ประวัติกระบี่กระบอง กระบี่กระบอง เป็นศิลปะการป้องกันตัวของไทย ซึ่งสืบทอดมาจากสมัยบรรพบุรุษหลาย ชั่วคน จนไม่สามารถที่จะหาแหล่งที่มา และบุคคลผู้เป็นต้นคิดได้ อย่างไรก็ตามกระบี่กระบอง ก็ได้แพร่หลายไปในหมู่คนไทย ปัจจุบันกระบี่กระบองได้กลายเป็นศิลปการกีฬาประจําชาติ ไทยอย่างหนึ่ง

ประวัติกระบี่กระบอง

มนุษย์เป็นสัตว์ที่อ่อนแอ ธรรมชาติไม่ได้ให้อาวุธสําหรับการป้องกันตัวมาแต่กําเนิด เหมือนอย่างสัตว์อื่นทั้งหลาย ซึ่งสัตว์เหล่านั้นจะมีเขี้ยว เล็บ งา เขา ความสามารถในการดม กลิ่น ตลอดจนความว่องไวและอื่น ๆ เป็นเครื่องมือในการหาอาหารและป้องกันตัว แต่ร่างกาย ของมนุษย์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจนได้ระดับที่พอดี เหนือกว่าสัตว์ทั่ว ๆ ไป และที่สําคัญที่สุด คือ มนุษย์มีมันสมองมากกว่าสัตว์อื่นทั้งหมดจึงทําให้อยู่รอดได้ ดังจะเห็นว่ามนุษย์สามารถ สร้างภาษาพูด มีความจําที่ดี รู้จักดัดแปลงธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ รู้จักทําการเพาะปลูก และใช้อาวุธล่าสัตว์ แต่อาวุธของชนแต่ละหมู่เหล่าย่อมแตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อม และวัสดุที่เอื้ออํานวย เช่น บางพวกรู้จักใช้ก้อนหินและไม้ บางพวกรู้จักใช้โลหะ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีภัยอีกหลายอย่างที่มนุษย์ต้องเผชิญ และต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ภัยเหล่านี้มี

1. ภัยธรรมชาติ ซึ่งเกิดจาก น้ําท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ ฯลฯ
2. ภัยจากสัตว์ร้าย ซึ่งเกิดจาก เสือ หมี แรด ฯลฯ
3. ภัยจากมนุษย์ด้วยกันเอง ซึ่งหมายถึงว่า มนุษย์เรามักจะต่อสู้กันเพื่อแย่งอาหารที่อยู่ อาศัยดินแดน และแย่งชิงความเป็นใหญ่

จากภัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาทําให้มนุษย์เริ่มรู้จักใช้อาวุธเพื่อการป้องกันตัวและทําลาย ด้วย การผลิตอาวุธใหม่ ๆ ทุกครั้งได้เพิ่มประสิทธิภาพของการทําลายให้มากขึ้น ๆ โดยเริ่มจากการใช้ ไม้และก้อนหินขว้างปากัน ซึ่งทําให้มีคนตายและบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็ได้เปลี่ยนไป เป็นการใช้ ธนู ดาบ ปืน จนในที่สุดใช้ระเบิด และระเบิดปรมาณู ซึ่งมีอานุภาพในการทําลายมหาศาล

เรียนซัมเมอร์ที่ต่างประเทศ

ประวัติกระบี่กระบอง ของไทย

สมัยก่อน การรบแต่ละครั้ง มนุษย์จะยกพวกเข้าตะลุมบอนกัน อาวุธที่ใช้จึงเป็นพวกที่ ใช้ในระยะใกล้ประชิดตัว ของไทยเราก็รู้จักใช้กระบี่กระบองเป็นอาวุธ และในยามบ้านเมือง
สงบก็ใช้การตีกระบี่กระบองเป็นการกีฬาเพื่อออกกําลังและฝึกฝนความแข็งแกร่ง เพื่อเตรียม พร้อมเสมอที่จะรับศึกกระบี่กระบองเป็นกีฬาที่เหมาะที่สุดในการซ้อมรบ เพราะคล้ายกับการ รบจําลอง วัสดุก็หาง่าย คือ เอาหวายมาทําเป็นกระบี่ ดาบ ง้าว ฯลฯ เอาหนังหรือหวายมา ทําเป็นโล่ห์ เขน ดั้ง ฯลฯ แล้วก็มาตีกันเล่น หรือแข่งขันกันเป็นคู่ ๆ ดุจจะสู้รบกันในสนามรบ ตัวต่อตัว เป็นการฝึกหัดรุกและรับไปในตัว ฝ่ายใดพลาดท่าเสียทีก็เจ็บตัว เพราะผู้เล่นมิได้ สวมเกราะป้องกันตัว จึงเป็นกีฬาที่ฝึกกายและใจอย่างดีเลิศ ในการฝึกนี้จะยึดหลัก 3 ประการ คือ

  1. อบรมจิตใจให้กล้าหาญอยู่เสมอ ไม่ครั่นคร้ามต่อภยันตรายทั้งปวง
  2. บํารุงกายบํารุงใจให้แข็งแกร่งมั่นคงอยู่เสมอ พร้อมที่จะเผชิญต่อความยากลําบาก อันเกี่ยวกับการรบได้ทุกเมื่อ
  3. อบรมและฝึกฝนตนให้แม่นยําชํานาญในวิทยาการอันเกี่ยวกับการรบโดยเฉพาะ

กระบี่กระบอง

เมื่อกล่าวถึงชาติไทยของเรา เป็นชนชาติที่มีการต่อสู้ ศึกสงครามเพื่อป้องกันประเทศ รักษาความเป็นเอกราชของแผ่นดินที่ยาวนานชนชาติหนึ่ง คนไทยในยุคแรก ๆ ที่เริ่มก่อตั้งแผ่นดินสุวรรณภูมิแหลมทองมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ บรรพบุรุษในยุคดังกล่าวได้อาศัยสติปัญญา ความกล้าหาญ และใช้อาวุธนานาชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่นและกองทัพเข้าต่อสู้ป้องกันมาโดยตลอด เริ่มจากกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์

ชาติไทยเป็นชาติที่รักสงบมากกว่าที่จะคิดเบียดเบียนใคร ความที่เป็นชาติที่รักสงบจึงมักถูกรังแกอยู่เรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ผู้คนในชาติสมัยก่อนต้องดิ้นรนช่วยตัวเองทั้งชายและหญิง บรรดาทหารกล้าตลอดจนชาวบ้านต่างฝึกฝน เสาะหาเรียนวิชาฟันดาบ และการต่อสู้ด้วยอาวุธนานาชนิด จึงเกิดมีการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำ จนถึงขั้นประลองฝีมือ

ในสมัยก่อน การประลองแบบแรกเป็นเรื่องจริงจังอาศัยหลักวิชาการต่อสู้เป็นหลัก จึงมีคนนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าประลองกับชาวต่างชาติ หรือชาวตะวันตกที่ใช้อาวุธของเขาเป็นหลักก็ยิ่งทำให้เป็นที่สนใจมากขึ้น (ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ยังมีการประลองมวย และการต่อสู้ด้วยอาวุธหน้าพระที่นั่งเหมือนกัน) และแบบที่สอง เป็นพัฒนาการเล่นด้วยการแสดง ทำเลียนแบบ นัดแนะลูกไม้ แต่ไม่มีอันตรายใด ๆ นอกจากบาดเจ็บเมื่อพลาดพลั้งในบางครั้ง ซึ่งมีคนนิยมดูมากขึ้นเช่นกัน

เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1 – 2 มักจะเรียกว่า การประลองดาบ การประลองหอก การประลองยิงธนู เป็นต้น และเรียกบรรดาผู้คนที่มีวิชาความรู้เรื่องฟันดาบว่า นักดาบ นำหน้าสำนักหรือหมู่บ้านชุมชนนั้น ๆ เช่น นักดาบจากบ้านบางระจันนักดาบจากกรุงศรีอยุธยา นักดาบจากพุกาม ทหารจากพม่า ลาว เขมร แต่จะไม่มีใคร เรียกว่า นักกระบี่กระบอง เพราะคำว่า กระบี่กระบอง เกิดหลังรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

กระบี่กระบองนี้เป็นที่สนใจมากในหมู่ผู้ชายไทย ทั้งในราชสํานักและสามัญชน ตามที่กล่าวไปบ้างแล้วในข้างต้น ดังจะ เห็นได้จากในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงโปรดกระบี่กระบองเป็นพิเศษ ทรงเคยศึกษาวิชามวยและวิชากระบี่กระบอง ฟันดาบกับหลวงมล โยธานุโยค ในรัชกาลของพระองค์ จึงโปรดให้มีการตีกระบี่กระบอง และชกมวยไทยหน้าพระที่นั่งในงานสมโภชอยู่เนือง ๆ และโปรดเสด็จทอดพระเนตรและพระราชทานรางวัลแก่ผู้ที่รู้จักกันมากมายในกรุง ทําให้กระบี่กระบองมีกันดาษดื่นและมีมากคณะด้วยกัน นอกจากนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอหลายพระองค์ ด้วยกันทรงหัดกระบี่กระบองจนครบวง ในปีขาล พุทธศักราช 2409 เป็นปีที่กําหนดให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี ครั้นเมื่อทรงผนวชแล้ว โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ แต่พระองค์อย่างราชกุมาร ซึ่งเล่นกระบี่กระบอง เป็นการสมโภชที่หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านายที่ทรงกระบี่กระบองในครั้งนั้นคือ

คู่ที่ 1 กระบี่
เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์) พระองค์เจ้ากมลาศเลอสรร (กรมหมื่นราชศักดิสโมสร)
พระองค์เจ้าคัคนางคยุคล (กรมหลวงพิชิตปรีชากร)
คู่ที่ 2 พลอง
พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ (กรมหมื่นภูธเรศธํารงศักดิ์)
พระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์ (กรมหลวงอดิศรอุดมเดช)
คู่ที่ 3 จ้าว
พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ (กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม)
พระองค์เจ้าอุนากรรณอนันตนรชัย
คู่ที่ 4 ดาบสองมือ
พระองค์เจ้าชุมพลรัชสมโภช (กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์)

ประวัติกระบี่กระบองไทย

การเล่นกระบี่กระบองในสมัยรัชกาลนี้ เล่นกันแพร่หลายมากทั้งในงานโกนจุก งานบวชนาค งานทอดกฐินทาน งานทอดผ้าป่า ฯลฯ

ครั้งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงสนพระทัย ในวิชานาฏศิลป์ และทรงเข้าพระทัยในศิลปของวิชากระบี่กระบองก็ตาม แต่ก็ไม่ทรงโปรดปราน มากเท่ากับพระราชบิดาของพระองค์ดังนั้น ความนิยมในการเล่นกระบี่กระบองจึงเริ่มลดลง แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีการจัดกีฬาชนิดนี้ขึ้นถวายเพื่อให้ทอดพระเนตรบ้างเป็นครั้งคราว เช่น ในปีพุทธศักราช 2460 กับ 2462 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการแสดงกระบี่กระบองขึ้นถวายทอดพระเนตร ที่สนามหน้าสามัคยาจารยสมาคม เนื่องในงานกรีฑาประจําปี

ครั้นมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) กระบี่กระบองค่อย ๆ หมดไป ๆ จนเกือบจะหาดูไม่ค่อยได้ นับวัน แต่จะสูญสิ้นไปทุกที

อนึ่ง นับแต่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่ามาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยเมื่อปี 2475 รัฐบาลได้พยายามฟื้นฟูประเพณีโดยจัดให้มีงานฉลองวันขึ้นปีใหม่ อย่างครึกครื้น กระบี่กระบองก็ได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยได้จัดให้มีการแสดงกระบี่กระบอง ขึ้นที่สนามหลวงเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2482 ปรากฏว่าประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก จนกระทั่ง ปี 2484 ได้มุ่งฟื้นฟูกีฬาประเภทนี้อย่างแท้จริง ปรากฏว่ามีจํานวนคณะกระบี่กระบอง เพิ่มขึ้นมาก

วิชากระบี่กระบอง ได้ถูกนำมาทดลองสอน นักเรียนพลศึกษากลาง ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2478 โดยขณะนั้น อาจารย์ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้มีความสนใจและมีความรู้ทางด้านนี้มากคนหนึ่ง เป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนพลศึกษากลาง ได้ทดลองสอนอยู่ 1 ปี ได้ผลเป็นที่พึงพอใจของท่านผู้ใหญ่ จึงได้กําหนดวิชากระบี่กระบองเข้าไว้ในหลักสูตรของประโยคผู้สอนพลศึกษา เมื่อปี 2479 พวกนักเรียนที่จบไปก็ได้รับราชการเป็นครูสอนวิชาพลศึกษาตามจังหวัดต่าง ๆ ได้นําวิชานี้ไปเผยแพร่ ปรากฏว่าประชาชนคนไทยได้ให้ความสนใจในวิชาศิลปของชาติชนิดนี้มาก

บรมครูแห่งวิชากระบี่กระบอง

อาจารย์ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา บรมครูแห่งวิชากระบี่กระบอง

เมื่อมาถึง พ.ศ.2518 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายใหม่ และได้มีการกำหนดให้วิชากระบี่กระบองเป็นส่วนหนึ่งของวิชาพลศึกษา ในรายวิชาบังคับ ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 และต่อมาในปี พ.ศ.2521 กระทรวงศึกษาฯได้ประกาศหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นตามแนวแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520 และได้กำหนดวิชากระบี่ 1 เป็นวิชาบังคับเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นับแต่นั้นมา

ประวัติกระบี่กระบอง รวบรวมข้อมูลโดย Educatepark.com

ที่มาของคำว่า กระบี่กระบอง

คำว่า กระบี่กระบอง มีคำกล่าวถึงที่มาของคำนี้อยู่หลายประการ แต่ยังมีเหตุผลที่น่าคิดและน่าเชื่อถือได้อีก ประการหนึ่ง กล่าวคือ เรื่องรามเกียรติ์

กระบี่ หมายถึง หัวหน้าฝ่ายลิง (หนุมาน) ถือตรีหรือสามง่ามสั้น ๆ เป็นอาวุธ ลิงรูปร่างเล็กเคลื่อนไหวเร็ว แคล่วคล่องว่องไว ลูกน้องพลลิงทั้งหลายบางตัวก็ใช้พระขรรค์เป็นอาวุธ

ประวัติกระบี่กระบองจากวรรณกรรม หนุมาน

กระบอง หมายถึง พวกยักษ์ที่พกกระบองเป็นอาวุธ ยักษ์มีรูปร่างใหญ่โต เคลื่อนไหวช้า
เพราะฉะนั้นการจัดระเบียบเรียกแยกประเภท อาวุธที่ใช้แสดงต่อสู้ป้องกันตัวน่าจะมาจากการแยกฝ่ายยักษ์และลิง โดย ถือว่าลิงรูปร่างเล็กและผู้พากย์โขนมักเรียกขนานนามว่า ขุนกระบี่ ซึ่งหมายถึง หนุมานหัวหน้าลิง ซึ่งมีตรีหรือสามง่ามสั้นพกเป็นอาวุธประจำกาย และพลลิงตัวอื่น ๆ พกอาวุธสั้น เช่น พระขรรค์ เป็นต้น

ฉะนั้นคำว่า กระบี่ จึงถูกนำมาเป็นคำเรียกแยกให้รู้ว่าอาวุธสั้นทั้ง หลายจะรวมเรียกว่า กระบี่ ซึ่งมี ดาบ โล่ ดั้ง เขน ไม้ศอกสั้น มีดสั้น พระขรรค์ เคียว ขวาน ตรี สามง่ามสั้น และ สีโหล่

ส่วน กระบอง มาจาก ยักษ์ ที่ถือกระบองเป็นอาวุธยักษ์รูปร่างใหญ่โตและ การเคลื่อนไหวไม่ไวเท่าลิง อาวุธนี้จึงถูกจัดเรียกว่า กระบอง ไม่ว่าสั้นหรือยาวเป็นหัวหน้า ให้ความหมายรวมเป็นของยาวทั้งมวล ถ้าพูดตามความ จริงแล้วการเคลื่อนไหวการต่อสู้จะทำได้ดีซึ่งส่วนมากจะเป็นวงนอก ส่วนของสั้นจะทำได้ทั้งวงนอกและวงใน ฉะนั้นคำว่า กระบอง จึงถูกแยกเรียกเป็นที่รวมของอาวุธยาวที่ใช้แสดงทั้งหมด เช่น พลอง กระบอง ง้าวทุกชนิด โตมร ทวน หอก เป็นต้น

ประวัติกระบี่กระบอง จากวรรณกรรม

การเรียกกระบี่กระบองยังมีหลักฐานให้เห็นชัดในเรื่องอาวุธที่นิยมใช้แสดงและเล่นกัน คือ คู่ของไม้ศอกสั้นกับพลอง นั่นคือความหมายที่ถูกจัดให้เห็นว่า อาวุธสั้นคือลิง ผู้แสดงจะแสดงถึงหลักวิชาความคล่องแคล่วว่องไว ส่วนพลองหรือกระบองคือตัวแทนของยักษ์เป็นประเภทอาวุธยาว

ประวัติกระบี่กระบอง จบลงตรงนี้ ในส่วนต่อไป เป็นประโยชน์ของกระบี่กระบอง และการรำกระบี่กระบอง ซึ่งเป็นหนึ่งในภาคปฏิบัติของวิชากระบี่กระบอง และศิลปะวัฒนธรรมของไทย

ประโยชน์ของการเล่น กีฬากระบี่กระบอง

กระบี่กระบองย่อมมีคุณประโยชน์ต่อผู้เล่นเอนกประการ แต่สามารถสรุปรวมเป็นข้อ ใหญ่ ๆ ได้ 5 ข้อด้วยกันดังนี้ คือ

1. เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการป้องกันตัว ผู้ที่ได้ร่ําเรียนทางด้านนี้มาสามารถนํามาใช้ได้ใน ยามคับขัน เช่นในกรณีที่มีศัตรูจะทําร้ายเราเราก็สามารถนําวิชากระบี่กระบองมาใช้ป้องกันตัว ผ่อนหนักให้เป็นเบา คือแทนที่จะเจ็บตัวมากก็กลายเป็นเจ็บตัวน้อยลง หรืออาจจะไม่เป็นอะไร เลย และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถทําร้ายคู่ต่อสู้ได้อีกด้วย หรือในกรณีที่อาวุธของเราเสียเปรียบ เช่น เขามีดาบแต่เรามีไม้ เข้ามีไม้ยาวแต่เรามีไม้สั้น ราก็ยังเอาชนะได้ และ ขณะเดียวกันก็มีวิธีทำให้อาวุธของศัตรูเป็นประโยชน์แก่เราโดยกลับไปทำลายเจ้าของ ๆ มันเอง

2. กระบี่กระบองเป็นพลศึกษาที่ดีอย่างหนึ่ง กล่าวคือเป็นการออกกําลังกายโดยใช้ทุก ส่วนของร่างกาย คือ มีทั้ง ยืน เดิน วิ่ง นั่ง กระโดด ฯลฯ ต้องใช้กําลังพอสมควร เป็นกีฬา ที่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ไม่จําเป็นต้องเหมาะกับผู้ชายเท่านั้น นอกจากนี้ยังเป็นกีฬาที่สร้าง ความสนุกสนานให้ทั้งผู้เล่นและผู้ดใช้อุปกรณ์น้อยหาง่าย ทนทาน และการเล่นไม่เปลืองสถานที่ แต่ก็มีอันตรายบ้างในกรณีที่พลาดพลั้ง

3. กระบี่กระบองเป็นกีฬาที่ฝึกน้ําใจอย่างดีเลิศ ความกล้าหาญในเวลาเผชิญกับศัตรู ให้มีสติมั่นคง ฝึกความทรหดอดทนของร่างกาย เพราะในเวลาฝึกซ้อมไม่มีการใส่เกราะป้องกัน ตัว ผู้ฝึกอาจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ฟกช้ําดําเขียว แตกหรือหักบ้าง เนื่องจากในการฝึก กระบี่กระบองไม่มีกติกาห้ามหรือให้เว้นจากการตีส่วนนั้นส่วนนี้ของร่างกาย แต่ให้ตีได้ทุกที่เมื่อ มีโอกาส เพราะในการเผชิญหน้ากับศัตรูจริง ๆ นั้นก็ไม่มีกติกาเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ ผู้เล่นที่จะต้องป้องกันตัวเอง และจะต้องมีน้ําใจเป็นนักกีฬา จะถือโทษโกรธเคืองไม่ได้ใน กรณีที่ได้รับบาดเจ็บ ผู้เล่นจะต้องมีใจยุติธรรมและมีความรับผิดชอบ กล่าวคือต้องไม่ใช้วิชานี้ ไปในทางที่ผิด

ประโยชน์ของกีฬากระบี่กระบอง

สรุป ประวัติกระบี่กระบอง

4. ช่วยฝึกปฏิภาณไหวพริบความว่องไว เพราะการเล่นกระบี่กระบอง ผู้เล่นจะเผลอ ตัวไม่ได้เลย การเผลอตัวเท่ากับเป็นการเปิดช่องว่างให้ศัตรู สมองจะต้องสั่งการอยู่ตลอดเวลา อวัยวะทุกส่วนของร่างกายจะต้องทํางานสัมพันธ์กัน หูตาต้องไว ศัตรูจะเคลื่อนไหวทางไหน ต้องเห็นและรับรู้เสมอ แขน ขา มือ เท้า จะต้องเคลื่อนไหวให้สอดคล้องรวดเร็ว มิฉะนั้น จะพลั้งพลาดได้

5. วิชากระบี่กระบองเป็นศิลปการป้องกันตัวประจําชาติไทย มีทั้งประโยชน์ ความ สนุกสนานและความสวยงามทางด้านศิลปรวมอยู่ด้วย จึงทําให้กระบี่กระบองเป็นศิลปการแสดง ที่เชิดหน้าชูตาของไทย สามารถอวดชาวต่างชาติได้ จึงนับว่าเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของไทย เราที่ควรจะได้รับการฟื้นฟูและรักษาไว้

การรำกระบี่กระบอง ขึ้นพรหมนั่งกระบี่

การรำขึ้นพรหมสี่หน้า ถือเป็นประเพณีเบื้องต้นก่อนที่จะรำไม้รำ หรือฝึกตีไม้ต่าง ๆ มี 2 ท่า

  1. พรหมนั่งให้นั่งหันขวาเข้าหาคู่นั่งพรหมยืน
  2. กระบี่วางด้านข้างกายทางซ้าย
  3. ประนมมือ ถวายบังคม 3 ครั้ง
  4. ประนมมือวันทา แล้วหยิบกระบี่
  5. ยกกระบี่ข้ามศีรษะจัดอยู่ระดับเอวขวาศอกแนบชิดลำตัวเป็นมุมฉาก เข้าขวาตั้งมือซ้ายจีบอก
  6. เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้าย โล้ตัวไปข้างหน้า รำหน้า
  7. หมุน 180 องศา กลับทางขวา กระบี่อยู่ที่เอวซ้ายรำข้าง เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้ายพร้อม วาดกระบี่ออกนั่งคุมรำ
  8. โล้ตัวไปด้านหน้า รำหน้า หันทางขวา 90 องศา กระบี่อยู่ที่เอวซ้าย รำข้าง เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้าย นุ่งคุมรำ
  9. โล้ตัวไปด้านหน้า ลุกขึ้นยืน ลากเท้าชิดขวาเท้าซ้าย ยกเท้าซ้าย รำหน้า วางเท้าหมุน 180 องศาทางขวา กระบี่อยู่ที่เอวซ้าย รำข้างระดับคิ้ว ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวา พร้อมวาดกระบี่ออกทางขวา วางเท้าอยู่ในท่ายืนคุมรำ (จะหันหน้าเข้าหาคู่ต่อสู้)
  1. พรหมยืน ให้หันหน้าเข้าหาคู่พรหมนั่ง วางกระบี่ปลายชี้ไปข้างหน้าห่างกึ่งกลางเข่าทั้งสองพอประมาณ
  2. ประณมมือ ถวายบังคม 3 ครั้ง
  3. ประณมมือ วันทา แล้วหยิบกระบี่ทัดหูเฉียง 45 องศา ตั้งเข่าซ้าย
  4. จ้วงกระบี่ด้านหน้า ลุกขึ้นยืนหันทางขวา 90 องศา หงายมือโกร่งอยู่ด้านบนกระบี่ เฉียง 45 องศารำข้างเสมอคิ้ว
  5. ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า เปลี่ยนกระบี่ทัดหู ลากเท้าขวาไปข้างหน้าเปลี่ยนหงายกระบี่เฉียง 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวา รำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวา หมุน 180 องศา บิดตัวทางซ้าย
  6. ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้ายยกเข่าซ้ายจ้วงกระบี่พร้อมก้าวเท้าขวาหงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวายกเท้าขวารำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวามาทางด้านขวา หันหน้าไปทางซ้ายมือ 90 องศา ท่าทัดหู
  7. ยืนในท่าทัดหูลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเข่าซ้าย จ้วงกระบี่ พร้อมวางเท้าซ้าย แล้วก้าวเท้าขวาหงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวารำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวา หมุน 180 องศา บิดตัวทางซ้าย
  8. ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเข่าซ้าย จ้วงกระบี่พร้อมวางเท้าซ้าย และก้าวเท้าขวา หงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวายกเข่าขวา รำข้างเสมอคิ้ว ควง 2 รอบ ยืนคุมรำ เสร็จแล้ว ตรง

.

ท่ารำกระบี่กระบอง ไม้รำกระบี่กระบอง

ไม้รำกระบี่กระบอง 12 ไม้รำ

1. ไม้รำที่ 1 ลอยชาย ทิศในการเดิน เดินเฉียงแบบสลับฟันปลาเริ่มจากท่าคุมรำ

  1. ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปขวา วางเท้าซ้ายลงหน้าเท้าขวาลักษณะทำกึ่งขวาหันโล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอเล็กน้อย
  2. ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ลำตัวตรง รักษาระดับกระบี่ให้ขนานพื้น
  3. ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้น แล้วใช้มือซ้ายรำหน้าให้ตัวนิ่ง
  4. หมุนตัวไปทางซ้าย 1 มุมฉากวางเท้าซ้ายลงพร้อมกับวางกระบี่ ให้กระบี่ขนานกับพื้นไปทางซ้ายของลำตัวระดับเอว ปลายกระชี่ชี้ไปข้างหน้า มือซ้ายจีบที่หน้าอก
  5. ก้าวเท้าขวาเลยเท้าซ้ายไปข้างหน้า
  6. ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา
  7. ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้นพร้อมก้มเหยียดแขนซ้ายอกรำข้าง
    (จบไม้รำที่ 1 ลอยชาย)

2. ไม้รำที่ 2 ควงทัด ทิศทางในการเดินสลับปลาจากท่าคุมรำ

  1. จะเริ่มจากท่าคุมรำให้ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางเท้าขวา วางเท้าซ้ายลงหน้าเท้าขวา ลักษณะกึ่งขวาหัน พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ ยกขึ้นทัดหู ปลายกระบี่ 45 องศา โล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอเล็กน้อย
  2. ก้าวเท้าขวาชิดซ้ายช้า ๆ ลำตัวตรง (ทรงตัวให้นิ่ง)
  3. ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉากปลายเท้างอ ลำตัวตั้งตรง (ทรงตัวให้นิ่ง)
  4. หมุนตัวไปทางซ้ายเฉียงซ้ายลักษณะยกเท้าซ้าย พร้อมจ้องปลายกระบี่ลงข้างหน้าแล้วพลิกข้อมือหงายให้ปลายกระบี่ชี้เฉียงด้านหน้าประมาณ 45 องศา
  5. ก้าวเท้าชิดเท้าขวา ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉากต่อกับข้อศอกขวา ปลายเท้างอขึ้นพร้อมกับมือซ้ายรำข้าง
    (จบไม้รำที่ 2 ควงทัด)

3. ไม้รำที่ 3 เสือลากหาง ทิศทางในการเดิน เดินตรงไปข้างหน้าเริ่มจากท่าคุม

  1. ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้าเข่าซ้าย งอเท้าขวาเหยียดตึง น้ำหนักตัวค่อนไปเท้าหน้า คือเท้าซ้าย
  2. ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ทำช้า ๆ ลำตัวตรง หน้าตรง รักษาระดับกระบี่ให้ขนานพื้น
  3. ถ่ายน้ำหนักตัวลงที่เท้าขวา พร้อมกับยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ลำตัวตรง แล้วใช้มือซ้ายรำหน้า
  4. ถ่ายน้ำหนักตัวไปข้างหน้าพร้อมกับวางเท้าซ้ายลงพื้น แล้วพลิกตัวทำกลับหลังหันเท้าทั้งสองเป็นจุดหมุน พร้อมกับโล้ตัวไปเท้าขวา พลิกปลายกระบี่ชี้ลงพื้น โกร่งกระบี่หันออก มือซ้ายจีบเข้ากลางหน้าอก
  5. ถ่ายน้ำหนักตัวไปเท้าซ้าย ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก หมุนตัวทางขวามือทำกลับหลังหัน โดยใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน ลดกระบี่ไว้ข้างเอว ทางซ้ายมือ
  6. วางเท้าขวาลงข้างหน้า แบมือว้าย แตะกระบี่ที่อยู่ข้างเอว โล้ตัวไปเท้าขวา ลำตัวตรง เท้าซ้ายเหยียดตรง
  7. ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ลักษณะย่อตัวเล็กน้อยเพื่อความสวยงาม ลำตัวตั้งตรงสายตามองตรงไปข้างหน้า กระบี่ขนานพื้น มือซ้ายยังคงแตะอยู่ที่กระบี่เอวซ้าย
  8. ยกเข่าขวาขึ้นให้ตั้งฉาก พร้อม ๆ กับมือซ้ายรำข้าง
    (จบไม้รำที่ 3 เสือลากหาง)

4. ไม้รำที่ 4 ตั้งศอก ทิศทางในการเดิน เดินเฉียงสลับฟันปลา เริ่มจากท่าคุม

  1. ก้าวเท้าซ้ายเฉียงทางขวา พร้อมกับควงกระบี่ลงข้างหน้า 2 รอบ และยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ลำตัวไปข้างหน้า น้ำหนักลงที่เท้าซ้าย เข่าซ้ายงอเล็กน้อย เท้าขวาเหยียดตึง ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา
  2. ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายช้า ๆ สายตามองที่ปลายกระบี่ ลำตัวตรง
  3. ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้น พร้อมกับมือซ้ายตั้งศอก แบมือเรียงชิดติดกัน ให้ศอกตั้งบนเข่าซ้าย ปลายนิ้วแตะที่ตัวกระบี่ลำตัวตั้งตรง
  4. ค่อย ๆ หมุนตัวไปทางซ้าย เพื่อทำเฉียงซ้าย ลดมือซ้ายลงจีบที่กลางหน้าอก พลิกข้อมือขวาหงายขึ้นให้โกร่งกระบี่หันเข้าหาตัว พร้อมกับวางเท้าซ้ายลงพื้น
  5. ก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางซ้าย วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับโล้ตัวไปให้น้ำหนักลงที่เท้าขวา งอเข่าขวาเล็กน้อยลำตัวตั้งตรง
  6. ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ช้า ๆ เพื่อความสวยงาม ลำตัวตรง ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา สายตามองที่ปลายกระบี่
  7. ยกเข่าขวาขึ้นตั้งรองรับข้อศอกขวา ตัวตรงนิ่ง พร้อมกับใช้มือซ้ายรำข้าง
    (จบไม้รำที่ 4 ตั้งศอก)

5. ไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง ทิศทางการเดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ

  1. ก้าวเท้าซ้ายเดินตรงไปข้างหน้า พร้อมกับควงกระบี่ไปข้างหน้า 2 รอบ ยกขึ้นทัดหู วางเท้าซ้ายลงพื้นหน้าเท้าขวา โล้ตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยกระบี่ชี้ 45 องศา ลำตัวตรง
  2. ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายช้า ๆ สายตามองที่ปลายกระบี่ ลำตัวตรง
  3. ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้น จะต้องยืนให้มั่นคงนิ่งไว้ประมาณ 5 วินาที
  4. วางเท้าซ้ายลงข้างหน้าตรง ๆ โล้ตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย (เพื่อที่จะยกเท้าขวาก้าวต่อ)
  5. ขณะที่วางเท้าซ้ายลงข้างหน้าตรง ๆ ให้จ้วงกระบี่ลงข้างหน้าปลายกระบี่เฉียงไปข้างซ้ายลำตัว พร้อมกับจ้วงเท้าขวาไปข้างหน้าอีก 1 ก้าว เรียกว่า “จ้วงหน้า”
  6. วางเท้าขวาหน้า พร้อมกับพลิกข้อมือให้โกร่งกระบี่หันเข้าหาตัว ปลายกระบี่ชี้ขึ้น 45 องศา โล้ตัวไปข้างหน้าน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา
  7. ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวาขึ้นตั้งรองรับข้อศอกขวา ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา ลำตัวตรง มือซ้ายค่อย ๆ รำข้าง ประมาณ 5 วินาที จึงจีบเข้าไว้กลางหน้าอกเช่นเดิม
  8. วางเท้าขวาลงพื้นข้างหน้า พร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายมือกลับหลังหัน ยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ตัวไปข้างหน้า น้ำหนักตัวที่เท้าซ้ายเข่าซ้ายงอเล็กน้อย
  9. ยกเข่าซ้ายขึ้น พร้อมกับจ้วงกระบี่ลงข้างหน้า ถอยเท้าซ้ายไปวางหลังเท้าขวาพลิกข้อมือขวาหันโกร่งกระบี่เข้าหาตัวปลายกระบี่ชี้ขึ้น 45 องศา โล้น้ำหนักตัวไปเท้าขวาเล็กน้อย เรียกว่า “จ้วงหลัง”
  10. โล้ตัวกลับน้ำหนักตัวลงเท้าซ้ายพร้อมกับยกเข่าขวาขึ้นรองรับข้อศอกขวา ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา ลำตัวตรงพร้อมกับมือซ้ายรำข้าง
    (จบไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง) ถ้าต้องการรำต่อให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ จังหวะที่ 1 ถึง จังหวะที่ 10 โดยหมุนตัวกลับหลังหันใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุนพร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้าย ลักษณะคุมรำ

6. ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ

  1. ควงกระบี่ไปข้างหน้า 2 รอบ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว วางเท้าซ้ายลงพื้นพร้อมกับเหยียดแขนซ้ายรำหน้า ปกกระบี่ลงให้ปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา วางโคนกระบี่พาดบนนิ้วก้อย หันโกร่งกระบี่ออกไปข้างหน้า โล้ตัวให้น้ำหนักตัวไปเท้าซ้าย เรียกว่า ปกหน้า
  2. ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ก้มหน้า สายตามองที่ปลายกระบี่ (ทำช้า ๆ เพื่อความสวยงาม)
  3. ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ลำตัวตรง
  4. วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้า เท้าขวาพร้อมกับพลิกตัวทำกลับหลังหัน ควงกระบี่ 2 รอบ มือว้ายจีบเข้ากลางอก เมื่อกลับหลังหันแล้วให้ปกกระบี่ลง เหยียดมือซ้ายออกรำหน้า รองรับกระบี่ ปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา ก้มหน้าเล็กน้อย ถ่ายน้ำหนักตัวไปเท้าขวา เรียกว่า ปกหลัง
  5. ยกเท้าขวาขึ้นตั้ง มือซ้ายจีบเข้ากลางอก หมุนตัวกลับหลังหัน โดยใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน เพื่อหันกลับมาเริ่มในจังหวะที่ 1 ต่อไป
    (จบไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง) ถ้าต้องการจะรำต่อให้เริ่มปฏิบัติตาม จังหวะที่ 1 ถึงจังหวะที่ 5

7. ไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์ ทิศทางการเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ

  1. ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้าวางเท้าซ้ายโดยหันลำตัวทางขวา คล้ายทำขวาหัน ยืนในท่ายักษ์ คือการย่อเข่าทั้งสอง น้ำหนักตัวลงตรงกลาง ลำตัวตรง หน้าตรง ตัวกระบี่ขึ้นตรงวางไว้หน้าขาขวา ปลายกระบี่พาดช่วงไหล่ขวา
  2. เมื่อลำตัวนิ่งในท่ายักษ์แล้ว ให้สลัดหน้าไปทางซ้าย แล้วสลัดหน้าไปทางขวา
  3. สลัดหน้าตรงพร้อมกับยกกระบี่ขึ้นฟังให้ตรงข้างหน้าทางขวา 1 ครั้งทางซ้าย 1 ครั้ง โดยฟันเป็นลักษณะกากบาท
  4. เมื่อยก กระบี่ขึ้นฟันข้างหน้า ขวา – ซ้าย แล้วให้กลับอยู่ในท่ายักษ์
  5. ยกเข่าขวาตั้งฉากใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุนพลิกตัวกลับหลังหัน เมื่อกลับหลังหันแล้วให้วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้ายตัวตรง หน้ามองตรงพร้อมกับยกเท้าซ้ายหมุนตัวกลับหลังหันอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เท้าขวาเป็นจุดหมุน จะกลับมาอยู่คล้ายจังหวะที่ 4 ลักษณะท่ายักษ์ เมื่อตัวนิ่งแล้ว ให้สลัดหน้าทางซ้าย 1 ครั้ง ทางขวา 1 ครั้ง และกลับมาสู่ท่ายักษ์
    (จบไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์)

8. ไม้รำที่ 8 สอยดาว ทิศทางการเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ

  1. ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า เปลี่ยนวิธีจับกระบี่ใหม่ โดยใช้นิ้วชี้สอดขึ้นบนกระบี่ จับกระบี่ด้วยนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย พร้อมกับปล่อยปลายกระบี่หมุนลงล่าง โดยใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางคีบกระบี่ ขณะที่ปล่อยปลายกระบี่หมุนลงล่าง จับกระบี่โดยหงายมือขึ้น โกร่งกระบี่หันออก วางเท้าซ้ายลงพื้นทำขวาหัน ลดมือซ้ายใช้ฝ่ามือแตะที่ตัวกระบี่ ปลายกระบี่ชี้ลงพื้นเล็กน้อย
  2. ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ฝ่ามือซ้ายแตะที่กระบี่
  3. ยกเข่าซ้ายตั้งฉาก ยกกระบี่ขึ้นเล็กน้อย ฝ่ามือซ้ายแตะกระบี่
  4. ก้าวซ้ายตรงไปข้างหน้า พร้อมกับจ้วงกระบี่และสอดกระบี่ขึ้นข้างบน เรียกว่า “สอยดาว” พร้อมกับก้าวเท้าขวาเดินอีก 1 ก้าว ทำกลับหลังหัน
  5. พลิกข้อมือกระบี่ตั้งขึ้นหันโกร่งกระบี่ออก งอเข่าทั้งสองข้างลำตัวตั้งตรง มือซ้ายจิ้มเข้ากลางหน้าอก
  6. ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าหลัง
  7. ยกเข่าขวาตั้งฉาก เมื่อตัวนิ่งแล้วมือซ้ายเหยียดออกรำหน้า
  8. วางเท้าขวาลงพื้น พลิกข้อมือที่จับกระบี่หงายมือขึ้นแบฝ่ามือซ้ายหันฝ่ามือลง แตะปลายกระบี่ ถ่ายน้ำหนักตัวไปเข่าขวา ยกเข่าซ้ายตั้งฉากเพื่อเดินตรงไปข้างหน้า
  9. พลิกข้อมือหันโกร่งกระบี่ออกนอกลำตัว ปลายกระบี่ชี้ขึ้นข้างบนประมาณ 45 องศา มือซ้ายจีบเข้ากลางหน้าอก ย่อเข่าทั้งสองเล็กน้อย
  10. ยกเข่าขวาตั้งฉากให้ตัวนิ่งแล้วมือซ้ายรำหน้า
    (จบไม้รำที่ 8 สอยดาว) ถ้าต้องการรำต่อ หรือเข้าสู่ท่าคุมรำ ให้วางเท้าขวาลงบนพื้น ยกกระบี่ ขึ้นควง 2 รอบ อยู่ในท่าคุมรำ

9. ไม้รำที่ 9 ควงแตะ ทิศทางการเดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ

  1. ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า วางเท้าซ้ายลงพร้อมกับทำขวาหัน ควงกระบี่ 2 รอบ เหยียดมือซ้ายรองรับปลายกระบี่ ที่ขนานกับพื้น หันโกร่งกระบี่ออกเรียกว่าควงแตะ งอเข่าทั้ง 2 เล็กน้อย ลำตัวตรง
  2. ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก ใช้เท้าเป็นจุดหมุนกลับหลังหัน พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ วางเท้าขวา ลงพื้นในทิศทางตรงไปข้างหน้า เช่นเดียวกับจังหวะที่ 1 แต่หันหน้าตรงข้ามกัน
  3. ย่อเข่าทั้งสองเล็กน้อยลำตัวตั้งตรงกระบี่ขนานพื้น หน้ามองตรง
  4. ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ทำช้า ๆ ให้ลำตัวนิ่ง
  5. ยกเข่าขวาตั้งฉาก
    (จบไม้รำที่ 9 ควงแตะ) ถ้าต้องการรำต่อก็เริ่มต้นตั้งแต่ จังหวะที่ 1 โดยการวางเท้าขวาลงพื้นและก้าวเท้าซ้ายหมุนตัวกลับหันหลัง พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ

10. ไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้า, กลับหลังหัน, ขวาหัน เริ่มจากท่าคุมรำ

  1. ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ ยกขึ้นปก (แขนขวาแนบที่หูขวาคว่ำปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา โกร่งกระบี่หันออก โล้ตัวไปหน้าให้น้ำหนักตัวลงที่เท้าซ้าย ก้มหน้าเล็กน้อย มือซ้ายเหยียดออกคล้ายรำหน้า นิ้วชิดติดกัน หันฝ่ามือออกให้โคนกระบี่วางที่กลางนิ้วก้อย)
  2. ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย พยายามย่อเข่าทั้ง 2 ลงเล็กน้อย เพื่อความสวยงาม
  3. ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ให้ตัวนิ่งไว้ระยะหนึ่ง
  4. วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้าค่อย ๆ ยกปลายกระบี่ชี้ขึ้น มือทั้งสองทำท่าแหวก หรือท่าว่ายน้ำ ท่ากบ ซึ่งเรียกว่า แหวกฟองน้ำ ให้แขนทั้งสองเสมอไหล่ และขนานกับพื้น หันโกร่งกระบี่ออก ย่อเข่าซ้าย น้ำหนักตัวโล้ไปเท้าซ้าย
  5. วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้าพลิกตัวกลับหลังหันโดยหมุนตัวทางขวา รวมทั้งแขนทั้งสองมาป้องข้างหน้า โดยแบมือซ้ายหันฝ่ามือลงพื้นให้กระบี่ตั้งขึ้นอยู่ในง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้งอข้อศอกทั้งสองยกขึ้นขนานกับพื้นอยู่เหนือสายตา
  6. ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก
  7. ใช้เท้าซ้ายเป็นหลัก หมุนตัวไปทางขวา (ทำขวาหัน) พร้อมกับวางเท้าขวาลงข้างหน้า ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้นตั้งฉาก
    (จบไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ)

11. ไม้รำที่ 11 ลดล่อ ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้าโดยการพลิกตัวขวา – ซ้าย เริ่มจากท่าคุมรำ

  1. จากท่าคุมรำลดกระบี่ลง แขนงอเล็กน้อย กระบี่ขนานพื้น มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกแขนขึ้นระดับหน้าผาก หันหน้ามองลอดแขนไปทางปลายกระบี่ ย่อตัวให้น้ำหนักตัวลงที่เท้าขวา ลักษณะนี้เรียกว่า “ลด”
  2. ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว ยกเท้าขวาหมุนตัวกลับหลังหัน โดยหมุนตัวทางขวามือ วางเท้าขวาหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายกำหลวม ๆ ลดลงระหว่าหน้าขาซ้ายงอข้อศอกเล็กน้อยยกกระบี่ขึ้นแขนงระดับหน้าผาก ก้มหน้า หันหน้ามองปลายกระบี่เสมอ โล้ตัวไปข้างหน้า น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา ลักษณะนี้เรียกว่า “ล่อ”
    (จบไม้รำที่ 11 ลดล่อ) ถ้าต้องการรำต่อ ให้ก้าวเท้าซ้ายสอดไปหลังเท้าขวา และวางเท้าขวาข้างหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับพลิกตัวกลับหลังทางซ้ายมือ กลับอยู่ท่าคุมรำ หรือทำจังหวะที่ 1 ต่อไป

12. ไม้รำที่ 12 เชิญเทียน ทิศทางเดิน เดินสลับฟันปลาเฉียงขวา เฉียงซ้าย เริ่มจากท่าคุมรำ

  1. ก้าวเท้าซ้ายไปทางขวากึ่งขวาหัน ตั้งกระบี่ขึ้นเอามือซ้ายไปรองด้ามกระบี่ โดยแบมือขึ้น โล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า
  2. ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายทำช้า ๆ
  3. ยกเท้าซ้ายขึ้นให้เข่าตั้งฉาก ลำตัวตรง
  4. ให้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน หมุนตัวไปเฉียงซ้าย พร้อมกับวางเท้าซ้ายลงกึ่งซ้ายหันโล้น้ำหนักตัวไปเท้าหน้า คือเท้าซ้าย ลำตัวตรงนิ่งไว้ระยะหนึ่ง จึงก้าวเท้าขวาเดิน 1 ก้าว วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้าย ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา
  5. ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก มือว้ายรำโดยการพลิกให้ฝ่ามือหันออก หลังมืออยู่หน้าโกร่งกระบี่
    (จบไม้รำที่ 12 เชิญเทียน) ถ้าต้องการรำต่อ ก็ให้หมุนตัวเฉียงมาทางขวามือ และปฏิบัติเช่นเดียวกับจังหวะที่ 1 หรือควงกระบี่ 2 รอบ อยู่ในท่าคุมรำ

ท่าไม้รำทั้ง 12 ไม้รำ (youtube extenal)

ท่ารำ 12 ไม้รำ youtube

ท่ารำ 12 ไม้รำ youtube | ประวัติกระบี่กระบอง

เรียนการโรงแรมที่สวิตเซอร์แลนด์

หมวดอุปกรณ์การเล่นกระบี่กระบอง

1. สนาม ไม่จํากัดขอบเขต บริเวณ จะเล่นในที่แจ้งหรือที่ร่มก็ได้ แต่ควรจะมีบริเวณ กว้างพอสมควร ไม่มีสิ่งกีดขวาง เพราะการเล่นกีฬาชนิดนี้มีทั้งรุกและรับ ถ้าบริเวณแคบจะ ทําให้เล่นได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งที่อยู่ใกล้เคียงได้ด้วย

2. เครื่องกระบี่กระบอง เครื่องกระบี่กระบองได้จําลองดัดแปลงมาจากเครื่องอาวุธ ของไทยในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นอาวุธที่ใช้ในระยะประชิดตัวหรือขั้นตะลุมบอน อันได้แก่ กระบี่ ดาบ กั้นหยัน หอก ทวน ง้าว ของ้าว โตมร แหลน หลาว ตะบอง พลอง มีด และกริช ส่วน เครื่องป้องกันอาวุธนั้นมี ดั้ง เขน และโล่ห์ ส่วนเครื่องกระบี่กระบองนั้นมี กระบี่ ดาบ ง้าว พลอง ดั้ง เขน โล่ห์ และไม้สั้น แต่เครื่องกระบี่ที่จําลองจากอาวุธจริง ๆ นั้นมีเพียง กระบี่ ดาบ ง้าว และพลองเท่านั้น ส่วนที่เหลือก็เอาของจริงมาเล่น อุปกรณ์เหล่านี้ นักกระบี่กระบอง มักเรียกว่า เครื่องไม้

ประวัติกระบี่กระบอง อุปกรณ์กระบี่กระบองที่ใช้เรียน

อุปกรณ์กระบี่กระบองที่ใช้ในการเรียน

เครื่องกระบี่ทั้งหมดแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. เครื่องไม้รำ ได้แก่เครื่องกระบี่ที่จําลองมาจากอาวุธจริง มุ่งทางด้านสวยงาม มี ลวดลายวิจิตร บอบบางไม่แข็งแรง ใช้สําหรับคําอวดกันเวลารําจะต้องระวังไม่ให้เครื่องไม้ กระทบกัน จะต้องระวังที่สุด แต่บางครั้งใช้อาวุธจริงแทนก็มี

2. เครื่องไม้ตี ได้แก่เครื่องกระบี่ที่จําลองมาจากอาวุธจริง แต่เอาไว้สําหรับตี ดังนั้น ต้องทําให้เหนียว แข็งแรง เบา และทนทาน

เครื่องกระบี่กระบองที่จะอธิบายต่อไปนี้ จะแยกเป็นลักษณะของอาวุธจริง ลักษณะ จําลองมาเป็นเครื่องไม้ และลักษณะจําลองมาเป็นเครื่องไม้ตี

กระบี่

กระบี่จริง มีลักษณะแบนตรง และปลายแหลม ยาวประมาณ 90 ซ.ม. ทําด้วย เหล็ก ใช้สําหรับฟันและแทง น้ําหนักไม่สู้มาก พอเหมาะสําหรับถือมือเดียว โดยมากมักทําให้ พอเหมาะกับมือผู้ใช้เพื่อจะได้ใช้ได้คล่องและถนัดมือ

กระบี่ประกอบด้วย ตัวกระปี ด้ามกระบี โกร่งกระบี และฝักกระบี่

ตัวกระบี่ มีรูปตรง แบน ปลายแหลม น้ําหนักส่วนมากไปตกอยู่ที่ด้าม และเพื่อให้ น้ําหนักมีน้อยในตอนปลายและตอนกลางในระหว่างคมและสันจึงทําเป็นร่องทั้งสองข้าง ริม ของร่องตอนบนจึงนูนเป็นสันขึ้นมาและตอนท้ายของตัวกระบีนี้ได้บากเนื้อเหล็กเรียวลงไป เพื่อทํากันสําหรับติดกับด้าม
ด้ามกระบี่ สวมติดอยู่กับกันของกระบี่อย่างแน่นหนา ยาวประมาณ 12 ซ.ม. โตพอ ให้มือกําได้อย่างถนัดและมั่นคง
โกร่งกระบี่ มีรูปร่างคล้ายตะกร้อสอยผลไม้ ซึ่งทําด้วยแผ่นเหล็กโปร่ง ติดแน่นอยู่ กับหัวและท้ายของด้ามกระบี่ มีไว้เพื่อป้องกันข้าศึกฟันถูกมือผู้ถือกระนั้น
ผักกระบี่ ติดปลอกสําหรับสวมกระบุไว้ในเมื่อยังไม่ถึงคราวที่จะใช้กระนั้น รูปร่างลักษณะคล้ายกับตัวกระบี่ ทําด้วยโลหะหรือหนังหรือไม้ ข้างในฝักมีหนังอ่อนหรือผ้าสักหลาดกรุ เพื่อป้องกันเสียงการเสียดสีระหว่างตัวกระบีและฝึก

กระบี่ มีรูปร่างลักษณะเหมือนกระบี่จริง ยาวประมาณ 100 ซ.ม. โดยมากตัว กระบี่ทําด้วยหวายเทศ ใหญ่กว่าหัวแม่มือเล็กน้อย ส่วนปลายเล็กเรียว และถักด้วยเชือกเส้น เล็ก ๆ โดยรอบ แล้วลงรักปิดทอง ด้ามถักและหุ้มด้วยกํามะหยี โกร่งทําด้วยหนังทึบทั้งแผ่น ลงรักปิดทอง ซึ่งเขียนลวดลายไทย เช่น ลายเทพพนม หรือลายลดน้ํา เป็นต้น กระบี่รํานี้ บางทีเขาก็ทําด้วยไม้ แล้วประดับด้วยกระจกชิ้นเล็ก ๆ เป็นลวดลายตลอดวัน

กระบี่ดี ทําเช่นเดียวกันกับกระบี่รําทุกประการ ส่วนตอนที่ถักและโกร่งทําด้วยรักโดย ตลอด การที่ทําด้วยหวายเทศนี้ก็เพราะหวายชนิดนี้เบาและเหนียวดีมาก แต่ถ้าหวายเทศหาไม่ ได้จริง ๆ แล้วจะใช้หวายโปร่งแทนก็ได้ แต่ไม่ดีเท่า เพื่อให้กีฬานี้สนุกสนานเผ็ดร้อนยิ่งขึ้น จึงมีคณะกระบี่กระบองหลายคณะจัดทํากระบี่รบขึ้นเป็นพิเศษ คือ ตัว ด้าม และโกร่งยังคง เหมือนเดิม แต่ส่วนปลายของตัวกระบี่ต่อด้วยหนังควายที่ควั่นไว้เป็นเกลียวแล้วถักหุ้มด้วยเชือก เส้นเล็ก ๆ แล้วทาด้วยรัก ปลายกระบี่ก็จะโอนอ่อนไปมาดุจแซ่ ผู้เล่นจะต้องตั้งรับให้ดี ถ้าผู้เล่น รับลึกให้ถูกตรงปลายหวายเข้า ปลายแส้ก็จะตวัดไปถูกตัว และถ้ารับตรงปลายแส้ แส้ก็จะรับ ไว้ไม่อยู่ จะหลุดเลื่อนไปโดนตัวจนได้ ผู้ที่จะเล่นแบบนี้ต้องรู้จักอดทนต่อความเจ็บปวด

ดาบ

ดาบจริง เป็นอาวุธใช้สําหรับฟันและแทง ตัวด้ามทําด้วยเหล็กอย่างดี มีรูปแบน และโค้งตอนปลายเล็กน้อย โดยทั่ว ๆ ไปของดาบนั้นตอนโคนเล็กแล้วค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นตามลําดับ ตรงกลางจะป๋องและใหญ่แล้วค่อย ๆ เล็กลงจนปลายแหลม ยาวประมาณ 90 ซ.ม. น้ําหนัก ส่วนมากไปตกอยู่ตอนปลาย ทั้งนี้ก็เพราะต้องการให้เป็นการเพิ่มกําลังในเวลาฟัน

ดาบประกอบไปด้วย ตัวดาบ กะบังดาบ และฝักดาบ

ดาบรำ มีลักษณะคล้ายดาบจริง แต่ปลายตัด ทําด้วยไม้เบา ๆ แล้วลงรักปิดทอง หรือประดับด้วยกระจกเล็ก ๆ เพื่อความสวยงาม
ดาบตี มีลักษณะคล้าบดาบ แต่โดยมากมักทําด้วยหวายโปร่ง เพราะมีคุณสมบัติ พิเศษ คือเบา และเหนียว ไม่นิยมใช้หวายเทศ เพราะมีขนาดเล็กเกินไป

ง้าว

ง้าวจริง เป็นอาวุธสําหรับฟันและแทง ตัวจ้าวทําด้วยเหล็กอย่างดี มีรูปแบนและ โค้งตอนปลายเล็กน้อย ยาวประมาณ 220 ซ.ม. ใช้ต่อสู้ในระยะไกลเพราะมีด้ามยาวมาก นอกจาก จะใช้ต่อสู้กันบนพื้นดินแล้ว เขามักสู้กันบนหลังช้าง ซึ่งเติมขอเข้าไปที่โคนตัวจ้าวสําหรับใช้บังคับช้างที่เราเรียกกันว่า “ของ้าว”

ง้าวประกอบด้วย ตัวง่าย ด้ามง้าว และกะบังข้าว

ง้าวรำ มีลักษณะเช่นเดียวกับง้าวจริง แต่ทําให้งดงามขึ้น
ง้าวตี คล้ายกับง้าวรํา ทําด้วยหวายโปร่ง ตัวงาวโดยมากจะหุ้มด้วยผ้าหนา ๆ หรือ สักหลาด เพื่อมิให้เจ็บปวดมากในเวลาฟันถูกผู้เล่น

พลอง หรือ สี่ศอก

พลองจริง เป็นอาวุธใช้สําหรับตี เป็นท่อนกลมยาว 4 ศอก ใหญ่เท่ากันตลอดด้าม ทําด้วยไม้หรือ โลหะก็มี เวลาใช้ให้จับตรงกลางแล้วใช้ได้ทั้ง 2 ด้าน

พลองรำ ลักษณะคล้ายพลองจริง โดยมากทําด้วยรากไทรย้อย เพราะมีคุณสมบัติ ตรง เบา เหนียว เลือกเอาที่มีลายสวย ๆ ขัดให้ขึ้นเงา ตอนปลายหุ้มด้วยผ้ากํามะหยี่ ผ้ายก หรือผ้าแพรสวย ๆ
พลองตี ใช้รากไทรย้อยทําเช่นกัน แต่ไม่สวยเท่าไม้ร่ ตอนปลายหุ้มด้วยสักหลาด

ตั้ง

ตั้งเป็นเครื่องป้องกันอาวุธชนิดหนึ่ง ใช้คู่กับดาบ ใช้ป้องกันเวลาข้าศึกฟันหรือแทง มาเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว ๆ โอ้ง กว้างประมาณ 15 ซ.ม. ยาวประมาณ 100 ซ.ม. ทําด้วยหนังสัตว์ หรือหวาย หรือไม้ปนกัน ประกอบด้วยตัวตั้งและมือถือ

เขน

เป็นเครื่องป้องกันตัวใช้คู่กับดาบ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบน ๆ ทําด้วยหนังดิบ ด้าน นอกมักลงรักปิดทอง ทําลายสวยงาม ด้านในมีมือถือเช่นเดียวกับตั้ง

โล่ห์

เป็นอาวุธป้องกันตัว มีลักษณะกลม ตรงกลางนูนคล้ายกะทะ ทําด้วยหนังสัตว์ดิบ หรือหวายสานหรือโลหะ ด้านในมีห่วงติดอยู่ 2 ห่วง ห่วงหนึ่งใช้สําหรับสอดแขนเข้าไป อีก ห่วงหนึ่งใช้สําหรับจับกําให้แน่น โล่ห์นี้ใช้คู่กับดาบ

ไม้สั้น

ใช้สวมเข้ากับแขนท่อนปลายทั้งสองเวลาสู้กับพลอง เป็นท่อนไม้ไทรยาวประมาณ 45 ซ.ม. กว้างและสูงประมาณ 7 ซ.ม. ด้านในทําโค้งเพื่อติดแนบกับแขนท่อนปลายตั้งแต่มือ ขึ้นไปถึงข้อศอก ถ้าผู้เล่นไม้สั้นมีฝีมือดีก็จะสามารถเอาชนะพลองได้

.

เครื่องกระบี่กระบอง

เครื่องดนตรีประกอบการเล่น | ประวัติกระบี่กระบอง

เครื่องดนตรีประกอบการเล่นกระบี่กระบอง

การมีเครื่องดนตรีประกอบการแสดงกระบี่กระบองและมวยไทยนี้ เราได้รับอิทธิพลมาจากพวกแขกชวา โดยพวกแขกชวาจะใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการเล่น กริช หอกซัด และมวย เครื่องดนตรีที่ใช้ก็มี “ปีชวาและกลองแขก” เท่านั้น เมื่อไทยเราเห็นดีจึงนํามาใช้บ้าง แต่ได้เพิ่มนิ่งเข้าไป ซึ่งช่วยให้ดนตรีฟังสนุกสนานและเร้าใจขึ้น ฉะนั้นเครื่องดนตรีประกอบการเล่นกระบี่กระบองทั้งหมดจึงมี
1. ปีชวา
2. กลองแขกตัวผู้ (เสียงสูง)
3. กลองแขกตัวเมีย (เสียงต่ํา)
4. นิ่งจับจังหวะ

ประโยชน์ของเครื่องดนตรีประกอบการเล่น

1. เพิ่มความสนุกสนานครึกครื้นให้แก่ทั้งผู้เล่นและคนดู นับตั้งแต่เริ่มโหมโรง จะ ทําให้ผู้เล่นมีความกระปรี้กระเปร่าและมีกําลังใจ ผู้ดูก็กระตือรือร้นอยากจะดู และในขณะมี การแสดงดนตรีประกอบ จะช่วยเพิ่มรสชาติให้สนุกยิ่งขึ้น
2. ปีกลองจะช่วยปลุกใจผู้เล่น ในเวลารํากลองจะโยนห่าง ๆ แต่เมื่อเข้าตีกับกลอง จะเร่งจังหวะให้ถเข้า หนุนให้ผู้เล่นเกิดความกล้าหาญมากขึ้น
3. ปีกลองใช้ประกอบการรํา การรํานั้นถือเป็นศิลปชิ้นสําคัญของวิชานี้ ผู้รําจะ ต้องทําให้สวยและถูกต้องตามแบบแผน เมื่อมีเครื่องดนตรีเข้าประกอบให้จังหวะ ผู้รําก็จะรํา ได้ถูกต้องและสวยงาม

การบรรเลง

ปีชวา กลองแขก ก็เป็นศิลปอย่างหนึ่ง กล่าวคือ การบรรเลงเพลงต้องให้เหมาะกับ ช่วงเวลาและอาวุธ เพลงที่จะใช้บรรเลงก็ต้องเลือกให้เหมาะกับการแสดง ซึ่งตามนิยมแล้ว ต้องแยกบรรเลงเป็น 3 ตอนดังนี้คือ

1. บรรเลงประกอบการไหว้ครู ซึ่งเป็นประเพณีที่นิยมกัน ผู้ที่เป็นหัวหน้าจะต้อง นําดอกไม้ธูปเทียนขึ้นทําการสักการะบูชาอาจารย์กระบี่กระบองหน้าเครื่องไม้ซึ่งมีผู้แสดงล้วน แต่เป็นศิษย์ห้อมล้อมอยู่ ปีกลองที่บรรเลงประกอบตอนนี้จะใช้เพลง ชมสมุทร เพลงโฉลก เพลงเกาะ หรือเพลงระกําก็ได้
2. โหมโรง หลังจากพิธีไหว้ครูแล้วจะต้องมีการโหมโรง เพลงที่ใช้ก็มี แขกโอด สารถี เยี่ยมวิมาน แขกไทร หรือเพลงสองชั้นอื่น ๆ ก็ได้
3. บรรเลงประกอบการรํา การรําอาวุธแต่ละชนิดนี้ใช้เพลงบรรเลงประกอบต่าง กันออกไป เช่น รํากระบี่ใช้เพลงกระบี่ลิ้นลา รําดาบสองมือใช้เพลงจําปาทองเทศหรือของ ทรงเครื่อง รําง้าวใช้เพลงขึ้นมา รําพลองใช้เพลงลงสรงหรือขึ้นพลับพลา สาบานใช้เพลงฝรั่ง รําเท้าหรือกราวนอก เป็นต้น

เครื่องแต่งกายของผู้เล่นกระบี่กระบอง

ในสมัยโบราณ นักกระบี่กระบองแต่งตัวแบบนักรบ คือสวมเสื้อยันต์ ไม่มีแขนเสื้อ กางเกงขากว้างยาวครึ่งน่อง ต่อมาในสมัยกลางเปลี่ยนจากกางเกงขากว้างมาเป็นนุ่งผ้าแบบเขมร ซึ่งไม่สะดวกแก่ผู้เล่นนัก เพราะเวลารําจะยกแข้งยกขาได้ไม่ถนัดนัก ปัจจุบันจึงเปลี่ยนมาแต่งกาย แบบนักกีฬาทั่วไป คือใส่กางเกงขาสั้นส่วนเสื้อนั้นจะมีแขนหรือไม่มีแขนก็ได้ สิ่งสําคัญที่สุดในจํานวนเครื่องแต่งกายทั้งหมด ซึ่งจะขาดเสียไม่ได้ คือ “มงคล”

มงคล คือสายสิญจน์เส้นเล็ก ๆ หลายเส้น มารวมนั้นเป็นเส้นเดียว ใหญ่กว่าหัว แม่มือเล็กน้อย ยาวพอขดรอบศีรษะของผู้ใหญ่ได้แล้วรวบปลายทั้งสองข้างเข้าไว้ด้วยกัน ฉะนั้น เมื่อขดเข้าแล้วจะมีรูปร่างคล้ายไข่ เพื่อความมั่นคงถาวรเขามักหุ้มด้วยผ้าตลอดอัน โดยปล่อย ปลายทั้ง 2 ยื่นออกมาพอสมควรเหมือนไส้หัวเทียนขี้ผึ้ง มงคลนี้จะนําเข้าประกอบพิธีทางพุทธ ศาสนาก่อนที่จะสวมให้ผู้เล่น
ผู้เล่นกระบี่กระบองทุกคนจะสวมมงคลไว้บนศีรษะ เพื่อเป็นศิริมงคลและสร้าง กําลังใจให้แก่ตัวเอง บางคณะ อาจารย์จะเป็นผู้สวมมงคลให้แก่นักกระบี่กระบอง

คำค้น : ประวัติกระบี่กระบอง ความเป็นมากีฬากระบี่กระบอง ท่ารำกระบี่กระบอง ประโยชน์ของกระบี่กระบอง

ขอบคุณข้อมูล ประวัติกระบี่กระบอง
กระทรวงวัฒนธรรม m-culture.go.th

กลับขึ้นไปด้านบน | ไปหน้า เกร็ดความรู้