ข้อมูลประเทศมาเลเซีย

ข้อมูลประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์และปะลิส มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์และซาราวัก นอกจากนี้ ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐ อีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน มีเนื้อที่ประมาณ 329,758 ตารางกิโลเมตร (ประมาณร้อยละ 64 ของไทย)

ประเทศมาเลเซีย โดยประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วน  ซึ่งมีทะเลจีนใต้คั่นระหว่างกันไว้ ได้แก่

1. West Malaysia (มาเลเซียตะวันตก หรือ คาบสมุทรมลายู) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส ทิศใต้ของมาเลเซียติดกับประเทศสิงคโปร์ ในส่วนของ West Malaysia ประกอบไปด้วยรัฐทั้ง 11 รัฐ และ 2 ดินแดนสหพันธ์ คือ

รัฐ(States) ดินแดนสหพันธ์ (Federal Territories)
1. กลันตัน (Kelantan) 1. กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) **เมืองหลวง**
2. เคดะห์ (Kedah) 2. ปุตราจายา (Putrajaya) **เมืองราชการ**
3. ตรังกานู (Terengganu)  
4. เนกรี เซมมิลัน (Negeri Sembilan)  
5. ปาหัง (Pahang)  
6. เปอร์ลิศ (Perlis)  
7. ปีนัง (Penang)  
8. เปรัค (Perak)  
9. มะละกา (Malacca)  
10. โจโฮร์ (Johor)  
11. เซอลังงอร์ (Salangor)

 2. East Malaysia (มาเลเซียตะวันออก หรือ ตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว) มีพรมแดนทางทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนติดกับประเทศบรูไนทางตะวันออกเฉียงเหนือ มาเลเซียตะวันออก ประกอบไปด้วยรัฐทั้ง 2 รัฐ และ 1 ดินแดนสหพันธ์ คือ

รัฐ (States) ดินแดนสหพันธ์ (Federal Territories)
1. ซาบาห์ (Sabah) 1. ลาบวน (Labuan)
2. ซาราวัค(Sarawak)  
รายละเอียดของแต่ละรัฐที่น่าสนใจ
รัฐ (States) ดินแดนสหพันธ์ (Federal Territories)
1. กลันตัน (Kelantan) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทร มาเลเซีย
ผู้คนในรับยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมจนบัดนี้
รัฐนี้จึงได้สมญานามว่า “แหล่งวัฒนธรรมมาเลย์” มีเมือง
โกตาบาห์รู เป็นเมืองหลวง
2. เคดะห์ (Kedah)  มีชื่อว่าเป็น “อู่ข้าวของมาเลเซีย” มีไร่นากว้างสุดสายตา
มีเมืองอะลอร์สตาร์ เป็นเมืองหลวงของรัฐ มีอาคารเก่าแก่ที่คงสภาพเดิม
ที่น่าสนใจมากก็คือ พระราชวังโบราณบาไลเบซา สร้างด้วยไม้
ปัจจุบันใช้ประกอบพิธีการของรัฐและของพระราชวงศ์แห่งรัฐด้วย
มัสยิดซาอีร์เป็นมัสยิดที่สวยงามที่สุด แห่งหนึ่งของประเทศ
3. ตรังกานู (Terengganu)  เป็นแหล่งพักผ่อนทางชาวทะเล โดยเฉพาะผู้ที่ชอบ
อาบแดดและการประดาน้ำ ในบรรดาเกาะที่สามารถสร้างความประทับใจ
คือ วนอุทยานที่รังดังคาปัส เปอร์เฮ็นเตียน และเต็งโกลโดยเฉพาะที่รังดัง
มีบริการแหล่งประดาน้ำอย่างยอดเยี่ยม และหินประการังที่มีมากมาย
บริเวณแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น 1 ใน 6 แห่งของโลกที่มีปรากฎการณ์แปลก
ประหลาดเกิดขึ้นคือ ภาพเต่ายักษ์ขุดทราบทำหลุมเพื่อวางไข่
เอาทรายกลบ แล้วลงทะเลไป
4. เนกรี เซมมิลัน (Negeri Sembilan)  คำแปลตรงตัวคือ “เก้ารัฐ” ทั้งนี้เนื่องจากในสมัยหนึ่งประกอบ
ด้วย 9 อำเภอ มีเมืองเซอเรมบันเป็นเมืองหลวง เป็นที่ตั้งของอาคารศูนย์
หัตถกรรม พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐ มัสยิดแห่งรัฐ และเลคการ์เดนส์ รัฐนี้มี
ชายหาดสวยงามแถบชาวฝั่งทะเลของช่องแคบมะละกา
5. ปาหัง (Pahang) เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรมาเลเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ครอบคลุม
ไปด้วยป่าไม้เมืองร้อน ฝนตกชุก มีวนอุทยานที่อายุประมาณ 130 ล้านปี
ในเขตดามันเนการ้า
6. เปอร์ลิศ (Perlis)  เป็นรัฐที่เล็กที่สุดของประเทศ สิ่งที่น่าชมและน่าสนใจของรัฐนี้คือ
ความสงบ ที่สดชื่นแจ่มใส ห่างไกลจากชีวิตในกรุงที่แสนวุ่นวาย เศรษฐกิจ
ที่สำคัญของรัฐคือ การทำไร่นา และการประมง เนื่องจากรัฐนี้อยู่ติดกับ
ประเทศไทย และมีความเชื่อมโยง ทางประวัติศาสตร์กับไทยมานานปี
จึงมี พลเมืองในรัฐรับเอาขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาไทยมาใช้กัน
7. ปีนัง (Penang)  เป็นแหล่งการค้าในตะวันออกไกลแห่งแรกของอังกฤษ
รัฐปีนังในวันนี้เป็นนครที่พลุกพล่านมากสุดแห่งหนึ่ง เป็นที่ตั้งของคณะบริหาร
ของรัฐ เป็นศูนย์กลางของพาณิชย์ การศึกษา กิจกรรมทางสังคม การบันเทิง
และเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว รัฐนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่ง
ว่า “ไข่มุกแห่งตะวันออก” เนื่องจากมีหาดทรายสวยงาม
เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวและกีฬาน้ำทุกชนิด
8. เปรัค (Perak)  ได้ชื่อมาจากแร่ดีบุกสีเงินที่ผลิตภายในรัฐมีจำนวนมหาศาล
มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจอย่างมาก ในอดีตผู้คนจำนวน
ไม่น้อยในรัฐนี้มั่งคั่งร่ำรวยถึงขึ้นมหาเศรษฐี รัฐเปรัคมีเมืองหลวงชื่อดีปอร์
เมืองนี้มีชื่อเสียงเรื่องส้มโอดำบุนและถั่วลิสง มีอุทยานที่มีทิวทัศน์
สวยงามและเขาหินปูนที่สวยตระหง่าน
9. มะละกา (Malacca)  เป็นศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่ที่สุด ในอดีตรัฐมะละกาอยู่
ภายใต้การปกครองระบบอาณานิคม โดยเริ่มด้วยการเข้าครอบครองของ
ชาวโปรตุเกสชาวดัชท์ และชาวอังกฤษ รัฐมนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการ
อีกชื่อหนึ่งว่า “นครแห่งประวัติศาสตร์ของมาเลเซีย” โบราณสถานที่
สำคัญคือป้อมเอ ฟาโมซา โบสถ์แดดหุยและโบสถ์คริสต์
สถาปัตยกรรมแบบดัชท์ โบสถ์เซนต์พอล ป้อมปราการเซนต์จอห์น เป็นต้น
10. โจโฮร์ (Johor)  เป็นประตูของภาคใต้สู่คาบสมุทรมาเลเซีย ติดกับประเทศสิงคโปร์
มีเมืองโจโฮร์ บาห์รู เป็นเมืองหลวงของรัฐ
11. เซอลังงอร์ (Salangor)  เป็นรัฐที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย
เป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ (KLIA) ที่เมืองเซอปาง
ซึ่งได้ออกแบบให้เป็นสนามบินกลางปี เมืองหลวงชื่อกัวลาลัมเปอร์
หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “เคแอล”
12. ซาบาห์ (Sabah)  ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว โกตา
คินาบาลู เป็นเมืองหลวงของรัฐ เคยรู้จักในชื่อว่า “เจสเซลตัน” ในสมัย
อังกฤษปกครองแต่ถูกทำลายไปในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
แต่ในวันนี้เมืองโกตา คินาบาลู ได้เจริญขึ้นมากจนกลายเป็น
ศูนย์การพาณิชย์และแหล่งท่องเที่ยว
13. ซาราวัค (Sarawak)  เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย ที่เต็มไปด้วยป่าฝนตกชุก
มีภูเขาสูงตระหง่าน ถ้ำใหญ่น่าทึ่ง พันธุ์ไม้ดอกและสัตว์ป่าที่พิเศษ
หาดูที่อื่นได้ยาก มีถ้ำขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชื่อ ซาราวัคแซมเบอร์
ประชากรในมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซียมีประชากรอาศัยอยู่รวมกันหลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประมาณร้อยละ 50 เป็นชาวมลายูโดยกำเนิด (ชาวมุสลิม) ส่วนที่เหลือจะเป็นลูกครึ่งหลากหลายเชื้อชาติอาศัยรวมเป็นชุมชนอยู่ตามรัฐต่าง ๆ เช่น ลูกครึ่งชาวโปรตุเกส-มลายู ฮอลันดา อังกฤษ จะอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา ลูกครึ่งชาวจีน-มลายูมีชุมชนอยู่ในรัฐมะละกาและปีนัง และมีประชากรประมาณ 30.4 ล้านคน (พ.ย. 2557)

ลักษณะสังคม

สังคมในมาเลเซียเป็นลักษณะ Multi-Cultural Society และได้รับการขนานนามว่าเป็น Mini Asia เนื่องจากเป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งประเทศมาเลเซียมีประชากรมากกว่า 30 ล้านคน ประกอบไปด้วย เชื้อชาติมาเลย์, จีน และ อินดีย อีกทั้งยังมีเชื้อชาติอื่น ๆ ผสมอยู่

ศาสนา

อิสลาม (ร้อยละ 61) พุทธ (ร้อยละ 20) และคริสต์ (ร้อยละ 9) ฮินดู (ร้อยละ 6)

ภาษาทางการหรือภาษาราชการ คือ ภาษามาเลย์ แต่ภาษาอื่นที่นิยมใช้คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาพื้นเมือง

ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ นับถือศาสนาอิสลามซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ รองลงมาคือ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู และลัทธิศาสนาพื้นเมืองต่าง ๆ ตามลำดับ

การแต่งกาย

ข้อมูลประเทศมาเลเซีย
ในประเทศมาเลเซียการแต่งกายในรัฐเมืองหลวงอย่างสลังงอร์นั้น ผู้หญิงส่วนใหญ่จะแต่งตัวชุดไปรเวทเหมือนคนไทย แต่ในภาพรวมผู้หญิงในมาเลเซียก็ยังนิยมแต่งกายด้วยชุดประจำศาสนาอิสลาม โดยจะมีผ้าคลุมศีรษะและนุ่งห่มมิดชิด (ชุดประจำชาติเรียกว่า tudang) แต่ถ้าเป็นสาวจีนก็จะเห็นว่าแต่งชุดไปรเวทธรรมดา ในขณะที่บางรัฐที่ห่างไกลจากเมืองหลวงส่วนใหญ่แล้วก็จะแต่งชุดประจำชาติกัน

สกุลเงินที่ใช้

สกุลเงินที่ใช้คือ ริงกิต (RM)

สภาพอากาศ

สภาพอากาศของประเทศมาเลเซียจะไม่แตกต่างจากประเทศไทยมากนัก แต่จะมีฝนตกชุกมากกว่า อุณหภูมิโดยเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 22-36 องศาเซลเซียส

วันหยุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ปี 2017

 วัน / เดือน ตรงกับวัน 
1 Jan New Year’s Day
14 Jan Birthday of the Sultan of Negeri Sembilan
14 Jan Birthday of the Sultan of Kedah
28 Jan
29 Jan
Chinese New Year 
1 Feb Federal Territory Day
10 Feb Thaipusam 
4 Mar Anniversary of Installation of the Sultan of Terengganu
 23 Mar Birthday of the Sultan of Johor 
14 Apr Good Friday
15 Apr Declaration of Malacca as a Historical City  
24 Apr Isra and Miraj
26 Apr Birthday of the Sultan of Terengganu
1 May Labour Day
7 May The Sultan of Pahang Hol 
10 May Wesak Day
14 May Mother’s Day
17 May Birthday of the Roja of Perlis
27 May Beginning of Ramadan
30 May
31 May
1 Jun
2 Jun
Harvest Festival
3 Jun Birthday of SPB Yang di Pertuan Agong
12 Jun Nuzul Quran
26 Jun
27 Jun
Hari Raya Aidilifitri
7 Jul Georgetown Heritage Day
9 Jul Birthday of the Governor of Penang
22 Jul Sarawak Day
31 Aug National Day
1 Sep
2 Sep
Hari Raya Haji
9 Sep Birthday of the Governor of Sarawak
16 Sep Malaysia Day
22 Sep Awal Muharram
7 Oct Birthday of the Governor of Sabah
13 Oct Malaca Governors Birthday
19 Oct Diwali
24 Oct Birthday of the Sultan of Pahang
11 Nov Birthday of the Sultan of Kelantan
18 Nov The Sultan of Johor Hol
27 Nov Birthday of the Sultan of Perak
1 Dec Mawlid
11 Dec Birthday of the Sultan of Selangor
25 Dec
26 Dec
Chrismas Day