ประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก จะมีประเทศอะไรกันบ้างนะ ผู้คนส่วนมากมักรู้จักแต่ประเทศที่มีประชากรเยอะ หรือประเทศที่เป็นมหาอำนาจ ประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงาม ประเทศที่รวยที่สุด หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้าน แต่สิ่งที่น่าสนใจในวันนี้เราจะพาทุกๆคนมารู้จักกับ 10 อันดับ ประเทศที่ประชากรน้อยที่สุดในโลก เรามาดูกันว่ามีประเทศไหนกันบ้าง

ประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก 10 อันดับแรก

ประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก State of the Vatican City

State of the Vatican City

ประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก อันดับที่ 1 นครรัฐวาติกัน

พื้นที่ 0.44 ตร.กม.
จำนวนประชากร 800 คน
นครรัฐวาติกัน (อังกฤษ: State of the Vatican City; อิตาลี: Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล

ระบบการปกครอง
การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ พระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ซึ่งได้รับเลือกเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

 

ประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก Nauru

Nauru

ประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก อันดับที่ 2 ประเทศนาอูรู

พื้นที่ 21 ตร.กม.
จำนวนประชากร 10,084 คน
นาอูรู (อังกฤษ: Nauru, เสียงอ่าน: /nɑːˈu:ruː/; นาอูรู: Naoero) หรือชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐนาอูรู (อังกฤษ: Republic of Nauru; นาอูรู: Ripublik Naoero) เป็นประเทศเกาะตั้งอยู่ในภูมิภาคไมโครนีเซีย ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศนาอูรูตั้งอยู่ใกล้กับเกาะบานาบาของประเทศคิริบาสมากที่สุด โดยอยู่ห่างกัน 300 กิโลเมตร ไปทางตะวันออก ประเทศนาอูรูเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิกและเล็กเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากประเทศโมนาโกและนครรัฐวาติกัน ดินแดนที่เป็นประเทศนาอูรูในปัจจุบันมีชาวไมโครนีเซียและโพลินีเซียเข้ามาอยู่อาศัย ในระยะเวลาต่อมาจักรวรรดิเยอรมนีได้ผนวกดินแดนนาอูรูเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุด นาอูรูกลายเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติโดยมีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรเป็นผู้บริหารกิจการต่าง ๆ ในเกาะแห่งนี้ร่วมกัน ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ามายึดครองนาอูรู เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด นาอูรูกลายเป็นดินแดนในภาวะทรัสตีและได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1968

ระบบการปกครอง
นาอูรูเป็นสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภานาอูรูเป็นระบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิก 19 คน มาจากการเลือกตั้งทุกสามปี รัฐสภาจะเลือกประธานาธิบดีจากสมาชิกรัฐสภา และประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีซึ่งมีสมาชิก 5–6 คน นาอูรูไม่มีโครงสร้างพรรคการเมืองอย่างเข้มแข็งเท่าใดนัก โดยตัวแทนส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครอิสระ ซึ่งเห็นได้จากสมาชิกรัฐสภาในสมัยปัจจุบันมีสมาชิกที่มาจากผู้แทนอิสระถึง 15 คนจากสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 19 คน สำหรับพรรคการเมืองที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ในปัจจุบันมี 4 พรรค ได้แก่ พรรคนาอูรู พรรคประชาธิปไตยแห่งนาอูรู นาอูรูเฟิร์สและพรรคกลาง แม้จะมีพรรคการเมือง แต่การร่วมรัฐบาลในนาอูรูนั้นมักขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางครอบครัวมากกว่าพรรคการเมืองที่สังกัด
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1992 – 1999 ได้มีการนำระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกว่า สภาเกาะนาอูรู (Nauru Island Council – NIC) เข้ามาใช้ โดยสภานี้จะมีสมาชิกสภาทั้งสิ้น 9 คน มีหน้าที่ให้บริการในท้องถิ่น อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1999 รัฐบาลตัดสินใจยกเลิกสภาเกาะนาอูรูและให้ทรัพย์สินและหนี้สินของสภาทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลแห่งชาติ การครอบครองที่ดินในประเทศนาอูรูเป็นสิ่งที่แปลก เนื่องจากประชาชนชาวนาอูรูทุกคนมีสิทธิบางประการเหนือที่ดินทั้งหมดของเกาะ ซึ่งที่ดินเหล่านั้นมีเจ้าของเป็นบุคคลหรือกลุ่มครอบครัว รัฐบาลหรือองค์กรต่าง ๆ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หากมีความประสงค์จะใช้ที่ดินจะต้องทำสัญญากับเจ้าของที่ดินในบริเวณนั้นก่อน สำหรับประชาชนที่ไม่ใช่ชาวนาอูรูไม่มีสิทธิ์ครอบครองที่ดินบนเกาะ

 

ประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก Tuvalu

Tuvalu

อันดับที่ 3 ประเทศตูวาลู

พื้นที่ 26 ตร.กม.
จำนวนประชากร 10,728 คน
ตูวาลู (ตูวาลูและอังกฤษ: Tuvalu) หรือเดิมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะเอลลิซ (อังกฤษ: Ellice Islands) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่อประเทศแปลว่า “แปดยืนยง” (Eight Standing Together) ในภาษาตูวาลู นอกจากนครรัฐวาติกันแล้ว ตูวาลูเป็นประเทศอิสระที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลกเนื่องจากมีความสูงต่ำ (สูงสุดคือ 5 เมตร) เกาะที่ประกอบเป็นประเทศนี้ อาจจะเกิดปัญหาถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า ประชากรอาจจะอพยพไปที่ประเทศนิวซีแลนด์หรือเกาะนีอูเอซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เป็นปกครองตนเองแต่ขึ้นกับนิวซีแลนด์ที่ไม่มีปัญหาจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเล แต่มีประชากรน้อยลง

ระบบการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขรวมกับประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Constitutional Monarchy with a parliamentary Democracy) ระบบสภาเดี่ยวเรียกว่า House of Assembly ประกอบด้วยสมาชิก 15 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากรัฐสภาเป็นหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐบาลมีจำนวนไม่เกิน 5 คน แต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ จากคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี

 

Palau

Palau

อันดับที่ 4 ประเทศปาเลา

พื้นที่ 459 ตร.กม.
จำนวนประชากร 17,800  คน
สาธารณรัฐปาเลา ถือเป็นประเทศที่น่าอัศจรรย์ที่สุดในโลก โดยปาเลาประกอบด้วยเกาะมากกว่า 300 เกาะที่มีขนาดแตกต่างกัน มีป่าดิบชื้นที่เต็มไปด้วยพืชและนกที่ไม่เหมือนใคร ส่วนภายในน่านน้ำมีสายพันธุ์ฉลามกว่า 130 ชนิด รวมไปถึงแมงกระพรุนกว่า 2 ล้านตัว

ระบบการปกครอง
ปาเลามีประธานาธิบดีซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นทั้งประมุขของประเทศและหัวหน้าคณะรัฐบาลทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี

 

ประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก San Marino

San Marino

อันดับที่ 5 ประเทศซานมารีโน

พื้นที่ 61 ตร.กม.
จำนวนประชากร 33,344​ คน
ซานมารีโน (อิตาลี: San Marino) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซานมารีโน (อิตาลี: Repubblica di San Marino)และอีกชื่อหนึ่งคือ “‘สาธารณรัฐอันสงบสุขยิ่งซานมารีโน”‘ เป็นประเทศในยุโรปใต้บนเทือกเขาแอเพนไนน์ ล้อมรอบโดยประเทศอิตาลี เป็นหนึ่งในจุลรัฐยุโรป

ระบบการปกครอง
ซานมารีโนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เทศบาล (castelli) ซึ่งยังมีฐานะเป็นเมืองด้วย ได้แก่

  • คีเยซานูโววา (Chiesanuova)
  • ซานมารีโน (San Marino)
  • แซร์ราวัลเล (Serravalle)
  • โดมัญญาโน (Domagnano)
  • บอร์โกมัจโจเร (Borgo Maggiore)
  • ฟาเอตาโน (Faetano)
  • ฟีโยเรนตีโน (Fiorentino)
  • มอนเตจาร์ดีโน (Montegiardino)
  • อัคควาวีวา (Acquaviva)

เมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐคือ โดกานา (Dogana) ซึ่งไม่ได้เป็นเทศบาลที่ปกครองตนเองแต่เป็นพื้นที่ของเทศบาลเมืองแซร์ราวัลเล

 

ประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก Liechtenstein

Liechtenstein

อันดับที่ 6 ประเทศลิกเตนสไตน์

พื้นที่  160.4 ตร.กม. (191) หรือ 62 ตร.ไมล์
จำนวนประชากร 38,111 คน
ลิกเตนสไตน์ (เยอรมัน: Liechtenstein) หรือชื่ออย่างเป็นทางการ ราชรัฐลิกเตนสไตน์ (เยอรมัน: Fürstentum Liechtenstein) เป็นประเทศเล็กๆที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปกลาง มีพรมแดนด้านตะวันออกติดกับประเทศออสเตรีย และด้านตะวันตกติดกับสวิตเซอร์แลนด์ ถึงแม้ประเทศนี้จะมีขนาดเล็ก และเต็มไปด้วยภูเขาสูง แต่ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย นอกจากนี้ลิกเตนสไตน์ยังเป็นที่นิยมของนักเล่นกีฬาฤดูหนาว และยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็นประเทศที่เก็บภาษีต่ำมากประเทศหนึ่ง

ระบบการปกครอง
ลิกเตนสไตน์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 เทศบาล (เยอรมัน: Gemeinden) ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเมืองเพียงแห่งเดียว โดยเทศบาล 5 แห่งจัดอยู่ในเขตเลือกตั้งตอนล่าง (Unterland) และอีก 6 แห่งอยู่ในเขตเลือกตั้งตอนบน (Oberland) เทศบาลทั้ง 11 แห่ง

 

Principauté de Monaco

Principauté de Monaco

อันดับที่ 7 ประเทศโมนาโก

พื้นที่  1.95 ตร.กม. (195) หรือ 0.75 ตร.ไมล์
จำนวนประชากร 38,300 คน
ราชรัฐโมนาโก (ฝรั่งเศส: Principauté de Monaco) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โมนาโก (ฝรั่งเศส: Monaco [mɔnako] มอนาโก) เป็นนครรัฐในยุโรปตะวันตก ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นประเทศเอกราชที่เล็กที่สุดเป็นอันดับสองของโลก แต่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส

ระบบการปกครอง
โมนาโกปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมาตั้งแต่พ.ศ. 2454 มีเจ้าชายเป็นประมุขแห่งรัฐ พระองค์ปัจจุบันคือเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 หัวหน้ารัฐบาลของโมนาโกคือมีนีสตร์เดตา (Ministre d’Etat) แต่งตั้งโดยพระประมุข เป็นผู้นำของคณะที่ปรึกษารัฐบาล

คณะที่ปรึกษารัฐบาล ประกอบด้วย ที่ปรึกษารัฐบาล 5 คน ดูแล 5 กรม (Département) ได้แก่

  • กรมมหาดไทย (Département de l’Intérieur)
  • กรมการคลังและเศรษฐกิจ (Département des Finances et de l’Economie)
  • กรมการสังคมและสาธารณสุข (Département des Affaires Sociales et de la Santé)
  • กรมการพัสดุ สิ่งแวดล้อม และผังเมือง (Département de l’Equipement, de l’Environnement et de l’Urbanisme)
  • กรมการต่างประเทศ (Département des Relations Extérieures)

อำนาจนิติบัญญัติของราชรัฐ อยู่ที่พระประมุขและคณะมนตรีแห่งชาติ (Conseil National) กรมการตุลาการ (Direction des Services Judiciaires) มีลักษณะใกล้เคียงกับกระทรวงยุติธรรม ดูแลกิจการศาล โดยเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร โดยตัดสินคดีในพระนามของประมุข

 

Saint Kitts and Nevis

Saint Kitts and Nevis

อันดับที่ 8 ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส

พื้นที่ 261 ตร.กม. (189) หรือ 101 ตร.ไมล์
จำนวนประชากร 46,204 คน
เซนต์คิตส์และเนวิส (อังกฤษ: Saint Kitts and Nevis) หรือชื่อทางการคือ สหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิส (อังกฤษ: Federation of Saint Kitts and Nevis)[1] เป็นประเทศที่เป็นเกาะตั้งอยู่ในหมู่เกาะลีเวิร์ด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเลสเซอร์แอนทิลลีส ในภูมิภาคเวสต์อินดีส แถบแคริบเบียน จัดเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในซีกโลกตะวันตกเมื่อวัดจากขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร เซนต์คิตส์และเนวิสเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของราชอาณาจักรเครือจักรภพที่มีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรทรงเป็นประมุข ประกอบด้วยเกาะหลัก 2 เกาะคือเกาะเซนต์คิตส์ หรือ เซนต์คริสโตเฟอร์ และเกาะเนวิส มีเมืองหลวงและหน่วยงานของรัฐบาลส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนเกาะเซนต์คิตส์ ที่มีขนาดใหญ่กว่า ส่วนเกาะที่เล็กกว่าคือเนวิส ตั้งอยู่ห่างจากเกาะเซนต์คิตส์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร เซนต์คิตส์และเนวิสนับได้ว่าเป็นดินแดนแรกในแถบแคริบเบียนที่มีชาวยุโรปไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ โดยเกาะเซนต์คิตส์เป็นอาณานิคมแห่งแรกของอังกฤษและฝรั่งเศสในแถบทะเลแคริบเบียน และได้รับฉายาว่า “มาตุภูมิแห่งอาณานิคมเวสต์อินดีส์”

ระบบการปกครอง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2เป็นพระมหากษัตริย์ ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านผู้สำเร็จราชการ

 

Marshall Islands

Marshall Islands

อันดับที่ 9 สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์

พื้นที่    181 ตร.กม. หรือ 69.8 ตร.ไมล์
จำนวนประชากร 55,000  คน
หมู่เกาะมาร์แชลล์ (อังกฤษ: Marshall Islands) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ (Republic of the Marshall Islands) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศนาอูรูและประเทศคิริบาส ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศไมโครนีเซียและอยู่ทางใต้ของเกาะเวกของสหรัฐอเมริกา

ระบบการปกครอง
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รัฐธรรมนูญเป็นแบบ Semi – Westminster โดยรวมเอา หลักการของทั้งรัฐธรรมนูญประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา รัฐสภามีสองสภา

 

Dominica

Dominica

อันดับที่ 10 ประเทศโดมินิก้า 

พื้นที่  754 ตร.กม. หรือ 290 ตร.ไมล์
จำนวนประชากร  71,293 คน
ประเทศโดมินีกา (อังกฤษ: Dominica) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐดอมินีกา (อังกฤษ: Commonwealth of Dominica) เป็นประเทศที่เป็นเกาะที่อยู่ในทะเลแคริบเบียน ทวีปอเมริกาเหนือ ในภาษาละติน ชื่อนี้หมายถึง “วันอาทิตย์” ซึ่งเป็นวันที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบเกาะนี้ ดอมินีกามีกรุงโรโซ (Roseau) เป็นเมืองหลวง และใช้อังกฤษเป็นหลัก

ระบบการปกครอง
สาธารณรัฐ แบบรัฐสภา ประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐ นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขรัฐบาล มีระบบพรรคการเมืองหลายพรรค

จะเห็นได้ว่าบางประเทศนั่นมีทั้งจำนวนประชากรและพื้นที่ของประเทศนั่นเล็กมากๆ ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศไทย บางประเทศมีพื้นที่เท่ากับจังหวัดบางจังหวัดในบ้านเราแค่นั้นเอง บางคนอาจจะเข้าใจผิดว่าประเทศซีแลนด์นั่นเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในโลก แต่แท้จริงแล้วประเทศซีแลนด์นั่นเป็นเพียงเมืองจำลองหรือประเทศจำลองนั่นเองค่ะ

Credit : https://www.worldatlas.com

เพจแนะนำ: ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

กลับขึ้นไปด้านบน | ไปหน้า เกร็ดความรู้