ประวัติกรีฑา ความเป็นมาของกรีฑานั้นเป็นที่เชื่อกันว่าชาวกรีกสมัยโบราณเป็นผู้ริเริ่มการแข่งขันกีฬาและกรีฑาเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 776 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมพลเมืองของกรีกให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะรับใช้ประเทศชาติได้อย่างเต็มที่ อีกเหตุผลหนึ่งคือชาวกรีกในสมัยโบราณนับถือเทพเจ้าอยู่หลายองค์ และเชื่อว่ามีเทพเจ้าสถิตอยู่บนเขาโอลิมปัสเทพ เจ้าทั้งหลายเป็นผู้บันดาลความสุขหรือความทุกข์ให้แก่ผู้นับถือคล้ายกับเป็นผู้ชี้ชะตาของ ชาวกรีก ดังนั้นชาวกรีกจึงพยายามที่จะประพฤติตนให้เป็นที่โปรดปราน ทำความเข้าใจและสนิทสนมกับเทพเจ้า เป็นเหตุให้มีพิธีบวงสรวงหรือทำพิธีกรรม ต่าง ๆ เมื่อเสร็จการบวงสรวงตามพิธีทางศาสนาแล้วจะต้องมีการเล่นกีฬาถวาย ณ ลานเชิงเขาโอลิมปัสแค้วนอีลิสเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระเกียรติของเทพเจ้า

ประวัติกรีฑา

การเล่นกีฬาที่บันทึกเป็นประวัติศาสตร์สืบต่อกันมา คือ การเล่นกีฬา 5 ประเภท ได้แก่ การวิ่งแข่ง การกระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลน และขว้างจักร โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องเล่นให้ครบทั้ง 5 ประเภท สังเกตได้ว่านอกจากมวยปล้ำแล้วอีก 4 ประเภท เป็นการเล่นกรีฑาทั้งสิ้นการเล่นกีฬาดังกล่าวได้ดำเนินมาเป็นเวลา 1200 ปี จนกระทั่งกรีกเสื่อมอำนาจลงและตกอยู่ภายใต้ อำนาจของชาวโรมัน การกีฬาของกรีกก็เสื่อมลงตามลำดับ ในค.ศ. 393 จักรพรรดิธีโอดซีอุส แห่งโรมันมีคำสั่งให้ยกเลิกการ เล่นกีฬา ทั้ง 5 ประเภท เพราะเห็นว่าการแข่งขันในตอนปลายก่อนที่จะยกเลิกไปนั้น มีจุดมุ่งหมายต่างไปจากเดิม โดยที่ผู้เล่นและผู้ชมหวังสินจ้างรางวัล มีการพนันเพื่อเงินทอง ไม่ใช่เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา เป็นอันว่าโอลิมปิกสมัยโบราณได้ยุติลงตั้งแต่นั้นมาเป็นระยะเวลานาน 15 ศตวรรษ เป็นผลให้การเล่นกีฬาต้องหยุดชะงัก ไปด้วย

ประวัติกรีฑา ประวัติกีฬาวิ่งแข่ง

จนกระทั่ง โอลิมปิกสมัยใหม่ ได้เริ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากโอลิมปิกสมัยโบราณยุติไป 15 ศตวรรษ ได้มีบุคคลสำคัญเป็นผู้ริเริ่มกีฬาโอลิมปิกให้กลับฟื้นคืนมาใหม่ท่านผู้นั้นคือ บารอน ปีแอร์เดอ คูแบร์แตง (BaronPierredeCoubertin) ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ชักชวนบุคคลสำคัญ ของชาติ ต่าง ๆ ให้เข้าร่วมประชุม ตกลง เปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยปัจจุบันขึ้นใหม่ โดยจัดให้มีการแข่งขัน 4 ปี ต่อ 1 ครั้ง

ในข้อตกลงให้บรรจุการเล่นกรีฑาเป็นกีฬาหลักของการแข่งขัน เพื่อเป็นเกียรติและเป็นอนุสรณ์ แก่ชนชาติกรีกที่เป็นผู้ริเริ่ม จึงลงมติเห็นชอบโดยพร้อมเพรียงกันให้ประเทศกรีกจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นประเทศแรก ใน ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) ณ กรุงเอเธนส์

ประวัติกรีฑา ความเป็นมากรีฑา

นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการที่ได้ศึกษา ประวัติกรีฑา ไว้ดังนี้

  • คุณสุภารัตน์ วรทอง (2537 : 1-4) ได้เรียบเรียงถึงประวัติและวิวัฒนาการของกรีฑาไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่สมัยแรกถึงปัจจุบันไว้ว่า กรีฑานับว่าเป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์เพราะในสมัยโบราณมนุษย์ต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติ และเผชิญกับความดุร้ายของสัตว์ป่านานาชนิด และต้องใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย การที่มนุษย์ออกไปหาอาหารมาเลี้ยงชีพต้องป้องกันตนเองจากสัตว์ร้าย บางครั้งต้องวิ่งหนีอย่างรวดเร็วเพื่อหนีสัตว์ร้าย ถ้าเทียบกับปัจจุบัน ก็เป็นการวิ่งระยะสั้น หากวิ่งหนีหรือวิ่งไล่ติดตามจับสัตว์มาเป็นอาหาร โดยวิ่งเป็นเวลานาน ๆเทียบได้กับ การวิ่งระยะไกลหรือวิ่งทนนั่นเอง ในบางครั้งขณะที่วิ่ง เมื่อมีต้นไม้ กิ่งไม้หรือหินขวางหน้าก็ต้องกระโดดข้ามไป ปัจจุบันจึงกลายเป็นการวิ่งกระโดดข้ามรั้วและวิ่งกระโดดสูงการวิ่งกระโดดข้ามลำธารเล็กๆ แคบๆ เป็นช่วงติดต่อกัน ได้กลายมาเป็นการวิ่งกระโดดไกลและการเขย่งก้าวกระโดด แต่ถ้าลำธารหรือเหวนั้นกว้าง ไม่สามารถกระโดดอย่างธรรมดาได้ จำเป็นต้องหาไม้ยาวๆ มาปักกลางลำธารหรือแง่หินแล้วโหนตัวข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งก็กลายมาเป็นการกระโดดค้ำ การใช้หอกหรือหลาวที่ทำด้วยไม้ยาวๆ เป็นอาวุธพุ่งฆ่าสัตว์ ปัจจุบันได้กลายมาเป็นพุ่งแหลน เป็นต้น

ประวัติกรีฑาไทย ประวัติความเป็นมาของกรีฑาไทย ประวัติกรีฑาในประเทศไทย

ประวัติกรีฑาไทย ความเป็นมากรีฑาไทย | สำหรับการแข่งขันกรีฑาในประเทศไทยนั้น กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 ที่ท้องสนามหลวง ในพิธีเปิดการแข่งขันครั้งนั้น พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดการแข่งขัน และทอดพระเนตรการแข่งขัน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กระทรวงธรรมการได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำทุกปีตลอดมา

ประวัติกรีฑาไทย

ประวัติกรีฑา ประวัติกรีฑาไทย

  • ปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้งกรมพลศึกษาขึ้น โดยมีนโยบายส่งเสริมการกีฬาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หลังจากก่อตั้งกรมพลศึกษาแล้ว กีฬาและกรีฑาก็ได้รับการสนับสนุนมากยิ่งขึ้น โดยจัดให้มีการแข่งขันกรีฑาระหว่างโรงเรียน ระหว่างมหาวิทยาลัย และกรีฑาประชาชน
  • ปี พ.ศ. 2484 การแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำปี ได้ย้ายมาแข่งขันในกรีฑาสถาน (สนามศุภชลาศัย) เป็นครั้งแรก โดยได้ปรับปรุงสนามและด้านอำนวยการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกากรีฑาระหว่างประเทศมากที่สุด เช่น ใช้เครื่องวัดกำลังลม เครื่องตรวจทิศทางลมเครื่องกดนาฬิกาด้วยไฟฟ้า เปลี่ยนการแต่งกายเครื่องแบบของกรรมการตัดสินมาเป็นชุดขาวล้วนเริ่มมีการบันทึกและรับรองสถิติที่นักกีฬาทำขึ้นในสนามมาตรฐานแห่งนี้
  • ปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น ซึ่งอยู่ในความอุปการะของกรมพลศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบแทนกรมพลศึกษาจัดดำเนินการแข่งขันกรีฑามหาวิทยาลัยและประชาชน และในปีเดียวกันนี้ประเทศไทยยังส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 1 ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ต่อมาประเทศไทยยังได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ถึง 4 ครั้ง คือ เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2509 ครั้งที่ 6 ในปี พ.ศ. 2513 ครั้งที่ 8 ในปี พ.ศ. 2521 และครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541
  • ปี พ.ศ. 2495 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ เป็นครั้งแรก ในการแข่งขันโอลิมปิค ครั้งที่ 5 ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬากรีฑา เข้าร่วมการแข่งขัน 8 คน และเจ้าหน้าที่ 5 คน รวม 13 คน
  • ปี พ.ศ. 2507 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขันกรีฑาและกีฬาต่างๆ เป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า “กีฬาชาติ” และถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องจัดให้มีการแข่งขันทุกครั้ง
  • ปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ รับสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ปี พ.ศ. 2510 องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ได้เริ่มจัดการแข่งขันกีฬาเขตขึ้น (กีฬาแห่งชาติ ในปัจจุบัน) มีการแข่งขันทุกปี หมุนเวียนไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อขยายการกีฬาให้ครอบคลุมทั่วทุกภาค และคัดเลือกนักกีฬาดีเด่นไว้แข่งขันกีฬาระหว่างชาติต่อไป
  • ปี พ.ศ. 2528 เปลี่ยนชื่อจาก องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย เป็น “การกีฬาแห่งประเทศไทย”
  • ปี พ.ศ. 2540 การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงรูปแบบการแข่งขันกีฬาแห่งชาติในระบบใหม่ เป็นการแข่งขันระดับตัวแทนจังหวัดสู่การเป็นตัวแทนระดับภาคโดยมีการจัดการแข่งขัน 2 ปีต่อครั้ง ระบบใหม่นี้เริ่มใช้ครั้งแรกในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32 ในปี พ.ศ. 2543 ที่กรุงเทพมหานคร

ประวัติกรีฑาไทย-ความเป็นมากรีฑาไทย

ความหมายของกรีฑา – ประวัติกรีฑา

กรีฑา (Athletics) หมายถึงเฉพาะรายการแข่งขันกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการวิ่งแข่ง การกระโดด การขว้างและการเดิน ประเภทการแข่งขันกรีฑาที่พบแพร่หลายที่สุด คือ ลู่และลาน วิ่งทางเรียบ วิ่งวิบาก และเดินแข่ง ด้วยความเรียบง่ายของการแข่งขัน และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง ทำให้กรีฑาเป็นหนึ่งในกีฬาที่มีการแข่งขันกันมากที่สุดในโลก

กรีฑา เป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์เพราะในสมัยโบราณมนุษย์ยังไม่รู้จักการทำมาหากินที่เป็นหลักแหล่งมักเร่ร่อนไม่มีเครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัยจึงต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติเผชิญกับความดุร้ายของสัตว์ป่าใช้ถ้ำเป็นอยู่อาศัย จึงกล่าวได้ว่ามนุษย์เป็นต้นกำเนิดของกรีฑา เพราะการที่มนุษย์ออกไปหาอาหารในการดำรงชีวิต บางครั้งต้องเดิน บางครั้งต้องวิ่งเพื่อความอยู่รอด เช่น อดีตใช้ก้อนหินขว้างปา หรือทุ่มใส่สัตว์ แต่ปัจจุบันกลายมาเป็นขว้างจักร ทุ่มลูกน้ำหนัก เป็นต้น

ประวัติกรีฑา ลู่วิ่งกรีฑา สนามแข่งวิ่ง

นอกจากนี้ ได้มีผู้รวบรวมความหมายของกรีฑาไว้ดังนี้

  • ชุมพล ปานเกตุ (2531 : 1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า กรีฑา หมายถึง กิจกรรมทางด้านร่างกายที่ประกอบด้วยการกระทำที่เป็นไปอย่างธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งได้แก่ การวิ่งกระโดดและการทุ่ม ขว้าง พุ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า การเล่นกรีฑานั้นเริ่มมีมาตั้งแต่มนุษย์ได้ถือกำเนิดขึ้นในโลก
  • ชัยสิทธิ์ สุริยจันทร์, เพิ่มศักดิ์ สุริยจันทร์ และวัฒนา สุริยจันทร์ (2525 : 32) ได้ให้ความหมายของกรีฑาไว้ว่า กรีฑาแผนกลู่ คือ กรีฑาประเภทที่ต้องแข่งขันกับบนทางวิ่งและใช้การวิ่งเป็นส่วนสำคัญ ตัดสินกันด้วยเวลาและความเร็ว เช่น การวิ่งระยะต่างๆ กรีฑาแผนกลาน คือ กรีฑาประเภทที่ต้องประลองความไกลหรือความสูงบนลานกว้างๆ เช่นการกระโดด ทุ่ม พุ่ง ขว้าง เป็นต้น
  • อุทัย สงวนพงศ์ (2533 : 4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า กรีฑา หมายถึง กีฬาชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยการวิ่ง การกระโดด การพุ่ง การทุ่มและการขว้างฟอง เกิดแก้ว
  • สวัสดิ์ ทรัพย์จำนง (2524 : 1) กล่าวว่า กรีฑา เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ซึ่งแยกการแข่งขันออกเป็นสองประเภท คือ ประเภทลู่และประเภทลาน จากที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่า กรีฑา หมายถึง กีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแยกการประลองออกเป็นแผนกลู่ที่ต้องแข่งขันบนทางวิ่ง และใช้การวิ่งเป็นส่วนสำคัญ ตัดสินกันด้วยเวลาและความเร็ว ส่วนแผนกลานประลองบนลานกว้างๆ ด้วยการกระโดด ทุ่ม พุ่ง และขว้างตัดสินกันด้วยระยะทางของความไกลหรือความสูง

ประเภทของกรีฑา

ประเภทของการแข่งขันกรีฑา

กรีฑาถือเป็นกีฬาพื้นฐานในการสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย และเป็นกีฬาหลักที่นิยมเล่นและแข่งขันทั้งในและระหว่างประเทศ จากรายละเอียดกติกากรีฑาของสหพันธ์กรีฑาสมัครเล่นนานาชาติ สามารถแบ่งประเภทของกรีฑา ได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้

  1. กรีฑาประเภทลู่ (Track Events)
  2. กรีฑาประเภทลาน (Field Events)
  3. กรีฑาประเภทเดิน (Walking Events)
  4. กรีฑาประเภทถนน (Road Races)
  5. กรีฑาประเภทวิ่งข้ามทุ่ง (Cross Country Races)

ประวัติกีฬาวิ่งแข่ง

1. กรีฑาประเภทลู่  (Track Events)

กรีฑาประเภทลู่ ประกอบด้วยการวิ่งในลู่วิ่ง ซึ่งการวิ่งระยะสั้น การวิ่งผลัด และการวิ่งข้ามรั้วแต่ละรายการมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป โดยการวิ่งระยะสั้นให้ความตื่นเต้น สนุกสนาน การวิ่งผลัดแสดงให้เห็นถึงการประสานงานกันเป็นทีม การวิ่งข้ามรั้วเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการวิ่งและการกระโดดแต่การที่บุคคลหนึ่งจะทำการแข่งขัน กรีฑาประเภทลู่ได้ จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะตัวเบื้องต้น ต้องใช้ความอดทนในการฝึกซ้อมที่ถูกวิธี และสิ่งสำคัญต้องมีใจรักในการวิ่งด้วย

กรีฑาประเภทลู่สามารถแบ่งการแข่งขันได้ ดังนี้

1.1 การวิ่งระยะสั้น ประกอบด้วยการวิ่งระยะทาง 60, 80, 100, 200 และ 400 เมตร
1.2 การวิ่งระยะกลาง ประกอบด้วยการวิ่งระยะทาง 800 เมตร 1,500 เมตรและ 3,000 เมตร
1.3 การวิ่งระยะไกล ประกอบด้วยการวิ่งระยะทางตั้งแต่ 5,000 เมตร ขึ้นไป
1.4 การวิ่งผลัด ประกอบด้วยการวิ่งผลัด 4 x 100 เมตร วิ่งผลัด 4 x 400 เมตร
1.5 การวิ่งข้ามรั้ว ประเภทหญิงระยะทาง 100 เมตร 400 เมตร ประเภทชายระยะทาง 110 เมตร 400 เมตร

ความเป็นมากีฬากรีฑา

2. กรีฑาประเภทลาน (Field Events)

กรีฑาประเภทลาน ประกอบด้วยการวิ่งกระโดดไกล การวิ่งกระโดดสูง การทุ่มน้ำหนัก การขว้างจักร และการพุ่งแหลน แต่ละประเภทต้องอาศัยทักษะที่แตกต่างกัน โดยการวิ่งกระโดดไกล ระบบการทำงานของร่างกายระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อต้องมีความสัมพันธ์กัน จะช่วยให้สามารถบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างนิ่มนวลและถูกต้องตามจังหวะที่ต้องการ การวิ่งกระโดดสูงต้องรู้จักจังหวะการกระโดด การสปริงตัวขึ้น การลอยตัวในอากาศ และการลงสู่พื้นได้อย่างปลอดภัย การทุ่มลูกน้ำหนักต้องรู้จักการทรงตัว การกระโดดได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว และการใช้แรงส่งลูกน้ำหนักให้ไปไกลที่สุด การขว้างจักรต้องอาศัยการเหวี่ยงตัว และจังหวะที่ดีในการเหวี่ยงจักร รวมทั้งต้องมีความรวดเร็วว่องไว ประสาทและทักษะในการเคลื่อนไหวดี การพุ่งปล่อยแหลนออกไปในท่าที่ถูกต้องรู้จักจังหวะการวิ่ง การบังคับแหลนควรเรียนรู้ทำความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

กรีฑาประเภทลานสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ประเภทละ 4 รายการ ดังนี้

2.1 ประเภทกระโดด (Jumping Events)
2.1.1 กระโดดสูง (High Jump)
2.1.2 กระโดดไกล (Long Jump)
2.1.3 เขย่งก้าวกระโดด (Triple Jump)
2.1.4 กระโดดค้ำ (Pole Vault)
2.2 ประเภทขว้าง (Throwing Events)
2.2.1 ทุ่มลูกน้ำหนัก (Putting The Shot)
2.2.2 ขว้างจักร (Discus)
2.2.3 พุ่งแหลน (Javelin)
2.2.4 ขว้างค้อน (Hammer)

athletics history

3. กรีฑาประเภทเดิน (Walking Events)

กรีฑาประเภทเดินเป็นการแข่งขันที่ต้องใช้ทักษะการเดิน ซึ่งสามารถจัดการแข่งขันได้ทั้งภายในสนามและบนถนน ประกอบด้วยการแข่งขันเดินภายในสนาม ระยะทาง 10,000 เมตร และ 20,000 เมตร ส่วนการแข่งขันเดินบนถนน ระยะทาง 20 กิโลเมตร และ 50 กิโลเมตร

4. กรีฑาประเภทถนน (Road Races)

เป็นการแข่งขันวิ่งบนถนน เส้นเริ่มและเส้นชัยอาจอยู่ในสนามกรีฑาก็ได้ มีระยะทาง มาตรฐานในการจัดการแข่งขันสำหรับชายและหญิง ดังนี้

4.1 วิ่ง 15 กิโลเมตร
4.2 วิ่ง 20 กิโลเมตร
4.3 วิ่งครึ่งมาราธอน (Half Marathon) 25 กิโลเมตรและ 30 กิโลเมตร
4.4 วิ่งมาราธอน (Marathon) 42.195 กิโลเมตรและ 100 กิโลเมตร

แข่งกรีฑา ไตรกีฬา

5. กรีฑาประเภทวิ่งข้ามทุ่ง (Cross Country Races)

กรีฑาประเภทวิ่งข้ามทุ่ง เป็นการวิ่งที่มักจัดขึ้นในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ นอกเมือง เส้นทางวิ่งจะเป็นสนามหญ้า เนินเขา ทางเดิน หรือทุ่งนาที่ไถแล้ว นักวิ่งอาจจะพบสิ่งกีดขวางต่างๆ ในธรรมชาติ ซึ่งในระดับนานาชาติมีการจัดการแข่งขัน ดังนี้

5.1 ประเภททีม แบ่งรายการแข่งขันเป็น ชาย ระยะทาง 12 กิโลเมตร เยาวชนชาย ระยะทาง 8 กิโลเมตร หญิง ระยะทาง 6 กิโลเมตร เยาวชนหญิง ระยะทาง 4 กิโลเมตร
5.2 การวิ่งขึ้นเขาเป็นส่วนใหญ่ ทั่วไปชาย ระยะทาง 12 กิโลเมตร ระดับความสูง 1,200 เมตร ทั่วไปหญิง ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระดับความสูง 550 เมตร เยาวชนชาย ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระดับความสูง 550 เมตร

ถ้าจุดปล่อยตัวและเส้นชัยอยู่ในระดับเดียวกัน ทั่วไปชาย ระยะทาง 12 กิโลเมตร ระดับความสูง 700 เมตร ทั่วไปหญิง ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระดับความสูง 400 เมตร เยาวชนชาย ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระดับความสูง 400 เมตร

นอกจากการแข่งขันประเภทลู่และลานแล้ว ยังมีการแข่งขันประเภทรวมชายและรวมหญิง ซึ่งผู้เล่นคนหนึ่งๆ ต้องแข่งขันทั้งประเภทลู่และลาน มีการแข่งขัน ดังต่อไปนี้

ทศกรีฑา เป็นการแข่งขันประเภทรวมชาย ประกอบด้วยการแข่งขัน 10 ประเภท ซึ่งต้องทำการแข่งขัน 2 วัน ติดต่อกันเรียงตามลำดับ ดังนี้
วันแรก
– วิ่ง 100 เมตร
– กระโดดไกล
– ทุ่มลูกน้ำหนัก
– กระโดดสูง
– วิ่ง 400 เมตร
วันที่สอง
– วิ่งข้ามรั้ว 110 เมตร
– ขว้างจักร
– กระโดดค้ำ
– พุ่งแหลน
– วิ่ง 1,500 เมตร

สัตตกรีฑา เป็นการแข่งขันประเภทรวมหญิง มีการแข่งขันทั้งหมด 7 ประเภท แข่งขัน 2 วัน ติดต่อกัน ตามลำดับดังนี้
วันแรก
– วิ่งข้ามรั้ว 100 เมตร
– กระโดดสูง
– ทุ่มลูกน้ำหนัก
– วิ่ง 200 เมตร
วันที่สอง
– กระโดดไกล
– พุ่งแหลน
– วิ่ง 800 เมตร

ประโยชน์ของกรีฑา – ประวัติกรีฑา

การเล่นกรีฑาเหมือนกับการเล่นกีฬาชนิดอื่น ๆ ที่ผู้เล่นจะได้รับประโยชน์จากการเล่น ดังนี้

มีอารมณ์ร่าเริง แจ่มใส กล้ามเนื้อสมบูรณ์แข็งแรง รูปร่างได้สัดส่วน มีบุคลิภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรง มีความต้านทานโรคดี เป็นวิธีช่วยลดไขมันในร่างกายได้ดีวิธีหนึ่ง ระบบประสาททำงานดีขึ้น ทำให้นอนหลับสนิท ระบบการหายใจดีขึ้น ทรวงอกมีการขยายตัวมากขึ้น ระบบย่อยอาหาร และระบบการขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ร่างกายมีความอดทนต่อการทำงาน ทำให้เหนื่อยช้าและหายเหนื่อยเร็วขึ้นเส้นเลือดขยายตัวส่งผลให้การไหลเวียนเลือดดี ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ

กรีฑา

มารยาทที่ดีในการเล่นและชมกรีฑา

กรีฑาเหมือนกับกีฬาชนิดอื่นๆตรงที่ ผู้เล่นต้องมีมารยาทในการเล่น และผู้ชมต้องมีมารยาทในการชม เช่นเดียวกันนอกจากทำให้การแข่งขันดำเนินไปด้วยดีแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม ให้กับผู้เล่น และผู้ชมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิตในสังคมได้เป็นอย่างดี ผู้เล่นและผู้ชมกรีฑาที่ดีจึงควรปฏิบัติตน ดังนี้

1) มารยาทของผู้เล่นที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้
แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมกับการล่นกรีฑา มีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมและผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม เคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สอน เคารพเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินตลอดเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกาอย่างเคร่งครัด ไม่แสดงกิริยาอาการไม่พอใจ หากเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาด เมื่อชนะหรือแพ้ไม่ควรแสดงความดีใจหรือเสียใจจนเกินไป ก่อนและหลังการแข่งขันควรแสดงความเป็นมิตรกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามด้วยการทักทายหรือจับมือแสดงความยินดี ไม่ควรยืมอุปกรณ์การเล่นของคนอื่นมาใช้ฝึกซ้อม

กรีฑาทีมชาติไทยชาย

2) มารยาทของผู้ชมที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้
ไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด แสดงความยินดีกับผู้เล่นที่เล่นดี เช่น การปรบมือ เป็นต้น ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนแย้งคำตัดสิน เป็นต้น

ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการส่อเสียดในทางไม่ดีต่อผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่ทำให้ผู้ติดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก ไม่กระทำสิ่งใด ๆ อันเป็นการกีดขวางการเล่นของผู้เล่น กระทำตนให้เป็นประโยชน์

กรีฑาทีมชาติไทยหญิง

ประวัติกรีฑา

ข้อมูลบางส่วนจาก : wikipedia.org และ

กรมพลศึกษา

กลับขึ้นไปด้านบน | ไปหน้า เกร็ดความรู้