6 วิธีในการจัดตู้เย็นเพื่อการเก็บอาหารสดพร้อมทริคง่าย ๆ เรามารู้จักการจัดตู้เย็นยังไงให้อาหาร หรือสิ่งของนั้นอยู่ได้นานกว่าเดิม แถมยังดูเป็นระเบียบเรียบร้อยกว่าเดิมกันดีกว่าค่ะ

การจัดตู้เย็น

  • ใส่ผลไม้ลงไปในที่เก็บที่โดนความชื้นน้อยที่สุด เพราะผลไม้จะเก็บได้นานหากว่ามันไม่โดนความชื้นมากจนเกินไป ตู้เย็นส่วนใหญ่จะมีที่เก็บพิเศษที่เป็นที่เก็บความชื้นต่ำ และบางครั้งก็จะมีติดเขียนว่า “Low Humnidity” หรือ “Crisper”
    แต่ถ้าเราวางแผนที่จะกินผลไม้เร็ว ๆ นี่ เราก็สามารถวางไว้ตรงกลางตู้เห็นได้ เพื่อที่เราจะได้ไม่ลืมค่ะ
    อีกวิธีหนึ่งก็คือพวกผลไม้เราอาจจะเก็บไว้ในถุงพลาสติก แต่ต้องไม่ใช่ถุงพลาสติกที่ปิดแน่นนะคะ เพราะไม่เช่นนั่นผลไม้จะสุกและเน่าเสียง่ายค่ะ

  • การเก็บผักให้เก็บไว้ในช่องที่โดนความชื้นสูง เพราะผักจะมีความสดใหม่ถ้าโดนความชื้นนะคะ
    แต่หากเราต้องการเก็บผักไว้นาน ๆ ห้ามล้างผักก่อนนำไปแช่ตู้เย็นนะคะ เพราะจะทำให้ผักเน่าเสียง่ายค่ะ
    ในส่วนของผักสลัด หรือผักที่โดนตัดแต่ง จะค่อนข้างเน่าเสียไว ก็ควรเก็บไว้ตรงช่องกลางที่เราเห็นง่าย ๆ จะได้ไม่ลืมและกินก่อนที่จะเสีย

การจัดตู้เย็น เก็บผัก

  • การเก็บเนื้อสัตว์ ให้เก็บไว้ในช่องที่เย็นที่สุดในตู้เย็น มีการปิดผนึกให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในภายหลัง ที่สำคัญ คอยทำความสะอาดบริเวณที่เก็บเนื้อสัตว์ให้บ่อย ๆ นะคะ

  • การเก็บนมและไข่ แนะนำให้เก็บช่องที่เย็นที่สุดเช่นกันค่ะ คนส่วนใหญ่ชอบเก็บนมกับไข่ไว้ตรงช่องเก็บที่ฝาผนังตู้เย็น เพราะง่ายต่อการหยิบ (ซึ่งเป็นส่วนที่มีอุณหภูมิสูงจากการเปิดปิดตู้เย็นบ่อยครั้ง) แต่การเก็บไว้ตรงช่องด้านประตูนั้นจะทำให้ลดความสดใหม่ไปค่ะ

ทำไมไม่ควรเก็บไข่ในช่องวางไข่

เปลือกของไข่มีลักษณะเป็นรูพรุนตลอดทั้งฟอง ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ผิวไข่ที่เห็นจึงดูเรียบเนียน และเพราะเปลือกไข่มีรูพรุนจึงทำให้ไข่สามารถดูดซึมกลิ่นต่างๆ ได้ง่าย จึงไม่นิยมเก็บไข่ไว้กับอาหารที่มีกลิ่นฉุนอย่างกะปิ น้ำปลา การเก็บไข่นั้นควรเก็บไว้ในตู้เย็นจะเหมาะกว่าเก็บที่อุณหภูมิปกติ และควรใส่ในภาชนะแล้ววางไว้บนชั้นวางธรรมดาดีกว่าใส่ในช่องวางไข่ที่ฝาผนังตู้เย็น เพราะตรงช่องวางไข่จะมีอุณหภูมิที่สูงจากการเปิดปิดตู้เย็นบ่อยครั้งทำให้ไข่เสียเร็วกว่าที่ควรนั่นเอง

การจัดตู้เย็น เก็บไข่

  •  การเก็บพวกเนื้อสัตว์แปรรูปและชีสควรเก็บไว้ในลิ้นชักของตู้เย็น เพราะจะมีความเย็นกว่าช่องอื่น ๆ ควรทำความสะอาดบริเวณนี้ให้บ่อยครั้งเช่นเดียวกับช่องเก็บเนื้อสัตว์

การจัดตู้เย็น เนื้อสัตว์แปรรูป

  • พวกเครื่องปรุงและเครื่องดื่มให้วางไว้ทางช่องเก็บของด้านประตู เพราะทั้งสองอย่างนี้มีอายุการเก็บที่นานกว่าอาหารสด


ทริคในการเก็บของไว้ในตู้เย็น

  1. ควรติดฉลากก่อนเก็บ เพื่อที่จะได้รู้ว่าเป็นอะไร และวันหมดอายุวันไหน
  2. ให้วางอาหารที่เก็บไว้ได้นานที่สุดไว้ด้านหลัง อาหารที่เสียง่ายให้วางไว้ด้านหน้า
  3. ใช้ถุงพลาสติกที่เหมาะสมในการเก็บอาหาร ยกตัวอย่างถ้าเราจะแช่แข็งอาหารก็ควรใช้ถุงที่สำหรับแช่แข็งได้ ซึ่งจะดีในการเก็บอาหารแช่แข็งมากกว่า

การจัดตู้เย็น ทริคในการเก็บของ

ที่มา: www.wikihow.com

ปิดท้ายด้วย คำแนะนำ การเก็บอาหารสดในตู้เย็น ช่วงเก็บตัวจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

หลัก 3 ส. ได้แก่

  • สะอาดปลอดภัย โดยภาชนะบรรจุ และสถานที่เก็บอาหารต้องสะอาด ปลอดภัยไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหารได้
  • สัดส่วน ควรแยกประเภทอาหารเป็นสัดส่วนเฉพาะไม่ปะปนกัน
  • สิ่งแวดล้อมเหมาะสม จัดเก็บอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท เพื่อรักษาคุณภาพและยืดอายุอาหารให้เก็บไว้ได้นานๆ

โดยเฉพาะอาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ หากจะเก็บควรล้างให้สะอาดก่อนแล้วนำมาตัดแบ่งหรือหั่นเป็นชิ้นก่อนบรรจุในภาชนะที่ป้องกันการรั่วซึมได้ในปริมาณที่พอเหมาะกับการนำไปใช้ในแต่ละครั้ง แล้วจึงนำไปเก็บในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส แยกเป็นสัดส่วนจากอาหารประเภทอื่น ไม่ควรแช่เนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่ๆ หรือทั้งตัวในตู้เย็น เนื่องจากความเย็นอาจจะไม่เพียงพอ ถ้าเป็นชิ้นเล็ก ขนาดเล็ก หรือชนิดบด ควรใส่ถุงพลาสติกแช่อยู่ในช่องแช่แข็ง นอกจากนี้ ควรหมั่นสำรวจวันหมดอายุของอาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็น และไม่ควรเก็บอาหารไว้มากเกินไป จนทำให้การถ่ายเทอากาศ ในตู้เย็นเป็นไปอย่างลำบาก

สำหรับอาหารปรุงสำเร็จบรรจุกระป๋อง ผลไม้และน้ำผลไม้กระป๋อง รวมทั้งเครื่องดื่มต่างๆ ที่สามารถเก็บไว้ได้นาน ก่อนเลือกซื้อควรอ่านฉลากข้างกระป๋องให้ละเอียดโดยต้องมี เลขสารระบบอาหารในเครื่องหมาย อย. (เลข 13 หลัก) สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตวันเดือนปีที่หมดอายุ ลักษณะของกระป๋องต้องไม่บวม ไม่บุบบู้บี้ ไม่เป็นสนิม ตะเข็บกระป๋องต้องไม่มีรอยรั่วหรือเป็นสนิม

นอกจากนี้ ก่อนกินอาหารทุกครั้ง ต้องอุ่นด้วยความร้อนให้เดือด และสามารถเพิ่มผักในอาหารกระป๋อง เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ต้มยำปลากระป๋องน้ำพริกหนุ่มทูน่ากระป๋อง เป็นต้น ทั้งนี้ ห้ามอุ่นอาหารทั้งกระป๋องโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดอันตรายจากสารเคลือบหรือสารโลหะที่จะละลายปนมาในอาหารได้ ส่วนอาหารกระป๋องที่เปิดแล้วหากกินไม่หมด ต้องถ่ายใส่ภาชนะอื่นที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคและควรเก็บในตู้เย็น

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย และ สสส.

 

กลับขึ้นไปด้านบน | ไปหน้า เกร็ดความรู้