วันสำคัญในประเทศไทย เทศกาลสำคัญในประเทศไทยไทย

วันสตรีสากล 2020 ประวัติวันสตรีสากล คําขวัญวันสตรีสากล ความเป็นมา

วันสตรีสากล (International Women's Day - IWD) คือวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ความสำคัญของวันนี้ คือ กิจกรรมการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิของสตรี เพื่อความเท่าเทียมกัน หลังจากพรรคสังคมนิยมแห่งอเมริกาจัดงาน วันสตรี (Woman’s Day) ที่เมืองนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1909 นักปฏิวัติชาวเยอรมัน ชื่อ Clara Zetkin ได้เสนอในที่ประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมสากล 1910 (1910 International Socialist Woman's Conference)  ว่า วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ควรเป็นวันที่ระลึกถึงความสำคัญของผู้หญิงวัยทำงาน โดยให้ยึดถือวันดังกล่าวเป็น วันสตรีสากล หรือ วันสตรีแรงงานสากล ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นอกจากนี้ ที่สหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1917 หลังจากที่ผู้หญิงได้รับสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง ทำให้วันที่ 8 มีนาคม กลายเป็นวันหยุดประจำชาติที่นั่น นับแต่นั้นมา วันนี้ก็มีอิทธิพลถูกใช้ประกอบกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์โดยนักเคลื่อนไหวทางสังคมและในประเทศคอมมิวนิสต์ [อ่านต่อ..]

By |2022-09-14T08:59:33+07:00November 4th, 2019|story|0 Comments

April Fool’s Day ทำความรู้จักกับ วันเอพริลฟูล ทำไมถึงโกหกกันในวันนี้

April Fool's Day หรือ วันเอพริลฟูล หรือบางครั้งเรียกว่า All Fools' Day ซึ่งคนไทยรู้จักกันในชื่อว่า วันเมษาหน้าโง่ วันโกหกโลก วันโกหกเดือนเมษา สำหรับ ประวัติวัน April Fool's Day นี้ ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด บางคนคิดว่า เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เฉลิมฉลองการเปลี่ยนฤดูกาล ในขณะที่บางคนเชื่อว่า เกี่ยวข้องกับการประกาศใช้ปฏิทินใหม่ โดยประวัติจากนักเขียนจำนวนมาก เชื่อเป็นแบบใดนั้น เราไปติดตามกันดูค่ะ วัน April Fool's Day เชื่อกันว่า มาจากเหตุการณ์การเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จากในอดีต ผู้คนยึดถือวัฒนธรรมเก่าที่สืบทอดกันมา ซึ่งรวมถึงชาวโรมันและชาวฮินดู ที่เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายนหรือวันใกล้เคียงกับวันที่ 1 เมษายน ซึ่งใกล้กับ วันวสันตวิษุวัต (วันที่ 20 มีนาคมหรือ 21 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่กลางวันเท่ากับกลางคืน ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาล ของประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ) ส่วนประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป (ในช่วงยุคกลาง) จะเริ่มต้นเฉลิมฉลองปีใหม่กันในวันที่ 25 [อ่านต่อ..]

By |2020-05-13T18:50:06+07:00March 30th, 2019|story|0 Comments

วันขึ้นปีใหม่ ประวัติวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม ของทุกปี

วันขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่ปฏิทินปีใหม่เริ่มต้นและนับปีปฏิทินเพิ่มขึ้นหนึ่งปี วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินเกรโกเรียนที่ใช้กันทั่วโลกปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม อนึ่ง เทศกาลปีใหม่ อาจหมายถึงวันที่นับจากวันหยุดวันแรกในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมปีก่อน จนถึงวันหยุดสุดท้ายในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม สำหรับชาวคริสต์จะหยุดตั้งแต่คริสต์มาสไปจนถึงวันขึ้นปีใหม่ รวม 8 วัน ประวัติวันขึ้นปีใหม่ ประวัติวันขึ้นปีใหม่ | วันปีใหม่มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนทุก 4 ปี ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวแอสการ์ดมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวแอสการ์ดชื่อ เฮมดัล มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 [อ่านต่อ..]

By |2020-05-13T18:49:03+07:00December 17th, 2018|story|0 Comments

วันรัฐธรรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญ วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันที่ ระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทยเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา 700 ปีเศษ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินจากราษฎร จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฎิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์เป็นผู้บริหารประเทศ วันที่ 27 [อ่านต่อ..]

By |2020-05-13T18:55:11+07:00December 22nd, 2015|story|0 Comments

วันปิยมหาราช ประวัติวันปิยมหาราช วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช" วันปิยมหาราช ประวัติวันปิยมหาราช พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ณ พระตำหนักเดิมตรงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ ในหมู่หนึ่งของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงมีพระนามชั้นเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณี "ทรงเป็นสมเด็จพระปิโยรส ของสมเด็จพระบรมชนกนาถตั้งแต่ทรงพระเยาว์วัย" เมื่อทรงเจริญพระชันษาสมควรแก่การศึกษา ได้ทรงพระอักษร [อ่านต่อ..]

By |2020-05-14T08:36:21+07:00December 21st, 2015|story|0 Comments

วันครู ประวัติวันครู 16 มกราคม งานวันครู กิจกรรมวันครู การไหว้ครู

วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง" จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ [อ่านต่อ..]

By |2022-08-11T13:27:27+07:00December 11th, 2015|story|0 Comments

วันลอยกระทง ประวัติวันลอยกระทง วันเพ็ญเดือน 12 วันบูชาพระแม่คงคา

ประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญ (วันขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 12 (ตามปฏิทินทางจันทรคติ) ประมาณเดือนพฤศจิกายน เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงโดยมี นางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียงที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ปัจจุบัน วันลอยกระทง เป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดีใน วันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า " นางนพมาศ " ความเชื่อเกื่ยวกับวันลอยกระทง ป็นการขอขมา พระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้ วิธีที่ 1 กระทง กลีบผกา ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว [อ่านต่อ..]

By |2021-09-24T09:24:10+07:00December 11th, 2015|story|0 Comments

วันเด็กแห่งชาติ ประวัติวันเด็กแห่งชาติ คำขวัญวันเด็ก 2563

วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น จากคำกล่าวที่ว่า อนาคตของประเทศชาติจะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของเด็กในประเทศนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องให้ การพิทักษ์รักษาคุ้มครองทางด้านกฎหมาย ตลอดจนให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ เพราะถือว่า เด็ก คือมนุษย์ที่ยังอ่อนอยู่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ [spoiler title="สารบัญเนื้อหา" style="fancy" icon="plus-square-1"] คำขวัญวันเด็ก 2563 คำขวัญวันเด็กในอดีต ประวัติวันเด็ก กิจกรรมวันเด็ก วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็ก เพลงวันเด็ก การละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย [/spoiler] วันเด็ก ตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมทุกปี โดย วันเด็กแแห่งชาติในปี 2563 ตรงกับวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2563 ซึ่งใน วันเด็ก นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น จะมีการให้ คำขวัญวันเด็ก ซึ่งเป็น คำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. [อ่านต่อ..]

By |2023-10-19T15:38:57+07:00December 11th, 2015|story|0 Comments

วันแม่แห่งชาติ ประวัติวันแม่แห่งชาติ วันแม่ในต่างประเทศ ดอกไม้ประจำวันแม่

วันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยเริ่มใช้วันดังกล่าวเป็นวันแม่แห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2519 ก่อนหน้านั้นเคยใช้วันที่ 10 มีนาคม, 15 เมษายน, และ 4 ตุลาคม สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิซึ่งมีสีขาว ส่งกลิ่นหอมได้ไกลและได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยตีความเปรียบกับความรักบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลายไป ประวัติวันแม่แห่งชาติ ประวัติวันแม่แห่งชาติ ในประเทศไทยมีการจัดงานวันแม่ครั้งแรก โดยกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ที่สวนอัมพร แต่เนื่องจากช่วงดังกล่าวเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ต้องงดจัดในปีต่อไป และต่อมาแม้จะมีหลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นจัดขึ้นอีก แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร รวมทั้งได้มีการเปลี่ยนแปลงกำหนด วันแม่ หลายครั้ง จนเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 คณะรัฐมนตรีสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีประกาศรับรองให้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี [อ่านต่อ..]

By |2020-05-13T18:51:58+07:00December 11th, 2015|story|0 Comments

วันพ่อแห่งชาติ

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระโอรสองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออร์เบินณ์ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซสท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงมีพระเชษฐาธิราช (พี่ชาย) และพระเชษฐภคินี (พี่สาว) 2 พระองค์คือ 1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 2. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงขึ้นครองราชเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงค์สิกิติ์ กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนารถ) ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชกรณียกิจของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภาคตลอดปี โดยได้เสด็จประทับแรมที่พระตำหนัก ตามภาคต่าง ๆ [อ่านต่อ..]

By |2020-05-13T18:51:46+07:00December 11th, 2015|story|0 Comments

วันตรุษจีน 2563 ประวัติวันตรุษจีน ตำนาน ของไหว้ คำอวยพร เที่ยวตรุษจีน

วันตรุษจีน 2563 ตรงกับวันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2563 ตรุษจีน เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญ ของชาวจีน วันตรุษจีนนั้น มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายตำนานและประเพณี งานเทศกาลแต่เดิมนั้นเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนจะสักการะเทพเจ้าและบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ในประเทศจีน ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองปีใหม่นั้น มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ในช่วงเย็นก่อนถึง วันตรุษจีน (วันปีใหม่จีน) จะเป็นเวลาที่ครอบครัวส่วนใหญ่จะนัดรวมตัวกันเพื่อพบปะสังสรรค์และรับประธานอาหารเย็นร่วมกันเป็นเหมือนงานรวมญาติประจำปี (คล้ายเทศกาลสงกรานต์ของบ้านเรา) และมีบางครอบครัวที่มีธรรมเนียมการทำความสะอาดบ้านร่วมกัน โดยเชื่อว่าจะช่วยปัดเป่าความโชคร้ายออกไป และช่วยให้ความโชคดีเข้ามาแทน ประเพณีอีกอย่าง คือ การประดับตกแต่งหน้าต่างและประตู ด้วยแผ่นกระดาษตัดสีแดงที่เขียนข้อความเป็นคู่ และบทกลอนที่มีจำนวนคำเท่ากัน ธีมยอดนิยมของการประดับการดาษสีแดงนั้น มักเป็นบทกลอน หรือคำที่ให้ความหมายเกี่ยวกับ ความโชคดี การอวยพรให้มีความสุข มีความมั่งคั่ง และมีอายุยืน กิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การจุดประทัด และการให้อั่งเปา (การมอบเงินโดยใส่ไว้ในซองกระดาษสีแดง) สำหรับภูมิภาคทางตอนเหนือของประเทศจีน มีเมนูอาหารที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ใช้เฉลิมฉลองเทศกาลวันตรุษจีน คือ เกี๊ยว (Dumpling) ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยในการเฉลิมฉลองตามประเพณีนั้น เกี๊ยวมักทานเป็นอาหารมื้อแรกของปี โดยอาจทานหลังจากเริ่มต้นวันตรุษจีน (ผ่านช่วงเที่ยงคืนของวันก่อนถึงวันตรุษจีน) หรือทานเป็นอาหารเช้าในวันตรุษจีน เนื้อหาในหน้านี้ ประวัติวันตรุษจีน ตำนานวันตรุษจีน [อ่านต่อ..]

By |2022-08-03T10:13:06+07:00November 13th, 2015|story|0 Comments