ฝึกพิมพ์ดีด ความรู้เบื้องต้นในการพิมพ์

สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้น ฝึกพิมพ์ดีด ควรเน้นฝึกพิมพ์ให้พิมพ์คำต่าง ๆ ให้ถูกต้องก่อน แล้วค่อยพัฒนาในเรื่องความรวดเร็วในการพิมพ์ ซึ่งเมื่อเราพิมพ์ได้ถูกต้องจนมีความชำนาญมากขึ้น ก็จะสามารถพิมพ์ได้รวดเร็วมากขึ้นตามไปด้วย แต่หากพิมพ์ได้รวดเร็ว แต่เต็มไปด้วยคำผิด ย่อมไม่เกิดประโยชน์ใดๆ รวมถึงเสียเวลาไปโดยใช่เหตุ แน่นอนว่าการจะพิมพ์ให้เก่งและพิมพ์ได้ถูกต้อง มีความรวดเร็วในการพิมพ์นั้น จำเป็นต้องฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจนเคยชินและสามารถจดจำปุ่มต่าง ๆ ทำให้สามารถ พิมพ์สัมผัส ได้โดยไม่จำเป็นต้องดูแป้นพิมพ์อีกต่อไป

ฝึกพิมพ์ดีด

อย่างไรก็ตาม พื้นฐานที่ถูกต้องของการพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นการวางนิ้ว การขยับนิ้ว การขยับมือ ก็มีความสำคัญที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้เราสามารถพัฒนาการพิมพ์ได้อย่างรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการ ฝึกพิมพ์ดีด โดยหลักแล้วจะอยู่ที่นิ้วมือ เมื่อเริ่ม ฝึกพิมพ์ดีด ให้จดจำแป้นพิมพ์อักษรทีละนิ้ว ฝึกพิมพ์ให้เกิดความเคยชินไปทีละส่วนโดยไม่ต้องกังวลกับแป้นตัวอักษรอื่น ซึ่งเราจะค่อยๆจำได้หากพิมพ์ตาม โปรแกรมฝึกพิมพ์ดีด อย่างสม่ำเสมอ ในส่วนของสายตานั้น ให้โฟกัสไปที่จอที่เราพิมพ์เป็นหลัก มีสมาธิ เพื่อให้สมองและร่างกายจดจำตัวอักษรที่เราฝึกพิมพ์ ซึ่งผู้ฝึกจะต้องตั้งใจฝึกพิมพ์ซ้ำ ๆ หลายๆ ครั้ง อย่างต่อเนื่อง ก็จะสามารถ พิมพ์สัมผัส ได้ตามที่ตั้งใจไว้ นอกเหนือจากนิ้วมือ และสายตาแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ท่านั่งที่ถูกต้อง เพราะจะช่วยป้องกันอาการเจ็บปวดต่าง ๆ เช่น หลัง คอ ต้นขา อันเนื่องจากการนั่งพิมพ์เป็นเวลานาน ซึ่งเป็นโรคยอดนิยมที่รู้จักกันในชื่อว่า โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ซึ่งท่านั่งที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงจากอาการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

ฝึกพิมพ์ดีด ฝึกพิมพ์สัมผัส มีข้อควรปฏิบัติในการฝึก ดังนี้

  • ฝึกพิมพ์สัมผัส สายตาควรมองที่หน้าจอโปรแกรมเท่านั้น ในช่วงแรกอาจชำเลืองมองได้บ้าง เมื่อเกิดความเคยชินให้พิมพ์โดยมองไปที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว การฝึกฝนเป็นประจำจะช่วยให้เราจดจำได้อย่างแน่นอน
  • ในระหว่างที่ ฝึกพิมพ์สัมผัส ควรมีสมาธิ และตั้งใจฝึกพิมพ์อย่างจริงจัง หากพิมพ์ยังไม่คล่องก็ให้ ฝึกพิมพ์ดีด คำซ้ำ ๆ จนกว่าจะจำได้แม่นยำ
  • ต้องมีความตั้งใจจริง พยายาม ฝึกพิมพ์สัมผัส อย่างต่อเนื่อง อย่าเปรียบเทียบกับผู้ที่สามารถพิมพ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ให้พยายามอย่างเต็มที่จะดีที่สุด
  • พยายามจดจำตำแหน่งของตัวอักษร กับการวางนิ้วที่แป้นพิมพ์ หากเราสามารถจดจำได้ ก็จะช่วยให้สามารถ ฝึกพิมพ์สัมผัส ได้ดีมากขึ้น หากจำไม่ได้ในช่วงแรกให้พยายามพิมพ์ซ้ำ ๆ ซึ่งร่างกายและสมองจะซึมซับจนสามารถจดจำได้ในที่สุด เพียงแต่ต้องใช้เวลาและความอดทนในการฝึกพิมพ์
  • มีทัศนคติที่ดีต่อการ ฝึกพิมพ์ดีด ไม่ท้อแท้ยอมแพ้ง่าย ๆ เพราะไม่มีอะไรได้มาง่าย ๆ ต้องใช้เวลาฝึกฝนเหมือนกันทุกคนจนเกิดความชำนาญ รวมถึงไม่ลืมที่จะปฏิบัติตามพื้นฐานที่ถูกต้องของการ ฝึกพิมพ์สัมผัส ด้วย
  • จัดท่านั่งพิมพ์ให้ถูกต้อง และฝึกให้เป็นนิสัย การนั่งพิมพ์ดีดที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการปวดหลัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดคอ ปวดเอว ปวดร้าวที่ขา ซึ่งเป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม สำหรับผู้ที่นั่งทำงานไม่ถูกท่า และนั่งเป็นเวลานานโดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งลักษณะท่านั่งที่เหมาะสมนั้น จะแนะนำในหัวข้อถัดไป

ฝึกพิมพ์ดีด ฝึกพิมพ์แป้นเหย้า

ฝึกพิมพ์สัมผัส ประโยชน์ของการ พิมพ์สัมผัส

หากผู้ ฝึกพิมพ์ดีด สามารถ พิมพ์สัมผัสได้อย่างชำนาญ มีข้อดีและประโยชน์ดังนี้

  1. การพิมพ์สัมผัสช่วยให้พิมพ์ข้อความต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหาตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ด้วยสายตา
  2. ช่วยลดความผิดพลาดในการพิมพ์ เช่น ลืมเปลี่ยนตัวอักษร พิมพ์ผิด ซึ่งการพิมพ์แบบสัมผัส สายตาของเราจะมองอยู่ที่จอภาพ ทำให้เมื่อพิมพ์ผิดก็จะสามารถแก้ได้ทันที
  3. สามารถใช้คีย์บอร์ดที่ไม่จำกัดเฉพาะต้องมีสัญลักษณ์ตัวอักษรติดอยู่บนแป้นพิมพ์ หรือในกรณีตัวอักษรบนปุ่มจะลบเลือนไป ก็ยังสามารถพิมพ์ได้
  4. เมื่อฝึกฝนชำนาญแล้ว สามารถใช้พิมพ์ได้หลากหลายอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น มือถือ แทบเลต ไอแพด เพราะใช้มาตรฐานเดียวกันหมด
  5. ลดปัญหาสุขภาพ โดยมีสาเหตุมาจากการก้มคอเป็นเวลานานๆ หรือนั่งหลังค่อมจากการพิมพ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอาการปวดตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย

ท่านั่งพิมพ์ดีดที่ถูกวิธี ท่านั่งทำงานที่ถูกวิธี ท่านั่งพิมพ์คอม

  • นั่งตัวตรง ๆ คอตั้ง หลังไม่งอ แต่ไม่ต้องเกร็ง สะโพกชิดพนักพนักเก้าอี้
  • เท้าวางราบกับพื้นทั้ง 2 ข้าง เท้าชิดกันหรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งวางเยื้องไปข้างหน้า เพื่อช่วยให้น้ำหนักตัวลงไปอยู่ที่ปลายเท้า
  • นั่งให้สุภาพเรียบร้อย อย่านั่งหลังงอ ไม่ควรนั่งถ่างขาหรือนั่งไขว่ห้าง
  • แขนชิดลำตัว ข้อศอกกับข้อมือพยายามให้เป็นเส้นตรง ปล่อยแขนตามสบายไม่ต้องเกร็งข้อศอก

ท่านั่งพิมพ์ ท่านั่งทำงาน ที่ถูกต้องภาพท่านั่งที่ถูกต้องเพิ่มเติม

ฝึกพิมพ์ดีด มีข้อแนะนำดังนี้

  • จัดท่าทางการนั่งพิมพ์ ในท่านั่งที่เหมาะสม
  • จัดตำแหน่งคีย์บอร์ด ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าข้อศอกเล็กน้อย
  • จัดระยะห่างระหว่างข้อมือและคีย์บอร์ดให้เหมาะสม และสามารถมองเห็นตัวอักษรบนคีย์บอร์ดได้ชัดเจน เพราะช่วงแรกของการฝึก จำเป็นต้องชำเลืองมองตัวอักษรอยู
  • จัดตำแหน่งจอภาพให้อยู่กึ่งกลาง และต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย ปรับมุมจอขึ้นให้ได้มุมเหมาะสมกับระดับการมองเห็นของเรา
  • จัดตำแหน่งการวางนิ้วที่แป้นพิมพ์ให้ถูกต้อง โดยตำแหน่งมาตรฐานคือ

ปุ่ม F (ด) จะใช้วางนิ้วชี้ของมือซ้าย
ปุ่ม J (ไม้เอก) จะใช้วางนิ้วชี้ของมือขวา
(ปุ่ม F กับ J จะมีปุ่มเล็กๆนูนขึ้นมาเป็นตัวช่วยให้เราสามารถกวาดนิ้วมาสัมผัสเพื่อรับรู้ตำแหน่งการวางมือที่เหมาะสมได้โดยไม่ต้องก้มมอง)

มือซ้าย

นิ้วชี้ กดแป้นอักษร f (ด)
นิ้วกลาง กดแป้นอักษร d (ก)
นิ้วนาง กดแป้นอักษร s (ห)
นิ้วก้อย กดแป้นอักษร a (ฟ)

มือขวา

นิ้วชี้ กดแป้นอักษร j (ไม้เอก)
นิ้วกลาง กดแป้นอักษร k (สระอา)
นิ้วนาง กดแป้นอักษร l (ส)
นิ้วก้อย กดแป้นอักษร ; (ว)

ฝึกพิมพ์สัมผัส การวางตำแหน่งนิ้ว

ถ้าไล่นิ้วจากมือซ้าย ไปมือขวา ก็จะใช้คำที่ติดปากกันคือ ฟอ หอ กอ ดอ เอก อา สอ วอ ส่วนนิ้วโป้งทั้งสองข้าง จะอยู่ในตำแหน่งเหนือปุ่ม Spacebar โดยการวางมือท่าพร้อมเตรียมพิมพ์ลักษณะนี้ หากเป็นเครื่องพิมพ์ดีด จะรู้จักกันว่าเป็น การวางนิ้วมือบนตัวอักษรแป้นเหย้า

แป้นเหย้า หมายถึงอะไร แป้นเหย้าคืออะไร

คำว่า แป้นเหย้า (Home Keys) หมายถึงแป้นอักษรซึ่งใช้เป็นที่พักประจำของนิ้วมือระหว่างพิมพ์ ไม่ว่านิ้วใดจะก้าวไปพิมพ์ตัวอะไรในแถวไหนก็ตาม เมื่อเคาะแป้นอักษรที่ต้องการเสร็จ แล้วจะต้องชักนิ้วนั้นกลับมาไว้บนตำแหน่งเหย้าของมันทันที เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย ซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีตำแหน่งเหย้าอยู่แถวที่สองจากล่างและอักษรประจำแป้นเหย้าเรียงตามลำดับจากซ้ายไปขวา

  • เนื่องจากตัวอักษรทางขวามือ จะมีมากกว่า และปุ่มที่น่าจะต้องใช้บ่อย คือ ปุ่ม Shift ดังนั้น อย่าลืมฝึกใช้นิ้วก้อยให้เคยชินด้วย จะได้พิมพ์ได้อย่างรวดเร็วไม่ติดขัด และไม่ลืมตำแหน่งของมือที่ควรอยู่ที่ตำแหน่งแป้นเหย้าเสมอ
  • การฝึกพิมพ์ ให้พิมพ์ไปตามโปรแกรมแนะนำ เพื่อจดจำ ตำแหน่งของตัวอักษร จากการสัมผัส และต้องไม่ลืมการใช้นิ้วที่ถูกต้องด้วย (โปรแกรมแนะนำอยู่ด้านล่าง) หรือหากฝึกพิมพ์ตามบทความ ให้เริ่มต้นเป็นคำ ๆ ก่อน พยายามจดจำตำแหน่งตัวอักษร และฝึกพิมพ์สัมผัสซ้ำ ๆ จนกว่าจะคล่อง เช่นเดียวกันคืออย่าลืมตำแหน่งของนิ้วในพื้นที่ที่ใช้กดปุ่มตัวอักษรเช่นกัน เพื่อฝึกให้เกิดความเคยชินกับพื้นฐานที่ถูกต้อง โดยโซนพื้นที่ของแต่ละนิ้วจะมีแสดงตามแผนภาพด้านล่าง (แผนภาพเป็นเพียงไกด์ไลน์ตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับว่า สามารถใช้พิมพ์ได้คล่องมากที่สุด แต่หากเราจะปรับเปลี่ยนบ้างให้เหมาะกับสรีระนิ้วมือของเราก็ไม่ผิดแต่อย่างใด เพราะเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การพิมพ์ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องมากที่สุด)
  • การฝึกฝนด้วยภาษาอังกฤษ อาจจะง่ายกว่าเล็กน้อย เพราะตัวอักษรมีน้อยกว่า ผู้เริ่มต้นอาจจะเลือกฝึกภาษาอังกฤษก่อนก็ได้ เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่วในการพิมพ์ หรือจะเริ่มที่ภาษาไทยเลยก็ได้เช่นกัน
  • ในภาษาไทยนั้น คีย์บอร์ดจะมีตัวอักษร 2 แถว ตัวอักษรแถวล่างสามารถกดเพื่อพิมพ์ตัวอักษรได้เลย ส่วนแถวบนจะต้องกด Shift ค้างไว้ก่อนแล้วจึงกดปุ่ม เช่น Shift+ร (ไม่ต้องกด+) ก็จะได้ตัว ณ การฝึกพิมพ์นั้น ควรเริ่มจากคำง่าย ๆ ที่ใช้บ่อย ๆ และไม่ต้องกด Shift ก่อน เพื่อให้สมองและนิ้วจดจำตำแหน่งของตัวอักษรที่อยู่ด้านล่างให้แม่นยำ เช่นคำว่า การ หาย ฟอง อาหาร ว่าง ว่องไว เป็นต้น แล้วค่อย ฝึกพิมพ์สัมผัส โดยการเพิ่มคำที่มีความซับซ้อนในการพิมพ์ที่ต้องกด Shift ในภายหลัง
  • ให้ฝึกพิมพ์ช้า ๆ เน้นที่ความแม่นยำดีกว่าเร็วแต่ผิดเยอะ ข้อนี้เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนพยายามที่จะทำในช่วงแรกโดยต้องการการพิมพ์เร็วเป็นหลัก แต่มักขาดความแม่นยำ ซึ่งทำให้พิมพ์ผิดเยอะและก็ต้องมาเสียเวลากดลบ ( ปุ่ม Backspace) ซึ่งเมื่อเทียบแล้วช้ากว่าฝึกพิมพ์ช้าๆแต่ถูกต้องมากกว่า

ดาวน์โหลด โปรแกรม ฝึกพิมพ์ดีด ฟรี

  • หากใช้ โปรแกรมฝึกพิมพ์ดีด ควรฝึกซ้ำ ๆ ไปจนกว่าจะผ่านแบบไม่มีข้อผิดพลาด แล้วจึงจะพิมพ์บทต่อไป เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีในการพิมพ์
  • ให้ฝึกพิมพ์ตามข้างต้น โดยจดจำลักษณะการกดแบบนี้ไปเรื่อย เพื่อให้เกิดการเคยชินกับตำแหน่งกดของนิ้วจากการพิมพ์คำต่าง ๆ ซึ่งสิ่งสำคัญคือ ฝึกเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจนสามารถใช้ความรู้สึกว่า คำๆนี้ อักษรตัวนี้จะใช้นิ้วใด กดไปที่ตำแหน่งใด
  • เมื่อเริ่มจดจำได้บ้าง และพิมพ์ได้คล่องในระดับนึงแล้ว อาจเพิ่มเติมการฝึกฝนด้วยการพิมพ์ในสิ่งที่เราพบเจอมาหรือสิ่งที่เราจำได้อยู่แล้ว เช่น เนื้อเพลงที่ชอบ บทกลอน ต่าง ๆ โดยสามารถพิมพ์ไป ฮัมเพลงหรือท่องไปด้วยก็ได้ เพื่อให้เกิดการสร้างความจดจำและเคยชินกับตำแหน่งที่สัมผัสได้มากยิ่งขึ้น
  • หาก ฝึกพิมพ์ดีด โดยมีพื้นฐานอย่างถูกต้อง และฝึกฝนเป็นประจำ ร่างกายก็จะสามารถจดจำและกดพิมพ์เป็นคำที่ต้องการได้โดยอัตโนมัติ สิ่งสำคัญคือความตั้งใจจริง มีสมาธิ และ ฝึกพิมพ์สัมผัส อย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างเว็บไซด์ ฝึกพิมพ์ดีด ฝึกพิมพ์สัมผัส ออนไลน์

ฝึกพิมพ์ดีด ที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

  1. https://www.typingstudy.com/th/
    เลือก เริ่มพิมพ์ เพื่อ ฝึกพิมพ์สัมผัสภาษาอังกฤษ และ
    เลือก แป้นพิมพ์เกษมณี เพื่อ ฝึกพิมพ์สัมผัสภาษาไทย กดเพื่อดูรูปที่นี่
  2. http://www.daasee.com/keyboardtutor/
    เลือก Thai ด้านซ้ายบน เพื่อ ฝึกพิมพ์ ภาษาไทย กดเพื่อดูรูปที่นี่
  3. http://10fastfingers.com/typing-test/thai/
    ฝึกพิมพ์ไทย แบบจับเวลา

ฝึกพิมพ์ดีด ที่มีแต่ภาษาอังกฤษ

  1. https://www.typingclub.com
  2. https://www.typing.com/student/lessons
  3. https://www.kidstyping.org

ฝึกพิมพ์สัมผัสภาษาอังกฤษ

ดาวน์โหลด โปรแกรม ฝึกพิมพ์สัมผัส ฟรี โปรแกรมฝึกพิมพ์ภาษาไทย โปรแกรมฝึกพิมพ์ภาษาอังกฤษ

  1. โปรแกรมฝึกพิมพ์ RevivaType เป็นโปรแกรม Flash โดยสำนักพิมพ์ Simplify แต่เนื่องจากไฟล์มีลิขสิทธิ์ของทาง Publishing แต่ผู้ที่อยากทดลองโปรแกรมก่อนอุดหนุน ให้ค้นหา RevivaType โปรแกรมฝึกพิมพ์ดีดภาษาไทย ซึ่งมีคนอัพโหลดไว้ แต่ทางเว็บไซด์ก็ไม่แนะนำให้ละเมิดลิขสิทธิ์ หากต้องการซื้อให้ติดต่อตัวแทนจำหน่ายหรือสำนักพิมพ์ (ทาง Educatepark ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอัพโหลดดังกล่าว เพียงเจอไฟล์ในระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งอัพไว้เมื่อตั้งแต่ปี 2011)
  2. BCC Typing Tutor โปรแกรม ฝึกพิมพ์ดีด ฝึกพิมพ์สัมผัส ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ สามารถนำไปใช้กันก่อนเป็นจำนวน 2 บทเรียนจาก 25 บท กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
    สำหรับระบบปฏิบัติการ 64 บิท
    สำหรับระบบปฏิบัติการ 32 บิท
    หากต้องการใช้ตัวเต็ม มีค่าลงทะเบียนโปรแกรม เพื่อสนับสนุนผู้พัฒนา เว็บไซด์ bcchon.com
  3. Rapid Typing Tutor โปรแกรม ฝึกพิมพ์ดีด ฝึกพิมพ์สัมผัส ภาษาอังกฤษ เป็นโปรแกรม Portable แตก Zip ไฟล์แล้ว สามารถใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้ง
    สำหรับระบบปฏิบัติการ 64 บิท
    สำหรับระบบปฏิบัติการ 32 บิท

มาตรฐานการวัดความเร็วในการพิมพ์

โดยทั่วไปแล้ว จะใช้เกณฑ์ คำต่อนาที หรือ words per minute ในภาษาอังกฤษ (ใช้ตัวย่อว่า wpm) เป็นการวัดว่า ในหนึ่งนาทีพิมพ์ได้จำนวนกี่คำ

ดาวน์โหลด โปรแกรม ฝึกพิมพ์ ฟรี

เกร็ดความรู้ กับ การฝึกพิมพ์ดีด

  • การจัดเรียงตัวอักษรภาษาไทยบนแป้นพิมพ์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มีชื่อเรียกว่า แป้นพิมพ์เกษมณี ถูกคิดค้นโดย นายสุวรรณประเสริญ เกษมณี เพื่อใช้กับเครื่องพิมพ์ดีด
  • แป้นพิมพ์เกษมณี เป็นผังแป้นพิมพ์ภาษาไทย คิดค้นโดย นายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี เพื่อใช้กับเครื่องพิมพ์ดีด มาตั้งแต่ พ.ศ. 2474 (ซึ่งไม่มี ฃ/ฅ) ไม่ใช่กับคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยในตอนแรกผังแป้นพิมพ์นี้เรียกว่า แบบมาตรฐาน เนื่องจากเป็นผังแป้นพิมพ์แบบแรก ๆ ที่ใช้ ต่อมาผู้ร่วมงานเรียกชื่อว่า แป้นพิมพ์เกษมณี เนื่องจาก นายสฤษดิ์ ปัตตะโชติ ได้นำเสนอผังแป้นพิมพ์แบบใหม่ ที่เรียกว่า แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ
  • ปัจจุบัน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม พัฒนาแป้นพิมพ์เกษมณีเป็นแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ และยังคงใช้ชื่อ เกษมณี (kedmanee) เช่นเดิม (หลายคนคงอ่านว่า เกตุมานี)
  • แป้นพิมพ์เกษมณีมีแป้นเหย้าอยู่ที่ (ซ้าย) ฟ ห ก ด และ ไม้เอก า ส ว (ขวา)
  • ดูภาพ แป้นพิมพ์เกษมณี
  • ส่วน แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ นั้น เป็นผังแป้นพิมพ์ภาษาไทย คิดค้นโดย นายสฤษดิ์ ปัตตะโชติ เนื่องจากการวิจัยของสฤษดิ์ชี้ให้เห็นว่า แป้นพิมพ์เกษมณี จะมีการใช้งานมือขวามากกว่ามือซ้าย และนิ้วก้อยขวาจะถูกใช้งานหนัก จึงได้ประดิษฐ์แป้นพิมพ์ปัตตะโชติขึ้น โดยเฉลี่ยให้ทั้งสองมือใช้งานเท่า ๆ กัน และให้ลำดับนิ้วที่ใช้บ่อยคือนิ้วชี้ แล้วไล่ลงไปที่นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยที่ใช้งานน้อยที่สุด
  • จากการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติพบว่า แป้นพิมพ์ปัตตะโชติสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแป้นพิมพ์เกษมณีถึง 25.8% และยังช่วยลดอาการปวดนิ้วมือจากการพิมพ์ได้ แต่แป้นพิมพ์ปัตตะโชติก็ไม่เป็นที่นิยมใช้ เนื่องจากความเคยชินในการใช้แป้นพิมพ์เกษมณีที่แพร่หลายก่อนหน้านั้นแล้ว
  • แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ มีแป้นเหย้าอยู่ที่ (ซ้าย) ไม้โท ท ง ก และ า น เ ไ (ขวา) และถึงแม้จะมีแป้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแป้น แต่แป้น ฃ ฅ ก็ยังไม่มี เช่นเดียวกับแป้นพิมพ์เกษมณี
  • ดูภาพ แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ

ข้อมูลจาก wikipedia

กลับขึ้นไปด้านบน | ไปหน้า เกร็ดความรู้