok Dance การแสดงคอนเสิร์ต พร้อมความบันเทิงสุดพิเศษจากเหล่าศิลปิน นักแสดง ที่ร่วมใจกันมาสร้างความสนุกสนานและความสุขที่เกิดจากการเป็น ผู้ให้กับสภากาชาดไทยตลอด 9 วัน 9 คืน ณ เวทีกลางงานกาชาด

การแสดงศิลปวัฒนธรรมงานกาชาด
9. การสอยดาว เสี่ยงโชค ชิงรางวัล

กับสารพันเกม สุดพิเศษ จากหน่วยงาน ที่ร่วมออกร้านในงานกาชาดประจำปี 2561 กว่า 50 หน่วยงาน ซึ่งถือว่าเป็นไฮไลท์ของงานกาชาด เพราะเป็นงานที่รวบรวมกิจกรรมการเสี่ยงโชค ชิงรางวัลในรูปแบบต่างๆ ไว้มากมาย รวมถึงของรางวัลสุดพิเศษให้ได้ลุ้นไปตลอด 9 วัน 9 คืน
10. มหกรรมสินค้าราคาถูก จากร้านค้าชื่อดัง อาทิ ร้านจุฬาโอสถ เหล่ากาชาดจังหวัด สินค้าโอท้อป ร้านอาหารสภากาชาดไทยกับเมนูสุดพิเศษ “ทองพลุเสวย” และร้านค้าเอกชนกว่า 70 ร้าน

ตักไข่เต่า สอยดาว งานกาชาด

กิจกรรมอื่น ๆ ของสภากาชาดไทย อาทิ การรับบริจาคโลหิตในสวนสวย ให้บริการตรวจสุขภาพฟรีตลอดทั้งงาน จัดแสดงนิทรรศการความรู้ที่เกี่ยวกับสุขภาพและภารกิจของสภากาชาดไทย เพลิดเพลินไปกับตู้กาชาปองสุดพิเศษให้ท่านลุ้นรับของที่ระลึกที่ต้องเก็บสะสมตลอดทั้งงาน ทั้งนี้ตลอดการจัดงานกาชาด ณ สวนลุมพินี 9 วัน 9 คืน และร่วมกันลดปริมาณขยะด้วยการ “พกถุงผ้า ลดการใช้พลาสติก” เพื่อร่วมกันดูแลสวนลุมพินี สวนสาธารณะใจกลางกรุงเทพให้มีความงดงาม และเป็นสถานที่แห่งการพักผ่อนของคนกรุงเทพตลอดไป

งานกาชาดประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2561 เวลา 10.30 – 22.00 น. ณ สวนลุมพินี ถ.พระรามที่ 4

คำค้น : งานกาชาด คือ | ทำไมต้องจัดงานกาชาด ประวัติงานกาชาด

Credit : https://www.redcrossfundraising.org

กลับขึ้นไปด้านบน | ไปหน้า เกร็ดความรู้